bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

ตอนที่ ๒ การเตรียมต้าน "การล้อมปราบ"

 

ตอนที่ ๒
การเตรียมต้าน “การล้อมปราบ”
 
 
ถ้าไม่มีการตระเตรียมที่จำเป็นและอย่างเต็มที่ต่อ “การล้อมปราบ” อย่างมีแผนการครั้งหนึ่ง ๆ ของข้าศึกแล้ว  เราก็จะตกอยู่ในฐานะถูกกระทำอย่างแน่นอน.  การรับศึกอย่างฉุกละหุกย่อมจะไม่มีความมั่นใจในชัยชนะ.  ด้วยเหตุนี้ ในขณะเดียวกันกับที่ข้าศึกเตรียม “การล้อมปราบ”  การเตรียมต้าน “การล้อมปราบ” ของเราจึงมีความจำเป็นโดยสิ้นเชิงทีเดียว.  ความเห็นที่คัดค้านการตระเตรียมซึ่งเคยเกิดขึ้นในขบวนของเรานั้น เป็นสิ่งที่ไร้เดียงสาและน่าขัน.
ในที่นี้มีปัญหายุ่งยากอยู่ปัญหาหนึ่งซึ่งทำให้เกิดโต้เถียงกันได้ง่าย.  นั่นก็คือ เมื่อไรจึงจะยุติการรุกของตนและเปลี่ยนไปสู่ขั้นเตรียมต้าน “การล้อมปราบ” ได้?  เพราะว่าเมื่อเราอยู่ในระหว่างการรุกอย่างมีชัยและข้าศึกอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายรับนั้น, การเตรียม “การล้อมปราบ” ของข้าศึกได้ดำเนินไปอย่างลับ ๆ, เรารู้ได้ยากว่า พวกมันจะเริ่มรุกเมื่อไร.  ถ้าเราเริ่มงานเตรียมต้าน “การล้อมปราบ” เร็วเกินไป ก็ย่อมจะทำให้ผลประโยชน์ในการรุกลดน้อยลง และบางครั้งยังจะส่งผลสะเทือนที่ไม่ดีบางอย่างแก่กองทัพแดงและประชาชนได้ด้วย.  เพราะว่าจังหวะก้าวที่สำคัญที่สุดในขั้นตระเตรียมนั้นก็คือ ตระเตรียมการถอยทางการทหารและปลุกระดมทางการเมืองเพื่อตระเตรียมการถอย.  บางครั้งเตรียมเร็วเกินไป ก็จะกลายเป็นการรอคอยข้าศึกไป; เมื่อคอยอยู่เป็นเวลานานแต่ข้าศึกก็ยังไม่มา ก็จำต้องก่อการรุกของตนขึ้นใหม่.  บางครั้งการรุกครั้งใหม่ของเราเพิ่งจะเริ่มต้น ก็มาประจวบกับการเริ่มรุกของข้าศึกเข้าพอดี ทำให้ตนตกอยู่ในฐานะลำบาก.  ดังนั้น การเลือกโอกาสที่จะเริ่มเตรียมการจึงกลายเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่ง.  การวินิจฉัยโอกาสชนิดนี้ จะต้องเพ่งหนักไปที่สภาพของฝ่ายข้าศึกกับสภาพของฝ่ายเราและความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย.  เพื่อที่จะเข้าใจสภาพของฝ่ายข้าศึก  จะต้องรวบรวมข้อมูลด้านการเมือง การทหาร การคลังและประชามติทางสังคม ฯลฯ จากฝ่ายข้าศึก.  เวลาที่วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ จะต้องประเมินกำลังทั้งหมดของข้าศึกอย่างเพียงพอ จะนำเอาระดับความพ่ายแพ้ที่แล้วมาของข้าศึกไปขยายความไม่ได้ แต่จะไม่ประเมินความขัดแย้งภายใน ความยากลำบากทางการคลัง ผลสะเทือนจากความพ่ายแพ้ที่แล้วมา ฯลฯ ของข้าศึกก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด.  สำหรับฝ่ายเรานั้น จะนำเอาระดับชัยชนะที่แล้วมาไปขยายความไม่ได้ แต่จะไม่ประเมินผลสะเทือนจากชัยชนะที่แล้วมาอย่างเพียงพอก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด.
แต่ว่าปัญหาโอกาสที่จะเริ่มตระเตรียมนั้น กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ยอมพลาดเพราะทำเร็วไปดีกว่าพลาดเพราะทำสายไป.  เพราะว่าความเสียหายที่เกิดจากอย่างแรกนั้นน้อยกว่าอย่างหลัง,  และประโยชน์ของมันก็คือเตรียมไว้ก่อนย่อมพ้นภัย ทำให้เราตั้งอยู่ในฐานะที่ไม่พ่ายแพ้โดยมูลฐาน.
ปัญหาที่สำคัญในขั้นตระเตรียมนั้น คือการตระเตรียมการถอยของกองทัพแดง  การปลุกระดมทางการเมือง การรับสมัครทหารใหม่  การตระเตรียมทางการเงินและเสบียงอาหาร, การจัดการกับพวกแปลกปลอมทางการเมือง ฯลฯ.
ที่เรียกว่าการตระเตรียมการถอยของกองทัพแดงนั้น หมายความว่า อย่าให้กองทัพแดงมุ่งไปในทิศทางที่ไม่เป็นผลดีแก่การถอย อย่ารุกไปไกลนัก และอย่าให้กองทัพแดงอ่อนเพลียเกินไป.  ทั้งนี้เป็นการจัดการอันจำเป็นของกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักในคืนก่อนวันที่ข้าศึกจะรุกใหญ่.  ในยามเช่นนั้น, ความสนใจของกองทัพแดงจะต้องวางไว้ที่แผนการสร้างสรรค์สนามรบ รวบรวมวัตถุอุปกรณ์ ขยายและฝึกกำลังของตนเป็นสำคัญ.
การปลุกระดมทางการเมืองเป็นปัญหาสำคัญอันดับแรกในการต่อสู้ต้าน “การล้อมปราบ”.  นั่นก็คือ ต้องบอกกล่าวแก่ทหารในกองทัพแดงและประชาชนในฐานที่มั่นอย่างแจ่มชัด, อย่างเด็ดเดี่ยวและอย่างเต็มที่ถึงความจำต้องเป็นไปและความรีบด่วนขอการรุกของข้าศึก  ถึงความร้ายแรงที่การรุกของข้าศึกเป็นภัยต่อประชาชน;  พร้อมกันนั้น ก็บอกกล่าวให้รู้ถึงจุดอ่อนของข้าศึก เงื่อนไขอันดีเลิศของกองทัพแดง เจตจำนงที่เราจะเอาชนะให้จนได้ ทิศทางการทำงานของเรา ฯลฯ.  ต้องเรียกร้องให้กองทัพแดงและประชาชนทั้งมวลต่อสู้เพื่อต้าน “การล้อมปราบ” และพิทักษ์ฐานที่มั่น.  นอกจากความลับทางการทหารแล้ว การระดมทางการเมืองจะต้องทำอย่างเปิดเผย, ทั้งจะต้องพยายามขยายกว้างไปถึงบุคคลที่อาจสนับสนุนผลประโยชน์ของการปฏิวัติทุกคน.  ข้อต่อที่สำคัญที่สุดคือพูดจูงใจผู้ปฏิบัติงาน.
การรับสมัครทหารใหม่จะต้องเริ่มจากสองด้าน:  ด้านหนึ่ง, คำนึงถึงระดับความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนและจำนวนประชากร; อีกด้านหนึ่ง คำนึงถึงสภาพของกองทัพแดงในเวลานั้นและขอบเขตที่เป็นไปได้ของความสิ้นเปลืองของกองทัพแดงในการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ” ทั้งกระบวน.
มิพักต้องกล่าวถึง ปัญหาการเงินและเสบียงอาหารนั้นมีความหมายอันสำคัญต่อการต้าน “การล้อมปราบ”.  จะต้องคำนึงถึงว่า “การล้อมปราบ” อาจะยืดเวลาต่อไปก็ได้.  จะต้องคำนวณขีดต่ำสุดของความต้องการทางวัตถุปัจจัยในระหว่างต่อสู้ต้าน “การล้อมปราบ” ทั้งกระบวน  โดยถือความต้องการของกองทัพแดงเป็นสำคัญและถัดไปก็ของประชาชนในฐานที่มั่นปฏิวัติ.
การปฏิบัติต่อพวกแปลกปลอมทางการเมืองนั้น จะขาดความระมัดระวังไม่ได้;  แต่จะใช้มาตรการในการระมัดระวังเกินควรเพราะกลัวการทรยศของพวกนี้จนเกินไปก็ไม่ได้เช่นกัน.  การปฏิบัติต่อพวกเจ้าที่ดิน พ่อค้า ชาวนารวยนั้นควรจะมีการจำแนก ที่สำคัญคืออธิบายในทางการเมืองให้พวกเขาเข้าใจ ช่วงชิงให้พวกเขาวางตัวเป็นกลาง และจัดตั้งมวลชนให้คอยจับตาดูพวกเขาไว้.  เฉพาะพวกที่เป็นภัยที่สุดจำนวนน้อยที่สุดเท่านั้นที่ใช้มาตรการอันรุนแรงได้ เช่นจับกุม เป็นต้น.
ระดับชัยชนะในการต่อสู้ต้าน “การล้อมปราบ” นั้น สัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับระดับการบรรลุภาระหน้าที่ในขั้นตระเตรียม.  การเพลามือในการตระเตรียมซึ่งเกิดจากการประมาทข้าศึกและการตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูกซึ่งเกิดจากการถูกการรุกของข้าศึกข่มขวัญลงไปนั้น ล้วนเป็นความโน้มเอียงที่ไม่ดีอันควรจะคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวทั้งสิ้น.  สิ่งที่เราต้องการนั้นคือ, จิตใจที่กระตือรือร้นแต่เยือกเย็น การทำงานที่เคร่งเครียดแต่มีระเบียบ.
 
