bg-head-3

有趣的文章

จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๓ ธ.ค.๖๔ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับ อี้หลง-๑๐ สำเร็จภารกิจทดสอบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของการสังเกตอุตุนิยมวิทยาทางทะเล

๑. เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ย.๖๔ เวลา ๙ นาฬิกา อากาศยานไร้คนขับ (UAV) “อี้หลง-10” (“翼龙”) ที่บริษัทอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศจีน (中国航空工业集团有限公司 หรือ “航空工业” / China Aviation Industry Corporation ซึ่งเป็นวิสาหกิจที่ผลิตเครื่องบินชั้นนำของจีน) ได้พัฒนาขึ้นเอง ก็ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า พร้อมกับเรดาร์และระบบตรวจจับจากทะเล รวมทั้งเครื่องมือสังเกตการณ์อุตุนิยมวิทยาบนชายฝั่ง ในการสังเกตการณ์องค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยาร่วมกัน เช่น ระบบเมฆเหนือมหาสมุทร การกระจายโปรไฟล์ของอุณหภูมิและความชื้น และทุ่งลมบนพื้นผิวทะเล (海面风场 / surface wind fields) ซึ่งในระหว่างปฏิบัติภารกิจ ระบบต่างๆ ของ “อี้หลง-๑๐” อยู่ในสภาพดีและบรรลุภารกิจในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ ทำให้การทดสอบการสังเกตการณ์การบินประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์

๒. ภารกิจดังกล่าวนี้เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งหลังจากการดำเนินภารกิจทดสอบการตรวจจับพายุไต้ฝุ่นโดย UAV เป็นครั้งแรกในประเทศจีน ด้วยการใช้ “อี้หลง-๑๐” ในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างระบบสังเกตการณ์บนอวกาศโดยมี UAV เป็นส่วนประกอบหลัก และในอนาคต การสร้าง "การตรวจสอบที่แม่นยำ การพยากรณ์ที่แม่นยำ และการบริการที่ดี" (“监测精密、预报精准、服务精细”) จะเป็นการวางรากฐานในการให้การสนับสนุนที่สำคัญสำหรับการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ในมหาสมุทร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งการสร้างพลังอำนาจทางทะเล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคใหม่ที่สามารถให้บริการอุตุนิยมวิทยาทั่วโลกได้อย่างแม่นยำ

๓. จากการที่ประเทศจีนมีแนวชายฝั่งยาวและเกิดภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยาทางทะเลบ่อยครั้งรวมถึงมีพายุไต้ฝุ่น ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวชายฝั่งทะเลและเศรษฐกิจของประเทศทุกปี โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการยกระดับการพยากรณ์ไต้ฝุ่นและภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยาอื่นๆ ในประเทศจีนดีขึ้นอย่างมาก แต่วิธีการสังเกตการณ์บนอวกาศที่มีอยู่ยังไม่สามารถตรวจจับพายุไต้ฝุ่นและภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยาอื่นๆ รวมทั้งความสามารถในการติดตาม การพยากรณ์ และการเตือนล่วงหน้าได้อย่างละเอียด ดังนั้น ภารกิจทดสอบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของการสังเกตอุตุนิยมวิทยาทางทะเลด้วยการใช้อากาศยานไร้คนขับ “อี้หลง-๑๐” จึงมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

บทสรุป “

อี้หลง-๑๐” เป็นอากาศยานไร้คนขับที่จีนวิจัยและผลิตขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติสามารถบินได้เร็ว บินได้ในระดับสูง และมีประสิทธิภาพสูงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งใช้งานได้อย่างสะดวกและมีความน่าเชื่อถือในเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนสามารถตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของผู้ใช้ที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

http://www.dsti.net/Information/Viewpoint/85799