bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๑๒ ต.ค.๖๑ : กรณีที่บริษัทจีนร่วมพัฒนานวัตกรรมพลาสติกละลายน้ำได้

กรณีที่บริษัทจีนร่วมพัฒนานวัตกรรมพลาสติกละลายน้ำได้ เพื่อลดปัญหามลภาวะทางทะเล ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. นายโรแบร์โต แอสเตเต้ (Roberto Astete) นักธุรกิจชาวชิลี ผู้ก่อตั้งบริษัท Solubag SpA ซึ่งมีแนวคิดผลิตพลาสติกที่สามารถละลายน้ำ โดยได้ร่วมมือกับบริษัทคู่ค้าของเขาในมณฑลกว่างตง Polye Materials Co. ผลิตถุงผ้าพลาสติกที่ละลายน้ำ และได้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศชิลี เมื่อเดือน ก.ค.๖๑ หลังจากที่ประเทศชิลีออกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกตามร้านค้า ทั้งนี้ เนื่องจากถุงพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศทั้งหมด และต้องใช้เวลาหลายศตวรรษสำหรับการย่อยสลาย

๒. แนวคิดของถุงพลาสติกแบบใหม่ นี้คือการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีที่ใช้ผลิตถุงพลาสติกกันโดยทั่วไปในโลกโดยสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อถุงนี้สัมผัสกับน้ำก็คือ ออกซิเจนในน้ำจะเข้าไปอยู่ในโครงสร้างเคมีของถุง ซึ่งเป็นห่วงโซ่โพลิเมอร์ ก็จะสกัดไฮโดรเจนออกมา ดังนั้น สิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นคาร์บอน และสารอื่นๆ ที่ใส่เข้าไปในสูตรเคมีที่ใช้ผลติดถุงนี้ได้ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) แล้ว

๓. การทดสอบกระเป๋าที่ผลิตร่วมโดย Solubag SpA กับ Polye Materials Co. ซึ่งละลายในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และ Astete ก็ได้ดื่มน้ำที่มีส่วนผสมดังกล่าว ในระหว่างการแถลงข่าว เพื่อรับรองความปลอดภัยจริง ทั้งนี้ นายเฉิน กัง ประธาน Polyrocks Chemical Co บริษัทแม่ของ Polye ให้ข้อมูลว่า ถุงพลาสติกนี้ทำจากโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ซึ่งเป็น PVA ก๊าซธรรมชาติหรือคาร์ไบด์แคลเซียม ละลายในน้ำได้ในไม่กี่นาที จึงไม่ทำให้สัตว์ทะเล เป็นอันตราย และมลพิษทั้งในน้ำและดิน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

๔. PVA ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตสี กาวและสิ่งทอ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๓๐ (พ.ศ.๒๔๗๓) เป็นต้นมา และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฟิล์ม PVA ยังมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในการบรรจุหีบห่อ ซึ่งนายฉุย เยว่เฟย นักประดิษฐ์ถุงและวิศวกรอาวุโสของ South China University of Technology ในกว่างโจว (กวางเจา) กล่าวว่า ได้ใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา PVA ในห้องทดลองและเสร็จสิ้นการทดลองของเขาในปี ๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๕๑) จนได้รับความสนใจจากบริษัท Polyrocks ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านผลิตภัณฑ์ที่ทนไฟ อย่างไรก็ตาม ถุงพลาสติกชนิดนี้ ยังมีปัญหาความยืดหยุ่นกับความร้อน ทำให้ฉีกขาดง่าย จึงยังต้องพัฒนาต่อไปเพื่อใช้งานในระดับอุตสาหกรรม

บทสรุป

นายโรแบร์โต แอสเตเต้ นักธุรกิจชาวชิลี กล่าวเน้นว่า ในส่วนตัวของเขาซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมพลาสติกมาตลอดและคิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะเลิกการใช้ถุงปิโตรเคมี ดังนั้น จึงพยายามนำเสนอนวัตกรรมนี้กับผู้ผลิตในยุโรปและอเมริกาเป็นอันดับแรก แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะอัตรากำไรของถุงช้อปปิ้งมีน้อยมาก ทำให้ต้องหันมาร่วมธุรกิจนี้ที่ประเทศจีน นอกจากนี้ นวัตกรรมพลาสติกละลายน้ำนี้ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ถุงพลาสติกเท่านั้น แต่จะได้รับการพัฒนาไปสู่แปรงสีฟัน มีด และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นพลาสติก และสามารถแทนที่ได้ด้วยวัสดุนี้ ในขณะที่มีประสิทธิภาพเหมือนกับพลาสติกทั่วไป เพียงแต่แตกต่างกันตรงที่วัสดุนี้สามารถละลายน้ำได้ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นผลจากนโยบายแบนการใช้ถุงพลาสติกของประเทศชิลี ซึ่งเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาใต้ที่ประกาศใช้นโยบายดังกล่าว รวมถึงประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า ๖๐ ประเทศที่ได้ประกาศนโยบายงดแจกหรือลดการแจกถุงพลาสติก จึงน่าติดตามถึงความก้าวหน้า ในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมพลาสติกละลายน้ำ เพื่อลดปัญหามลภาวะทางทะเล ดังกล่าวต่อไป

ประมวลโดย : พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://www.efe.com/efe/english/technology/chilean-firm-invents-plastic-free-bag-that-dissolves-in-water/50000267-3701045

https://mgronline.com/china/detail/9610000101796

https://www.sbs.com.au/yourlanguage/thai/th/article/2018/08/06/wiswkrchiliikhidkhnthungphlaastiklalaaynamaid?language=th