bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

บทที่ ๕ การรับทางยุทธศาสตร์ ตอนที่ ๑ การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำ กับการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ

 

บทที่ ๕
การรับทางยุทธศาสตร์
 
ในหัวข้อนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะอธิบายปัญหาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:  (๑) การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำกับการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ;  (๒) การเตรียมต้าน “การล้อมปราบ”;  (๓)  การถอยทางยุทธศาสตร์;  (๔)  การรุกโต้ตอบทางยุทธศาสตร์; (๕)  ปัญหาการเริ่มรุกโต้ตอบ;   (๖)  ปัญหาการรวมศูนย์กำลังทหาร;  (๗)  การรบเคลื่อนที่;  (๘)  การรบแตกหักรวดเร็ว;   (๙)  การรบทำลายล้าง.
 
ตอนที่ ๑
การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำ
กับการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ
 
ทำไมจึงเริ่มกล่าวจากการรับ? ภายหลังที่แนวร่วมประชาชาติครั้งแรกของจีนระหว่างปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ล้มเหลวลงแล้ว  การปฏิวัติก็ได้กลายเป็นสงครามทางชนชั้นที่รุนแรงที่สุดและเหี้ยมโหดที่สุด.  ศัตรูเป็นผู้ครองอำนาจทั่วประเทศ, ส่วนเรามีกองทหารเล็ก ๆ อยู่เพียงนิดเดียว  ด้วยเหตุนี้ พอเริ่มแรกเราก็ต้องบากบั่นต่อสู้กับ “การล้อมปราบ” ของข้าศึก.  การรุกของเรานั้นเกี่ยวพันกับการทำลาย “การล้อมปราบ” อย่างแน่นแฟ้น  ชะตากรรมแห่งการขยายตัวของเราล้วนแต่ขึ้นอยู่กับข้อที่ว่า เราสามารถจะทำลาย “การล้อมปราบ” ได้หรือไม่.  กระบวนการของการทำลาย “การล้อมปราบ” นั้นมักจะวกวนคดเคี้ยว หาใช่ตรงดิ่งดังใจนึกไม่.  ปัญหาอันดับแรกและทั้งเป็นปัญหาหนักหน่วงด้วยนั้นก็คือ จะรักษากำลังและรอคอยโอกาสทำลายข้าศึกอย่างไร.  ฉะนั้น ปัญหาการรับทางยุทธศาสตร์จึงกลายเป็นปัญหาสลับซับซ้อนที่สุดและสำคัญที่สุดในการรบของกองทัพแดง.
ในสงคราม ๑๐ ปีของเรา มักจะเกิดความเอนเอียง ๒ ชนิดขึ้นเสมอในปัญหาการรับทางยุทธศาสตร์  ชนิดหนึ่งคือประมาทข้าศึก อีกชนิดหนึ่งคือถูกข้าศึกข่มขวัญลงไป.
เนื่องจากประมาทข้าศึก  กองจรยุทธ์จำนวนมากจึงได้พ่ายแพ้ไป กองทัพแดงจึงไม่สามารถทำลาย “การล้อมปราบ” ของข้าศึกไปได้เป็นหลายครั้ง.
ในตอนแรก ๆ ที่กองจรยุทธ์ปฏิวัติก่อตั้งขึ้น ผู้ทำหน้าที่นำมักจะมองสถานการณ์ของฝ่ายข้าศึกกับสถานการณ์ของฝ่ายเราไม่ถูกต้อง.  พวกเขามองเห็นว่า ตนได้ชัยชนะโดยก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธอย่างฉับพลันในท้องที่แห่งหนึ่ง หรือได้รับผลสำเร็จในการจัดตั้งการกบฏในกองทหารขาวแล้ว สภาพแวดล้อมในชั่วขณะหนึ่งราบรื่นมาก  หรือว่าแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่ร้ายแรง แต่ก็มองไม่เห็น ดังนั้นจึงมักจะประมาทข้าศึก.  อีกด้านหนึ่ง ก็ไม่เข้าใจจุดอ่อนของตน (ไม่มีความจัดเจน กำลังก็อ่อน).  ข้าศึกแข็งเราอ่อน ที่จริงก็เป็นปรากฏการณ์ที่มีอยู่ทางภววิสัย แต่คนส่วนนี้ไม่อยากไปคิด ๆ ดู พูดถึงแต่เรื่องการรุกถ่ายเดียว ไม่พูดถึงเรื่องการรับและการถอย เป็นการปลดอาวุธการรับเสียในทางความคิด ดังนั้นจึงได้ชักนำการกระทำไปสู่ทิศทางที่ผิด.  กองจรยุทธ์จำนวนมากได้พ่ายแพ้ไปเพราะเหตุนี้.
ตัวอย่างที่กองทัพแดงไม่สามารถทำลาย “การล้อมปราบ” เพราะเหตุอย่างเดียวกันนี้ ได้แก่ความพ่ายแพ้ของกองทัพแดงในเขตไห่เฟิง-ลู่เฟิงมณฑลกวางตุ้งเมื่อปี ๑๙๒๘๑๘  และข้อเท็จจริงที่กองทัพแดงในเขตแดนต่อแดนหูเป่ย-เหอหนาน-อันฮุย ได้สูญเสียสมรรถภาพที่จะดำเนินการอย่างไม่รีบร้อนในการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๑๙๓๒ ภายใต้การชี้นำของคำกล่าวที่ว่าก๊กมินตั๋งเป็นทัพรอง.
ตัวอย่างที่เพลี่ยงพล้ำเพราะถูกข้าศึกข่มขวัญลงไปนั้นมีอยู่มากมาย.
ตรงกันข้ามกับพวกที่ประมาทข้าศึก คนบางส่วนประเมินข้าศึกสูงเกินไปและประเมินตนเองต่ำเกินไป ดังนั้นจึงได้ใช้เข็มมุ่งถอยที่ไม่จำเป็น เป็นการปลดอาวุธการรับเสียในทางความคิดเช่นเดียวกัน.  ผลก็คือ กองจรยุทธ์ต้องประสบความพ่ายแพ้ หรือการยุทธ์บางครั้งของกองทัพแดงต้องประสบความพ่ายแพ้ หรือเสียฐานที่มั่นไป.
ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดในเรื่องเสียฐานที่มั่น คือ การเสียฐานที่มั่นกลางในกังไสในระหว่างต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕.  ความผิดพลาดในที่นี้เกิดจากทรรศนะเอียงขวา, พวกผู้ทำหน้าที่หวาดกลัวข้าศึกราวกับว่ามันเป็นเสือ  สร้างการป้องกันไว้ทุกแห่ง ต้านรับเป็นระยะ ๆ ไม่กล้าดำเนินการรุกที่ตีไปยังเขตหลังของข้าศึกซึ่งที่จริงเป็นผลดีแก่เรา และก็ไม่กล้าดำเนินการอย่างกล้าหาญและเต็มที่ในการล่อให้ข้าศึกถลำลึกเข้ามารวมกันแล้วทำลายมันเสีย ผลก็คือ เสียฐานที่มั่นทั้งหมด  ทำให้กองทัพแดงต้องเดินทัพทางไกล ๑๒,๐๐๐ กว่ากิโลเมตร.  แต่ความผิดพลาดชนิดนี้มักจะมีความผิดพลาดเอียง “ซ้าย” ที่ประมาทข้าศึกนำหน้ามาก่อน.  ลัทธิเสี่ยงภัยทางการทหารที่เข้าตีเมืองศูนย์กลางในปี ๑๙๓๒ นั่นแหละคือมูลรากของการใช้แนวทางการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำในการรับมือกับ “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ ของข้าศึกในเวลาต่อมา.
ตัวอย่างที่ฉกรรจ์ที่สุดในเรื่องถูกข้าศึกข่มขวัญลงไปนั้น คือ “แนวทางจางกว๋อเถา” ซึ่งเป็นลัทธิล่าถอย.  ความพ่ายแพ้ของกองทัพสายตะวันตกแห่งกองทัพแดงด้านที่ ๔ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหลือง๑๙ เป็นการล้มละลายครั้งสุดท้ายของแนวทางนี้.
การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับเพื่อการรุก  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับเพื่อการรบแตกหัก.  การรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับเพื่อป้องกันโดยเฉพาะ  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับล้วน ๆ.  การรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ โดยความจริงแล้วเป็นการรับเทียม มีแต่การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำเท่านั้นที่เป็นการรับแท้, ที่เป็นการรับเพื่อการรุกโต้ตอบและเพื่อการรุก.  เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ตำราการทหารที่มีคุณค่าเล่มใดก็ตาม นักการทหารที่ค่อนข้างจะชาญฉลาดคนใดก็ตาม ไม่ว่าในสมัยโบราณหรือในปัจจุบัน ในประเทศจีนหรือในต่างประเทศ ไม่ว่าในทางยุทธศาสตร์หรือในทางยุทธวิธี ไม่มีเลยที่ไม่คัดค้านการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ.  มีแต่คนที่โง่เขลาที่สุดหรือคนที่บ้าระห่ำที่สุดเท่านั้นที่ยกย่องการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำว่าเป็นของวิเศษ. แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในโลกนี้ยังมีคนอย่างนี้จริง ๆ ทำกันอย่างนี้จริง ๆ.  นี่เป็นความผิดพลาดในสงคราม เป็นการแสดงออกของอนุรักษ์นิยมในทางการทหาร ซึ่งเราควรคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยว.
ในหมู่นักการทหารของประเทศจักรพรรดินิยมรุ่นหลังที่คลี่คลายขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันได้แก่เยอรมันและญี่ปุ่น ได้ป่าวร้องโฆษณาประโยชน์ของการรุกทางยุทธศาสตร์และคัดค้านการรับทางยุทธศาสตร์กันอย่างแข็งขัน.  ความคิดชนิดนี้ไม่เหมาะสมกับสงครามปฏิวัติของจีนโดยมูลฐาน.  บรรดานักการทหารของจักรพรรดินิยมเยอรมันและญี่ปุ่นชี้ว่า จุดอ่อนที่สำคัญอันหนึ่งของการรับนั้นคือไม่อาจปลุกเร้าใจคน กลับจะทำให้ใจคนรวนเร.  ทั้งนี้หมายถึงประเทศชนิดที่มีความขัดแย้งทางชนชั้นรุนแรงและผลประโยชน์จากการทำสงครามเป็นของชั้นชนปกครองที่ปฏิกิริยาหรือกระทั่งของกลุ่มการเมืองผู้กุมอำนาจที่ปฏิกิริยาเท่านั้น.  สภาพของเราผิดกัน. ภายใต้คำขวัญพิทักษ์ฐานที่มั่นปฏิวัติและพิทักษ์ประเทศจีน  เราสามารถจะสามัคคีประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดให้มาทำการรบอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้  เพราะว่าเราเป็นผู้ถูกกดขี่และผู้ถูกรุกราน.  กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามกลางเมืองก็ได้รบชนะข้าศึกในรูปแบบการรับ.  พวกเขาไม่เพียงแต่ได้ทำสงครามภายใต้คำขวัญพิทักษ์โซเวียตในสมัยที่ประเทศจักรพรรดินิยมต่าง ๆ จัดตั้งพวกขาวเข้าตีเท่านั้น  แม้ในระยะตระเตรียมของการลุกขึ้นสู้เดือนตุลาคมก็ได้ทำการระดมทางการทหารภายใต้คำขวัญพิทักษ์นครหลวง.  การรบด้วยวิธีรับในสงครามที่เป็นธรรมทั้งปวง ไม่เพียงแต่มีบทบาทในการทำให้พวกแปลกปลอมทางการเมืองเกิดความมึนชาเท่านั้น  หากยังระดมมวลประชาชนที่ล้าหลังมาเข้าร่วมสงครามได้ด้วย.
ที่มาร์กซกล่าวว่าหลังจากลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธแล้ว ก็ไม่ควรหยุดยั้งการเข้าตีแม้ชั่วขณะหนึ่ง๒๐ นั้น  หมายความว่ามวลชนที่ลุกขึ้นสู้อย่างฉับพลันโดยศัตรูไม่ทันเตรียมตัว จะต้องไม่ให้ผู้ครองอำนาจปฏิกิริยามีโอกาสที่จะรักษาอำนาจรัฐหรือฟื้นอำนาจรัฐได้ ฉวยเอาเวลาชั่วพริบตาเดียวนี้โจมตีอิทธิพลปกครองปฏิกิริยาในประเทศจนมันรับมือไม่ทัน อย่าได้พึงพอใจในชัยชนะที่ได้มาแล้ว ประมาทศัตรู เพลามือในการเข้าตีศัตรู หรือย่อท้อไม่รุดหน้า นั่งปล่อยให้โอกาสที่จะทำลายศัตรูเสียไป อันจะนำความพ่ายแพ้มาสู่การปฏิวัติ.  เช่นนี้ถูกต้อง.   แต่มิได้หมายความว่า ในขณะที่ฝ่ายข้าศึกกับฝ่ายเราปะทะกันในทางการทหารอยู่แล้ว และทั้งข้าศึกเป็นฝ่ายเหนือกว่านั้น, ชาวพรรคปฏิวัติก็ไม่ควรใช้วิธีการรับเมื่อถูกข้าศึกบีบบังคับ.  ถ้าคิดเช่นนี้ก็เป็นคนบัดซบหมายเลขหนึ่ง.
กล่าวโดยส่วนทั้งหมดแล้ว สงครามของเราที่แล้วมาเป็นการเข้าตีก๊กมินตั๋ง  แต่ในทางการทหารได้ใช้รูปแบบทำลาย “การล้อมปราบ”.
กล่าวในทางการทหาร  สงครามของเราเป็นการใช้การรับกับการรุกสลับกัน.  สำหรับเราแล้ว จะว่าการรุกอยู่หลังการรับ หรือจะว่าการรุกอยู่หน้าการรับก็ได้ทั้งนั้น  เพราะปมเงื่อนอยู่ที่การทำลาย “การล้อมปราบ”.  ก่อนที่ “การล้อมปราบ” จะถูกทำลายไปนั้นเป็นการรับ พอ “การล้อมปราบ” ถูกทำลายไปก็เริ่มรุก ทั้งนี้เป็นขั้น ๒ ขั้นของเรื่องเดียวกันเท่านั้น  และ “การล้อมปราบ” ของข้าศึกครั้งหนึ่งกับ “การล้อมปราบ” อีกครั้งหนึ่ง ก็ต่อเชื่อมกันอยู่.  ในขั้น ๒ ขั้นนี้ ขั้นการรับสลับซับซ้อนยิ่งกว่าและสำคัญยิ่งกว่าขั้นการรุก.  ขั้นการรับนี้ได้รวมเอาปัญหามากมายที่ว่าจะทำลาย “การล้อมปราบ” อย่างไรเข้าไว้ด้วย.  หลักการพื้นฐานนั้นคือ ยอมรับการรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำ, คัดค้านการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ.
กล่าวจากสงครามภายในประเทศ หากกำลังของกองทัพแดงเหนือกว่าข้าศึกแล้ว โดยทั่วไปก็ไม่ต้องใช้การรับทางยุทธศาสตร์อีก.  เข็มมุ่งในเวลานั้นก็จะเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์อย่างเดียวเท่านั้น.  การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทั่วไปของกองกำลังฝ่ายข้าศึกกับกำลังฝ่ายเรา.  เมื่อถึงเวลานั้น วิธีการรับที่เหลืออยู่ก็จะเป็นเพียงสิ่งเฉพาะส่วนเท่านั้น.
 
 
 

บทที่ ๕

การรับทางยุทธศาสตร์

 

          ในหัวข้อนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะอธิบายปัญหาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:  (๑) การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำกับการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ;  (๒) การเตรียมต้าน “การล้อมปราบ”;  (๓)  การถอยทางยุทธศาสตร์;  (๔)  การรุกโต้ตอบทางยุทธศาสตร์; (๕)  ปัญหาการเริ่มรุกโต้ตอบ;   (๖)  ปัญหาการรวมศูนย์กำลังทหาร;  (๗)  การรบเคลื่อนที่;  (๘)  การรบแตกหักรวดเร็ว;   (๙)  การรบทำลายล้าง.

 

ตอนที่ ๑

การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำ

กับการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ

 

          ทำไมจึงเริ่มกล่าวจากการรับ? ภายหลังที่แนวร่วมประชาชาติครั้งแรกของจีนระหว่างปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ล้มเหลวลงแล้ว การปฏิวัติก็ได้กลายเป็นสงครามทางชนชั้นที่รุนแรงที่สุดและเหี้ยมโหดที่สุด.  ศัตรูเป็นผู้ครองอำนาจทั่วประเทศ, ส่วนเรามีกองทหารเล็ก ๆ อยู่เพียงนิดเดียว  ด้วยเหตุนี้ พอเริ่มแรกเราก็ต้องบากบั่นต่อสู้กับ “การล้อมปราบ” ของข้าศึก.  การรุกของเรานั้นเกี่ยวพันกับการทำลาย “การล้อมปราบ” อย่างแน่นแฟ้น  ชะตากรรมแห่งการขยายตัวของเราล้วนแต่ขึ้นอยู่กับข้อที่ว่า เราสามารถจะทำลาย “การล้อมปราบ” ได้หรือไม่.  กระบวนการของการทำลาย “การล้อมปราบ” นั้นมักจะวกวนคดเคี้ยว หาใช่ตรงดิ่งดังใจนึกไม่.  ปัญหาอันดับแรกและทั้งเป็นปัญหาหนักหน่วงด้วยนั้นก็คือ จะรักษากำลังและรอคอยโอกาสทำลายข้าศึกอย่างไร.  ฉะนั้น ปัญหาการรับทางยุทธศาสตร์จึงกลายเป็นปัญหาสลับซับซ้อนที่สุดและสำคัญที่สุดในการรบของกองทัพแดง. 

           ในสงคราม ๑๐ ปีของเรา มักจะเกิดความเอนเอียง ๒ ชนิดขึ้นเสมอในปัญหาการรับทางยุทธศาสตร์  ชนิดหนึ่งคือประมาทข้าศึก อีกชนิดหนึ่งคือถูกข้าศึกข่มขวัญลงไป. 

           เนื่องจากประมาทข้าศึก  กองจรยุทธ์จำนวนมากจึงได้พ่ายแพ้ไป กองทัพแดงจึงไม่สามารถทำลาย “การล้อมปราบ” ของข้าศึกไปได้เป็นหลายครั้ง. 

           ในตอนแรก ๆ ที่กองจรยุทธ์ปฏิวัติก่อตั้งขึ้น ผู้ทำหน้าที่นำมักจะมองสถานการณ์ของฝ่ายข้าศึกกับสถานการณ์ของฝ่ายเราไม่ถูกต้อง.  พวกเขามองเห็นว่า ตนได้ชัยชนะโดยก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธอย่างฉับพลันในท้องที่แห่งหนึ่ง หรือได้รับผลสำเร็จในการจัดตั้งการกบฏในกองทหารขาวแล้ว สภาพแวดล้อมในชั่วขณะหนึ่งราบรื่นมาก  หรือว่าแม้จะมีสภาพแวดล้อมที่ร้ายแรง แต่ก็มองไม่เห็น ดังนั้นจึงมักจะประมาทข้าศึก.  อีกด้านหนึ่ง ก็ไม่เข้าใจจุดอ่อนของตน (ไม่มีความจัดเจน กำลังก็อ่อน).  ข้าศึกแข็งเราอ่อน ที่จริงก็เป็นปรากฏการณ์ที่มีอยู่ทางภววิสัย แต่คนส่วนนี้ไม่อยากไปคิด ๆ ดู พูดถึงแต่เรื่องการรุกถ่ายเดียว ไม่พูดถึงเรื่องการรับและการถอย เป็นการปลดอาวุธการรับเสียในทางความคิด ดังนั้นจึงได้ชักนำการกระทำไปสู่ทิศทางที่ผิด.  กองจรยุทธ์จำนวนมากได้พ่ายแพ้ไปเพราะเหตุนี้. 