 
 
 

ตอนที่ ๒

การเตรียมต้าน “การล้อมปราบ”

 

          ถ้าไม่มีการตระเตรียมที่จำเป็นและอย่างเต็มที่ต่อ “การล้อมปราบ” อย่างมีแผนการครั้งหนึ่ง ๆ ของข้าศึกแล้ว  เราก็จะตกอยู่ในฐานะถูกกระทำอย่างแน่นอน.  การรับศึกอย่างฉุกละหุกย่อมจะไม่มีความมั่นใจในชัยชนะ.  ด้วยเหตุนี้ ในขณะเดียวกันกับที่ข้าศึกเตรียม “การล้อมปราบ”  การเตรียมต้าน “การล้อมปราบ” ของเราจึงมีความจำเป็นโดยสิ้นเชิงทีเดียว.  ความเห็นที่คัดค้านการตระเตรียมซึ่งเคยเกิดขึ้นในขบวนของเรานั้น เป็นสิ่งที่ไร้เดียงสาและน่าขัน. 

           ในที่นี้มีปัญหายุ่งยากอยู่ปัญหาหนึ่งซึ่งทำให้เกิดโต้เถียงกันได้ง่าย.  นั่นก็คือ เมื่อไรจึงจะยุติการรุกของตนและเปลี่ยนไปสู่ขั้นเตรียมต้าน “การล้อมปราบ” ได้?  เพราะว่าเมื่อเราอยู่ในระหว่างการรุกอย่างมีชัยและข้าศึกอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายรับนั้น, การเตรียม “การล้อมปราบ” ของข้าศึกได้ดำเนินไปอย่างลับ ๆ, เรารู้ได้ยากว่า พวกมันจะเริ่มรุกเมื่อไร.  ถ้าเราเริ่มงานเตรียมต้าน “การล้อมปราบ” เร็วเกินไป ก็ย่อมจะทำให้ผลประโยชน์ในการรุกลดน้อยลง และบางครั้งยังจะส่งผลสะเทือนที่ไม่ดีบางอย่างแก่กองทัพแดงและประชาชนได้ด้วย.  เพราะว่าจังหวะก้าวที่สำคัญที่สุดในขั้นตระเตรียมนั้นก็คือ ตระเตรียมการถอยทางการทหารและปลุกระดมทางการเมืองเพื่อตระเตรียมการถอย.  บางครั้งเตรียมเร็วเกินไป ก็จะกลายเป็นการรอคอยข้าศึกไป; เมื่อคอยอยู่เป็นเวลานานแต่ข้าศึกก็ยังไม่มา ก็จำต้องก่อการรุกของตนขึ้นใหม่.  บางครั้งการรุกครั้งใหม่ของเราเพิ่งจะเริ่มต้น ก็มาประจวบกับการเริ่มรุกของข้าศึกเข้าพอดี ทำให้ตนตกอยู่ในฐานะลำบาก.  ดังนั้น การเลือกโอกาสที่จะเริ่มเตรียมการจึงกลายเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่ง.  การวินิจฉัยโอกาสชนิดนี้ จะต้องเพ่งหนักไปที่สภาพของฝ่ายข้าศึกกับสภาพของฝ่ายเราและความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย.  เพื่อที่จะเข้าใจสภาพของฝ่ายข้าศึก  จะต้องรวบรวมข้อมูลด้านการเมือง การทหาร การคลังและประชามติทางสังคม ฯลฯ จากฝ่ายข้าศึก.  เวลาที่วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ จะต้องประเมินกำลังทั้งหมดของข้าศึกอย่างเพียงพอ จะนำเอาระดับความพ่ายแพ้ที่แล้วมาของข้าศึกไปขยายความไม่ได้ แต่จะไม่ประเมินความขัดแย้งภายใน ความยากลำบากทางการคลัง ผลสะเทือนจากความพ่ายแพ้ที่แล้วมา ฯลฯ ของข้าศึกก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด.  สำหรับฝ่ายเรานั้น จะนำเอาระดับชัยชนะที่แล้วมาไปขยายความไม่ได้ แต่จะไม่ประเมินผลสะเทือนจากชัยชนะที่แล้วมาอย่างเพียงพอก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด. 

           แต่ว่าปัญหาโอกาสที่จะเริ่มตระเตรียมนั้น กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ยอมพลาดเพราะทำเร็วไปดีกว่าพลาดเพราะทำสายไป.  เพราะว่าความเสียหายที่เกิดจากอย่างแรกนั้นน้อยกว่าอย่างหลัง,  และประโยชน์ของมันก็คือเตรียมไว้ก่อนย่อมพ้นภัย ทำให้เราตั้งอยู่ในฐานะที่ไม่พ่ายแพ้โดยมูลฐาน. 

           ปัญหาที่สำคัญในขั้นตระเตรียมนั้น คือการตระเตรียมการถอยของกองทัพแดง  การปลุกระดมทางการเมือง การรับสมัครทหารใหม่  การตระเตรียมทางการเงินและเสบียงอาหาร, การจัดการกับพวกแปลกปลอมทางการเมือง ฯลฯ. 

           ที่เรียกว่าการตระเตรียมการถอยของกองทัพแดงนั้น หมายความว่า อย่าให้กองทัพแดงมุ่งไปในทิศทางที่ไม่เป็นผลดีแก่การถอย อย่ารุกไปไกลนัก และอย่าให้กองทัพแดงอ่อนเพลียเกินไป.  ทั้งนี้เป็นการจัดการอันจำเป็นของกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักในคืนก่อนวันที่ข้าศึกจะรุกใหญ่.  ในยามเช่นนั้น, ความสนใจของกองทัพแดงจะต้องวางไว้ที่แผนการสร้างสรรค์สนามรบ รวบรวมวัตถุอุปกรณ์ ขยายและฝึกกำลังของตนเป็นสำคัญ. 

