bg-head-3

有趣的文章

จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ก.ค.๖๔ นายสี จิ้นผิง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน

จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ก.ค.๖๔ นายสี จิ้นผิง ในฐานะเลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีแห่งรัฐ รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการการทหารกลาง และผู้อำนวยการคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน ครั้งที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๙ ก.ค.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้


๑. ในการประชุมของคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน (中央全面深化改革委员会) ได้พิจารณาแนวทางในการเร่งสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ (关于加快构建新发展格局的指导意见) แผนปฏิบัติการเพื่อทำให้อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตขึ้น (种业振兴行动方案) แผนการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม (青藏高原生态环境保护和可持续发展方案) ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และมาตรการผลักดันการปฏิรูปและนวัตกรรมในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในเขตการค้าเสรีนำร่องภายในประเทศ (关于推进自由贸易试验区贸易投资便利化改革创新的若干措施)

๒. นายสี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำว่า
๒.๑ การเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่เป็นมาตรการเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการเข้าใจความคิดริเริ่มของการพัฒนาในอนาคต คือ การเสริมสร้างความอยู่รอด ความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งความสามารถในการพัฒนาและความยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ ที่คาดการณ์ได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นรากฐานของความทันสมัยทางการเกษตร ที่ต้องพึ่งพาตนเองในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ให้เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งควบคุมเแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์
๒.๒ ต้องยืนหยัดอยู่บนจุดสูงสุดของประวัติศาสตร์เพื่อประกันความอยู่รอดและการพัฒนาของประชาชาติจีน โดยยึดมั่นในเจตคติของการรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ ต่อประชาชน และต่อโลก และทำหน้าที่ที่ดีในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการเปิดในระดับสูงเพื่อใช้ประโยชน์จากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเต็มที่ รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมระบบอย่างแข็งขันตามมาตรฐานระดับสูงของกฎเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนวางแผนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพเขตการค้าเสรีนำร่องด้วยความพยายามมากยิ่งขึ้น

บทสรุป

ในช่วงท้ายของการประชุมได้ชี้ให้เห็นว่า นับตั้งแต่การประชุมระดับชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ ๑๘ ได้มีการปรับใช้เขตการค้าเสรีนำร่อง ๒๑ แห่งอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดรูปแบบการนำร่องที่ครอบคลุมทั่วประเทศจีน จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เขตการค้าเสรีนำร่องมีอิสระในการปฏิรูปมากขึ้น โดยเสริมสร้างการบูรณาการระบบการปฏิรูปและนวัตกรรม เพื่อสร้างการค้าเสรีที่มีบทบาทระหว่างประเทศและความสามารถในการแข่งขัน

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

http://xinhuanet.com/politics/2021-07/09/c_1127640160.htm