๑. สืบเนื่องจากการที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (东南亚) หรืออาเซียน (东盟) มีประชากรรวมกันกว่า ๖๐๐ ล้านคน รวมทั้งมีสัดส่วนการชำระเงินด้วยเงินสดค่อนข้างสูง และเพื่อปรับปรุงบริการการเงินให้มีความสมบูรณ์แบบ ดังนั้น หลายประเทศจึงตัดสินใจพัฒนาการชำระเงินทางดิจิทัลเป็นเป้าหมายสำคัญ
๒. ในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ที่ผ่านมา มีข้อมูลทางสถิติระบุว่า บัตร UnionPay (银联卡) ของบริษัท UnionPay International (银联国际) จากจีนได้ออกใช้ในต่างประเทศมากกว่า ๖ ล้านใบ ซึ่งประมาณ ๓.๕ ล้านใบจะเข้าสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ในฟิลิปปินส์ บัตร UnionPay สามารถใช้ได้กับร้านค้ากว่า ๗๐% และตู้ ATMมากกว่า ๙๐% โดยก่อนหน้านี้ UnionPay International และ Cebuana Lhuillier Bank ของฟิลิปปินส์ ได้บรรลุข้อตกลงในการออกบัตร UnionPay จำนวน ๖ ล้านใบภายใน ๒ ปีนับจากเดือนธันวาคมปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) นับเป็นการออกบัตร UnionPay จำนวนมากครั้งแรกในฟิลิปปินส์ และบัตรใหม่จะเปิดการชำระเงินออนไลน์และฟังก์ชันการชำระเงินแบบ "ยิง" (“拍”) แฟลชการ์ด
๓. เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท UnionPay International เคยประกาศว่า ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรการเงินของเวียดนามแห่งหนึ่ง และได้ออกบัตร UnionPay จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ ใบ โดยเปิดให้ยื่นขอบัตรออนไลน์และชำระเงินด้วยการสแกน QR Code ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิ.ย.๖๒ เวียดนามได้กำหนดให้เป็น "วันไร้เงินสด" เพื่อกระตุ้นให้ลดการใช้เงินสด โดยเฉพาะในช่วงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ได้มีผลการสำรวจผู้บริโภคชาวเวียดนามพบว่า ๗๔% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการเพิ่มบริการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด และ ๘๐% ของผู้ตอบแบบสอบถาม สนใจวิธีการชำระเงินใหม่ ๆ เช่น การชำระเงินแบบดิจิทัล ฯลฯ
บทสรุป
การที่จีน-อาเซียนเสริมสร้างความร่วมมือด้านการชำระเงินดิจิทัล ในขณะที่วิสาหกิจการชำระเงินของจีนได้สร้างแพลตฟอร์มให้บริการบัตรออนไลน์ รวมถึงบริการอื่นๆ โดยการพัฒนากระเป๋าตังค์อิเล็กทรอนิกส์ ในการช่วยเหลือแบบหุ้นส่วนความร่วมมือกับประเทศในอาเซียน ซึ่งจะทำให้เพิ่มความสามารถด้านการชำระเงินทางดิจิทัลในลักษณะ “One Stop” (“一站式”) ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราการครอบคลุมของบัตร UnionPay ใน ๑๐ ประเทศของอาเซียนอยู่ที่ระดับ ๘๐%
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.xinhuanet.com/info/2021-01/27/c_139700356.htm
http://www.aseantop.com/content?id=20031