จีนศึกษา (วันเสาร์ที่ ๒๐ พ.ย.๖๔) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในด้านการเกษตร (人工智能技术在农业领域的应用) ของจีน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ในด้านการเกษตรมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การประยุกต์ใช้เนื้อหาการวิจัยในด้านการเกษตรที่แม่นยำซึ่งรวมอยู่ในกระบวนการผลิตทางการเกษตรมีความสำคัญมาก โดยหุ่นยนต์ทางการเกษตรสามารถทำให้ได้รับผลผลิตและประสิทธิภาพที่สูงกว่าแรงงานผ่านระบบการรับรู้ของปัญญาประดิษฐ์ การเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของดินและพืชผล สามารถป้องกันข้อบกพร่องของพืชผลและเพิ่มศักยภาพสำหรับการผลิตพืชผลที่ดีต่อสุขภาพ การได้มาซึ่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ (real time) และการประมวลผลโรคแมลงศัตรูพืชและวัชพืช สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการพืชผลได้อย่างมาก รวมทั้งลดต้นทุน และรับประกันคุณภาพตลอดจนความปลอดภัยของพืชผล โดยเฉพาะการมีเครื่องมือทำงานที่อัจฉริยะ เช่น โดรน จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการปรับปรุงอย่างรวดเร็วของประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
๒. การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ไม่เพียงที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางการเกษตรเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ อาทิ ผลผลิตพืชผล คุณภาพของดิน และความต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช เป็นต้น ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของพืชและผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างยั่งยืนเพื่อปรับให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดการณ์ไว้ เพื่อลดผลกระทบของการเกษตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการขยายพันธุ์พืช การเพาะปลูก และการจัดการพืชผลเพื่อให้เกิดข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรที่ยั่งยืนและอัจฉริยะ
๓. การผลิตทางการเกษตรที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลพืชผลสามารถช่วยให้การเกษตรแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำ และผลผลิตต่ำ ให้มีการจัดการด้วยประสบการณ์ที่สามารถยกระดับเป็นการเกษตรที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง มีการจัดการทางวิทยาศาสตร์ มีเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง
บทสรุป
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการเกษตรจะช่วยลดต้นทุนแรงงานได้อย่างมาก รวมทั้งปรับปรุงการผลิตพืชผลอย่างยั่งยืน และลดผลกระทบของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยปรับให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ปฏิวัติวงการเกษตร และกระบวนการผลิตทางการเกษตรทั้งหมด
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
https://www.x-mol.com/news/731133