๑. หนังสือพิมพ์ Central Daily News ของเกาหลีใต้ ระบุว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เน้นย้ำในสุนทรพจน์ว่า การบรรเทาความยากจนไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่และการต่อสู้ครั้งใหม่ ยังมีหนทางอีกยาวไกลในการแก้ปัญหาการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เพียงพอ โดยลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท รวมทั้งตระหนักถึงการพัฒนาที่รอบด้านของผู้คนและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของทุกคน โดยหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ "ขจัดความยากจน" (“脱贫”) ในพื้นที่ชนบท จีนยังคงให้ความสำคัญกับประเด็น "สามชนบท“ (“三农” อันได้แก่ การเกษตร พื้นที่ชนบท และเกษตรกร)
๒. เว็บไซต์นิวส์ไลน์ของปากีสถาน เชื่อว่า "การบรรเทาความยากจนอย่างแม่นยำ" (“精准扶贫”) ที่ผู้นำจีนเสนอคือกุญแจสู่ความสำเร็จของจีนในการบรรเทาความยากจน โดยจีนได้ส่งทหารจำนวนมากไปยังพื้นที่ชนบทเพื่อจัดทำชุดโครงงานการบรรเทาความยากจนอย่างละเอียดสำหรับแต่ละครอบครัวที่ยากไร้ตามบ้าน และถือว่าการต่อสู้กับความยากจนนี้เป็นสงครามของประชาชน
๓. นาย Cavins Adhill นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเคนยา เห็นว่าจีนบรรลุเป้าหมายในการบรรเทาความยากจนภายใต้ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทั่วโลก อันแสดงให้เห็นถึงความเหนือกว่าของรูปแบบการปกครองของจีน ความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ การวางแผนอย่างพิถีพิถัน รวมทั้งการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของจีน ทำให้จีนประสบความสำเร็จในด้านการบรรเทาความยากจน
บทสรุป
การกำจัดความยากจนเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระดับโลก ดังที่กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ให้ความเห็นว่า ความสำเร็จในการบรรเทาความยากจนของจีนได้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศอื่นๆ ในโลก โดยจีนได้พิสูจน์แล้วว่าการเอาชนะความยากจนไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันนี่คือการมีส่วนร่วมที่มีค่าที่สุดของจีนในการลดความยากจนทั่วโลก
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.gov.cn/xinwen/2021-02/27/content_5589126.htm
https://mp.weixin.qq.com/s/GsOH7UiNlUxdj1yaG1z0SQ