bg-head-3

有趣的文章

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๒๐ ก.ค.๖๔ เลขาธิการฯ สี จิ้นผิง เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน ครั้งที่ ๒๐

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๒๐ ก.ค.๖๔ เลขาธิการฯ สี จิ้นผิง เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน ครั้งที่ ๒๐ (中央全面深化改革委员会第二十次会议) และเสนอให้ "วางแผนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูง ของเขตการค้าเสรีนำร่องด้วยความพยายามมากขึ้น“ (“以更大力度谋划和推进自由贸易试验区高质量发展”) เมื่อวันที่ ๙ ก.ค.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ในช่วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑ เมื่อเลขาธิการฯ สี จิ้นผิง เป็นประธานในการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึกในทุกด้าน และการเปิด “เขตการค้าเสรีนำร่อง” (“自贸试验区”) เป็นหนึ่งในหัวข้อในขณะนั้น โดยที่ประชุมได้ทบทวนและอนุมัติแผนเพื่อกระชับการปฏิรูปและเปิดเขตการค้าเสรีนำร่อง ๓ เขตในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มหานครเทียนจิน และมณฑลฝูเจี้ยน รวมทั้งเสนอให้พยายามสร้างนวัตกรรมเชิงสถาบัน เพื่อรองรับสถานการณ์ในการปฏิรูปและเปิดกว้างทั่วประเทศ โดยในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา การประชุมหลายครั้งของคณะกรรมการปฏิรูปกลางได้ดำเนินการศึกษาและส่งเสริมการสร้างเขตการค้าเสรีนำร่องอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ในการประชุมครั้งที่ ๑๕ ของคณะกรรมการกลางการปฏิรูปเชิงลึก เลขาธิการฯ สี จิ้นผิง ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องเชื่อมโยงการสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่กับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับภูมิภาค ระดับประเทศและการสร้างโครงการเขตการค้าเสรีนำร่อง ตลอดจนเป็นผู้นำในการสำรวจการก่อตัวของการพัฒนาใหม่ในภูมิภาคที่จะยกระดับรูปแบบการพัฒนาสำหรับการปฏิรูปและการเปิดกว้าง

๒. ในการประชุมครั้งนี้ เลขาธิการฯ สี จิ้นผิง ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเปิดในระดับสูง ใช้ประโยชน์จากตลาดต่างประเทศและในประเทศตลอดจนทรัพยากรทั้งสองแห่งให้เต็มที่ และส่งเสริมนวัตกรรมอย่างแข็งขันตามมาตรฐานระดับสูงของระเบียบเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศด้วยความพยายามมากขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาเขตการค้าเสรีนำร่องคุณภาพสูง "ความพยายามที่มากขึ้น" (“更大力度”) และ "การพัฒนาคุณภาพสูง" (“高质量发展”) ซึ่งเป็นข้อกำหนดใหม่ สำหรับการสร้างสรรค์เขตการค้าเสรีนำร่อง ทั้งนี้ นับตั้งแต่การก่อตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องแห่งแรกที่มหานครเซี่ยงไฮ้ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ จนปัจจุบันประเทศจีนมีเขตการค้าเสรีนำร่อง ๒๑ แห่ง ก่อตัวเป็นโครงการนำร่องที่ครอบคลุมทั้งทางตะวันออก ตะวันตก ใต้ และเหนือ ซึ่ง "การสร้างเขตการค้าเสรีนำร่องเป็นมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการกลางของพรรคเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปและการเปิดประเทศในยุคใหม่ รวมทั้งเป็นก้าวสำคัญในกระบวนการปฏิรูปประเทศและการเปิดประเทศของจีน" (“建设自由贸易试验区是党中央在新时代推进改革开放的一项战略举措,在我国改革开放进程中具有里程碑意义”)

๓. เขตการค้าเสรีนำร่องของจีน ๒๑ แห่ง (๑+๓+๗+๑+๖+๓) ประกอบด้วย มหานครเซี่ยงไฮ้ (พ.ศ.๒๕๕๖) มหานครเทียนจิน มณฑลกว่างตง และฝูเจี้ยน( (พ.ศ.๒๕๕๘) มหานครฉงชิ่ง มณฑลเหลียวหนิง เจ้อเจียง เหอหนาน หูเป่ย ซื่อชวน (เสฉวน) และส่านซี (พ.ศ.๒๕๖๐) มณฑลไห่หนาน (พ.ศ.๒๕๖๑) เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) มณฑลซานตง เจียงซู เหอเป่ย หยุนหนาน (ยูนนาน) และเฮยหลงเจียง (พ.ศ.๒๕๖๒) รวมทั้งกรุงปักกิ่ง มณฑลหูหนาน และอานฮุย (พ.ศ.๒๕๖๓)

บทสรุป

เมื่อเผชิญสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและซับซ้อน เลขาธิการฯ สี จิ้นผิง จึงเสนอให้เร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ที่มีวัฏจักรภายในประเทศและระหว่างประเทศเป็นแกนนำ รวมทั้งส่งเสริมร่วมกันของวัฏจักรภายในประเทศและระหว่างประเทศ มุ่งสู่ข้อกำหนดใหม่ โดยยึดมั่นในมาตรฐานระดับสูง และความพยายามที่มากขึ้นในการส่งเสริมการพัฒนาเขตการค้าเสรีนำร่องคุณภาพสูง ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจความคิดริเริ่มในการพัฒนาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

http://xitheory.china.com.cn/2021-07/12/content_77621363.html