จีนศึกษา วันพุธที่ ๑๖ มิ.ย.๖๔ รายงานที่ว่า "กองเรือดำน้ำของจีนมีขนาดใหญ่มาก แต่กองทัพเรือสหรัฐฯ วางแผนที่จะจัดการกับเรือดำน้ำของจีนด้วยทุ่นระเบิด" (报道称,“中国的潜艇舰队规模庞大,但美国海军计划用水雷解决他们”。) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. หลี่ เฉียง (李强) นักข่าว Global Times กล่าวถึงกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่พิจารณาว่า กองเรือดำน้ำ (潜艇部队) ของจีนเป็นประเด็นสำคัญสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยเว็บไซต์ข่าว "Forbes” ของสหรัฐฯ รายงานเมื่อวันที่ ๘ มิ.ย.๖๔ ว่ากองทัพสหรัฐฯ กำลังวางแผนที่จะใช้ทุ่นระเบิดอัจฉริยะที่ติดตั้งโดยเรือดำน้ำไร้คนขับ (无人潜艇) เพื่อใช้จัดการกับเรือดำน้ำของจีน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของผู้เชี่ยวชาญที่ชี้ว่า กองทัพสหรัฐฯ วางแผนที่จะใช้ทุ่นระเบิดอัจฉริยะเพื่อสกัดกั้นเรือดำน้ำของจีน ทั้งนี้ ในแง่แนวคิดใหม่ของอาวุธนั้น จีนและสหรัฐฯ อยู่ในจุดเริ่มต้นเดียวกัน ซึ่งทุ่นระเบิดอัจฉริยะดังกล่าวนี้โดยพื้นฐานแล้วคือ ตอร์ปิโด Mk54 ที่ติดตั้งโซนาร์และเครื่องรับวิทยุ หลังจากได้รับคำสั่งเปิดใช้งานจากระยะไกล จะสามารถฟังการเคลื่อนไหวของเรือดำน้ำข้าศึกอย่างเงียบ ๆ และปล่อยตอร์ปิโดสำหรับการโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัวเมื่อคู่ต่อสู้เข้าสู่ระยะการโจมตี โดยสามารถระบุฝ่ายที่เป็นมิตรและศัตรูได้ รวมทั้งการจงใจให้เรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามตรวจจับได้ จากนั้นจะล่อให้หลงเข้าไปในเขตสังหาร
๒. ในรายงานระบุว่า "กองเรือดำน้ำของจีนมีขนาดใหญ่มาก แต่กองทัพเรือสหรัฐฯ วางแผนที่จะจัดการกับเรือดำน้ำของจีนด้วยทุ่นระเบิด" ซึ่งตามรายงาน เมื่อเกิดความขัดแย้งทางทะเลขนาดใหญ่ระหว่างจีนและสหรัฐฯ การป้องกันเรือดำน้ำขนาดใหญ่ของจีนไม่ให้บุกรุกเข้าไปในน่านน้ำอันกว้างใหญ่ของทะเลฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของสหรัฐฯ และพันธมิตร ด้วยเหตุผลนี้ สหรัฐฯ จึงได้ตั้งการปิดล้อมอย่างแน่นหนาตามแนวเกาะแรก (第一岛链 / First Island Chain) ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ในช่วงสงครามทั้งหมดของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่นจึงหมุนรอบปิดกั้นแนวเหนือ และกองทัพเรือสหรัฐฯ จะรับผิดชอบในการปิดกั้นแนวใต้
๓. ตามรายงานของหน่วยข่าวกรองกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุว่า กองทัพเรือจีนได้มีเรือดำน้ำธรรมดา ๕๗ ลำและเรือดำน้ำนิวเคลียร์โจมตี ๕ ลำในปี ๒๐๑๕ (พ.ศ.๒๕๕๘) และภายในปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) กองเรือดำน้ำของจีนจะขยายเป็น ๖๐ ลำและเป็นเรือดำน้ำนิวเคลียร์โจมตีอย่างน้อย ๑๖ ลำ ในทางตรงกันข้าม กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่นมีเรือดำน้ำทั่วไปเพียง ๒๐ ลำเท่านั้น ปัจจุบัน กองทัพเรือสหรัฐฯ มีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ๕๖ ลำ ประเภท "ลอสแองเจลิส" ชั้น "Seawolf"และเรือดำน้ำนิวเคลียร์ประเภท "เวอร์จิเนีย" ชั้น "โอไฮโอ" ซึ่งในจำนวนนี้ยังคงลดลงและคาดว่าจะลดลงเหลือ ๕๒ ลำภายในปี ๒๐๒๖ (พ.ศ.๒๕๖๙) แต่ที่แย่ยิ่งกว่านั้น ตามแผนของสหรัฐฯ จะมีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นของกองเรือแปซิฟิก ทั้งนี้ เนื่องจากวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการค้นหาและจมเรือดำน้ำของศัตรูคือการใช้เรือดำน้ำของตัวเอง ดังนั้น สหรัฐฯ จึงอยู่ในสภาวะ "ความเสียเปรียบเชิงปริมาณ" (“数量上的劣势” ) ในสงครามใต้น้ำ
บทสรุป
ในรายงานดังกล่าวระบุว่า วิธีแก้ปัญหาของกองทัพเรือสหรัฐฯ คือการชดเชยข้อเสียเปรียบใต้น้ำด้วยการซื้อเรือดำน้ำไร้คนขับจำนวนมาก ซึ่งเมื่อปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) กองทัพเรือสหรัฐฯ และ Boeing ได้ลงนามในสัญญามูลค่า ๒๗๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสั่งซื้อเรือดำน้ำไร้คนขับ "Echo Voyager“ จำนวน ๕ ลำ โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ อธิบายว่าเป็น "ยานดำน้ำไร้คนขับขนาดใหญ่พิเศษ" (“超大型无人潜航器” / Extra Large Unmanned Undersea Vehicle : XLUUV) ซึ่ง XLUUV ชุดแรกสามารถใช้งานได้ภายในปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) และจะซื้ออย่างน้อย ๒๔ ลำ ในอนาคต โดยสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย แต่มุ่งเน้นในการวางทุ่นระเบิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
http://www.workercn.cn/34066/202106/10/210610091009342.shtml