bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๑๘ ก.ย.๖๑ : กรณีที่กระทรวงพาณิชย์ของจีน ประกาศสถิติล่าสุดเกี่ยวกับการค้าบริการของจีน

กรณีที่กระทรวงพาณิชย์ของจีน ประกาศสถิติล่าสุดเกี่ยวกับการค้าบริการของจีน ที่แสดงให้เห็นว่า ๗ เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการนำเข้าส่งออกด้านการบริการมีมูลค่า ๒,๙๗๕,๔๐๐ ล้านหยวน เติบโตร้อยละ ๙.๙ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยทำสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. กระทรวงพาณิชย์ของจีน ระบุว่ามูลค่าการค้าบริการมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ ๑๕ ของมูลค่าการค้าต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการส่งออกสินค้าและบริการ โดยในจำนวนนี้ การส่งออกเติบโตร้อยละ ๑๔.๖ ในขณะที่ปริมาณการขาดดุลลดลงประมาณ ๓๗,๑๐๐ ล้านหยวนเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว

๒. มีการวิเคราะห์ว่าภายใต้สถานการณ์ที่ยอดขายสินค้าในปัจจุบันปรับตัวลดลง และการประกอบการมีความเปลี่ยนด้านความมั่นคง รวมทั้งการพัฒนาการค้าบริการอย่างรวดเร็ว จึงมีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อจีนและโลก กล่าวคือ
        ๒.๑ ประการที่ ๑ การให้บริการและการค้าบริการ การพัฒนาของจีนในด้านนี้ล้าหลังมาเป็นเวลายาวนาน การส่งออกบริการมีความสามารถไม่เพียงพอ ในขณะเดียวกัน การบริโภคของชาวเมืองจีนได้เพิ่มระดับสูงขึ้น มีความต้องการสินค้าด้านบริการที่มีคุณภาพสูงได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขาดดุลการค้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายปี การพัฒนาไม่สมดุลกันเป็นเวลายาวนาน แม้จะเป็นผลลัพธ์แน่นนอนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจการและการพัฒนาระดับของการบริโภคให้สูงขึ้นก็ตาม แต่ก็ได้นำความเสี่ยงค่อนข้างมากมาสู่การเปิดกิจการบริการสู่ภายนอก โดยครึ่งแรกของปีนี้ การขาดดุลด้านการค้าและบริการของจีนเริ่มลดน้อยลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) ขณะที่ เดือน ก.ค.๖๑ ระดับแนวโน้มที่ดีขึ้นยังคงดำเนินต่อไป ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการพัฒนาที่ไม่สมดุลเป็นเวลานานของการนำเข้าส่งออกด้านบริการของจีนได้รับการปรับปรุง เพื่อปูพื้นฐานการพัฒนาการค้าบริการให้ดียิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยให้จีนเพิ่มความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่สูงยิ่งขึ้น ตลอดจนยกระดับความเป็นสากลของการบริการให้สูงขึ้น
        ๒.๒ ประการที่ ๒ จีนมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาที่เผยแพร่และลอกเลียนแบบได้ในการส่งเสริมการสร้างระบบความสะดวกทางการค้า โดยสามารถเผยเผยแพร่ทั่วประเทศได้มากยิ่งขึ้นได้ และมีส่วนช่วยในการขยายการค้าต่อต่างประเทศ
        ๒.๓ ประการที่ ๓ การค้าบริการสามารถเพิ่มระดับคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ เป็นการสนับสนุนการพัฒนาด้วยคุณภาพสูง และปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น ส่วนเศรษฐกิจโลกจะได้รับแรงกระตุ้นที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่มีการเติบโตอย่างมั่นคง และการขยายตัวทางการค้าบริการของจีนที่เปิดกว้างมากขึ้น

๓. ข้อสังเกต สำหรับข้อมูลการค้าระหว่างไทย – จีน
        ๓.๑ ในช่วง ม.ค.- มี.ค.๖๑ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเท่ากับ ๒๐,๗๐๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๓.๘ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนดังกล่าว จีนนำเข้าจากไทยมูลค่า ๑๐,๕๔๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๒ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจีนส่งออกไปไทยมีมูลค่า ๑๐,๑๖๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๙.๐ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
        ๓.๒ สินค้าสำคัญที่จีนนำเข้าจากไทย เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก สารอินทรีย์ ไม้ อุปกรณ์ออปติคอลและเครื่องมือทางการแพทย์ ผัก น้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์ผลไม้และถั่ว เป็นต้น
        ๓.๓ สินค้าสำคัญที่จีนส่งออกไปไทย เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก รถยนต์ ผลิตภัณฑ์เคมี สารอินทรีย์ อุปกรณ์ออปติคอล เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

บทสรุป

กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ประกาศสถิติล่าสุดเกี่ยวกับการค้าบริการของจีนว่า ๗ เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการนำเข้าส่งออกด้านการบริการเติบโต โดยทำสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ เติบโตร้อยละ ๙.๙ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนได้รายงานเมื่อวันที่ ๑๖ ก.ค.๖๑ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกของปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีนเท่ากับ ๔๑.๙ ล้านล้านหยวน (ราว ๖.๒๘ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๖.๘ จากช่วงเดียวกันของปี ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐) แม้ว่ากำลังเผชิญกับภาวะสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบกับจีนและสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ถ้าหากนับรวมก็มีการตั้งกำแพงภาษีระหว่างทั้งสองประเทศมูลค่ารวมกว่า ๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐแล้วก็ตาม แต่ ฉาง หลิว (Chang Liu) นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทวิจัย Capital Economics เห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ แม้จะเป็นอุปสรรคในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจของจีนจะได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจในประเทศที่มีการปล่อยสินเชื่อน้อยลงมากกว่า ขณะที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนก็มีนโยบายให้ธนาคารคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพื่อลดหนี้เสียในระบบ ทำให้ภาครัฐของจีนต้องหาทางที่จะปั๊มการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การประกาศลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี และเพิ่มการใช้จ่ายเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

ประมวลโดย : พันเอกไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://economictimes.indiatimes.com/news/international/business/chinas-gdp-grows-6-8/articleshow/65004017.cms

http://thai.cri.cn/247/2018/09/11/121s271025.htm 

http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/about-china/economy.php

https://brandinside.asia/china-economic-next-step-slow-or-strong/ 

https://brandinside.asia/trade-ware-effect-china-and-emerging/ 

http://english.mofcom.gov.cn/