bg-head-3

有趣的文章

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๑๔ ธ.ค.๖๔ การประชุม “ฟอรั่มการสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้(อาเซียน+๓) ประจำปี ๒๐๒๑”

จีนศึกษา (วันอังคารที่ ๑๔ ธ.ค.๖๔) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม “ฟอรั่มการสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้(อาเซียน+๓) ประจำปี ๒๐๒๑” (“2021年东盟与中日韩数字经济创新论坛”) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของมณฑลยูนนาน (云南省工业和信息化厅) องค์การบริหารการสื่อสารแห่งมณฑลยูนนาน (云南省通信管理局) รวมทั้งสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน (中国信息通信研究院) โดยจัดขึ้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เมื่อวันที่ ๘ ธ.ค.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. นายหยู่ จื้อเฉิง (庾志成) รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (工业和信息化部国际合作司副司长) ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลมาโดยตลอด และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เดินหน้าส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ปรับปรุงระบบนโยบายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแข็งขัน และได้ออกแผนรวมทั้งระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) ซอฟต์แวร์ และบริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างจริงจัง ฟอรั่มนี้มีขึ้นเพื่อดำเนินการ “ข้อริเริ่มจีน-อาเซียนในการจัดตั้งหุ้นส่วนเศรษฐกิจดิจิทัล" (“中国-东盟关于建立数字经济合作伙伴关系的倡议”) ส่งเสริมอาเซียนและจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อให้บรรลุ "การพัฒนาร่วมกันและแบ่งปันโอกาสในการพัฒนา" (“联动发展、共享发展机遇”) "ส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและขยายความร่วมมือในด้านใหม่ของการค้าดิจิทัล” (“推动数字基础设施建设合作、扩展数字贸易新领域合作”) เป็นมาตรการสำคัญ

๒. นายหยู่ จื้อเฉิง ได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับความร่วมมือด้านนวัตกรรมของจีนและอาเซียน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวคือ
๒.๑ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อาเซียนและจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ในด้าน 5G, ปัญญาประดิษฐ์, บิ๊กดาต้า, Internet of Things รวมทั้งความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีดิจิทัลยุคใหม่ ส่งเสริมการเจรจาและการประสานงานในด้านนโยบาย เทคโนโลยี มาตรฐาน และอุตสาหกรรม ฯลฯ
๒.๒ การใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบด้านสถานที่อันเป็นเอกลักษณ์ของยูนนาน การที่เข้าใจช่วงเวลาสำคัญของนวัตกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ในประเทศส่วนภูมิภาคหลังการระบาดและเร่งและกระชับความร่วมมือในเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต่างๆ
๒.๓ การใช้ประโยชน์จากอาเซียนอย่างเต็มที่ด้วยผลกระทบของเวทีนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลจีน - ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ ซึ่งการแข่งขันได้ดึงดูดและสนับสนุนให้เกิดกรณีนวัตกรรมที่โดดเด่นในการหยั่งรากลึก และร่วมกันสร้างระบบนิเวศใหม่ของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค

บทสรุป

การประชุมฟอรั่มการสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ (อาเซียน+๓) ประจำปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ดังกล่าวจะเอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุตสาหกรรมดิจิทัลในระดับภูมิภาคอย่างครอบคลุม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเชื่อมโยงนโยบาย รวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

https://www.kunming.cn/news/c/2021-12-09/13419186.shtml