           การปลุกระดมทางการเมืองเป็นปัญหาสำคัญอันดับแรกในการต่อสู้ต้าน “การล้อมปราบ”.  นั่นก็คือ ต้องบอกกล่าวแก่ทหารในกองทัพแดงและประชาชนในฐานที่มั่นอย่างแจ่มชัด, อย่างเด็ดเดี่ยวและอย่างเต็มที่ถึงความจำต้องเป็นไปและความรีบด่วนขอการรุกของข้าศึก  ถึงความร้ายแรงที่การรุกของข้าศึกเป็นภัยต่อประชาชน;  พร้อมกันนั้น ก็บอกกล่าวให้รู้ถึงจุดอ่อนของข้าศึก เงื่อนไขอันดีเลิศของกองทัพแดง เจตจำนงที่เราจะเอาชนะให้จนได้ ทิศทางการทำงานของเรา ฯลฯ.  ต้องเรียกร้องให้กองทัพแดงและประชาชนทั้งมวลต่อสู้เพื่อต้าน “การล้อมปราบ” และพิทักษ์ฐานที่มั่น.  นอกจากความลับทางการทหารแล้ว การระดมทางการเมืองจะต้องทำอย่างเปิดเผย, ทั้งจะต้องพยายามขยายกว้างไปถึงบุคคลที่อาจสนับสนุนผลประโยชน์ของการปฏิวัติทุกคน.  ข้อต่อที่สำคัญที่สุดคือพูดจูงใจผู้ปฏิบัติงาน. 

           การรับสมัครทหารใหม่จะต้องเริ่มจากสองด้าน:  ด้านหนึ่ง, คำนึงถึงระดับความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนและจำนวนประชากร; อีกด้านหนึ่ง คำนึงถึงสภาพของกองทัพแดงในเวลานั้นและขอบเขตที่เป็นไปได้ของความสิ้นเปลืองของกองทัพแดงในการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ” ทั้งกระบวน.  

           มิพักต้องกล่าวถึง ปัญหาการเงินและเสบียงอาหารนั้นมีความหมายอันสำคัญต่อการต้าน “การล้อมปราบ”.  จะต้องคำนึงถึงว่า “การล้อมปราบ” อาจะยืดเวลาต่อไปก็ได้.  จะต้องคำนวณขีดต่ำสุดของความต้องการทางวัตถุปัจจัยในระหว่างต่อสู้ต้าน “การล้อมปราบ” ทั้งกระบวน  โดยถือความต้องการของกองทัพแดงเป็นสำคัญและถัดไปก็ของประชาชนในฐานที่มั่นปฏิวัติ. 

           การปฏิบัติต่อพวกแปลกปลอมทางการเมืองนั้น จะขาดความระมัดระวังไม่ได้;  แต่จะใช้มาตรการในการระมัดระวังเกินควรเพราะกลัวการทรยศของพวกนี้จนเกินไปก็ไม่ได้เช่นกัน.  การปฏิบัติต่อพวกเจ้าที่ดิน พ่อค้า ชาวนารวยนั้นควรจะมีการจำแนก ที่สำคัญคืออธิบายในทางการเมืองให้พวกเขาเข้าใจ ช่วงชิงให้พวกเขาวางตัวเป็นกลาง และจัดตั้งมวลชนให้คอยจับตาดูพวกเขาไว้.  เฉพาะพวกที่เป็นภัยที่สุดจำนวนน้อยที่สุดเท่านั้นที่ใช้มาตรการอันรุนแรงได้ เช่นจับกุม เป็นต้น.   

           ระดับชัยชนะในการต่อสู้ต้าน “การล้อมปราบ” นั้น สัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับระดับการบรรลุภาระหน้าที่ในขั้นตระเตรียม. การเพลามือในการตระเตรียมซึ่งเกิดจากการประมาทข้าศึกและการตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูกซึ่งเกิดจากการถูกการรุกของข้าศึกข่มขวัญลงไปนั้น ล้วนเป็นความโน้มเอียงที่ไม่ดีอันควรจะคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวทั้งสิ้น.  สิ่งที่เราต้องการนั้นคือ, จิตใจที่กระตือรือร้นแต่เยือกเย็น การทำงานที่เคร่งเครียดแต่มีระเบียบ.