           ตัวอย่างที่กองทัพแดงไม่สามารถทำลาย “การล้อมปราบ” เพราะเหตุอย่างเดียวกันนี้ ได้แก่ความพ่ายแพ้ของกองทัพแดงในเขตไห่เฟิง-ลู่เฟิงมณฑลกวางตุ้งเมื่อปี ๑๙๒๘๑๘  และข้อเท็จจริงที่กองทัพแดงในเขตแดนต่อแดนหูเป่ย-เหอหนาน-อันฮุย ได้สูญเสียสมรรถภาพที่จะดำเนินการอย่างไม่รีบร้อนในการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๑๙๓๒ ภายใต้การชี้นำของคำกล่าวที่ว่าก๊กมินตั๋งเป็นทัพรอง. 

           ตัวอย่างที่เพลี่ยงพล้ำเพราะถูกข้าศึกข่มขวัญลงไปนั้นมีอยู่มากมาย. 

           ตรงกันข้ามกับพวกที่ประมาทข้าศึก คนบางส่วนประเมินข้าศึกสูงเกินไปและประเมินตนเองต่ำเกินไป ดังนั้นจึงได้ใช้เข็มมุ่งถอยที่ไม่จำเป็น เป็นการปลดอาวุธการรับเสียในทางความคิดเช่นเดียวกัน.  ผลก็คือ กองจรยุทธ์ต้องประสบความพ่ายแพ้ หรือการยุทธ์บางครั้งของกองทัพแดงต้องประสบความพ่ายแพ้ หรือเสียฐานที่มั่นไป. 

           ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดในเรื่องเสียฐานที่มั่น คือ การเสียฐานที่มั่นกลางในกังไสในระหว่างต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕.  ความผิดพลาดในที่นี้เกิดจากทรรศนะเอียงขวา, พวกผู้ทำหน้าที่หวาดกลัวข้าศึกราวกับว่ามันเป็นเสือ  สร้างการป้องกันไว้ทุกแห่ง ต้านรับเป็นระยะ ๆ ไม่กล้าดำเนินการรุกที่ตีไปยังเขตหลังของข้าศึกซึ่งที่จริงเป็นผลดีแก่เรา และก็ไม่กล้าดำเนินการอย่างกล้าหาญและเต็มที่ในการล่อให้ข้าศึกถลำลึกเข้ามารวมกันแล้วทำลายมันเสีย ผลก็คือ เสียฐานที่มั่นทั้งหมด  ทำให้กองทัพแดงต้องเดินทัพทางไกล ๑๒,๐๐๐ กว่ากิโลเมตร.  แต่ความผิดพลาดชนิดนี้มักจะมีความผิดพลาดเอียง “ซ้าย” ที่ประมาทข้าศึกนำหน้ามาก่อน.  ลัทธิเสี่ยงภัยทางการทหารที่เข้าตีเมืองศูนย์กลางในปี ๑๙๓๒ นั่นแหละคือมูลรากของการใช้แนวทางการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำในการรับมือกับ “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ ของข้าศึกในเวลาต่อมา. 

           ตัวอย่างที่ฉกรรจ์ที่สุดในเรื่องถูกข้าศึกข่มขวัญลงไปนั้น คือ “แนวทางจางกว๋อเถา” ซึ่งเป็นลัทธิล่าถอย.  ความพ่ายแพ้ของกองทัพสายตะวันตกแห่งกองทัพแดงด้านที่ ๔ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหลือง๑๙ เป็นการล้มละลายครั้งสุดท้ายของแนวทางนี้. 

           การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับเพื่อการรุก  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับเพื่อการรบแตกหัก.  การรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับเพื่อป้องกันโดยเฉพาะ  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการรับล้วน ๆ.  การรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ โดยความจริงแล้วเป็นการรับเทียม มีแต่การรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำเท่านั้นที่เป็นการรับแท้, ที่เป็นการรับเพื่อการรุกโต้ตอบและเพื่อการรุก.  เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ตำราการทหารที่มีคุณค่าเล่มใดก็ตาม นักการทหารที่ค่อนข้างจะชาญฉลาดคนใดก็ตาม ไม่ว่าในสมัยโบราณหรือในปัจจุบัน ในประเทศจีนหรือในต่างประเทศ ไม่ว่าในทางยุทธศาสตร์หรือในทางยุทธวิธี ไม่มีเลยที่ไม่คัดค้านการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ.  มีแต่คนที่โง่เขลาที่สุดหรือคนที่บ้าระห่ำที่สุดเท่านั้นที่ยกย่องการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำว่าเป็นของวิเศษ. แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในโลกนี้ยังมีคนอย่างนี้จริง ๆ ทำกันอย่างนี้จริง ๆ.  นี่เป็นความผิดพลาดในสงคราม เป็นการแสดงออกของอนุรักษ์นิยมในทางการทหาร ซึ่งเราควรคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยว. 

           ในหมู่นักการทหารของประเทศจักรพรรดินิยมรุ่นหลังที่คลี่คลายขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันได้แก่เยอรมันและญี่ปุ่น ได้ป่าวร้องโฆษณาประโยชน์ของการรุกทางยุทธศาสตร์และคัดค้านการรับทางยุทธศาสตร์กันอย่างแข็งขัน.  ความคิดชนิดนี้ไม่เหมาะสมกับสงครามปฏิวัติของจีนโดยมูลฐาน.  บรรดานักการทหารของจักรพรรดินิยมเยอรมันและญี่ปุ่นชี้ว่า จุดอ่อนที่สำคัญอันหนึ่งของการรับนั้นคือไม่อาจปลุกเร้าใจคน กลับจะทำให้ใจคนรวนเร.  ทั้งนี้หมายถึงประเทศชนิดที่มีความขัดแย้งทางชนชั้นรุนแรงและผลประโยชน์จากการทำสงครามเป็นของชั้นชนปกครองที่ปฏิกิริยาหรือกระทั่งของกลุ่มการเมืองผู้กุมอำนาจที่ปฏิกิริยาเท่านั้น.  สภาพของเราผิดกัน. ภายใต้คำขวัญพิทักษ์ฐานที่มั่นปฏิวัติและพิทักษ์ประเทศจีน  เราสามารถจะสามัคคีประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดให้มาทำการรบอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้  เพราะว่าเราเป็นผู้ถูกกดขี่และผู้ถูกรุกราน.  กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามกลางเมืองก็ได้รบชนะข้าศึกในรูปแบบการรับ.  พวกเขาไม่เพียงแต่ได้ทำสงครามภายใต้คำขวัญพิทักษ์โซเวียตในสมัยที่ประเทศจักรพรรดินิยมต่าง ๆ จัดตั้งพวกขาวเข้าตีเท่านั้น  แม้ในระยะตระเตรียมของการลุกขึ้นสู้เดือนตุลาคมก็ได้ทำการระดมทางการทหารภายใต้คำขวัญพิทักษ์นครหลวง.  การรบด้วยวิธีรับในสงครามที่เป็นธรรมทั้งปวง ไม่เพียงแต่มีบทบาทในการทำให้พวกแปลกปลอมทางการเมืองเกิดความมึนชาเท่านั้น  หากยังระดมมวลประชาชนที่ล้าหลังมาเข้าร่วมสงครามได้ด้วย. 

