จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ส.ค.๖๔ การประชุมคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติของจีน ชุดที่ ๑๓ ครั้งที่ ๓๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ส.ค.๖๔ ได้ลงมติผ่าน “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (“个人信息保护法”) โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาต่างๆ เช่น การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินไป การขาดความคุ้นเคยกับข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนซึ่งได้กลายเป็นประเด็นร้อนในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และได้รับความสนใจอย่างมากจากโลกภายนอก ดังนั้น การเกิดขึ้นของ “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (“个人信息保护法”) จึงเป็นสัญลักษณ์ว่าหลังจากการบังคับใช้ "กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์" (“网络安全法”) และ "กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล" (“数据安全法”) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายของจีนที่มีความทันสมัยในยุคนี้ ซึ่งมีความสำคัญกล่าวคือ
๑.๑ หลังจากเกือบ ๒๐ ปี ในที่สุด ประเทศจีนก็มีกฎหมายที่สำคัญในสังคมดิจิทัล โดยได้ก่อตั้งระบบกฎหมายหลักว่าด้วย "กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์" "กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล" และ "กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล"
๑.๒ หลังจากผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษ ระบบกฎหมายของประเทศจีนที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลได้ถูกสร้างขึ้น ปัจจุบัน 128 ประเทศได้ออกกฎหมายเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว
๑.๓ เป็นก้าวสำคัญในระบบการเข้าสู่สังคมดิจิทัลที่ "เน้นบุคคล" (“以人为本”) ภายใต้ "กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ของจีน ซึ่งได้ชี้แจงถึงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีกฎหมายรองรับ
๑.๔ เป็นไปตามกฎสากลทั่วไปอย่างสมบูรณ์
๑.๕ เป็นส่วนช่วยในการกำกับดูแลทางดิจิทัลทั้งหมด โดยรักษาสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ของการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและการส่งเสริมการใช้ข้อมูลนั้น ซึ่งเป็นประเด็นหลักของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
๒. กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว มุ่งให้ความสำคัญกับองค์กรในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนใช้ประโยชน์จากข้อมูลเกินความจำเป็น โดยเฉพาะมีการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ อันทำลายความสงบสุขของชีวิตประชาชน รวมทั้งคุกคามความปลอดภัยทางชีวิต สุขภาพและทรัพย์สินของประชาชน
บทสรุป
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดขอบเขตเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์การจัดการกฎหมายเจาะจงต่อปัญหาสำคัญทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยกำหนดความรับผิดชอบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวด้วยระบบที่สมบูรณ์แบบมาตรฐานสากลที่เคร่งครัด และกำหนดความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบทลงโทษต่อการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมในยุคสมัยของสังคมดิจิทัล โดยเน้นถึงการรักษาสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ของการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและการส่งเสริมการใช้ข้อมูลนั้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
http://www.npc.gov.cn/npc/c30834/202108/a8c4e3672c74491a80b53a172bb753fe.shtml