จีนศึกษา วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ก.ค.๖๔ แนวคิดของจีนในการปรับโครงสร้างพลังงาน (源结构调整) ในการจัดนิทรรศการการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศของจีน ครั้งที่ ๑๙ (第十九届中国国际环保展览会) และการประชุมนวัตกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมปี ๒๐๒๑ (2021环保产业创新发展大会) ซึ่งจัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของจีน (中国环境保护产业协会) ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ ก.ค.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. นายไฉ ฉีหมิ่น (柴麒敏) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการวางแผนยุทธศาสตร์ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศของจีน (国家应对气候变化战略研究和国际合作中心战略规划研究部主任) ได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากพลังงานฟอสซิลแบบดั้งเดิมในที่ประชุม และชี้ให้เห็นว่าบางมณฑลที่มีการบริโภคถ่านหินมากเช่น เนื่องจากมณฑลซานตงควรดำเนินการโดยรวดเร็วขึ้นยิ่งขึ้น ซึ่งพบว่า สัดส่วนของหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในมณฑลซานตงนั้นสูงกว่าของมณฑลอื่น ๆ มากกว่าหนึ่งในสามของหน่วยที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตเองทางอุตสาหกรรมซึ่งมีคุณสมบัติทางเทคนิคต่ำ ผลกำไรต่ำ และ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก จึงควรเร่งความเร็วในการกำจัด
๒. ใน "แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔" สำหรับการพัฒนาประเทศของจีนได้ควบคุมการใช้ถ่านหินอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างพลังงานได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ และการลดการใช้ถ่านหินก็มีความสำคัญมากขึ้นไปอีก ซึ่งในเรื่องนี้ นายไฉ ฉีหมิ่น ชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องมี ๓ ขั้นตอนในการลดถ่านหินและคาร์บอน ได้แก่
๒.๑ ควบคุมโครงการไฟฟ้าถ่านหินอย่างเคร่งครัด
๒.๒ ควบคุมการเติบโตของการใช้ถ่านหินอย่างเคร่งครัดในช่วง "แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔" (“十四五”)
๒.๓ การแก้ปัญหาการหลอมถ่านหินรวมทั้งการกำจัดหม้อไอน้ำและเตาเผาที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่นเดียวกับการให้ความร้อนและการปรุงอาหารอีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหินที่กระจัดกระจายของชาวชนบท ทั้งนี้ การใช้ถ่านหินจะค่อยๆ ลดลงในช่วงระยะเวลา “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๕” (“十四五”) การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินโดยไม่มีเทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage หรือ การดักจับคาร์บอน การใช้ และการกักเก็บคาร์บอน) จะเลิกใช้ในปี พ.ศ.๒๕๘๓ - ๒๕๘๘ ภาคอุตสาหกรรมที่ยากต่อการกำจัดคาร์บอนจะถูกกำจัดอย่างครอบคลุมจากปี พ.ศ.๒๕๙๘ - ๒๖๐๓ ห้ามการใช้ถ่านหินโดยไม่มี CCUS
บทสรุป
นายไฉ ฉีหมิ่น แนะนำว่าการวางยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภายใต้การพัฒนาใหม่ ต้องมีการบูรณาการเทคโนโลยี นวัตกรรม อุตสาหกรรมและการเงิน รวมทั้งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการคาร์บอนสูงสุดเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ต้องเสริมสร้างการบูรณาการทรัพยากรภาคธุรกิจหลักและปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองต่อความเสี่ยงโดยให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมคาร์บอนเป็นกลางเพื่อเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมของเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ไม่มีคาร์บอน ตลอดจนเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น ระบบพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมโลหะวิทยาและเคมีของไฮโดรเจน การลดมลภาวะและการทำงานร่วมกันของการลดคาร์บอน รวมถึงการดักจับและการใช้คาร์บอน การส่งเสริมการพัฒนาองค์กรคุณภาพสูงและเพิ่มการลงทุน การค้า และการจ้างงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล