bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

ตอนที่ ๖ ปัญหาการรวมศูนย์กำลังทหาร

 

ตอนที่ ๖
ปัญหาการรวมศูนย์กำลังทหาร
 
การรวมศูนย์กำลังทหารนั้นดูเป็นของง่าย  แต่ทำเข้าก็ยากพอดู.  ใครๆ ก็รู้ว่า การเอามากไปชนะน้อยนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่คนจำนวนมากไม่สามารถจะทำได้ ตรงกันข้าม มักจะกระจายกำลังทหารของตนออกไป  มูลเหตุก็อยู่ที่ผู้ชี้นำขาดหัวคิดทางยุทธศาสตร์  ถูกสภาพแวดล้อมอันสลับซับซ้อนลวงตาเอา  ดังนั้นจึงถูกสภาพแวดล้อมครอบงำเอา  จนสูญเสียสมรรถภาพที่จะเป็นตัวของตัวเอง  และทำงานโดยใช้ลัทธิขอไปที.
ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สลับซับซ้อน หนักหน่วง และลำบากยากเข็ญเพียงไร  สิ่งที่ผู้ชี้นำทางการทหารต้องการเป็นอันดับแรกนั้นก็คือ การจัดตั้งและใช้กำลังของตนอย่างเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง.  เรื่องที่ถูกข้าศึกบีบบังคับจนตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำนั้นย่อมมีอยู่เสมอ  ที่สำคัญคือต้องฟื้นฐานะที่เป็นฝ่ายกระทำโดยเร็ว.  ถ้าไม่สามารถฟื้นฐานะเช่นนี้ได้แล้ว  ขั้นต่อไปก็คือความพ่ายแพ้.
ฐานะที่เป็นฝ่ายกระทำนั้นมิใช่เป็นความเพ้อฝัน  หากเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและที่เป็นวัตถะ.  ในที่นี้  ที่สำคัญที่สุดก็คือ, รักษาและรวบรวมกองทหารที่มีชีวพลังไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้.
การรบด้วยวิธีรับนั้นที่จริงตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำได้ง่าย การรบด้วยวิธีรับสามารถที่จะแสดงบทบาทความเป็นฝ่ายกระทำอย่างเต็มที่ได้น้อยกว่าการรบด้วยวิธีรุกมาก.  แต่การรบด้วยวิธีรับก็สามารถที่จะมีเนื้อหาที่เป็นฝ่ายกระทำในรูปแบบที่เป็นฝ่ายถูกกระทำได้  สามารถที่จะเปลี่ยนจากขั้นถูกกระทำในทางรูปแบบมาเป็นขั้นกระทำทั้งในทางรูปแบบและในทางเนื้อหาได้.   การถอยทางยุทธศาสตร์ที่มีแผนโดยสมบูรณ์นั้น,  ในทางรูปแบบเป็นการถูกบีบบังคับให้ทำเช่นนั้น  แต่ในทางเนื้อหาแล้ว ก็เพื่อรักษากำลังทหารและรอคอยโอกาสทำลายข้าศึก  เพื่อล่อข้าศึกให้ถลำลึกเข้ามา  และเตรียมรุกโต้ตอบ.  การไม่ยอมถอยถ่ายเดียวและเข้ารับศึกอย่างฉุกละหุก (เช่นการรบที่เซียวสือ) นั้น โดยภายนอกคล้ายกับว่าพยายามจะช่วงชิงความเป็นฝ่ายกระทำ  แต่โดยความเป็นจริงแล้ว กลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ.  ส่วนการรุกโต้ตอบทางยุทธศาสตร์นั้น, ไม่เพียงแต่เนื้อหาเป็นฝ่ายกระทำเท่านั้น  ในทางรูปแบบก็ได้ละทิ้งท่วงท่าที่เป็นฝ่ายถูกกระทำในเวลาถอยนั้นไปด้วย.  กล่าวในด้านของกองทัพข้าศึกแล้ว การรุกโต้ตอบเป็นความพยายามของกองทัพฝ่ายเราที่จะบีบบังคับให้มันทิ้งความเป็นฝ่ายกระทำ, และพร้อมกันนั้นก็ให้ตกไปอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำด้วย.
การที่จะบรรลุุจุดมุ่งหมายชนิดนี้อย่างสิ้นเชิงนั้น  การรวมศูนย์กำลังทหาร การรบเคลื่อนที่  การรบแตกหักรวดเร็ว และการรบทำลายล้าง  ล้วนเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งสิ้น.  และการรวมศูนย์กำลังทหารนั้นอยู่ในอันดับแรกและเป็นหลัก,
การรวมศูนย์กำลังทหารเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ระหว่างข้าศึกกับเรา.  ประการที่ ๑ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รุกกับถอย.  ที่แล้วมาข้าศึกรุกเราถอย,  เดี๋ยวนี้เราพยายามจะให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่เรารุกข้าศึกถอย.  เมื่อรวมศูนย์กำลังทหาร พอรบก็ชนะ  จุดมุ่งหมายอันนี้ก็จะบรรลุในการรบครั้งนั้น  และก็จะส่งผลสะเทือนแก่การยุทธ์ทั้งกระบวน.
ประการที่ ๒  เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเข้าตีกับการตั้งรับ. ในการรบด้วยวิธีรับ การถอยไปจนถึงปลายทางของการถอยนั้น  โดยพื้นฐานแล้วจัดอยู่ในขั้นถูกกระทำ  คือขั้น “ตั้งรับ”.  ส่วนการรุกโต้ตอบจัดอยู่ในขั้นกระทำ คือขั้น “เข้าตี”.  แม้ว่าในการรับทางยุทธศาสตร์ทั้งกระบวน การรุกโต้ตอบจะมิได้พ้นจากลักษณะรับก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับการถอยแล้ว, ก็เป็นสิ่งที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่เพียงแต่ในทางรูปแบบ หากในทางเนื้อหาด้วย.  การรุกโต้ตอบเป็นสิ่งที่อยู่ในระยะผ่านระหว่างการรับทางยุทธศาสตร์กับการรุกทางยุทธศาสตร์  และมีลักษณะเป็นสิ่งนำหน้าก่อนการรุกทางยุทธศาสตร์  การรวมศูนย์กำลังทหารก็เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนี้นั่นเอง.
ประการที่ ๓  เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์แนวด้านในกับแนวด้านนอก.  กองทัพที่ทำการรบอยู่ในแนวด้านในทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพแดงซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูก “ล้อมปราบ” ต้องเสียเปรียบอย่างมากมาย.  แต่ในทางการยุทธ์หรือในทางการรบเราสามารถและก็จะต้องเปลี่ยนแปลงมันเสียอย่างเด็ดขาด.  เปลี่ยน “การล้อมปราบ”  ขนาดใหญ่ที่กองทัพข้าศึกกระทำต่อกองทัพฝ่ายเราให้เป็นการล้อมปราบขนาดย่อมที่เป็นเอกเทศจำนวนมากที่กองทัพฝ่ายเรากระทำต่อกองทัพข้าศึก.  เปลี่ยนการแยกกันรุดรวมกันตีในทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพข้าศึกกระทำต่อกองทัพฝ่ายเราให้เป็นการแยกกันรุดรวมกันตีในทางการยุทธ์หรือในทางการรบที่กองทัพฝ่ายเรากระทำต่อกองทัพข้าศึก.  เปลี่ยนความเหนือกว่าทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพข้าศึกมีต่อกองทัพฝ่ายเราให้เป็นความเหนือกว่าในทางการยุทธ์หรือในทางการรบที่กองทัพฝ่ายเรามีต่อกองทัพฝ่ายข้าศึก.  ทำให้กองทัพข้าศึกที่อยู่ในฐานะฝ่ายแข็งในทางยุทธศาสตร์ตกอยู่ในฐานะฝ่ายอ่อนในทางการยุทธ์หรือในทางการรบ.  ในขณะเดียวกัน  ก็เปลี่ยนฐานะฝ่ายอ่อนในทางยุทธศาสตร์ของตนให้เป็นฐานะฝ่ายแข็งในทางการยุทธ์หรือในทางการรบ.  เหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่า การทำการรบที่แนวด้านนอกในการทำการรบที่แนวด้านใน การล้อมปราบใน “การล้อมปราบ” การปิดล้อมในการปิดล้อม การรุกในการรับ  ความเหนือกว่าในความด้อยกว่า  ความเป็นฝ่ายแข็งในความเป็นฝ่ายอ่อน  ความได้เปรียบในความเสียเปรียบ  ความเป็นฝ่ายกระทำในความเป็นฝ่ายถูกกระทำ.  การช่วงชิงชัยชนะจากการรับทางยุทธศาสตร์นั้น  โดยพื้นฐานแล้วได้อาศัยมาตรการที่รวมศูนย์กำลังนี้.
ในประวัติการสงครามของกองทัพแดงของจีน ปัญหานี้มักจะกลายเป็นปัญหาโต้แย้งที่สำคัญเสมอ.  ในการรบที่จี๋อานเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๑๙๓๐ ไม่ได้รอให้กำลังทหารรวมศูนย์ให้หมดก็เคลื่อนเข้าไปและโจมตี เคราะห์ดีที่ข้าศึก (กองพลเติ้งอิง) หนีไปเอง.  การเข้าตีของเราโดยตัวมันเองหาได้เกิดผลอะไรไม่.
เริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๓๒ มีคำขวัญที่ว่า “ออกตีตลอดแนว” เรียกร้องให้ออกตีทั้ง ๔ ด้านจากด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกของฐานที่มั่น.  ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ไม่ถูกต้องในเวลารับทางยุทธศาสตร์เท่านั้น  ถึงในเวลารุกทางยุทธศาสตร์ก็ไม่ถูกต้อง.  ในเวลาที่สถานการณ์ทั้งหมดแห่งการเปรียบเทียบทางกำลังระหว่างข้าศึกกับเรามิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยมูลฐาน, ไม่ว่าจะเป็นในทางยุทธศาสตร์หรือในทางยุทธวิธี ต่างก็มีสองด้าน คือ มีการรับและการรุก มีการตรึงกำลังและการจู่โจมทั้งนั้น โดยความจริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ออกตีตลอดแนว” นั้นมีน้อยที่สุด.  คำขวัญที่ว่าออกตีตลอดแนว เป็นลัทธิเฉลี่ยทางการทหารที่ติดตามมากับลัทธิเสี่ยงภัยทางการทหาร.
ครั้นปี ๑๙๓๓ พวกลัทธิเฉลี่ยทางการทหารก็มีคำกล่าวที่ว่า “ชกคนด้วยหมัดสองข้าง” โดยแบ่งกำลังหลักของกองทัพแดงออกเป็น ๒ ส่วน มุ่งที่จะเอาชนะพร้อมกันในทิศทางยุทธศาสตร์ ๒ ทิศทาง.  ผลในเวลานั้นก็คือ หมัดข้างหนึ่งมิได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด  หมัดอีกข้างหนึ่งก็ชกเสียจนเหนื่อยอ่อนเต็มที ทั้งไม่ได้รับชัยชนะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถจะได้รับในขณะนั้นด้วย.  ตามความเห็นของข้าพเจ้า ในเงื่อนไขที่มีกองทัพข้าศึกที่เข้มแข็งอยู่นั้น  ไม่ว่าตนจะมีทหารสักเท่าไร ภายในเวลาอันเดียวกัน ทิศทางในการใช้ที่เป็นหลักควรจะมีเพียงทิศทางเดียวเท่านั้น  ไม่ควรจะมี ๒ ทิศทาง.  ข้าพเจ้าไม่คัดค้านที่จะให้มีทิศทางปฏิบัติการรบ ๒ ทิศทางหรือมากกว่า ๒ ทิศทางขึ้นไป แต่ภายในเวลาอันเดียวกัน  ทิศทางที่เป็นหลักควรจะมีทิศทางเดียวเท่านั้น.  กองทัพแดงของจีนปรากฏตัวขึ้นในสมรภูมิสงครามกลางเมืองในฐานะที่เป็นฝ่ายอ่อน  ผลการรบของกองทัพนี้ที่ทำให้ข้าศึกที่เข้มแข็งพ่ายแพ้อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าและก่อให้เกิดความตื่นสะเทือนไปทั่วโลกนั้น  อาศัยการใช้กำลังทหารอย่างรวมศูนย์เป็นส่วนใหญ่.  ไม่ว่าจะเป็นการรบชนะครั้งใหญ่ครั้งใด ล้วนแต่พิสูจน์ข้อนี้ได้ทั้งสิ้น.  “เอาหนึ่งสู้สิบ เอาสิบสู้ร้อย”  เป็นคำกล่าวทางยุทธศาสตร์ เป็นคำกล่าวสำหรับสงครามทั้งสงครามและการเปรียบเทียบทางกำลังทั้งหมดระหว่างข้าศึกกับเรา; โดยความหมายนี้แล้ว เราทำเช่นนี้จริง ๆ.  คำนี้มิใช่กล่าวสำหรับการยุทธ์และยุทธวิธี;  โดยความหมายนี้แล้ว เราไม่ควรทำเช่นนั้นเป็นอันขาด.  ไม่ว่าในการรุกโต้ตอบหรือในการรุก  เรามักจะรวบรวมกำลังมากมายไปตีข้าศึกส่วนหนึ่ง.      ในการตีหน่วยถานเต้าหยวนที่เขตตุงสาวอำเภอหนิงตู มณฑลกังไส เมื่อเดือนมกราคม ปี ๑๙๓๑ ในการตีกองทัพลู่ที่ ๑๙ ที่เขตเกาซิงซี อำเภอซิงกว๋อ มณฑลกังไส เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ๑๙๓๑  ในการตีหน่วยเฉินจี้ถางที่เขตสุยโข่วซี อำเภอหนานสง มณฑลกวางตุ้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๓๒ ในการตีหน่วยเฉินเฉิงที่เขตถวนชุน อำเภอหลีชวน มณฑลกังไส เมื่อเดือนมีนาคม ปี ๑๙๓๔ เหล่านี้ล้วนแต่เสียเปรียบที่กำลังทหารไม่รวมศูนย์.  การรบดังเช่นที่สุยโข่วซีและที่ถวนชุน ที่จริงโดยทั่วไปนับว่าเป็นการรบชนะ  ทั้งยังนับว่าเป็นการรบชนะครั้งใหญ่ด้วย (รายแรกตีทหาร ๒๐ กรมของเฉินจี้ถางแตกกระเจิงไป รายหลังตีทหาร ๑๒ กรมของเฉินเฉิงแตกกระเจิงไป) แต่เราก็มิได้ยินดีในการรบชนะเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไร โดยความหมายบางอย่างแล้ว ยังกล่าวได้ว่าเป็นการรบแพ้เสียด้วยซ้ำ.  เพราะว่าในทรรศนะของเรา  การรบที่ไม่ได้สินศึกหรือได้น้อยกว่าการสิ้นเปลือง การรบนั้นก็มีความหมายน้อยเต็มที.  ยุทธศาสตร์ของเราคือ “เอาหนึ่งสู้สิบ”  และยุทธวิธีของเราคือ  “เอาสิบสู้หนึ่ง”  นี่เป็นข้อหนึ่งในบรรดากฎมูลฐานที่เราะเอาชนะข้าศึก.
ครั้นในการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ เมื่อปี ๑๙๓๔, ลัทธิเฉลี่ยทางการทหารได้ขยายตัวไปจนขีดสุด.  “แยกกำลังทหารออกเป็น ๖ สาย” บ้าง “ต้านทานตลอดแนว” บ้าง  คิดว่าตนสามารถจะปราบข้าศึกได้  ผลกลับเป็นว่าถูกข้าศึกปราบลงไป มูลเหตุอยู่ที่กลัวจะเสียพื้นที่.  เมื่อรวมศูนย์กำลังหลักไว้ในทิศทางหนึ่ง และเหลือกำลังตรึงไว้ในทิศทางอื่น ๆ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ไม่พ้นที่จะสูญเสียพื้นที่.  แต่ทั้งนี้เป็นการเสียหายชั่วคราวและเฉพาะส่วน  สิ่งตอบแทนก็คือได้รับชัยชนะในทิศทางจู่โจม.  เมื่อทิศทางจู่โจมได้ชัยชนะแล้ว ความเสียหายในทิศทางตรึงก็จะกู้คืนมาได้.  “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ ของข้าศึกล้วนแต่ทำให้เราสูญเสียพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้ง “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๓ ของข้าศึก  ฐานที่มั่นกองทัพแดงที่กังไสสูญเสียไปเกือบทั้งหมด  แต่ผลสุดท้ายพื้นที่ของเราไม่เพียงแต่กู้คืนมาได้หมด  หากยังขยายกว้างออกไปอีกด้วย.
เนื่องจากมองไม่เห็นกำลังของประชาชนในฐานที่มั่น  จึงมักจะเกิดความรู้สึกผิด ๆ ที่กลัวว่ากองทัพแดงจะออกไปไกลฐานที่มั่นขึ้นเสมอ.  ความรู้สึกเช่นนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อกองทัพแดงในกังไสเดินทางไกลไปตีจางโจว มณฑลฮกเกี้ยน เมื่อปี ๑๙๓๒ และเมื่อกองทัพแดงหันเข้าตีฮกเกี้ยนภายหลังที่ได้ชัยชนะในการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๑๙๓๓.  รายแรกกลัวว่าฐานที่มั่นทั้งหมดจะถูกยึด  รายหลังกลัวว่าฐานที่มั่นส่วนหนึ่งจะถูกยึด  ต่างจึงคัดค้านการรวมศูนย์กำลังทหาร, ถือความคิดเห็นให้แยกกำลังออกป้องกัน ผลพิสูจน์ว่าไม่ถูกทั้งนั้น.  ในทรรศนะของข้าศึก ด้านหนึ่ง ฐานที่มั่นทำให้พวกมันขยาดที่จะยกเข้ามา อีกด้านหนึ่ง กองทัพแดงที่ตีเข้าไปในเขตขาวนั้นเป็นภัยที่สำคัญเป็นเอกสำหรับพวกมัน.  ความสนใจของกองทัพข้าศึกมักจะเพ่งไปยังที่ตั้งของกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลัก  การผละจากกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักโดยไม่แยแสและสนใจฐานที่มั่นแต่อย่างเดียวนั้น  เป็นเรื่องที่มีน้อยเต็มที.  แม้ในยามที่กองทัพแดงดำเนินการรับ ความสนใจของข้าศึกก็ยังคงรวมศูนย์อยู่ที่กองทัพแดง.  แผนการที่จะทำให้ฐานที่มั่นหดเล็กลงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทั้งแผนของข้าศึก; แต่ถ้ากองทัพแดงรวมศูนย์กำลังหลักไปทำลายสายใดสายหนึ่งของข้าศึกแล้ว กองบัญชาการใหญ่ของข้าศึกก็จำต้องเพ่งความสนใจและทุ่มกำลังการทหารของพวกมันมาทางกองทัพแดงให้มากยิ่งขึ้น.  ฉะนั้น แผนการของข้าศึกที่จะทำให้ฐานที่มั่นของเราหดเล็กลงนั้น ก็ทำลายได้เช่นกัน.
“ในระยะ ‘การล้อมปราบ’ ครั้งที่ ๕ ที่ใช้ลัทธิป้อมค่ายนั้น,  เราไม่สามารถทำการรบโดยรวมศูนย์กำลังได้  จะทำได้ก็แต่แยกกำลังทหารออกตั้งรับและทำการจู่โจมในระยะและเวลาอันสั้นเท่านั้น” คำกล่าวเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้อง.  วิธีทำการรบแบบลัทธิป้อมค่ายของข้าศึกที่เคลื่อนเข้ามาทีละสามลี้ห้าลี้และคืบหน้าเข้ามาทีละแปดลี้สิบลี้นั้น เกิดจากการต้านรับเป็นระยะ ๆ ของกองทัพแดงเองทั้งสิ้น.  ถ้ากองทัพแดงของเราละทิ้งวิธีรบแบบต้านรับเป็นระยะ ๆ ที่แนวด้านในเสีย  แล้วเปลี่ยนไปตีที่แนวด้านในของข้าศึกเมื่อถึงคราวจำเป็นและเป็นไปได้แล้ว  สถานการณ์ก็ย่อมจะเป็นอีกอย่างหนึ่งอย่างแน่นอน.   กฎแห่งการรวมศูนย์กำลังทหารนั่นแหละคือเครื่องมือที่จะเอาชนะลัทธิป้อมค่าย.
การรวมศูนย์กำลังทหารที่เราคิดเห็นนั้น  หาได้รวมถึงการละทิ้งสงครามจรยุทธ์ของประชาชนไม่.  แนวทางที่หลี่ลี่ซานซึ่งถือความคิดเห็นให้เลิกสงครามจรยุทธ์ขนาดเล็ก “แม้ปืนกระบอกเดียวก็เอาไปรวมไว้ในกองทัพแดง” นั้น ได้พิสูจน์ให้เห็นมานานแล้วว่าไม่ถูก.  เมื่อพิจารณาจากแง่สงครามปฏิวัติโดยส่วนทั้งหมด  จะเห็นได้ว่า  สงครามจรยุทธ์ของประชาชนกับกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักนั้น ต่างประกอบกันดุจดังเช่นซ้ายขวา  ถ้ามีแต่กองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักโดยไม่มีสงครามจรยุทธ์ของประชาชนแล้ว ก็เหมือนกับขุนพลแขนเดียว.  เมื่อกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่าวในแง่การรบแล้ว เงื่อนไขประชาชนในฐานที่มั่นก็คือ  มีประชาชนที่ติดอาวุธแล้วนั่นเอง.  การที่ข้าศึกเห็นมันเป็นแหล่งอันน่ากลัว ก็เพราะข้อนี้เป็นสำคัญ.
การวางกองแยกของกองทัพแดงไว้ในทิศทางปฏิบัติการรบที่เป็นรองนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น  มิใช่ว่าจะต้องรวมศูนย์เสียทุกอย่าง.  การรวมศูนย์กำลังทหารที่เราคิดเห็นนั้น  ตั้งอยู่บนหลักการที่ประกันความเหนือกว่าอย่างสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ในการปฏิบัติการสนาม.  สำหรับข้าศึกที่เข้มแข็งหรือการปฏิบัติการสนามที่มีความสำคัญยิ่งยวดนั้น  ควรจะใช้กำลังทหารที่มีความเหนือกว่าอย่างสัมบูรณ์เข้าสู้;  เช่น รวมศูนย์กำลัง ๔ หมื่นคนเข้าตี ๙ พันคนของจางฮุยจ้านในการรบครั้งแรกของการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๙๓๐.  สำหรับข้าศึกที่อ่อนหรือการปฏิบัติการสนามที่ไม่สู้จะสำคัญนัก, ใช้แต่เพียงกำลังทหารที่มีความเหนือกว่าอย่างสัมพัทธ์เข้าสู้ก็พอแล้ว;  เช่น กองทัพแดงใช้กำลังเพียงหมื่นกว่าคนไปตีกองพลหลิว  เหอติ่ง  ซึ่งมีพล ๗ พันที่เจี้ยนหนิง ในการรบครั้งสุดท้ายของการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๑๙๓๑.
ก็มิใช่ว่าจะต้องใช้กำลังทหารที่เหนือกว่าทุกครั้งไป.  ในสภาพการณ์บางอย่าง ก็อาจปรากฏในสนามรบด้วยกำลังทหารที่ด้อยกว่าอย่างสัมพัทธ์หรือด้อยกว่าอย่างสัมบูรณ์ได้.  ความด้อยกว่าอย่างสัมพัทธ์  เช่น ในเขตเขตหนึ่งมีกำลังกองทัพแดงที่ไม่ใหญ่นักอยู่หน่วยเดียวเท่านั้น (มิใช่ว่ามีทหารแต่ไม่เอามารวมศูนย์) เพื่อที่จะทำลายการรุกของข้าศึกที่เหนือกว่ากองใดกองหนึ่ง  ในเวลาที่เงื่อนไขด้านประชาชน ด้านภูมิประเทศ และด้านดินฟ้าอากาศช่วยเราได้อย่างมาก  การใช้กองจรยุทธ์หรือกองแยกเล็ก ๆ ตรึงกำลังด้านหน้าและปีกหนึ่งของข้าศึกไว้,  ส่วนกองทัพแดงก็รวมศูนย์กำลังทั้งหมดเข้าจู่โจมส่วนหนึ่งของอีกปีกหนึ่งของข้าศึกโดยฉับพลันนั้น แน่ละ ย่อมเป็นสิ่งจำเป็น และสามารถจะได้ชัยชนะด้วย.  ในขณะที่เราเข้าจู่โจมส่วนหนึ่งของปีกหนึ่งของข้าศึกนั้น ในด้านการเปรียบเทียบทางกำลังทหารยังคงเหมาะที่จะใช้หลักการที่ว่าเอาความเหนือกว่าไปกระทำต่อความด้อยกว่าและเอามากไปชนะน้อย.  ความด้อยกว่าอย่างสัมบูรณ์ เช่น เมื่อกองจรยุทธ์เข้าจู่โจมกำลังกองทัพขาวกองใหญ่  โดยจู่โจมแต่เพียงส่วนน้อยส่วนหนึ่งของมันเท่านั้นแล้ว ก็เหมาะที่จะใช้หลักการดังกล่าวข้างต้นเหมือนกัน.
คำกล่าวที่ว่ารวมศูนย์กองทหารขนาดใหญ่ไปทำการรบที่สนามรบแห่งเดียวจะถูกกำจัดโดยภูมิประเทศ ถนนหนทาง การบำรุงเลี้ยง ที่ตั้งมั่น ฯลฯ นั้น ก็ควรจะดูตามสภาพการณ์ที่ต่างกัน.  สำหรับกองทัพแดงกับกองทัพขาวนั้น ข้อจำกัดเหล่านี้มีความแตกต่างกันในทางระดับ  ทั้งนี้ก็เพราะกองทัพแดงสามารถทนความลำบากได้มากกว่ากองทัพขาว.
เราเอาน้อยไปชนะมาก—เรากล่าวสำหรับพวกผู้ครองอำนาจจีนทั้งประเทศดังนี้.  เราเอามากไปชนะน้อย—เรากล่าวสำหรับข้าศึกที่เป็นเฉพาะส่วนแต่ละส่วนที่ทำการรบอยู่ในสนามรบดังนี้.  เรื่องนี้มิใช่เป็นความลับอะไรแล้ว โดยทั่วไปข้าศึกคุ้นกับนิสัยของเราอยู่แล้วทั้งนั้น.  แต่ข้าศึกก็ไม่สามารถจะขัดขวางชัยชนะของเราได้  และก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความเสียหายของมันด้วย  เพราะพวกมันไม่รู้ว่า เราจะทำเช่นนี้ที่ไหนเมื่อไร.  ข้อนี้เรารักษาไว้เป็นความลับ.  การปฏิบัติการรบของกองทัพแดงโดยทั่วไปเป็นการจู่โจมโดยฉับพลัน.
 

ตอนที่ ๖

ปัญหาการรวมศูนย์กำลังทหาร

 

          การรวมศูนย์กำลังทหารนั้นดูเป็นของง่าย  แต่ทำเข้าก็ยากพอดู.  ใครๆ ก็รู้ว่า การเอามากไปชนะน้อยนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่คนจำนวนมากไม่สามารถจะทำได้ ตรงกันข้าม มักจะกระจายกำลังทหารของตนออกไป  มูลเหตุก็อยู่ที่ผู้ชี้นำขาดหัวคิดทางยุทธศาสตร์  ถูกสภาพแวดล้อมอันสลับซับซ้อนลวงตาเอา  ดังนั้นจึงถูกสภาพแวดล้อมครอบงำเอา  จนสูญเสียสมรรถภาพที่จะเป็นตัวของตัวเอง  และทำงานโดยใช้ลัทธิขอไปที. 

           ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สลับซับซ้อน หนักหน่วง และลำบากยากเข็ญเพียงไร  สิ่งที่ผู้ชี้นำทางการทหารต้องการเป็นอันดับแรกนั้นก็คือ การจัดตั้งและใช้กำลังของตนอย่างเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง.  เรื่องที่ถูกข้าศึกบีบบังคับจนตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำนั้นย่อมมีอยู่เสมอ  ที่สำคัญคือต้องฟื้นฐานะที่เป็นฝ่ายกระทำโดยเร็ว.  ถ้าไม่สามารถฟื้นฐานะเช่นนี้ได้แล้ว  ขั้นต่อไปก็คือความพ่ายแพ้. 

           ฐานะที่เป็นฝ่ายกระทำนั้นมิใช่เป็นความเพ้อฝัน  หากเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและที่เป็นวัตถะ.  ในที่นี้  ที่สำคัญที่สุดก็คือ, รักษาและรวบรวมกองทหารที่มีชีวพลังไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้. 

           การรบด้วยวิธีรับนั้นที่จริงตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำได้ง่าย การรบด้วยวิธีรับสามารถที่จะแสดงบทบาทความเป็นฝ่ายกระทำอย่างเต็มที่ได้น้อยกว่าการรบด้วยวิธีรุกมาก.  แต่การรบด้วยวิธีรับก็สามารถที่จะมีเนื้อหาที่เป็นฝ่ายกระทำในรูปแบบที่เป็นฝ่ายถูกกระทำได้  สามารถที่จะเปลี่ยนจากขั้นถูกกระทำในทางรูปแบบมาเป็นขั้นกระทำทั้งในทางรูปแบบและในทางเนื้อหาได้.   การถอยทางยุทธศาสตร์ที่มีแผนโดยสมบูรณ์นั้น,  ในทางรูปแบบเป็นการถูกบีบบังคับให้ทำเช่นนั้น  แต่ในทางเนื้อหาแล้ว ก็เพื่อรักษากำลังทหารและรอคอยโอกาสทำลายข้าศึก  เพื่อล่อข้าศึกให้ถลำลึกเข้ามา  และเตรียมรุกโต้ตอบ.  การไม่ยอมถอยถ่ายเดียวและเข้ารับศึกอย่างฉุกละหุก (เช่นการรบที่เซียวสือ) นั้น โดยภายนอกคล้ายกับว่าพยายามจะช่วงชิงความเป็นฝ่ายกระทำ  แต่โดยความเป็นจริงแล้ว กลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ.  ส่วนการรุกโต้ตอบทางยุทธศาสตร์นั้น, ไม่เพียงแต่เนื้อหาเป็นฝ่ายกระทำเท่านั้น  ในทางรูปแบบก็ได้ละทิ้งท่วงท่าที่เป็นฝ่ายถูกกระทำในเวลาถอยนั้นไปด้วย.  กล่าวในด้านของกองทัพข้าศึกแล้ว การรุกโต้ตอบเป็นความพยายามของกองทัพฝ่ายเราที่จะบีบบังคับให้มันทิ้งความเป็นฝ่ายกระทำ, และพร้อมกันนั้นก็ให้ตกไปอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำด้วย.   

           การที่จะบรรลุุจุดมุ่งหมายชนิดนี้อย่างสิ้นเชิงนั้น  การรวมศูนย์กำลังทหาร การรบเคลื่อนที่  การรบแตกหักรวดเร็ว และการรบทำลายล้าง  ล้วนเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งสิ้น.  และการรวมศูนย์กำลังทหารนั้นอยู่ในอันดับแรกและเป็นหลัก.

           การรวมศูนย์กำลังทหารเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ระหว่างข้าศึกกับเรา.  ประการที่ ๑ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รุกกับถอย.  ที่แล้วมาข้าศึกรุกเราถอย,  เดี๋ยวนี้เราพยายามจะให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่เรารุกข้าศึกถอย.  เมื่อรวมศูนย์กำลังทหาร พอรบก็ชนะ  จุดมุ่งหมายอันนี้ก็จะบรรลุในการรบครั้งนั้น  และก็จะส่งผลสะเทือนแก่การยุทธ์ทั้งกระบวน. 

           ประการที่ ๒  เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเข้าตีกับการตั้งรับ. ในการรบด้วยวิธีรับ การถอยไปจนถึงปลายทางของการถอยนั้น  โดยพื้นฐานแล้วจัดอยู่ในขั้นถูกกระทำ  คือขั้น “ตั้งรับ”.  ส่วนการรุกโต้ตอบจัดอยู่ในขั้นกระทำ คือขั้น “เข้าตี”.  แม้ว่าในการรับทางยุทธศาสตร์ทั้งกระบวน การรุกโต้ตอบจะมิได้พ้นจากลักษณะรับก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับการถอยแล้ว, ก็เป็นสิ่งที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่เพียงแต่ในทางรูปแบบ หากในทางเนื้อหาด้วย.  การรุกโต้ตอบเป็นสิ่งที่อยู่ในระยะผ่านระหว่างการรับทางยุทธศาสตร์กับการรุกทางยุทธศาสตร์  และมีลักษณะเป็นสิ่งนำหน้าก่อนการรุกทางยุทธศาสตร์  การรวมศูนย์กำลังทหารก็เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนี้นั่นเอง. 

           ประการที่ ๓  เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์แนวด้านในกับแนวด้านนอก.  กองทัพที่ทำการรบอยู่ในแนวด้านในทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพแดงซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูก “ล้อมปราบ” ต้องเสียเปรียบอย่างมากมาย.  แต่ในทางการยุทธ์หรือในทางการรบเราสามารถและก็จะต้องเปลี่ยนแปลงมันเสียอย่างเด็ดขาด.  เปลี่ยน “การล้อมปราบ”  ขนาดใหญ่ที่กองทัพข้าศึกกระทำต่อกองทัพฝ่ายเราให้เป็นการล้อมปราบขนาดย่อมที่เป็นเอกเทศจำนวนมากที่กองทัพฝ่ายเรากระทำต่อกองทัพข้าศึก. เปลี่ยนการแยกกันรุดรวมกันตีในทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพข้าศึกกระทำต่อกองทัพฝ่ายเราให้เป็นการแยกกันรุดรวมกันตีในทางการยุทธ์หรือในทางการรบที่กองทัพฝ่ายเรากระทำต่อกองทัพข้าศึก.  เปลี่ยนความเหนือกว่าทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพข้าศึกมีต่อกองทัพฝ่ายเราให้เป็นความเหนือกว่าในทางการยุทธ์หรือในทางการรบที่กองทัพฝ่ายเรามีต่อกองทัพฝ่ายข้าศึก.  ทำให้กองทัพข้าศึกที่อยู่ในฐานะฝ่ายแข็งในทางยุทธศาสตร์ตกอยู่ในฐานะฝ่ายอ่อนในทางการยุทธ์หรือในทางการรบ.  ในขณะเดียวกัน  ก็เปลี่ยนฐานะฝ่ายอ่อนในทางยุทธศาสตร์ของตนให้เป็นฐานะฝ่ายแข็งในทางการยุทธ์หรือในทางการรบ.  เหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่า การทำการรบที่แนวด้านนอกในการทำการรบที่แนวด้านใน การล้อมปราบใน “การล้อมปราบ” การปิดล้อมในการปิดล้อม การรุกในการรับ  ความเหนือกว่าในความด้อยกว่า  ความเป็นฝ่ายแข็งในความเป็นฝ่ายอ่อน  ความได้เปรียบในความเสียเปรียบ  ความเป็นฝ่ายกระทำในความเป็นฝ่ายถูกกระทำ.  การช่วงชิงชัยชนะจากการรับทางยุทธศาสตร์นั้น  โดยพื้นฐานแล้วได้อาศัยมาตรการที่รวมศูนย์กำลังนี้. 

           ในประวัติการสงครามของกองทัพแดงของจีน ปัญหานี้มักจะกลายเป็นปัญหาโต้แย้งที่สำคัญเสมอ.  ในการรบที่จี๋อานเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๑๙๓๐ ไม่ได้รอให้กำลังทหารรวมศูนย์ให้หมดก็เคลื่อนเข้าไปและโจมตี เคราะห์ดีที่ข้าศึก (กองพลเติ้งอิง) หนีไปเอง.  การเข้าตีของเราโดยตัวมันเองหาได้เกิดผลอะไรไม่. 

           เริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๓๒ มีคำขวัญที่ว่า “ออกตีตลอดแนว” เรียกร้องให้ออกตีทั้ง ๔ ด้านจากด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกของฐานที่มั่น.  ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ไม่ถูกต้องในเวลารับทางยุทธศาสตร์เท่านั้น  ถึงในเวลารุกทางยุทธศาสตร์ก็ไม่ถูกต้อง. ในเวลาที่สถานการณ์ทั้งหมดแห่งการเปรียบเทียบทางกำลังระหว่างข้าศึกกับเรามิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยมูลฐาน, ไม่ว่าจะเป็นในทางยุทธศาสตร์หรือในทางยุทธวิธี ต่างก็มีสองด้าน คือ มีการรับและการรุก มีการตรึงกำลังและการจู่โจมทั้งนั้น โดยความจริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ออกตีตลอดแนว” นั้นมีน้อยที่สุด.  คำขวัญที่ว่าออกตีตลอดแนว เป็นลัทธิเฉลี่ยทางการทหารที่ติดตามมากับลัทธิเสี่ยงภัยทางการทหาร. 

           ครั้นปี ๑๙๓๓ พวกลัทธิเฉลี่ยทางการทหารก็มีคำกล่าวที่ว่า “ชกคนด้วยหมัดสองข้าง” โดยแบ่งกำลังหลักของกองทัพแดงออกเป็น ๒ ส่วน มุ่งที่จะเอาชนะพร้อมกันในทิศทางยุทธศาสตร์ ๒ ทิศทาง.  ผลในเวลานั้นก็คือ หมัดข้างหนึ่งมิได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด  หมัดอีกข้างหนึ่งก็ชกเสียจนเหนื่อยอ่อนเต็มที ทั้งไม่ได้รับชัยชนะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถจะได้รับในขณะนั้นด้วย.  ตามความเห็นของข้าพเจ้า ในเงื่อนไขที่มีกองทัพข้าศึกที่เข้มแข็งอยู่นั้น  ไม่ว่าตนจะมีทหารสักเท่าไร ภายในเวลาอันเดียวกัน ทิศทางในการใช้ที่เป็นหลักควรจะมีเพียงทิศทางเดียวเท่านั้น  ไม่ควรจะมี ๒ ทิศทาง.  ข้าพเจ้าไม่คัดค้านที่จะให้มีทิศทางปฏิบัติการรบ ๒ ทิศทางหรือมากกว่า ๒ ทิศทางขึ้นไป แต่ภายในเวลาอันเดียวกัน  ทิศทางที่เป็นหลักควรจะมีทิศทางเดียวเท่านั้น.  กองทัพแดงของจีนปรากฏตัวขึ้นในสมรภูมิสงครามกลางเมืองในฐานะที่เป็นฝ่ายอ่อน  ผลการรบของกองทัพนี้ที่ทำให้ข้าศึกที่เข้มแข็งพ่ายแพ้อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าและก่อให้เกิดความตื่นสะเทือนไปทั่วโลกนั้น  อาศัยการใช้กำลังทหารอย่างรวมศูนย์เป็นส่วนใหญ่.  ไม่ว่าจะเป็นการรบชนะครั้งใหญ่ครั้งใด ล้วนแต่พิสูจน์ข้อนี้ได้ทั้งสิ้น.  “เอาหนึ่งสู้สิบ เอาสิบสู้ร้อย”  เป็นคำกล่าวทางยุทธศาสตร์ เป็นคำกล่าวสำหรับสงครามทั้งสงครามและการเปรียบเทียบทางกำลังทั้งหมดระหว่างข้าศึกกับเรา; โดยความหมายนี้แล้ว เราทำเช่นนี้จริง ๆ.  คำนี้มิใช่กล่าวสำหรับการยุทธ์และยุทธวิธี;  โดยความหมายนี้แล้ว เราไม่ควรทำเช่นนั้นเป็นอันขาด.  ไม่ว่าในการรุกโต้ตอบหรือในการรุก  เรามักจะรวบรวมกำลังมากมายไปตีข้าศึกส่วนหนึ่ง.      ในการตีหน่วยถานเต้าหยวนที่เขตตุงสาวอำเภอหนิงตู มณฑลกังไส เมื่อเดือนมกราคม ปี ๑๙๓๑ ในการตีกองทัพลู่ที่ ๑๙ ที่เขตเกาซิงซี อำเภอซิงกว๋อ มณฑลกังไส เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ๑๙๓๑  ในการตีหน่วยเฉินจี้ถางที่เขตสุยโข่วซี อำเภอหนานสง มณฑลกวางตุ้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๓๒ ในการตีหน่วยเฉินเฉิงที่เขตถวนชุน อำเภอหลีชวน มณฑลกังไส เมื่อเดือนมีนาคม ปี ๑๙๓๔ เหล่านี้ล้วนแต่เสียเปรียบที่กำลังทหารไม่รวมศูนย์.  การรบดังเช่นที่สุยโข่วซีและที่ถวนชุน ที่จริงโดยทั่วไปนับว่าเป็นการรบชนะ  ทั้งยังนับว่าเป็นการรบชนะครั้งใหญ่ด้วย (รายแรกตีทหาร ๒๐ กรมของเฉินจี้ถางแตกกระเจิงไป รายหลังตีทหาร ๑๒ กรมของเฉินเฉิงแตกกระเจิงไป) แต่เราก็มิได้ยินดีในการรบชนะเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไร โดยความหมายบางอย่างแล้ว ยังกล่าวได้ว่าเป็นการรบแพ้เสียด้วยซ้ำ.  เพราะว่าในทรรศนะของเรา  การรบที่ไม่ได้สินศึกหรือได้น้อยกว่าการสิ้นเปลือง การรบนั้นก็มีความหมายน้อยเต็มที.  ยุทธศาสตร์ของเราคือ “เอาหนึ่งสู้สิบ”  และยุทธวิธีของเราคือ  “เอาสิบสู้หนึ่ง”  นี่เป็นข้อหนึ่งในบรรดากฎมูลฐานที่เราะเอาชนะข้าศึก. 

           ครั้นในการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ เมื่อปี ๑๙๓๔, ลัทธิเฉลี่ยทางการทหารได้ขยายตัวไปจนขีดสุด.  “แยกกำลังทหารออกเป็น ๖ สาย” บ้าง “ต้านทานตลอดแนว” บ้าง  คิดว่าตนสามารถจะปราบข้าศึกได้  ผลกลับเป็นว่าถูกข้าศึกปราบลงไป มูลเหตุอยู่ที่กลัวจะเสียพื้นที่.  เมื่อรวมศูนย์กำลังหลักไว้ในทิศทางหนึ่ง และเหลือกำลังตรึงไว้ในทิศทางอื่น ๆ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ไม่พ้นที่จะสูญเสียพื้นที่.  แต่ทั้งนี้เป็นการเสียหายชั่วคราวและเฉพาะส่วน  สิ่งตอบแทนก็คือได้รับชัยชนะในทิศทางจู่โจม.  เมื่อทิศทางจู่โจมได้ชัยชนะแล้ว ความเสียหายในทิศทางตรึงก็จะกู้คืนมาได้.  “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ ของข้าศึกล้วนแต่ทำให้เราสูญเสียพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้ง “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๓ ของข้าศึก  ฐานที่มั่นกองทัพแดงที่กังไสสูญเสียไปเกือบทั้งหมด  แต่ผลสุดท้ายพื้นที่ของเราไม่เพียงแต่กู้คืนมาได้หมด  หากยังขยายกว้างออกไปอีกด้วย. 

           เนื่องจากมองไม่เห็นกำลังของประชาชนในฐานที่มั่น  จึงมักจะเกิดความรู้สึกผิด ๆ ที่กลัวว่ากองทัพแดงจะออกไปไกลฐานที่มั่นขึ้นเสมอ.  ความรู้สึกเช่นนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อกองทัพแดงในกังไสเดินทางไกลไปตีจางโจว มณฑลฮกเกี้ยน เมื่อปี ๑๙๓๒ และเมื่อกองทัพแดงหันเข้าตีฮกเกี้ยนภายหลังที่ได้ชัยชนะในการยุทธ์ต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๑๙๓๓.  รายแรกกลัวว่าฐานที่มั่นทั้งหมดจะถูกยึด  รายหลังกลัวว่าฐานที่มั่นส่วนหนึ่งจะถูกยึด  ต่างจึงคัดค้านการรวมศูนย์กำลังทหาร, ถือความคิดเห็นให้แยกกำลังออกป้องกัน ผลพิสูจน์ว่าไม่ถูกทั้งนั้น.  ในทรรศนะของข้าศึก ด้านหนึ่ง ฐานที่มั่นทำให้พวกมันขยาดที่จะยกเข้ามา อีกด้านหนึ่ง กองทัพแดงที่ตีเข้าไปในเขตขาวนั้นเป็นภัยที่สำคัญเป็นเอกสำหรับพวกมัน.  ความสนใจของกองทัพข้าศึกมักจะเพ่งไปยังที่ตั้งของกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลัก  การผละจากกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักโดยไม่แยแสและสนใจฐานที่มั่นแต่อย่างเดียวนั้น  เป็นเรื่องที่มีน้อยเต็มที.  แม้ในยามที่กองทัพแดงดำเนินการรับ ความสนใจของข้าศึกก็ยังคงรวมศูนย์อยู่ที่กองทัพแดง.  แผนการที่จะทำให้ฐานที่มั่นหดเล็กลงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทั้งแผนของข้าศึก; แต่ถ้ากองทัพแดงรวมศูนย์กำลังหลักไปทำลายสายใดสายหนึ่งของข้าศึกแล้ว กองบัญชาการใหญ่ของข้าศึกก็จำต้องเพ่งความสนใจและทุ่มกำลังการทหารของพวกมันมาทางกองทัพแดงให้มากยิ่งขึ้น.  ฉะนั้น แผนการของข้าศึกที่จะทำให้ฐานที่มั่นของเราหดเล็กลงนั้น ก็ทำลายได้เช่นกัน.   

           “ในระยะ ‘การล้อมปราบ’ ครั้งที่ ๕ ที่ใช้ลัทธิป้อมค่ายนั้น,  เราไม่สามารถทำการรบโดยรวมศูนย์กำลังได้  จะทำได้ก็แต่แยกกำลังทหารออกตั้งรับและทำการจู่โจมในระยะและเวลาอันสั้นเท่านั้น” คำกล่าวเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้อง.  วิธีทำการรบแบบลัทธิป้อมค่ายของข้าศึกที่เคลื่อนเข้ามาทีละสามลี้ห้าลี้และคืบหน้าเข้ามาทีละแปดลี้สิบลี้นั้น เกิดจากการต้านรับเป็นระยะ ๆ ของกองทัพแดงเองทั้งสิ้น. ถ้ากองทัพแดงของเราละทิ้งวิธีรบแบบต้านรับเป็นระยะ ๆ ที่แนวด้านในเสีย  แล้วเปลี่ยนไปตีที่แนวด้านในของข้าศึกเมื่อถึงคราวจำเป็นและเป็นไปได้แล้ว  สถานการณ์ก็ย่อมจะเป็นอีกอย่างหนึ่งอย่างแน่นอน.   กฎแห่งการรวมศูนย์กำลังทหารนั่นแหละคือเครื่องมือที่จะเอาชนะลัทธิป้อมค่าย.  

           การรวมศูนย์กำลังทหารที่เราคิดเห็นนั้น  หาได้รวมถึงการละทิ้งสงครามจรยุทธ์ของประชาชนไม่.  แนวทางที่หลี่ลี่ซานซึ่งถือความคิดเห็นให้เลิกสงครามจรยุทธ์ขนาดเล็ก “แม้ปืนกระบอกเดียวก็เอาไปรวมไว้ในกองทัพแดง” นั้น ได้พิสูจน์ให้เห็นมานานแล้วว่าไม่ถูก.  เมื่อพิจารณาจากแง่สงครามปฏิวัติโดยส่วนทั้งหมด  จะเห็นได้ว่า  สงครามจรยุทธ์ของประชาชนกับกองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักนั้น ต่างประกอบกันดุจดังเช่นซ้ายขวา  ถ้ามีแต่กองทัพแดงที่เป็นกำลังหลักโดยไม่มีสงครามจรยุทธ์ของประชาชนแล้ว ก็เหมือนกับขุนพลแขนเดียว.  เมื่อกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่าวในแง่การรบแล้ว เงื่อนไขประชาชนในฐานที่มั่นก็คือ  มีประชาชนที่ติดอาวุธแล้วนั่นเอง.  การที่ข้าศึกเห็นมันเป็นแหล่งอันน่ากลัว ก็เพราะข้อนี้เป็นสำคัญ. 

           การวางกองแยกของกองทัพแดงไว้ในทิศทางปฏิบัติการรบที่เป็นรองนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น  มิใช่ว่าจะต้องรวมศูนย์เสียทุกอย่าง.  การรวมศูนย์กำลังทหารที่เราคิดเห็นนั้น  ตั้งอยู่บนหลักการที่ประกันความเหนือกว่าอย่างสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ในการปฏิบัติการสนาม.  สำหรับข้าศึกที่เข้มแข็งหรือการปฏิบัติการสนามที่มีความสำคัญยิ่งยวดนั้น  ควรจะใช้กำลังทหารที่มีความเหนือกว่าอย่างสัมบูรณ์เข้าสู้;  เช่น รวมศูนย์กำลัง ๔ หมื่นคนเข้าตี ๙ พันคนของจางฮุยจ้านในการรบครั้งแรกของการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๙๓๐.  สำหรับข้าศึกที่อ่อนหรือการปฏิบัติการสนามที่ไม่สู้จะสำคัญนัก, ใช้แต่เพียงกำลังทหารที่มีความเหนือกว่าอย่างสัมพัทธ์เข้าสู้ก็พอแล้ว;  เช่น กองทัพแดงใช้กำลังเพียงหมื่นกว่าคนไปตีกองพลหลิว  เหอติ่ง  ซึ่งมีพล ๗ พันที่เจี้ยนหนิง ในการรบครั้งสุดท้ายของการต้าน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๑๙๓๑. 

           ก็มิใช่ว่าจะต้องใช้กำลังทหารที่เหนือกว่าทุกครั้งไป.  ในสภาพการณ์บางอย่าง ก็อาจปรากฏในสนามรบด้วยกำลังทหารที่ด้อยกว่าอย่างสัมพัทธ์หรือด้อยกว่าอย่างสัมบูรณ์ได้.  ความด้อยกว่าอย่างสัมพัทธ์  เช่น ในเขตเขตหนึ่งมีกำลังกองทัพแดงที่ไม่ใหญ่นักอยู่หน่วยเดียวเท่านั้น (มิใช่ว่ามีทหารแต่ไม่เอามารวมศูนย์) เพื่อที่จะทำลายการรุกของข้าศึกที่เหนือกว่ากองใดกองหนึ่ง  ในเวลาที่เงื่อนไขด้านประชาชน ด้านภูมิประเทศ และด้านดินฟ้าอากาศช่วยเราได้อย่างมาก  การใช้กองจรยุทธ์หรือกองแยกเล็ก ๆ ตรึงกำลังด้านหน้าและปีกหนึ่งของข้าศึกไว้,  ส่วนกองทัพแดงก็รวมศูนย์กำลังทั้งหมดเข้าจู่โจมส่วนหนึ่งของอีกปีกหนึ่งของข้าศึกโดยฉับพลันนั้น แน่ละ ย่อมเป็นสิ่งจำเป็น และสามารถจะได้ชัยชนะด้วย.  ในขณะที่เราเข้าจู่โจมส่วนหนึ่งของปีกหนึ่งของข้าศึกนั้น ในด้านการเปรียบเทียบทางกำลังทหารยังคงเหมาะที่จะใช้หลักการที่ว่าเอาความเหนือกว่าไปกระทำต่อความด้อยกว่าและเอามากไปชนะน้อย.  ความด้อยกว่าอย่างสัมบูรณ์ เช่น เมื่อกองจรยุทธ์เข้าจู่โจมกำลังกองทัพขาวกองใหญ่  โดยจู่โจมแต่เพียงส่วนน้อยส่วนหนึ่งของมันเท่านั้นแล้ว ก็เหมาะที่จะใช้หลักการดังกล่าวข้างต้นเหมือนกัน. 

           คำกล่าวที่ว่ารวมศูนย์กองทหารขนาดใหญ่ไปทำการรบที่สนามรบแห่งเดียวจะถูกกำจัดโดยภูมิประเทศ ถนนหนทาง การบำรุงเลี้ยง ที่ตั้งมั่น ฯลฯ นั้น ก็ควรจะดูตามสภาพการณ์ที่ต่างกัน.  สำหรับกองทัพแดงกับกองทัพขาวนั้น ข้อจำกัดเหล่านี้มีความแตกต่างกันในทางระดับ  ทั้งนี้ก็เพราะกองทัพแดงสามารถทนความลำบากได้มากกว่ากองทัพขาว. 

           เราเอาน้อยไปชนะมาก—เรากล่าวสำหรับพวกผู้ครองอำนาจจีนทั้งประเทศดังนี้.  เราเอามากไปชนะน้อย—เรากล่าวสำหรับข้าศึกที่เป็นเฉพาะส่วนแต่ละส่วนที่ทำการรบอยู่ในสนามรบดังนี้.  เรื่องนี้มิใช่เป็นความลับอะไรแล้ว โดยทั่วไปข้าศึกคุ้นกับนิสัยของเราอยู่แล้วทั้งนั้น.  แต่ข้าศึกก็ไม่สามารถจะขัดขวางชัยชนะของเราได้  และก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความเสียหายของมันด้วย  เพราะพวกมันไม่รู้ว่า เราจะทำเช่นนี้ที่ไหนเมื่อไร.  ข้อนี้เรารักษาไว้เป็นความลับ.  การปฏิบัติการรบของกองทัพแดงโดยทั่วไปเป็นการจู่โจมโดยฉับพลัน.