จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๒๗ ส.ค.๖๔ การให้ความสำคัญของรัฐบาลจีนต่อการลดการใช้พลังงานในยุคดิจิทัล ภายใต้เป้าหมาย “คาร์บอนสองเท่า” (“双碳”) ในการประมวลผลและส่งเสริม “การประมวลผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” (“绿色计算”) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน (工信部) ได้เผยแพร่ “แผนปฏิบัติการ ๓ ปีของการพัฒนาศูนย์ข้อมูลแบบใหม่ (พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๖) หรือ ” 新型数据中心发展三年行动计划 (2021-2023年)” โดยส่งเสริมพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การประมวลผลจากแบบจำลองจะช่วยให้การผลิตทางการเกษตรมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ส่วนการจัดการและรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์จะช่วยให้การผลิตด้านอุตสาหกรรมมีอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น และการปรับปรุงแบบจำลองการประมวลผลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะช่วยให้การเดินทางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนา “เศรษฐกิจดิจิทัล” (“数字经济”) ทำให้การประมวลผลที่มีอยู่ในทุกแง่มุมและทุกแห่งหนของโลก รวมทั้งปริมาณการประมวลผลจึงเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ
๒. ปัจจุบัน จีนมีศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจำนวนกว่า ๑๒,๐๐๐ แห่ง โดยศูนย์ข้อมูลเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล ขณะเดียวกัน ยังเป็นต้นตอของการปล่อยคาร์บอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย ดังนั้น การพัฒนาการประมวลผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด กระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศจีนจึงได้กำหนดอย่างชัดเจนว่า จีนจะใช้เวลา ๓ ปีในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลแบบใหม่ที่มีการจัดวางอย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีก้าวหน้า มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ และมีปริมาณการประมวลผลที่เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเมื่อถึงปลายปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE : Power Usage Effectiveness) ของศูนย์ข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่จะต้องต่ำกว่า ๑.๓๕
บทสรุป
กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะใช้เวลา ๓ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๖ ในการสร้างรูปแบบการพัฒนาศูนย์ข้อมูลใหม่โดยมีรูปแบบที่เหมาะสม ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ โดยที่ปริมาณของการประมวลผลมีความสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งบรรลุต่อเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานในยุคดิจิทัล
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล