bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

บทที่ ๔ “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ" รูปแบบหลักแห่งสงครามกลางเมืองของจีน

 

 

บทที่ ๔
“การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ”
—รูปแบบหลักแห่งสงครามกลางเมืองของจีน
 
ในระยะเวลา ๑๐ ปีมานี้ ตั้งแต่วันที่สงครามจรยุทธ์เริ่มขึ้นเป็นต้นมา รอบ ๆ กองจรยุทธ์แดงอิสระหรือกองทัพแดงทุกกอง รอบ ๆ ฐานที่มั่นปฏิวัติทุกแห่ง สิ่งที่เผชิญอยู่เป็นประจำนั้นก็คือ “การล้อมปราบ” ของข้าศึก.  ข้าศึกเห็นกองทัพแดงเป็นตัวเสนียด พอปรากฏตัวก็คิดจะจับให้ได้.  ข้าศึกติดตามกองทัพแดงอยู่เรื่อย ๆ และเข้าล้อมอยู่เรื่อย ๆ.  ใน ๑๐ ปีที่ผ่านมา รูปแบบชนิดนี้หาได้เปลี่ยนแปลงไม่  และถ้าไม่มีสงครามประชาชาติเข้าแทนที่สงครามภายในประเทศแล้ว รูปแบบชนิดนี้ก็ย่อมจะไม่เปลี่ยนแปลง ตราบจนวันที่ข้าศึกเปลี่ยนเป็นฝ่ายอ่อนและเล็ก กองทัพแดงเปลี่ยนเป็นฝ่ายเข้มแข็งและใหญ่โต.
การปฏิบัติการรบของกองทัพแดงนั้น ใช้รูปแบบต้าน “การล้อมปราบ”.  ที่ว่าได้ชัยชนะนั้นที่สำคัญหมายถึงชัยชนะในการต้าน “การล้อมปราบ” ซึ่งก็คือ ชัยชนะทางยุทธศาสตร์และในทางการยุทธ์.  การต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งหนึ่งเป็นการยุทธ์ครั้งหนึ่ง  ซึ่งมักจะประกอบขึ้นด้วยการรบใหญ่น้อยหลายครั้งหรือกระทั่งหลายสิบครั้ง.  ก่อนที่ “การล้อมปราบ” ครั้งหนึ่ง ๆ จะถูกทำลายไปโดยพื้นฐานนั้น  ถึงจะได้รับชัยชนะในการรบหลาย ๆ ครั้ง  ก็ยังกล่าวไม่ได้ว่าได้ชัยชนะในทางยุทธศาสตร์หรือในทางการยุทธ์ทั้งกระบวนแล้ว.  ประวัติการสงครามของกองทัพแดงในระยะเวลา ๑๐ ปี ก็คือประวัติการต้าน “การล้อมปราบ” นั่นเอง.
“การล้อมปราบ” ของข้าศึกกับการต้าน “การล้อมปราบ” ของกองทัพแดง ต่างใช้รูปแบบการรบ ๒ ชนิด คือการรุกกับการรับ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับสงครามในสมัยโบราณหรือสมัยปัจจุบัน  ในประเทศจีนหรือต่างประเทศ.  แต่ลักษณะพิเศษของสงครามกลางเมืองของจีนนั้น  อยู่ที่การซ้ำไป
ซ้ำมาเป็นเวลายาวนานของรูปแบบทั้งสองนี้. ใน “การล้อมปราบ” ครั้งหนึ่ง ๆ ข้าศึกใช้การรุกมาสู้กับการรับของกองทัพแดง กองทัพแดงใช้การรับไปสู้กับการรุกของข้าศึก นี่เป็นขั้นแรกของการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ”.  ข้าศึกใช้การรับมาสู้กับการรุกของกองทัพแดง กองทัพแดงใช้การรุกไปสู้กับการรับของข้าศึก  นี่เป็นขั้นที่ ๒ ของการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ”.  “การล้อมปราบ” ใด ๆ ก็ตาม  ล้วนแต่ประกอบด้วยขั้น ๒ ขั้นนี้  ทั้งยังซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานด้วย.
ที่ว่าซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานนั้น หมายถึงการซ้ำไปซ้ำมาของรูปแบบสงครามและ รูปแบบการรบ.  นี่เป็นความจริงที่ใคร ๆ เห็นเข้าก็รู้ได้ทันที.  “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” เป็นการซ้ำไปซ้ำมาของรูปแบบสงคราม.  ขั้นแรกที่ข้าศึกใช้การรุกมาสู้กับการรับของเรา ส่วนเราใช้การรับไปสู้กับการรุกของข้าศึก และขั้นที่ ๒ ที่ข้าศึกใช้การรับมาสู้กับการรุกของเรา  ส่วนเราใช้การรุกไปสู้กับการรับของข้าศึกนั้น, เป็นการซ้ำไปซ้ำมาของรูปแบบการรบใน “การล้อมปราบ” แต่ละครั้ง.
ส่วนเนื้อหาของสงครามและการรบนั้น  มิใช่เป็นการซ้ำไปซ้ำมาอย่างง่าย ๆ หากต่างกัน
ทุกครั้งไป. นี่ก็เป็นความจริงที่ใคร ๆ เห็นเข้าก็รู้ได้ทันที.  กฎในที่นี้คือ ขนาดของ “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” ใหญ่ขึ้นทุกครั้ง ๆ.  สภาพการณ์สลับซับซ้อนขึ้นทุกครั้ง ๆ  การรบดุเดือดขึ้นทุกครั้ง ๆ.
แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าจะไม่มีการขึ้น ๆ ลง ๆ. ภายหลัง “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ เนื่องจากกองทัพแดงได้ถูกบั่นทอนกำลังลงไปอย่างมากเหลือเกิน  ฐานที่มั่นทางภาคใต้เสียไปหมดสิ้น กองทัพแดงต้องเคลื่อนย้ายไปสู่ภาคพายัพ มิได้อยู่ในฐานะที่สำคัญที่สุดที่คุกคามข้าศึกภายในประเทศเหมือนเมื่ออยู่ทางภาคใต้แล้ว ขนาด สภาพการณ์และการรบของ “การล้อมปราบ” จึงอยู่ข้างเล็กกว่า ง่ายกว่า และผ่อนคลายกว่า.
ความพ่ายแพ้ของกองทัพแดงหมายถึงอะไร?  กล่าวในทางยุทธศาตร์แล้ว มีแต่การต้าน “การล้อมปราบ” ไม่ได้รับผลสำเร็จโดยมูลฐานเท่านั้น จึงจะเรียกว่าพ่ายแพ้ได้ และก็เรียกได้แต่เพียงว่าเป็นความพ่ายแพ้เฉพาะส่วนและชั่วคราวเท่านั้น.  ทั้งนี้เพราะว่า ความพ่ายแพ้โดยมูลฐานในสงครามภายในประเทศหมายถึงความพินาศของกองทัพแดงทั้งกองทัพ แต่ว่าข้อเท็จจริงเช่นนี้หามีไม่.  การเสียฐานที่มั่นอันกว้างใหญ่และการเคลื่อนย้ายของกองทัพแดงนั้น เป็นเพียงความพ่ายแพ้ชั่วคราวและเฉพาะส่วนเท่านั้น มิใช่เป็นความพ่ายแพ้ตลอดกาลและทั่วทั้งหมด แม้ว่าเฉพาะส่วนนี้จะรวมทั้งความเสียหายร้อยละ ๙๐ ของพรรค ของกองทหาร และของฐานที่มั่นก็ตาม. ข้อเท็จจริงดังกล่าวเราเรียกว่าการต่อเนื่องของการรับ และเรียกการตามตีของข้าศึกว่าการต่อเนื่องของการรุก.  กล่าวคือ ในการต่อสู้ระหว่าง “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” นั้น เรามิได้เปลี่ยนจากการรับเป็นการรุก ตรงกันข้าม กลับถูกการรุกของข้าศึกทำลายการรับของเราไป การรับของเราจึงกลายเป็นการถอย และการรุกของข้าศึกก็กลายเป็นการตามตี.  แต่ครั้นกองทัพแดงมาถึงเขตใหม่ เช่นเราได้เคลื่อนย้ายจากกังไสและที่อื่น ๆ มาถึงส่านซีแล้ว การซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” ก็ปรากฏขึ้นอีก.  ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า การถอยทางยุทธศาสตร์ของกองทัพแดง (การเดินทัพทางไกล) เป็นการต่อเนื่องของการรับทางยุทธศาสตร์ของกองทัพแดง และการตามตีทางยุทธศาสตร์ของข้าศึกเป็นการต่อเนื่องของการรุกทางยุทธศาสตร์ของข้าศึก.
สงครามภายในประเทศจีน ก็เช่นเดียวกับสงครามใด ๆ ในสมัยโบราณหรือสมัยปัจจุบัน ในประเทศจีนหรือต่างประเทศ, รูปแบบการรบพื้นฐานมีอยู่เพียงสองชนิดเท่านั้น คือการรุกกับการรับ. ลักษณะพิเศษของสงครามกลางเมืองของจีนก็คือ, การซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานของ “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” และการซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนาน ขอ งรูปแบบการรบสองชนิด คือการรุกกับการรับ และทั้งรวมเอาการเคลื่อนย้ายทางยุทธศาสตร์อันยิ่งใหญ่เป็นระยะทางหมื่นกว่ากิโลเมตรครั้งหนึ่ง (การเดินทัพทางไกล)๑๔ เข้าไว้ด้วย.
ที่เรียกว่าความพ่ายแพ้ของข้าศึกนั้น ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน.  ความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ของพวกมันก็คือ “การล้อมปราบ” ของพวกมันถูกเราทำลายไป การรับของเราได้กลายเป็นการรุก ข้าศึกเปลี่ยนไปสู่ฐานะเป็นฝ่ายรับ ต้องจัดกำลังใหม่จึงจะมี “การล้อมปราบ” อีกครั้งหนึ่ง.  การที่ข้าศึกมิได้ประสบสภาพเช่นที่เรียกว่าการเคลื่อนย้ายทางยุทธศาสตร์หมื่นกว่ากิโลเมตรเหมือนอย่างเรานั้น ก็เพราะว่าพวกมันเป็นผู้ครองอำนาจทั่วประเทศ  และพวกมันก็เข้มแข็งกว่าเรามาก.  แต่เรื่องการเคลื่อนย้ายเป็นบางส่วนนั้นเคยมีมาแล้ว.  ข้าศึกในจุดที่มั่นขาวบางแห่งที่อยู่ในฐานที่มั่นของเราของเราถูกกองทัพแดงล้อมตีแล้วหักวงล้อมออกมา ถอยเข้าเขตขาวเพื่อจัดการรุกใหม่ เรื่องเช่นนี้เคยมีมาแล้ว.  ถ้าสงครามกลางเมืองยืดเยื้อต่อไป ขอบเขตชัยชนะของกองทัพแดงยิ่งกว้างออกไป เรื่องเช่นนี้ย่อมจะมีมากขึ้น.  แต่ว่าผลของพวกมันจะเทียบกับกองทัพแดงไม่ได้ เพราะพวกมันมิได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากประชาชน ทั้งนายทหารกับพลทหารก็ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.  ถ้าพวกมันเอาอย่างการเคลื่อนย้ายทางไกลของกองทัพแดงแล้ว ก็จะต้องถูกทำลายไปอย่างแน่นอน.
ในสมัยแนวทางหลี่ลี่ซานเมื่อปี ๑๙๓๐ สหายหลี่ลี่ซานไม่เข้าใจลักษณะยืดเยื้อของสงครามกลางเมืองของจีน ด้วยเหตุนี้จึงมองไม่เห็นกฎที่ซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานที่ “ล้อมปราบ” แล้ว “ล้อมปราบ” อีก ทำลายแล้วทำลายอีกในการคลี่คลายขยายตัวของสงครามกลางเมืองของจีน (เวลานั้นได้มี “การล้อมปราบ” ๓ ครั้งที่เขตแดนต่อแดนหูหนาน-กังไส “การล้อมปราบ” ๒ ครั้งที่ฮกเกี้ยนอยู่แล้ว) ด้วยเหตุนี้ ในสมัยที่กองทัพแดงยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงสั่งให้กองทัพแดงไปตีหวู่ฮั่น สั่งให้ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธในทั่วประเทศ โดยมุ่งจะให้การปฏิวัติทั่วประเทศได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็ว.  นี่แหละเป็นการทำความผิดพลาดในลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย”.
ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ในระหว่างปี ๑๙๓๑ ถึงปี ๑๙๓๔ ก็ไม่เชื่อกฎการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” นี้เช่นกัน.  ในฐานที่มั่นเขตแดนต่อแดนหูเป่ย-หูหนาน-อันฮุยก็มีคำกล่าวที่ว่า “ทัพรอง”๑๕ ขึ้น  สหายนำที่นั่นบางคนเห็นว่า ก๊กมินตั๋งภายหลังที่ได้ประสบความพ่ายแพ้ใน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๓ แล้ว เป็นเพียงทัพรองเท่านั้น ถ้าจะเข้าตีกองทัพแดง ก็จะต้องให้จักรพรรดินิยมออกมารับหน้าที่เป็นกำลังหลักเสียเอง.  เข็มมุ่งยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นภายใต้การคาดคะเน เช่นนี้ ก็คือให้กองทัพแดงไปตีหวู่ฮั่น.  นี่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางหลักการกับสหายกังไสบางคนที่เรียกร้องให้กองทัพแดงเข้าตีหนานชาง คัดค้านการดำเนินงานที่จะเชื่อมฐานที่มั่นต่าง ๆ ให้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน คัดค้านการทำการรบที่ล่อข้าศึกให้ถลำลึกเข้ามา ถือเอาการยึดเมืองเอกและเมืองศูนย์กลางของมณฑลหนึ่ง ๆ เป็นจุดพื้นฐานของชัยชนะในมณฑลนั้น ๆ และเห็นว่า “การต่อต้าน ‘การล้อมปราบ’ ครั้งที่ ๕ เป็นการรบขั้นแตกหักระหว่างวิถีทางปฏิวัติกับวิถีทางเมืองขึ้น” ฯลฯ.  ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” นี้ ได้ปลูกหน่อของแนวทางที่ผิดพลาดในการต่อสู้เพื่อต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๔ ในเขตแดนต่อแดนหูเป่ย-หูหนาน-อันฮุยและในการต่อสู้เพื่อต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ ในเขตศูนย์กลางที่กังไส  ทำให้กองทัพแดงจำต้องตกอยู่ในฐานะไร้สมรรถภาพเมื่อเผชิญกับ “การล้อมปราบ” อันหนักหน่วงของข้าศึก และยังความเสียหายอันใหญ่หลวงแก่การปฏิวัติของจีน.
ความเห็นชนิดหนึ่งที่เกี่ยวพันโดยตรงกับลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ที่ปฏิเสธการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” โดยกล่าวว่ากองทัพแดงไม่ควรใช้วิธีการรับเสียเลยนั้น ก็เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิงเช่นกัน.
การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นการรุก—การกล่าวเช่นนี้, แน่นอน ก็มีความถูกต้องของมันอยู่.  การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติจากการเกิดขึ้นไปสู่การขยายตัว  จากเล็กไปสู่ใหญ่ จากการไม่มีอำนาจรัฐไปสู่การยึดอำนาจรัฐ  จากการไม่มีกองทัพแดงไปสู่การสร้างกองทัพแดง จากการไม่มีฐานที่มั่นปฏิวัติไปสู่การสร้างฐานที่มั่นปฏิวัตินั้น ย่อมจะต้องรุกเสมอ จะเป็นแบบอนุรักษ์ไม่ได้ ความโน้มเอียงทางอนุรักษ์นิยมนั้นควรจะคัดค้าน.
การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นการรุก แต่ก็มีการรับและการถอยด้วย—การกล่าวเช่นนี้จึงจะถูกต้องโดยสมบูรณ์.  รับเพื่อรุก ถอยเพื่อรุดหน้า เข้าด้านปีกเพื่อเข้าด้านหน้า เดินทางอ้อมเพื่อเดินทางตรง เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในกระบวนการแห่งการคลี่คลายขยายตัวของสรรพสิ่งจำนวนมาก สำมะหาอะไรกับการเคลื่อนไหวทางการทหาร.
ข้อวินิจฉัยประการแรกในข้อวินิจฉัยสองประการดังกล่าว, ถ้ากล่าวในทางการเมืองแล้วอาจจะถูกก็ได้ แต่เมื่อนำมากล่าวในทางการทหารแล้วก็ไม่ถูก.  ในทางการเมือง จะถูกก็แต่ในสภาพการณ์บางอย่างเท่านั้น (ในเวลาที่การปฏิวัติกำลังรุดหน้า), แต่ก็จะไม่ถูกเมื่อเปลี่ยนไปสู่สภาพการณ์อีกอย่างหนึ่ง (ในเวลาที่การปฏิวัติกำลังถอย คือ ถอยทั้งหมด เช่น รัสเซียในปี ๑๙๐๖๑๖ ประเทศจีนในปี ๑๙๒๗; ถอยเฉพาะส่วน เช่น รัสเซียเมื่อครั้งสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์ในปี ๑๙๑๘๑๗). มีแต่ข้อวินิจฉัยประการหลังเท่านั้นที่เป็นสัจธรรมซึ่งถูกต้องทั้งหมด.  การที่ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ในระหว่างปี ๑๙๓๑ ถึงปี ๑๙๓๔ คัดค้านอย่างกลไกไม่ให้ใช้วิธีการรับทางการทหารนั้น, ก็เป็นเพียงความคิดที่ไร้เดียงสาอย่างยิ่งชนิดหนึ่งเท่านั้น.
รูปแบบการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” จะยุติเมื่อไร? ตามความเห็นของข้าพเจ้า  ถ้าสงครามกลางเมืองยืดเวลาออกไปแล้ว นั่นก็เป็นเวลาที่การเปรียบเทียบความแข็งอ่อนระหว่างข้าศึกกับเราได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นมูลฐานขึ้นแล้ว.  เมื่อใดกองทัพแดงได้เปลี่ยนแปลงไปจนเข้มแข็งยิ่งกว่าข้าศึกของตนแล้ว เมื่อนั้นการซ้ำไปซ้ำมาเช่นนี้ก็จะยุติลง.  เวลานั้นเราก็จะเป็นฝ่ายล้อมปราบข้าศึก  ส่วนข้าศึกกลับเป็นฝ่ายพยายามจะต้านการล้อมปราบ  แต่เงื่อนไขทางการเมืองและทางการทหารจะไม่อำนวยให้ข้าศึกมีฐานะต้าน “การล้อมปราบ” เหมือนอย่างกองทัพแดงได้.  ในเวลานั้น รูปแบบการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” นี้ ถึงจะกล่าวไม่ได้ว่าได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง, แต่การยุติลงโดยทั่วไปนั้นก็ย่อมจะกล่าวยืนยันได้.
 

บทที่ ๔

“การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ”

—รูปแบบหลักแห่งสงครามกลางเมืองของจีน

 

          ในระยะเวลา ๑๐ ปีมานี้ ตั้งแต่วันที่สงครามจรยุทธ์เริ่มขึ้นเป็นต้นมา รอบ ๆ กองจรยุทธ์แดงอิสระหรือกองทัพแดงทุกกอง รอบ ๆ ฐานที่มั่นปฏิวัติทุกแห่ง สิ่งที่เผชิญอยู่เป็นประจำนั้นก็คือ “การล้อมปราบ” ของข้าศึก.  ข้าศึกเห็นกองทัพแดงเป็นตัวเสนียด พอปรากฏตัวก็คิดจะจับให้ได้.  ข้าศึกติดตามกองทัพแดงอยู่เรื่อย ๆ และเข้าล้อมอยู่เรื่อย ๆ.  ใน ๑๐ ปีที่ผ่านมา รูปแบบชนิดนี้หาได้เปลี่ยนแปลงไม่  และถ้าไม่มีสงครามประชาชาติเข้าแทนที่สงครามภายในประเทศแล้ว รูปแบบชนิดนี้ก็ย่อมจะไม่เปลี่ยนแปลง ตราบจนวันที่ข้าศึกเปลี่ยนเป็นฝ่ายอ่อนและเล็ก กองทัพแดงเปลี่ยนเป็นฝ่ายเข้มแข็งและใหญ่โต.  

           การปฏิบัติการรบของกองทัพแดงนั้น ใช้รูปแบบต้าน “การล้อมปราบ”.  ที่ว่าได้ชัยชนะนั้นที่สำคัญหมายถึงชัยชนะในการต้าน “การล้อมปราบ” ซึ่งก็คือ ชัยชนะทางยุทธศาสตร์และในทางการยุทธ์.  การต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งหนึ่งเป็นการยุทธ์ครั้งหนึ่ง  ซึ่งมักจะประกอบขึ้นด้วยการรบใหญ่น้อยหลายครั้งหรือกระทั่งหลายสิบครั้ง.  ก่อนที่ “การล้อมปราบ” ครั้งหนึ่ง ๆ จะถูกทำลายไปโดยพื้นฐานนั้น  ถึงจะได้รับชัยชนะในการรบหลาย ๆ ครั้ง  ก็ยังกล่าวไม่ได้ว่าได้ชัยชนะในทางยุทธศาสตร์หรือในทางการยุทธ์ทั้งกระบวนแล้ว.  ประวัติการสงครามของกองทัพแดงในระยะเวลา ๑๐ ปี ก็คือประวัติการต้าน “การล้อมปราบ” นั่นเอง. 

           “การล้อมปราบ” ของข้าศึกกับการต้าน “การล้อมปราบ” ของกองทัพแดง ต่างใช้รูปแบบการรบ ๒ ชนิด คือการรุกกับการรับ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับสงครามในสมัยโบราณหรือสมัยปัจจุบัน  ในประเทศจีนหรือต่างประเทศ.  แต่ลักษณะพิเศษของสงครามกลางเมืองของจีนนั้น  อยู่ที่การซ้ำไป 

           ซ้ำมาเป็นเวลายาวนานของรูปแบบทั้งสองนี้. ใน “การล้อมปราบ” ครั้งหนึ่ง ๆ ข้าศึกใช้การรุกมาสู้กับการรับของกองทัพแดง กองทัพแดงใช้การรับไปสู้กับการรุกของข้าศึก นี่เป็นขั้นแรกของการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ”.  ข้าศึกใช้การรับมาสู้กับการรุกของกองทัพแดง กองทัพแดงใช้การรุกไปสู้กับการรับของข้าศึก  นี่เป็นขั้นที่ ๒ ของการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ”.  “การล้อมปราบ” ใด ๆ ก็ตาม  ล้วนแต่ประกอบด้วยขั้น ๒ ขั้นนี้  ทั้งยังซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานด้วย. 

          ที่ว่าซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานนั้น หมายถึงการซ้ำไปซ้ำมาของรูปแบบสงครามและ รูปแบบการรบ.  นี่เป็นความจริงที่ใคร ๆ เห็นเข้าก็รู้ได้ทันที.  “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” เป็นการซ้ำไปซ้ำมาของรูปแบบสงคราม.  ขั้นแรกที่ข้าศึกใช้การรุกมาสู้กับการรับของเรา ส่วนเราใช้การรับไปสู้กับการรุกของข้าศึก และขั้นที่ ๒ ที่ข้าศึกใช้การรับมาสู้กับการรุกของเรา  ส่วนเราใช้การรุกไปสู้กับการรับของข้าศึกนั้น, เป็นการซ้ำไปซ้ำมาของรูปแบบการรบใน “การล้อมปราบ” แต่ละครั้ง. 

          ส่วนเนื้อหาของสงครามและการรบนั้น  มิใช่เป็นการซ้ำไปซ้ำมาอย่างง่าย ๆ หากต่างกันทุกครั้งไป. นี่ก็เป็นความจริงที่ใคร ๆ เห็นเข้าก็รู้ได้ทันที.  กฎในที่นี้คือ ขนาดของ “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” ใหญ่ขึ้นทุกครั้ง ๆ.  สภาพการณ์สลับซับซ้อนขึ้นทุกครั้ง ๆ  การรบดุเดือดขึ้นทุกครั้ง ๆ. 

          แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าจะไม่มีการขึ้น ๆ ลง ๆ. ภายหลัง “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ เนื่องจากกองทัพแดงได้ถูกบั่นทอนกำลังลงไปอย่างมากเหลือเกิน  ฐานที่มั่นทางภาคใต้เสียไปหมดสิ้น กองทัพแดงต้องเคลื่อนย้ายไปสู่ภาคพายัพ มิได้อยู่ในฐานะที่สำคัญที่สุดที่คุกคามข้าศึกภายในประเทศเหมือนเมื่ออยู่ทางภาคใต้แล้ว ขนาด สภาพการณ์และการรบของ “การล้อมปราบ” จึงอยู่ข้างเล็กกว่า ง่ายกว่า และผ่อนคลายกว่า. 

          ความพ่ายแพ้ของกองทัพแดงหมายถึงอะไร?  กล่าวในทางยุทธศาตร์แล้ว มีแต่การต้าน “การล้อมปราบ” ไม่ได้รับผลสำเร็จโดยมูลฐานเท่านั้น จึงจะเรียกว่าพ่ายแพ้ได้ และก็เรียกได้แต่เพียงว่าเป็นความพ่ายแพ้เฉพาะส่วนและชั่วคราวเท่านั้น.  ทั้งนี้เพราะว่า ความพ่ายแพ้โดยมูลฐานในสงครามภายในประเทศหมายถึงความพินาศของกองทัพแดงทั้งกองทัพ แต่ว่าข้อเท็จจริงเช่นนี้หามีไม่. การเสียฐานที่มั่นอันกว้างใหญ่และการเคลื่อนย้ายของกองทัพแดงนั้น เป็นเพียงความพ่ายแพ้ชั่วคราวและเฉพาะส่วนเท่านั้น มิใช่เป็นความพ่ายแพ้ตลอดกาลและทั่วทั้งหมด แม้ว่าเฉพาะส่วนนี้จะรวมทั้งความเสียหายร้อยละ ๙๐ ของพรรค ของกองทหาร และของฐานที่มั่นก็ตาม. ข้อเท็จจริงดังกล่าวเราเรียกว่าการต่อเนื่องของการรับ และเรียกการตามตีของข้าศึกว่าการต่อเนื่องของการรุก.  กล่าวคือ ในการต่อสู้ระหว่าง “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” นั้น เรามิได้เปลี่ยนจากการรับเป็นการรุก ตรงกันข้าม กลับถูกการรุกของข้าศึกทำลายการรับของเราไป การรับของเราจึงกลายเป็นการถอย และการรุกของข้าศึกก็กลายเป็นการตามตี.  แต่ครั้นกองทัพแดงมาถึงเขตใหม่ เช่นเราได้เคลื่อนย้ายจากกังไสและที่อื่น ๆ มาถึงส่านซีแล้ว การซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” ก็ปรากฏขึ้นอีก. ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า การถอยทางยุทธศาสตร์ของกองทัพแดง (การเดินทัพทางไกล) เป็นการต่อเนื่องของการรับทางยุทธศาสตร์ของกองทัพแดง และการตามตีทางยุทธศาสตร์ของข้าศึกเป็นการต่อเนื่องของการรุกทางยุทธศาสตร์ของข้าศึก. 

           สงครามภายในประเทศจีน ก็เช่นเดียวกับสงครามใด ๆ ในสมัยโบราณหรือสมัยปัจจุบัน ในประเทศจีนหรือต่างประเทศ, รูปแบบการรบพื้นฐานมีอยู่เพียงสองชนิดเท่านั้น คือการรุกกับการรับ. ลักษณะพิเศษของสงครามกลางเมืองของจีนก็คือ, การซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานของ “การล้อมปราบ” กับการต้าน “การล้อมปราบ” และการซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนาน ขอ งรูปแบบการรบสองชนิด คือการรุกกับการรับ และทั้งรวมเอาการเคลื่อนย้ายทางยุทธศาสตร์อันยิ่งใหญ่เป็นระยะทางหมื่นกว่ากิโลเมตรครั้งหนึ่ง (การเดินทัพทางไกล)๑๔ เข้าไว้ด้วย. 

           ที่เรียกว่าความพ่ายแพ้ของข้าศึกนั้น ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน.  ความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ของพวกมันก็คือ “การล้อมปราบ” ของพวกมันถูกเราทำลายไป การรับของเราได้กลายเป็นการรุก ข้าศึกเปลี่ยนไปสู่ฐานะเป็นฝ่ายรับ ต้องจัดกำลังใหม่จึงจะมี “การล้อมปราบ” อีกครั้งหนึ่ง.  การที่ข้าศึกมิได้ประสบสภาพเช่นที่เรียกว่าการเคลื่อนย้ายทางยุทธศาสตร์หมื่นกว่ากิโลเมตรเหมือนอย่างเรานั้น ก็เพราะว่าพวกมันเป็นผู้ครองอำนาจทั่วประเทศ  และพวกมันก็เข้มแข็งกว่าเรามาก.  แต่เรื่องการเคลื่อนย้ายเป็นบางส่วนนั้นเคยมีมาแล้ว.  ข้าศึกในจุดที่มั่นขาวบางแห่งที่อยู่ในฐานที่มั่นของเราของเราถูกกองทัพแดงล้อมตีแล้วหักวงล้อมออกมา ถอยเข้าเขตขาวเพื่อจัดการรุกใหม่ เรื่องเช่นนี้เคยมีมาแล้ว.  ถ้าสงครามกลางเมืองยืดเยื้อต่อไป ขอบเขตชัยชนะของกองทัพแดงยิ่งกว้างออกไป เรื่องเช่นนี้ย่อมจะมีมากขึ้น.  แต่ว่าผลของพวกมันจะเทียบกับกองทัพแดงไม่ได้ เพราะพวกมันมิได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากประชาชน ทั้งนายทหารกับพลทหารก็ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.  ถ้าพวกมันเอาอย่างการเคลื่อนย้ายทางไกลของกองทัพแดงแล้ว ก็จะต้องถูกทำลายไปอย่างแน่นอน.

          ในสมัยแนวทางหลี่ลี่ซานเมื่อปี ๑๙๓๐ สหายหลี่ลี่ซานไม่เข้าใจลักษณะยืดเยื้อของสงครามกลางเมืองของจีน ด้วยเหตุนี้จึงมองไม่เห็นกฎที่ซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลายาวนานที่ “ล้อมปราบ” แล้ว “ล้อมปราบ” อีก ทำลายแล้วทำลายอีกในการคลี่คลายขยายตัวของสงครามกลางเมืองของจีน (เวลานั้นได้มี “การล้อมปราบ” ๓ ครั้งที่เขตแดนต่อแดนหูหนาน-กังไส “การล้อมปราบ” ๒ ครั้งที่ฮกเกี้ยนอยู่แล้ว) ด้วยเหตุนี้ ในสมัยที่กองทัพแดงยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงสั่งให้กองทัพแดงไปตีหวู่ฮั่น สั่งให้ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธในทั่วประเทศ โดยมุ่งจะให้การปฏิวัติทั่วประเทศได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็ว.  นี่แหละเป็นการทำความผิดพลาดในลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย”. 

          ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ในระหว่างปี ๑๙๓๑ ถึงปี ๑๙๓๔ ก็ไม่เชื่อกฎการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” นี้เช่นกัน.  ในฐานที่มั่นเขตแดนต่อแดนหูเป่ย-หูหนาน-อันฮุยก็มีคำกล่าวที่ว่า “ทัพรอง”๑๕ ขึ้น  สหายนำที่นั่นบางคนเห็นว่า ก๊กมินตั๋งภายหลังที่ได้ประสบความพ่ายแพ้ใน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๓ แล้ว เป็นเพียงทัพรองเท่านั้น ถ้าจะเข้าตีกองทัพแดง ก็จะต้องให้จักรพรรดินิยมออกมารับหน้าที่เป็นกำลังหลักเสียเอง.  เข็มมุ่งยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นภายใต้การคาดคะเน เช่นนี้ ก็คือให้กองทัพแดงไปตีหวู่ฮั่น.  นี่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางหลักการกับสหายกังไสบางคนที่เรียกร้องให้กองทัพแดงเข้าตีหนานชาง คัดค้านการดำเนินงานที่จะเชื่อมฐานที่มั่นต่าง ๆ ให้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน คัดค้านการทำการรบที่ล่อข้าศึกให้ถลำลึกเข้ามา ถือเอาการยึดเมืองเอกและเมืองศูนย์กลางของมณฑลหนึ่ง ๆ เป็นจุดพื้นฐานของชัยชนะในมณฑลนั้น ๆ และเห็นว่า “การต่อต้าน ‘การล้อมปราบ’ ครั้งที่ ๕ เป็นการรบขั้นแตกหักระหว่างวิถีทางปฏิวัติกับวิถีทางเมืองขึ้น” ฯลฯ.  ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” นี้ ได้ปลูกหน่อของแนวทางที่ผิดพลาดในการต่อสู้เพื่อต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๔ ในเขตแดนต่อแดนหูเป่ย-หูหนาน-อันฮุยและในการต่อสู้เพื่อต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ ในเขตศูนย์กลางที่กังไส  ทำให้กองทัพแดงจำต้องตกอยู่ในฐานะไร้สมรรถภาพเมื่อเผชิญกับ “การล้อมปราบ” อันหนักหน่วงของข้าศึก และยังความเสียหายอันใหญ่หลวงแก่การปฏิวัติของจีน. 

           ความเห็นชนิดหนึ่งที่เกี่ยวพันโดยตรงกับลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ที่ปฏิเสธการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” โดยกล่าวว่ากองทัพแดงไม่ควรใช้วิธีการรับเสียเลยนั้น ก็เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิงเช่นกัน. 

           การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นการรุก—การกล่าวเช่นนี้, แน่นอน ก็มีความถูกต้องของมันอยู่.  การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติจากการเกิดขึ้นไปสู่การขยายตัว  จากเล็กไปสู่ใหญ่ จากการไม่มีอำนาจรัฐไปสู่การยึดอำนาจรัฐ  จากการไม่มีกองทัพแดงไปสู่การสร้างกองทัพแดง จากการไม่มีฐานที่มั่นปฏิวัติไปสู่การสร้างฐานที่มั่นปฏิวัตินั้น ย่อมจะต้องรุกเสมอ จะเป็นแบบอนุรักษ์ไม่ได้ ความโน้มเอียงทางอนุรักษ์นิยมนั้นควรจะคัดค้าน. 

           การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นการรุก แต่ก็มีการรับและการถอยด้วย—การกล่าวเช่นนี้จึงจะถูกต้องโดยสมบูรณ์.  รับเพื่อรุก ถอยเพื่อรุดหน้า เข้าด้านปีกเพื่อเข้าด้านหน้า เดินทางอ้อมเพื่อเดินทางตรง เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในกระบวนการแห่งการคลี่คลายขยายตัวของสรรพสิ่งจำนวนมาก สำมะหาอะไรกับการเคลื่อนไหวทางการทหาร. 

           ข้อวินิจฉัยประการแรกในข้อวินิจฉัยสองประการดังกล่าว, ถ้ากล่าวในทางการเมืองแล้วอาจจะถูกก็ได้ แต่เมื่อนำมากล่าวในทางการทหารแล้วก็ไม่ถูก.  ในทางการเมือง จะถูกก็แต่ในสภาพการณ์บางอย่างเท่านั้น (ในเวลาที่การปฏิวัติกำลังรุดหน้า), แต่ก็จะไม่ถูกเมื่อเปลี่ยนไปสู่สภาพการณ์อีกอย่างหนึ่ง (ในเวลาที่การปฏิวัติกำลังถอย คือ ถอยทั้งหมด เช่น รัสเซียในปี ๑๙๐๖๑๖ ประเทศจีนในปี ๑๙๒๗; ถอยเฉพาะส่วน เช่น รัสเซียเมื่อครั้งสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์ในปี ๑๙๑๘๑๗). มีแต่ข้อวินิจฉัยประการหลังเท่านั้นที่เป็นสัจธรรมซึ่งถูกต้องทั้งหมด.  การที่ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ในระหว่างปี ๑๙๓๑ ถึงปี ๑๙๓๔ คัดค้านอย่างกลไกไม่ให้ใช้วิธีการรับทางการทหารนั้น, ก็เป็นเพียงความคิดที่ไร้เดียงสาอย่างยิ่งชนิดหนึ่งเท่านั้น. 

           รูปแบบการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” จะยุติเมื่อไร? ตามความเห็นของข้าพเจ้า  ถ้าสงครามกลางเมืองยืดเวลาออกไปแล้ว นั่นก็เป็นเวลาที่การเปรียบเทียบความแข็งอ่อนระหว่างข้าศึกกับเราได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นมูลฐานขึ้นแล้ว.  เมื่อใดกองทัพแดงได้เปลี่ยนแปลงไปจนเข้มแข็งยิ่งกว่าข้าศึกของตนแล้ว เมื่อนั้นการซ้ำไปซ้ำมาเช่นนี้ก็จะยุติลง.  เวลานั้นเราก็จะเป็นฝ่ายล้อมปราบข้าศึก  ส่วนข้าศึกกลับเป็นฝ่ายพยายามจะต้านการล้อมปราบ  แต่เงื่อนไขทางการเมืองและทางการทหารจะไม่อำนวยให้ข้าศึกมีฐานะต้าน “การล้อมปราบ” เหมือนอย่างกองทัพแดงได้.  ในเวลานั้น รูปแบบการซ้ำไปซ้ำมาของ “การล้อมปราบ” นี้ ถึงจะกล่าวไม่ได้ว่าได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง, แต่การยุติลงโดยทั่วไปนั้นก็ย่อมจะกล่าวยืนยันได้.