           ที่มาร์กซกล่าวว่าหลังจากลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธแล้ว ก็ไม่ควรหยุดยั้งการเข้าตีแม้ชั่วขณะหนึ่ง๒๐ นั้น  หมายความว่ามวลชนที่ลุกขึ้นสู้อย่างฉับพลันโดยศัตรูไม่ทันเตรียมตัว จะต้องไม่ให้ผู้ครองอำนาจปฏิกิริยามีโอกาสที่จะรักษาอำนาจรัฐหรือฟื้นอำนาจรัฐได้ ฉวยเอาเวลาชั่วพริบตาเดียวนี้โจมตีอิทธิพลปกครองปฏิกิริยาในประเทศจนมันรับมือไม่ทัน อย่าได้พึงพอใจในชัยชนะที่ได้มาแล้ว ประมาทศัตรู เพลามือในการเข้าตีศัตรู หรือย่อท้อไม่รุดหน้า นั่งปล่อยให้โอกาสที่จะทำลายศัตรูเสียไป อันจะนำความพ่ายแพ้มาสู่การปฏิวัติ.  เช่นนี้ถูกต้อง.   แต่มิได้หมายความว่า ในขณะที่ฝ่ายข้าศึกกับฝ่ายเราปะทะกันในทางการทหารอยู่แล้ว และทั้งข้าศึกเป็นฝ่ายเหนือกว่านั้น, ชาวพรรคปฏิวัติก็ไม่ควรใช้วิธีการรับเมื่อถูกข้าศึกบีบบังคับ.  ถ้าคิดเช่นนี้ก็เป็นคนบัดซบหมายเลขหนึ่ง. 

           กล่าวโดยส่วนทั้งหมดแล้ว สงครามของเราที่แล้วมาเป็นการเข้าตีก๊กมินตั๋ง  แต่ในทางการทหารได้ใช้รูปแบบทำลาย “การล้อมปราบ”. 

           กล่าวในทางการทหาร  สงครามของเราเป็นการใช้การรับกับการรุกสลับกัน.  สำหรับเราแล้ว จะว่าการรุกอยู่หลังการรับ หรือจะว่าการรุกอยู่หน้าการรับก็ได้ทั้งนั้น  เพราะปมเงื่อนอยู่ที่การทำลาย “การล้อมปราบ”.  ก่อนที่ “การล้อมปราบ” จะถูกทำลายไปนั้นเป็นการรับ พอ “การล้อมปราบ” ถูกทำลายไปก็เริ่มรุก ทั้งนี้เป็นขั้น ๒ ขั้นของเรื่องเดียวกันเท่านั้น  และ “การล้อมปราบ” ของข้าศึกครั้งหนึ่งกับ “การล้อมปราบ” อีกครั้งหนึ่ง ก็ต่อเชื่อมกันอยู่.  ในขั้น ๒ ขั้นนี้ ขั้นการรับสลับซับซ้อนยิ่งกว่าและสำคัญยิ่งกว่าขั้นการรุก.  ขั้นการรับนี้ได้รวมเอาปัญหามากมายที่ว่าจะทำลาย “การล้อมปราบ” อย่างไรเข้าไว้ด้วย.  หลักการพื้นฐานนั้นคือ ยอมรับการรับอย่างเป็นฝ่ายกระทำ, คัดค้านการรับอย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำ. 

           กล่าวจากสงครามภายในประเทศ หากกำลังของกองทัพแดงเหนือกว่าข้าศึกแล้ว โดยทั่วไปก็ไม่ต้องใช้การรับทางยุทธศาสตร์อีก.  เข็มมุ่งในเวลานั้นก็จะเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์อย่างเดียวเท่านั้น.  การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทั่วไปของกองกำลังฝ่ายข้าศึกกับกำลังฝ่ายเรา.  เมื่อถึงเวลานั้น วิธีการรับที่เหลืออยู่ก็จะเป็นเพียงสิ่งเฉพาะส่วนเท่านั้น.