bg-head-3

有趣的文章

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๑๑ พ.ค.๖๔ ความคืบหน้าของจีนในการดำเนิน “แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก”

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๑๑ พ.ค.๖๔ ความคืบหน้าของจีนในการดำเนิน “แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก” (“西部陆海新通道总体规划”) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. คณะรัฐมนตรีของจีนได้อนุมัติ “แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก” เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) โดยแผนดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ช่องทางบก – ทางทะเลใหม่ในภาคตะวันตกเป็นช่องทางยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการก่อตัวของรูปแบบใหม่ในการพัฒนาภาคตะวันตก ซึ่งช่องทางเชื่อมทางบก - ทางทะเลที่เชื่อมระหว่าง "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" (“一带一路”) รวมทั้งช่องทางการค้าทางบก - ทางทะเลที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภูมิภาคตะวันตก อันเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจโลจิสติกส์ โดยใช้ช่องทางการขนส่งแบบบูรณาการ
 
๒. ช่องทางการขนส่งดังกล่าวได้ขยายไปยังท่าเรือ (ทั้งท่าเรือบกและทางทะเล) จำนวน ๒๖๔ แห่งใน ๙๖ ประเทศ (ภูมิภาค) โดยมีสินค้ามากกว่า ๕๐๐ ประเภท มีรถให้บริการรับส่งสินค้าผ่านทางหลวงข้ามพรมแดน ๘ เส้นทางตามปกติ โดยให้บริการครอบคลุมคาบสมุทรอินโดจีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งใน ““แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก”  มีการเสนอเส้นทางหลักทั้งหมด ๓ ทาง ได้แก่  
     ๒.๑ จากเขตเศรษฐกิจฉงชิ่ง ผ่านกุ้ยหยาง และหนานหนิง ไปออกปากอ่าวเป่ยปู้  
     ๒.๒ จากฉงชิ่ง ผ่านหวยฮั้ว หลิ่วโจว ไปออกปากอ่าวเป่ยปู้  
     ๒.๓ จากเฉิงตู ผ่านหลูโจว (อี๋ปิน) และไป่เซ่อ ไปยังปากอ่าวเป่ยปู้
 
๓. ช่องทางบก – ทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก ดังกล่าวจะใช้มหานครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะการเป็นท่าเรือบก (无水港) ในการขนส่งระหว่างประเทศที่ครอบคลุมด้าน “โลจิสติกส์ + การค้า + อุตสาหกรรม + การเงิน” (“物流+贸易+产业+金融” ) และเป็นท่าเรือแห่งแรกในโครงการสาธิตท่าเรือบกในเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง ที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งของระเบียงการค้าระหว่างประเทศเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ รวมทั้งใช้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองซินเจียง และมณฑลทางตะวันตกอื่น ๆ เป็นจุดสำคัญในการขนส่งสินค้โดยใช้ทางรถไฟ การขนส่งทางถนน และอื่น ๆ เพื่อเข้าถึงทุกส่วนของโลกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง อ่าวเป่ยปู้ โดยออกทะเลผ่านทางตอนใต้ของจีนซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าที่จะต้องออกทะเลผ่านภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก
 
บทสรุป

เมื่อเร็ว ๆ นี้ โครงการท่าเรือบกของมหานครฉงชิ่ง ตาม “แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก” ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๕ เม.ย.๖๔ และคาดว่าส่วนสำคัญหลักของโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) ซึ่งจะทำให้การขยายการเปิดเส้นทางบกและทางทะเลแบบสองทางมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น และส่งเสริมการพัฒนาภาคตะวันตกของจีนในรูปแบบใหม่ โดยเร่งสร้างช่องทางและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ การปรับปรุงขีดความสามารถในการขนส่ง รวมทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพของการพัฒนาโลจิสติกส์ ตลอดจนกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล  

https://www.xindemarinenews.com/m/view.php?aid=29013

http://www.gov.cn/xinwen/2021-04/25/content_5601965.htm

https://finance.sina.com.cn/roll/2021-04-26/doc-ikmxzfmk8991253.shtml?cref=cj

https://www.ciyew.com/news/3429-4479.html