จีนศึกษา วันเสาร์ที่ ๒๔ เม.ย.๖๔ ปาฐกถาพิเศษของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในพิธีเปิดการประชุมฟอรั่มเอเชี ยโป๋อ๋าว ประจำปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ในหัวข้อเรื่อง “ร่วมมือขจัดความยากลำบากในปั จจุบัน ร่วมกันสร้างอนาคตร่วมกัน” (“同舟共济克时艰,命运与共创未来”) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโป๋อ๋าว มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) เมื่อวันที่ ๒๐ เม.ย.๖๔ (ตอนที่ ๑) โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ปีนี้เป็นวาระครบรอบ ๒๐ ปี แห่งการก่อตั้งฟอรั่มเอเชียโป๋ อ๋าว ช่วง ๒๐ ปีมานี้ ประเทศเอเชียได้ผลักดันความเป็ นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในภูมิ ภาค ทำงานอย่างสอดประสานกันเพื่อส่ งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เอเชียพัฒนาเป็นภูมิภาคที่ มีพลังชีวิตและศักยภาพมากที่สุ ดในเศรษฐกิจโลก เอเชียได้ร่วมกับประเทศอื่นทั่ วโลกรับมือกับลัทธิก่อการร้าย เหตุการณ์สึนามิถล่มชายฝั่ งมหาสมุทรอินเดีย วิกฤติการเงินโลก การระบาดของโควิด-๑๙ และภัยคุกคามด้านความมั่นคงทั้ งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ ต่าง ๆ ตลอดจนพยายามรักษาเสถี ยรภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ในฐานะสมาชิกสำคัญของครอบครั วเอเชีย จีนได้ลงลึกการปฏิรูปและเปิดสู่ ภายนอกอย่างต่อเนื่อง พยายามขับเคลื่อนความร่วมมื อในภูมิภาค จึงมีความก้าวหน้าและการพั ฒนาพร้อมกับประเทศอื่นในเอเชี ยและทั่วโลก กล่าวได้ว่า ฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าวเป็นประจั กษ์พยานแห่งกระบวนการพัฒนาที่ ไม่ธรรมดาของจีน ของเอเชีย และของโลก ทั้งยังแสดงบทบาทสำคัญในการส่ งเสริมการพัฒนาของเอเชียและทั่ วโลก
๒. จีนริเริ่มให้ทุกประเทศในเอเชี ยและทั่วโลกตอบสนองข้อเรียกร้ องของยุคสมัยนี้ ร่วมมือกันต่อต้ านการระบาดของโรค เสริมการบริหารโลก และก้าวหน้าไปบนเส้นทางสร้ างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกั นของมนุษย์อย่างไม่หยุดยั้ง
๒.๑ ต้องปรึกษาหารือกันอย่ างเสมอภาคเท่าเทียม สร้างอนาคตที่แบ่งปันผลประโยชน์ ร่วมกัน การบริหารโลกต้องสอดคล้องกับภู มิทัศน์ทางการเมือง เศรษฐกิจโลกที่เกิดการเปลี่ ยนแปลงไปแล้ว สอดคล้องกับกระแสประวัติศาสตร์ แห่งสันติภาพ การพัฒนา และความร่วมมือที่ได้รับชั ยชนะร่วมกัน รวมทั้งสอดคล้องกับความต้ องการภาคปฏิบัติในการรับมือกั บความท้าทายระดับโลก
๒.๒ ต้องเปิดสู่ภายนอกและสร้างนวั ตกรรม เพื่อสร้างอนาคตแห่งการพั ฒนาและความเจริญรุ่งเรือง การเปิดสู่ภายนอกเป็นเส้นทางที่ ต้องเป็นไป เพื่อการพัฒนาและความก้าวหน้ าและเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการส่ งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลั งโควิด-๑๙
๒.๓ ต้องสามัคคีและร่วมมือกัน เพื่อสร้างอนาคตที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพและความมั่นคง ขณะนี้ปฏิบัติการต้านโควิด-๑๙ ยังคงดำเนินอยู่ ชัยชนะจะเกิดขึ้นในที่สุดอย่ างแน่นอน ต้องถือประชาชนและชีวิ ตของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เสริมการแบ่งปันข้อมูลข่ าวสารและการใช้ความพยายามร่วมกั น ยกระดับความร่วมมือด้านสาธารณสุ ขและการแพทย์ ให้องค์การอนามั ยโลกแสดงบทบาทสำคัญอย่างเต็มที่ ต้องกระชับความร่วมมือในการวิจั ย ผลิต และแบ่งปันวัคซีนโควิด-๑๙ รวมทั้งยกระดับการเข้าถึง
๒.๔ ต้องยึดมั่นในหลักแห่งความเป็ นธรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ เคารพและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
บทสรุป
ความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ ของโลกและเป็นเสน่ห์ ของอารยธรรมมนุษย์ การระบาดของโควิด-๑๙ ทำให้ประชาชนทุกประเทศตระหนั กอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ต้องปฏิเสธแนวความคิดการทำ “สงครามเย็นครั้งใหม่” (“新冷战”) และการเผชิญหน้ากันไม่ว่าในรู ปแบบใดก็ตาม ต้องเชิดชูส่งเสริมสันติภาพ การพัฒนา ความเที่ยงธรรม ความยุติธรรม ประชาธิปไตย และเสรีภาพ ซึ่งถือเป็นค่านิยมร่วมกั นของมนุษยชาติ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนและเรี ยนรู้อารยธรรมระหว่างกันเพื่อส่ งเสริมความก้าวหน้ าของอารยธรรมแห่งมนุษยชาติ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล