bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

หมายเหตุ

 

 

หมายเหตุ
 
๑. จินตภาพของคำว่า “ความเป็นจริง” นี้ ตามอักษรจีนมีความหมาย ๒ นัย คือ นัยหนึ่งหมายถึงสภาพที่แท้จริง อีกนัยหนึ่งหมายถึงการกระทำของคนเรา (ซึ่งก็คือ การปฏบัติที่คนทั่ว ๆ ไปกล่าวกัน).  ในนิพนธ์ของสหายเหมาเจ๋อตุง การใช้จินตภาพของคำ ๆ นี้มักจะมีความหมายทั้ง ๒ นัยเสมอ.
๒. ซุนหวูจื่อ หรือซุนหวู่ นักวิชาการทหารมีชื่อของจีนในสมัยก่อนคริสต์ศักราช ๕ ศตวรรษ ได้เขียนเรื่อง “ซุนจื่อ” ไว้ ๑๓ บท.  คำที่ยกมาอ้างในนิพนธ์เรื่องนี้ดูได้จาก “ซุนจื่อ” บทที่ ๓ “กลรุก”์
๓. ตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๒๑ จนถึงเวลาที่สหายเหมาเจ๋อตุงนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี ๑๙๓๖  เป็นเวลาครบรอบ ๑๕ ปีพอดี.
๔. เฉินตู๋ซิ่ว เดิมเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีชื่อขึ้นเพราะเป็นบรรณาธิการนิตยสาร “เยาวชนใหม่”.  เฉินตู๋ซิ่วเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เนื่องจากชื่อเสียงของเขาในสมัยการเคลื่อนไหว ๔ พฤษภาคมและความอ่อนหัดของพรรคในสมัยแรกตั้ง  เขาจึงได้เป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรค.  ในระยะหลังสุดของการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ความคิดเอียงขวาภายในพรรคซึ่งมีเฉินตู๋ซิ่วเป็นตัวแทนนั้น, ได้ก่อรูปขึ้นเป็นแนวทางลัทธิยอมจำนน.  ในเวลานั้น “พวกลัทธิยอมจำนนได้สมัครใจละทิ้งอำนาจการนำที่มีต่อมวลชนชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองและชนชั้นนายทุนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งละทิ้งอำนาจการนำที่มีต่อกองกำลังอาวุธ  ทำให้การปฏิวัติครั้งนั้นต้องประสบความพ่ายแพ้” (“สถานการณ์ปัจจุบันและภาระหน้าที่ของเรา” โดยเหมาเจ๋อตุง).  ภายหลังที่การปฏิวัติได้พ่ายแพ้ไปในปี ๑๙๒๗ แล้ว เฉินตู๋ซิ่วและพวกลัทธิยอมจำนนคนอื่น ๆ จำนวนน้อยเกิดท้อแท้ผิดหวังในอนาคตของการปฏิวัติ,  กลายเป็นพวกลัทธิยุบเลิกไป พวกนี้ได้ใช้จุดยืนปฏิกิริยาของลัทธิทรอตสกี้, และได้ตั้งกลุ่มย่อยที่แอนตี้พรรคขึ้นโดยประสานกันกับพวกทรอตสกี้ ดังนั้นจึงถูกไล่ออกจากพรรคเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๒๙.  เฉินตู๋ซิ่วตายเมื่อปี ๑๙๔๒.  เกี่ยวกับลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวาของเฉินตู๋ซิ่ว โปรดดูหมายเหตุอธิบายหัวเรื่องของเรื่อง “การวิเคราะห์ชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมจีน” และเรื่อง “รายงานสำรวจการเคลื่อนไหวชาวนาในมณฑลหูหนาน” ใน “สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง” เล่ม ๑ และเรื่อง “ปฐมฤกษ์แถลงของนิตยสาร ‘ชาวพรรคคอมมิวนิสต์’ ” ใน “สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง” เล่ม ๒ ประกอบ.
๕. ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ของหลี่ลี่ซาน หมายถึงแนวทางลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ที่มีสหายหลี่ลี่ซานผู้นำคนสำคัญของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้นเป็นตัวแทนในช่วงเวลาประมาณ ๔ เดือนภายหลังเดือนมิถุนายน ปี ๑๙๓๐ เรียกกันทั่วไปว่า “แนวทางหลี่ลี่ซาน”. ลักษณะพิเศษของแนวทางหลี่ลี่ซานก็คือ ฝ่าฝืนเข็มมุ่งของสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศครั้งที่ ๖ ปฏิเสธข้อที่ว่าการปฏิวัติจำเป็นต้องตระเตรียมกำลังของมวลชน และปฏิเสธความไม่สม่ำเสมอของการคลี่คลายขยายตัวของการปฏิวัติ เห็นว่าความคิดของสหายเหมาเจ๋อตุงที่ให้เพ่งความสนใจส่วนใหญ่ไปในการสร้างสรรค์ฐานที่มั่นในชนบทในระยะเวลาอันยาวนาน, เอาชนบทล้อมเมือง ใช้ฐานที่มั่นมาผลักดันการปฏิวัติทั่วประเทศให้ขึ้นสู่กระแสสูงนั้น เป็นสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดท้องถิ่นและความคิดอนุรักษ์อันเป็นจิตสำนึกของชาวนา” “ซึ่งผิดพลาดอย่างยิ่ง” และถือความคิดเห็นว่าตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจะต้องตระเตรียมการลุกขึ้นสู้ทันที. ภายใต้แนวทางที่ผิดพลาดชนิดนี้ สหายหลี่ลี่ซานได้กำหนดแผนการเสี่ยงภัยที่ให้จัดตั้งการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธในเมืองศูนย์กลางต่าง ๆ ทั่วประเทศทันที. ในขณะเดียวกัน แนวทางหลี่ลี่ซานก็ไม่ยอมรับความไม่สม่ำเสมอของการปฏิวัติของโลก เห็นว่าการระเบิดขึ้นทั่วไปของการปฏิวัติของจีนจะก่อให้การปฏิวัติของโลกระเบิดขึ้นทั่วไปอย่างแน่นอน  และการปฏิวัติของจีนจะสำเร็จได้ก็แต่ในท่ามกลางการระเบิดขึ้นทั่วไปของการปฏิวัติของโลกเท่านั้น; และก็ไม่ยอมรับลักษณะยาวนานของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีน เห็นว่าการเริ่มได้รับชัยชนะในมณฑลหนึ่งหรือหลายมณฑลก่อนนั่นแหละคือการเริ่มต้นของการดำเนินการเปลี่ยนไปสู่สังคมนิยม, และด้วยเหตุนี้จึงได้กำหนดนโยบายเสี่ยงภัยเอียง “ซ้าย” บางประการที่ไม่เหมาะกับกาลเวลาขึ้น.  สหายเหมาเจ๋อตุงได้คัดค้านแนวทางที่ผิดพลาดนี้, ผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกพรรคอันไพศาลทั่วทั้งพรรคก็เรียกร้องต้องการให้แก้ไขแนวทางนี้.  สหายหลี่ลี่ซานเองก็ยอมรับความผิดพลาดที่ถูกชี้ออกมาในเวลานั้นในที่ประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๓ ชุดที่ ๖ เมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๓๐ ต่อจากนั้นก็ได้พ้นจากฐานะนำในศูนย์กลาง.  เนื่องจากสหายหลี่ลี่ซานได้แก้ไขทรรศนะที่ผิดพลาดของตนในเวลาอันยาวนาน ฉะนั้น สมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศครั้งที่ ๗ จึงได้เลือกเขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลางอีก.
๖. ที่ประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๓ ชุดที่ ๖ ซึ่งเปิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๓๐ และศูนย์กลางพรรคสมัยหลังการประชุมนี้ ได้ดำเนินมาตรการที่มีบทบาทเป็นคุณหลายอย่างต่อการยุติแนวทางหลี่ลี่ซาน. แต่หลังการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๓ ชุดที่ ๖ แล้ว สหายในพรรคส่วนหนึ่งที่ไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ปฏิวัติที่เป็นจริงซึ่งมีเฉินเซ่าหยี่ (หวางหมิง) และฉินปังเซี่ยน (ป๋อกู่) เป็นหัวหน้า กลับลุกขึ้นต่อต้านมาตรการของศูนย์กลาง.  ในหนังสือเล่มเล็กที่ให้ชื่อว่า “แนวทางสองแนว” หรือ “ต่อสู้เพื่อการแปรเป็นแบบบอลเชวิคยิ่งขึ้นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” ซึ่งตีพิมพ์ในเวลานั้น พวกเขาได้ประกาศเน้นหนักเป็นพิเศษว่า  อันตรายที่สำคัญภายในพรรคเวลานั้นไม่ใช่ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” หากเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวา”  ถือเอาการ “วิจารณ์” แนวทางหลี่ลี่ซานว่า “ขวา” เป็นทุนในการเคลื่อนไหวของพวกเขา.  พวกเขาได้เสนอหลักนโยบายการเมืองใหม่ที่สืบต่อ ฟื้นฟู หรือขยายแนวทางหลี่ลี่ซานกับความคิดเอียง “ซ้าย” และนโยบายเอียง “ซ้าย” อื่น ๆ ภายใต้รูปการใหม่ขึ้น เป็นปรปักษ์กับแนวทางที่ถูกต้องของสหายเหมาเจ๋อตุง.  นิพนธ์เรื่อง “ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามปฏิวัติของจีน” ของสหายเหมาเจ๋อตุง เขียนขึ้นเพื่อวิพากษ์ความผิดพลาดในด้านการทหารของแนวทางลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ใหม่นี้เป็นสำคัญ.  การครอบงำของแนวทางผิดพลาดเอียง “ซ้าย” ใหม่ภายในพรรคนี้ ได้เริ่มตั้งแต่การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรคสมัยที่ ๔ ชุดที่ ๖ ในเดือนมกราคม ปี ๑๙๓๑ ไปสิ้นสุดลงเมื่อศูนย์กลางพรรคได้เรียกประชุมกรมการเมืองที่จุนยี่ มณฑลกุยจิ๋ว ยุติการนำของแนวทางที่ผิดพลาดนี้และเริ่มต้นการนำใหม่ของศูนย์กลางที่มีสหายเหมาเจ๋อตุงเป็นหัวหน้าในเดือนมกราคม ปี ๑๙๓๕. แนวทางผิดพลาดเอียง “ซ้าย” ครั้งนี้ได้ครอบงำอยู่ในพรรคนานเป็นพิเศษ (๔ ปี) ได้ทำความเสียหายให้แก่พรรคและการปฏิวัติอย่างหนักเป็นพิเศษ ผลร้ายของมันก็คือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน กองทัพแดงของจีนและฐานที่มั่นของกองทัพแดงได้เสียหายไปประมาณร้อยละ ๙๐ ทำให้ประชาชนในฐานที่มั่นปฏิวัติหลายสิบล้านคนถูกก๊กมินตั๋งเหยียบย่ำทำลาย, ทำให้การขยายตัวคืบหน้าของการปฏิวัติของจีนต้องล่าช้าลง.  สหายที่เคยทำความผิดพลาดในแนวทางเอียง “ซ้าย” นี้ เมื่อได้ผ่านการสังเกตศึกษาเป็นเวลายาวนาน ส่วนใหญ่ที่สุดก็ได้เข้าใจและได้แก้ความผิดพลาดของตนไปแล้ว ทั้งยังได้ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่พรรคและประชาชนอย่างมากมายด้วย.  บนพื้นฐานของความรับรู้ทางการเมืองร่วมกัน และภายใต้การนำของสหายเหมาเจ๋อตุง สหายเหล่านี้ก็ได้สามัคคีกันกับสหายอื่น ๆ อันไพศาล.
๗. โปรดอ่านประกอบจากหมายเหตุ ๒๑ และ ๒๒ ของเรื่อง “ว่าด้วยยุทธวิธีคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น”.
๘. กองฝึกอบรมนายทหารที่หลูซานเป็นองค์การจัดตั้งที่เจียงไคเช็คใช้ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานการทหารที่แอนตี้คอมมิวนิสต์ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๓๓ ที่หลูซาน อำเภอจิ่วเจียง มณฑลกังไส.  นายทหารของเจียงไคเช็คถูกเรียกเป็นรุ่น ๆ เข้ารับการฝึกอบรมทางการทหารและทางการเมืองแบบฟัสซิสต์จากผู้ฝึกสอนวิชาการทหารชาวเยอรมัน อิตาลี และอเมริกัน.
๙. หลักการใหม่ทางการทหารใน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ ที่กล่าวถึงในที่นี้ ที่สำคัญนั้นหมายถึง “นโยบายป้อมค่าย” ของพวกโจรเจียงไคเช็คที่รุกคืบหน้าด้วยการตั้งป้อมและตั้งค่ายเข้ามาทุก ๆ ก้าว.
๑๐. ดู “สรรนิพนธ์เลนิน” เล่ม ๓๑ เรื่อง “ลัทธิคอมมิวนิสต์”. ในนิพนธ์เรื่องนี้
เลนินได้วิจารณ์เบลา กุน สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีว่า “เขาได้ทิ้งสิ่งที่
เป็นธาตุแท้ที่สุดของลัทธิมาร์กซ วิญญาณอันมีชีวิตของลัทธิมาร์กซ นั่นคือ การ
วิเคราะห์สภาพการณ์รูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม”.
๑๑. สมัชชาผู้แทนพรรคเขตแดนต่อแดนหูหนาน-กังไส ครั้งที่ ๑ คือสมัชชาผู้แทน
ครั้งที่ ๑ ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เขตแดนต่อแดนหูหนาน-กังไสได้เรียกประชุม
ขึ้นมาที่เหมาผิง อำเภอหนิงกัง เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๑๙๒๘.
๑๒. ดูหมายเหตุ ๒ และหมายเหตุ ๓ ของเรื่อง “เกี่ยวกับการแก้ความคิดที่ผิด
ภายในพรรค” ในนิพนธ์เล่มนี้.
๑๓. “ลัทธิโจร” หมายถึงพฤติกรรมแย่งชิงปล้นสะดมอันไม่มีวินัย ไม่มีการจัดตั้ง
และไม่มีจุดหมายทางการเมืองที่แจ่มชัด.
๑๔. หมายถึงการเดินทัพทางไกล ๒๕,๐๐๐ ลี้ ของกองทัพแดงจากกังไสไปสู่
ภาคเหนือส่านซี.  ดูหมายเหตุ ๒๐ ของเรื่อง “ว่าด้วยยุทธวิธีคัดค้าน
จักรพรรดินิยมญี่ปุ่น”.
๑๕. “ทัพรอง” คือกองทหารที่ไม่ใช่กองกำลังหลัก เป็นเพียงกองทหารส่วนที่รับ
หน้าที่เป็นปีกเท่านั้น.
๑๖. หมายถึงภายหลังที่การลุกขึ้นสู้เดือนธันวาคม ปี ๑๙๐๕ ของรัสเซียพ่ายแพ้ไป
แล้ว การปฏิวัติได้เปลี่ยนจากระบบที่ขึ้นสู่กระแสสูงไปสู่ระยะที่ค่อย ๆ ลด
ต่ำลง.  โปรดอ่าน “แบบเรียนประวัติพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
(บอลเชวิค) ฉบับสังเขป” บทที่ ๓ ตอนที่ ๕ และตอนที่ ๖ ประกอบ.
๑๗. สนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่โซเวียตรัสเซียทำกับ
เยอรมันเมื่อเดือนมีนาคม ปี ๑๙๑๘.  ในสภาพที่กำลังของศัตรูเหนือกว่า
กำลังปฏิวัติอย่างเด่นชัดในเวลานั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพนี้เป็นการถอยชั่วคราวที่ใช้เพื่อให้สาธารณรัฐโซเวียตซึ่งเพิ่งสถาปนาขึ้นใหม่และยังไม่มีกองทัพของตนเอง ไม่ถูกจักรพรรดิเยอรมันโจมตีเอา.  ทั้งนี้ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตได้เวลาที่จะไปเสริมความมั่นคงแก่อำนาจรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ จัดสรรเศรษฐกิจ สร้างกองทัพแดง; ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพรักษาการนำที่มีต่อชาวนาไว้ได้และสะสมกำลังของตนขึ้น  จนสามารถตีกองทัพขาวและผู้แทรกแซงด้วยกำลังอาวุธประเทศต่าง ๆ เช่นอังกฤษ, อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น โปแลนด์เป็นต้น ให้แตกกระเจิงไปในระหว่างปี ๑๙๑๘ ถึงปี ๑๙๒๐.
๑๘. เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๑๙๒๗ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชาวนาที่อำเภอไห่เฟิง-ลู่เฟิง มณฑลกวางตุ้ง ได้ก่อการลุกขึ้นสู้ครั้งที่ ๓ เข้ายึดไห่เฟิง-ลู่เฟิง และเขตใกล้เคียงไว้ได้ และได้จัดตั้งกองทัพแดง สถาปนาอำนาจรัฐประชาธิปไตยกรรมกรชาวนาขึ้น.  ต่อมาได้พ่ายแพ้ไปเพราะเกิดความผิดพลาดที่ประมาทข้าศึก.
๑๙. ภายหลังที่กองทัพแดงด้านที่ ๔ กับกองทัพแดงด้านที่ ๒ ได้บรรจบกันเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี ๑๙๓๖ แล้ว  ก็ได้ออกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือซีคัง เคลื่อนย้ายขึ้นไปทางเหนือ.  ขณะนั้นจางกว๋อเถายังคงยืนกรานแอนตี้พรรค ยืนกรานในลัทธิล่าถอยและลัทธิยุบเลิกของเขาซึ่งมีอยู่ตลอดมา.  เมื่อเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ภายหลังที่กองทัพแดงด้านที่ ๒ และด้านที่ ๔ มาถึงมณฑลกานซู่แล้ว จางกว๋อเถาได้มีคำสั่งให้หน่วยกองหน้า ๒ หมื่นกว่าคนของกองทัพแดงด้านที่ ๔ จัดตั้งเป็นกองทัพสายตะวันตก ยกข้ามแม่น้ำเหลืองไปทางตะวันตกมู่งสู่ชิงไห่.  เมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖ กองทัพสายตะวันตกถูกโจมตีในการรบและพ่ายแพ้ไปโดยพื้นฐาน จนเดือนมีนาคม ปี ๑๙๓๗ ก็พ่ายแพ้ไปโดยสิ้นเชิง.
๒๐. ดูจดหมายของมาร์กซที่มีถึงคูเกลมานานว่าด้วยคอมมูนปารีส.
๒๑. “สุยหู่จ้วน” (หรือ “ซ้องกั๋ง”) เป็นนวนิยายลือชื่อของจีนที่บรรยายถึงสงครามชาวนา เล่าสืบต่อกันมาว่า ซื่อไน่อานคนสมัยปลายราชวงศ์หงวนต้นราชวงศ์เหม็งในศตวรรษที่ ๑๔ เป็นผู้แต่ง.  หลินชุงและไฉจิ้นเป็นตัววีรบุรุษในนิยายเรื่องนี้. ครูหุงเป็นครูมวยคนหนึ่งในบ้านไฉจิ้น.
๒๒. แคว้นหลู่และแคว้นฉีเป็นรัฐศักดินา ๒ รัฐในสมัยชุนชิวของจีน (ก่อนคริสต์ศักราช ๗๒๒-๘๔๑ ปี) ฉีเป็นแคว้นใหญ่ อยู่ในภาคกลางมณฑลซานตุงเวลานี้; หลู่เป็นแคว้นเล็กกว่า อยู่ในภาคใต้มณฑลซานตุงเวลานี้.  หลู่จวงกุงเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นหลู่ในสมัยก่อนคริสต์ศักราช ๖๙๓-๖๖๒ ปี.
๒๓. จ่อชิวหมิง ผู้ประพันธ์เรื่อง “จ่อจ้วน” จดหมายเหตุอันลือชื่อในสมัยราชวงศ์โจวของจีน.  ข้อความตอนที่นิพนธ์เรื่องนี้อ้างถึงดูได้จากตอนจวงกุงศก ๑๐ ใน “จ่อจ้วน”.
๒๔. เมืองเก่าเฉิงเกาอยู่ตอนตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเฉิงเกา มณฑลเหอหนานเวลานี้ เป็นชัยภูมิที่สำคัญทางการทหารในสมัยโบราณ.  เมื่อก่อนคริสต์ศักราช ๒๐๓ ปี หลิวปังกษัตริย์ฮั่นกับเซี่ยงหยี่กษัตริย์ฉู่ (หรือฌ้อปาอ๋อง) เคยรบตรึงกันที่นี่.  เวลานั้นเซี่ยงหยี่ตีเมืองสิงหยาง เฉิงเกา ได้ติด ๆ กัน กองทัพหลิวปังแตกกระเจิดกระเจิงจนแทบจะไม่เป็นขบวน.  แต่ต่อมาหลิวปังได้รอจนถึงโอกาสที่กองทัพฉู่ข้ามแม่น้ำซื่อสุ่ยไปถึงกลางน้ำ ก็ตีกองทัพฉู่แตกยับเยินและชิงเมืองเฉิงเกาคืนไปได้.
๒๕. เมืองเก่าคุนหยางอยู่ในเขตอำเภอเย่เซี่ยน มณฑลเหอหนาน เวลานี้.  เมื่อ ค.ศ.๒๓ หลิวซิ่ว (พระเจ้ากวางหวู่แห่งราชวงศ์ตุงฮั่น) ได้ตีกองทหารอองมั่งแตกที่นี่.  สงครามครั้งนี้กำลังทหารสองฝ่ายแข็งอ่อนเหลื่อมล้ำกันมาก ฝ่ายหลิวซิ่วมีเพียงแปดเก้าพัน ฝ่ายอองมั่งมีถึง ๔ แสนเศษ. หลิวซิ่วได้ใช้ประโยชน์จากความประมาทข้าศึกและความเฉื่อยเนือยไม่สนใจในการรบของหวางสินและหวางอี้ขุนพลของอองมั่ง ส่งทหารฝีมือเยี่ยม ๓ พันเข้าทะลวงกำลังส่วนที่แข็งแกร่งที่สุดของกองทัพอองมั่งแตก แล้วถือโอกาสที่ทหารของตนกำลังฮึกเหิมเข้าโจมตีกองทัพข้าศึกแตกยับเยินไป.
๒๖. กวานตู้อยู่ตอนตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอจุงโหมว มณฑลเหอหนานเวลานี้. เมื่อ ค.ศ. ๒๐๐ กองทัพของโจโฉกับอ้วนเสี้ยวรบกันที่นี่.  ขณะนั้นอ้วนเสี้ยวมีทหาร ๑ แสน ส่วนโจโฉทหารน้อยและเสบียงก็หมด.  แต่โจโฉได้ใช้ประโยชน์จากความประมาทข้าศึกและการไม่เตรียมพร้อมของกองทัพอ้วนเสี้ยว แต่งทหารติดอาวุธเบาลอบจู่โจมเข้าเผายานพาหนะและยุทธสัมภาระของกองทัพอ้วนเสี้ยว. พอกองทัพอ้วนเสี้ยวแตกตื่นระส่ำระสาย กองทัพโจโฉก็ยกออกขยี้ทัพหลวงของอ้วนเสี้ยวย่อยยับไป.
๒๗. แคว้นหวูหมายถึงฝ่ายซุนกวน แคว้นเว่ยหมายถึงฝ่ายโจโฉ. ฉื้อปี้อยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงตอนตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเจียหยี มณฑลหูเป่ย.  เมื่อ ค.ศ. ๒๐๘ โจโฉยกทหาร ๕ แสนเศษ โดยประกาศว่ามีพล ๘ แสน เข้าตีซุนกวน.  ฝ่ายซุนกวนได้ร่วมกับเล่าปี่ศัตรูของโจโฉยกทหาร ๓ หมื่นเข้ารับศึก ทั้งสองได้ทีที่เกิดโรคระบาดขึ้นในกองทัพโจโฉ, ประกอบกับกองทัพโจโฉไม่ชินกับการรบทางน้ำ จึงเอาไฟเผาเรือกองทัพโจโฉ ตีกองทัพโจโฉแตกยับเยินไป.
๒๘. หยี่หลิงอยู่ตอนตะวันออกของอำเภอหยีชาง มณฑลหูเป่ยเวลานี้.  เมื่อ ค.ศ. ๒๒๒ ลกซุนขุนพลแคว้นหวูได้ตีกองทัพเล่าปี่ผู้ครองแคว้นสู่แตกยับเยินที่นี่. กองทัพเล่าปี่รบชนะเรื่อยมาตั้งแต่ต้นในสงครามนี้ ครั้นยกเข้าหยีหลิงก็ล้ำเข้าไปในแดนของแคว้นหวูประมาณห้าหกร้อยลี้.  ลกซุนตั้งรักษาที่มั่นไม่ออกรบเป็นเวลาเจ็ดแปดเดือน คอยจนฝ่ายเล่าปี่ “ทหารอิดโรยขวัญเสื่อมทรุด คิดกลศึกไม่ออกอีก” แล้ว จึงจุดเพลิงเผาขึ้นทางต้นลม ตีกองทัพเล่าปี่แตกยับเยินไป.
๒๙. เมื่อ ค.ศ. ๓๘๓ เซ่เสียนขุนพลตุงจิ้นตีกองทัพของฝูเจียนเจ้าผู้ครองแคว้นฉินแตกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยมณฑลอันฮุย. เวลานั้น ฝูเจียนมีทหารเดินเท้า ๖ แสนเศษ ทหารม้า ๒ แสน ๗ หมื่น กองรักษาการณ์ทหารม้า ๓ หมื่นเศษ, ฝ่ายตุงจิ้นมีทัพบกทัพเรือเพียง ๘ หมื่น.  ในขณะที่กองทัพสองฝ่ายตั้งประจัญกันคนละฟากฝั่งที่แม่น้ำเฝยสุ่ยนั้น แม่ทัพแคว้นจิ้นได้อาศัยความทะนงตนถือดีของข้าศึก เรียกร้องให้กองทัพฉินที่อยู่ฝั่งเหนือของแม่น้ำเฝยสุ่ยถอยร่นพ้นฝั่งเข้าไปให้มีที่สำหรับรบกัน เพื่อกองทัพจิ้นจะได้ข้ามน้ำไปทำศึกแตกหัก.  กองทัพฉินก็ยอมให้จริง ๆ แต่พอถอยเข้าก็ไม่สามารถยับยั้งได้ กองทัพจิ้นได้ทีก็ยกข้ามแม่น้ำไปแล้วเข้าโจมตีทันที กองทัพฉินจึงถูกตีแตกพ่ายยับเยิน.
๓๐. วันที่ ๑ สิงหาคม ๑๙๒๗ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้นำการลุกขึ้นสู้อันลือชื่อขึ้นที่หนานชางเมืองเอกมณฑลกังไส เพื่อคัดค้านการเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติของเจียงไคเช็คและวังจิงไว และดำเนินภารกิจปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ต่อไป. ผู้ที่เข้าร่วมการลุกขึ้นสู้ครั้งนี้มีกองทหารที่ติดอาวุธ ๓ หมื่นกว่าคน, ผู้ทำหน้าที่นำมีสหายโจวเอินไหล จูเต๋อ เฮ่อหลุงและเย่ถิ่ง.  กองทัพลุกขึ้นสู้ถอยออกจากหนานชางเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ตามแผนการที่วางไว้แต่เดิม เมื่อยกเข้าแต้จิ๋วและซัวเถาในมณฑลกวางตุ้ง ก็ถูกตีพ่ายไป.  ต่อมาส่วนหนึ่งของกองทัพลุกขึ้นสู้ซึ่งนำโดยสหายจูเต๋อ เฉินยี่และหลินเปียว ได้เวียนรบไปถึงเขาจิ่งกังซาน แล้วบรรจบกับกองทัพปฏิวัติกรรมกรชาวนากองทัพที่ ๑ กองพลที่ ๑ ซึ่งนำโดยสหายเหมาเจ๋อตุง.
๓๑. ดูหมายเหตุ ๘ ของเรื่อง “เหตุใดอำนาจรัฐแดงของจีนจึงดำรงอยู่ได้?” ในนิพนธ์เล่มนี้.
๓๒. กลุ่ม เอ.บี. เป็นองค์การสายลับปฏิปักษ์ปฏิวัติของพวก๊กมินตั๋งที่ซ่อนเร้นอยู่ในบริเวณเขตแดงเวลานั้น.  เอ.บี. เป็นอักษรย่อของคำในภาษาอังกฤษว่า Anti-Bolshevik (แอนตี้บอลเชวิค).
๓๓. โปรดอ่านนิพนธ์เรื่อง “หัวข้อเกี่ยวกับปัญหาการเจรจาสันติภาพโดยลำพังทันทีและการทำสัญญาสันติภาพตัดแบ่งดินแดน” เรื่อง “คำกล่าวที่ทั้งแปลกและอัศจรรย์” เรื่อง “บทเรียนอันหนักหน่วงและความรับผิดชอบอันหนักหน่วง” เรื่อง “คำรายงานเกี่ยวกับปัญหาสงครามและสันติภาพ” ของเลนิน และ “แบบเรียนประวัติพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (บอลเชวิค) ฉบับสังเขป” บทที่ ๗ ตอนที่ ๗ ประกอบ.
๓๔. ชาวธิเบตและชาวหุยที่กล่าวถึงในที่นี้หมายถึงชนชาติธิเบตในแถบมณฑลซีคัง (อยู่ในภาคตะวันกตกมณฑลเสฉวนเวลานี้—ผู้แปล) และชนชาติหุย ในมณฑลกานซู่ ชิงไห่และซินเกียง.
๓๕. การประพันธ์แบบแปดส่วนเป็นรูปการประพันธ์พิเศษชนิดหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ในระบอบสอบคัดเลือกขุนนางของราชสำนักศักดินาจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ ถึงศตวรรษที่ ๑๙. รูปการประพันธ์ชนิดนี้เป็นการเล่นอักษรที่ไม่มีเนื้อหาสาระและเอาแต่รูปแบบอย่างเดียว.  การประพันธ์แบบแปดส่วนทุกบทประกอบขึ้นด้วยส่วนต่าง ๆ  อันได้แก่ ไขหัวเรื่อง รับหัวเรื่อง เริ่มเดินเรื่อง ลงมือ ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลายและส่วนปิดท้าย.  “ไขหัวเรื่อง” มี ๒ ประโยค ไขความหมายอันสำคัญของหัวเรื่อง. “รับหัวเรื่อง” ใช้ข้อความ ๓ หรือ ๔ ประโยค อธิบายให้รับกับความหมายของการไขหัวเรื่อง.  “เริ่มเดินเรื่อง” กล่าวถึงเนื้อเรื่องทั้งหมดโดยย่อ เป็นการเริ่มบรรยายเรื่อง.  “ลงมือ” คือตอนที่ลงมือหลังจากเริ่มเดินเรื่องแล้ว.  ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลายและส่วนปิดท้าย ๔ ตอนนี้จึงจะเป็นการบรรยายเรื่องอย่างแท้จริง ส่วนกลางเป็นหัวใจของบทประพันธ์ทั้งบท.  ใน ๔ ตอนนี้ แต่ละตอนมีถ้อยคำที่รับกันเป็นคู่ ๆ ๒ ส่วน รวมทั้งหมดเป็น ๘ ส่วน ดังนั้นจึงเรียกว่าการประพันธ์แบบแปดส่วน หรือแปดคู่ก็เรียก. ในที่นี้สหายเหมาเจ๋อตุงได้กล่าวถึงกระบวนการของการเดินเรื่องจากส่วนหนึ่งไปสู่อีกส่วนหนึ่งในการเขียนบทประพันธ์แบบแปดส่วน เพื่อใช้เป็นอุปมาของขั้นต่าง ๆ ในการขยายตัวของการปฏิวัติ.  แต่ในกรณีทั่วไป สหายเหมาเจ๋อตุงมักยกเอาคำว่าการประพันธ์แบบแปดส่วนนี้ไปเป็นอุปมาเหน็บแนมลัทธิคัมภีร์.
 
หมายเหตุผู้แปล
 
1.  ระบอบเขตหลังใหญ่ หมายถึงองค์การเขตหลังที่ใหญ่เทอะทะไม่เหมาะกับสภาพการณ์ของสงครามในเวลานั้นซึ่งเคยเป็นความคิดเห็นของผู้ชี้นำแนวทางเอียง “ซ้าย” ในสมัยสงครามปฏิวัติภายในประเทศครั้งที่ ๒. ส่วนระบอบเขตหลังเล็ก หมายถึงการก่อตั้งองค์การเขตหลังขนาดเล็กแบบสู้รบที่รัดกุม.
2.  คำนี้เป็นคำมาจากเรื่องโบราณเรื่องหนึ่งของจีน.  ความเดิมมีว่า เมื่อก่อนคริสต์ศักราช ๕๘๙ ปี แคว้นฉีได้ทำศึกกับแคว้นจิ้น หลู่และเว่ย.  ฉีชิงกุงเจ้าผู้ครองแคว้นฉีประมาทข้าศึก ใคร่จะเผด็จศึกในเร็ววัน จึงตรัสว่า “ขอให้เราทำลายข้าศึกกลุ่มนี้เสียก่อนเถอะจึงค่อยกินข้าวเช้า”.  ว่าแล้ว ทัพฉีก็บุกตะลุยออกไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทันได้สวมเกราะให้ม้าที่เทียมรถศึก ผลที่สุดก็รบแพ้.
3.  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๓๓ ภายใต้ผลสะเทือนแห่งกระแสสูงการต่อต้านญี่ปุ่นของประชาชนจีนทั่วประเทศ นายพลในกองทัพลู่ที่ ๑๙ “ของก๊กมินตั๋ง ได้ร่วมมือกับอิทธิพลส่วนหนึ่งของหลี่จี้เซินและคนอื่น ๆ ในพรรคก๊กมินตั๋ง ประกาศแตกหักกับเจียงไคเช็คอย่างเปิดเผย”.  พวกเขาได้ประกาศก่อตั้ง “รัฐบาลปฏิวัติประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นในมณฑลฮกเกี้ยน และทั้งได้ทำข้อตกลงกับกองทัพแดงในการต่อต้านญี่ปุ่นคัดค้านเจียงไคเช็ค. นี่คือที่เรียกกันว่า “กรณีฮกเกี้ยน”. ต่อมากองทัพลู่ที่ ๑๙ และรัฐบาลประชาชนฮกเกี้ยนได้พ่ายแพ้ไปด้วยการบีบบังคับของกำลังทหารเจียงไคเช็ค.
4.  พญาเล่งอ๋อง (พญามังกร) ตัวละครในเทพนิยายของจีน เป็นจ้าวแห่งทะเล, มีของวิเศษนับไม่ถ้วน.
 
 
 

หมายเหตุ

 

     ๑.  จินตภาพของคำว่า “ความเป็นจริง” นี้ ตามอักษรจีนมีความหมาย ๒ นัย คือ นัยหนึ่งหมายถึงสภาพที่แท้จริง อีกนัยหนึ่งหมาย
          ถึงการกระทำของคนเรา (ซึ่งก็คือ การปฏบัติที่คนทั่ว ๆ ไปกล่าวกัน).  ในนิพนธ์ของสหายเหมาเจ๋อตุง การใช้จินตภาพของคำ
          ๆ นี้มักจะมีความหมายทั้ง ๒ นัยเสมอ. 

     ๒.  ซุนหวูจื่อ หรือซุนหวู่ นักวิชาการทหารมีชื่อของจีนในสมัยก่อนคริสต์ศักราช ๕ ศตวรรษ ได้เขียนเรื่อง “ซุนจื่อ” ไว้ ๑๓ บท. 
          คำที่ยกมาอ้างในนิพนธ์เรื่องนี้ดูได้จาก “ซุนจื่อ” บทที่ ๓ “กลรุก”. 

     ๓.  ตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๒๑ จนถึงเวลาที่สหายเหมาเจ๋อตุงนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี ๑๙๓๖
          เป็นเวลาครบรอบ ๑๕ ปีพอดี.

     ๔.  เฉินตู๋ซิ่ว เดิมเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีชื่อขึ้นเพราะเป็นบรรณาธิการนิตยสาร “เยาวชนใหม่”.  เฉินตู๋ซิ่วเป็นคน
          หนึ่งในบรรดาผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เนื่องจากชื่อเสียงของเขาในสมัยการเคลื่อนไหว ๔ พฤษภาคมและความอ่อนหัด
          ของพรรคในสมัยแรกตั้ง  เขาจึงได้เป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรค.  ในระยะหลังสุดของการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ความ
          คิดเอียงขวาภายในพรรคซึ่งมีเฉินตู๋ซิ่วเป็นตัวแทนนั้น, ได้ก่อรูปขึ้นเป็นแนวทางลัทธิยอมจำนน.  ในเวลานั้น “พวกลัทธิยอม
          จำนนได้สมัครใจละทิ้งอำนาจการนำที่มีต่อมวลชนชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองและชนชั้นนายทุนกลาง โดยเฉพาะอย่าง
          ยิ่งละทิ้งอำนาจการนำที่มีต่อกองกำลังอาวุธ  ทำให้การปฏิวัติครั้งนั้นต้องประสบความพ่ายแพ้” (“สถานการณ์ปัจจุบันและภาระ
          หน้าที่ของเรา” โดยเหมาเจ๋อตุง).  ภายหลังที่การปฏิวัติได้พ่ายแพ้ไปในปี ๑๙๒๗ แล้ว เฉินตู๋ซิ่วและพวกลัทธิยอมจำนนคนอื่น
          ๆ จำนวนน้อยเกิดท้อแท้ผิดหวังในอนาคตของการปฏิวัติ,  กลายเป็นพวกลัทธิยุบเลิกไป พวกนี้ได้ใช้จุดยืนปฏิกิริยาของลัทธิ
          ทรอตสกี้, และได้ตั้งกลุ่มย่อยที่แอนตี้พรรคขึ้นโดยประสานกันกับพวกทรอตสกี้ ดังนั้นจึงถูกไล่ออกจากพรรคเมื่อเดือน
          พฤศจิกายน ปี ๑๙๒๙.  เฉินตู๋ซิ่วตายเมื่อปี ๑๙๔๒.  เกี่ยวกับลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวาของเฉินตู๋ซิ่ว โปรดดูหมายเหตุอธิบาย
          หัวเรื่องของเรื่อง “การวิเคราะห์ชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมจีน” และเรื่อง “รายงานสำรวจการเคลื่อนไหวชาวนาในมณฑลหูหนาน”
          ใน “สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง” เล่ม ๑ และเรื่อง “ปฐมฤกษ์แถลงของนิตยสาร ‘ชาวพรรคคอมมิวนิสต์’ ” ใน “สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อ
          ตุง” เล่ม ๒ ประกอบ. 

     ๕.  ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ของหลี่ลี่ซาน หมายถึงแนวทางลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ที่มีสหายหลี่ลี่ซานผู้นำคนสำคัญ
          ของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้นเป็นตัวแทนในช่วงเวลาประมาณ ๔ เดือนภายหลังเดือนมิถุนายน ปี ๑๙๓๐ เรียก
          กันทั่วไปว่า “แนวทางหลี่ลี่ซาน”. ลักษณะพิเศษของแนวทางหลี่ลี่ซานก็คือ ฝ่าฝืนเข็มมุ่งของสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศ
          ครั้งที่ ๖ ปฏิเสธข้อที่ว่าการปฏิวัติจำเป็นต้องตระเตรียมกำลังของมวลชน และปฏิเสธความไม่สม่ำเสมอของการคลี่คลายขยาย
          ตัวของการปฏิวัติ เห็นว่าความคิดของสหายเหมาเจ๋อตุงที่ให้เพ่งความสนใจส่วนใหญ่ไปในการสร้างสรรค์ฐานที่มั่นในชนบทใน
          ระยะเวลาอันยาวนาน, เอาชนบทล้อมเมือง ใช้ฐานที่มั่นมาผลักดันการปฏิวัติทั่วประเทศให้ขึ้นสู่กระแสสูงนั้น เป็นสิ่งที่เรียกว่า
          “ความคิดท้องถิ่นและความคิดอนุรักษ์อันเป็นจิตสำนึกของชาวนา” “ซึ่งผิดพลาดอย่างยิ่ง” และถือความคิดเห็นว่าตามที่ต่าง ๆ
          ทั่วประเทศจะต้องตระเตรียมการลุกขึ้นสู้ทันที. ภายใต้แนวทางที่ผิดพลาดชนิดนี้ สหายหลี่ลี่ซานได้กำหนดแผนการเสี่ยงภัยที่
          ให้จัดตั้งการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธในเมืองศูนย์กลางต่าง ๆ ทั่วประเทศทันที. ในขณะเดียวกัน แนวทางหลี่ลี่ซานก็ไม่ยอมรับ
          ความไม่สม่ำเสมอของการปฏิวัติของโลก เห็นว่าการระเบิดขึ้นทั่วไปของการปฏิวัติของจีนจะก่อให้การปฏิวัติของโลกระเบิดขึ้น
          ทั่วไปอย่างแน่นอน  และการปฏิวัติของจีนจะสำเร็จได้ก็แต่ในท่ามกลางการระเบิดขึ้นทั่วไปของการปฏิวัติของโลกเท่านั้น;
          และก็ไม่ยอมรับลักษณะยาวนานของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีน เห็นว่าการเริ่มได้รับชัยชนะในมณฑลหนึ่ง
          หรือหลายมณฑลก่อนนั่นแหละคือการเริ่มต้นของการดำเนินการเปลี่ยนไปสู่สังคมนิยม, และด้วยเหตุนี้จึงได้กำหนดนโยบาย
          เสี่ยงภัยเอียง “ซ้าย” บางประการที่ไม่เหมาะกับกาลเวลาขึ้น.  สหายเหมาเจ๋อตุงได้คัดค้านแนวทางที่ผิดพลาดนี้, ผู้ปฏิบัติงาน
          และสมาชิกพรรคอันไพศาลทั่วทั้งพรรคก็เรียกร้องต้องการให้แก้ไขแนวทางนี้.  สหายหลี่ลี่ซานเองก็ยอมรับความผิดพลาดที่
          ถูกชี้ออกมาในเวลานั้นในที่ประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๓ ชุดที่ ๖ เมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๓๐ ต่อ
          จากนั้นก็ได้พ้นจากฐานะนำในศูนย์กลาง.  เนื่องจากสหายหลี่ลี่ซานได้แก้ไขทรรศนะที่ผิดพลาดของตนในเวลาอันยาวนาน
          ฉะนั้น สมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศครั้งที่ ๗ จึงได้เลือกเขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลางอีก. 

     ๖.  ที่ประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๓ ชุดที่ ๖ ซึ่งเปิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๓๐ และศูนย์กลางพรรค
          สมัยหลังการประชุมนี้ ได้ดำเนินมาตรการที่มีบทบาทเป็นคุณหลายอย่างต่อการยุติแนวทางหลี่ลี่ซาน. แต่หลังการประชุมเต็ม
          คณะของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๓ ชุดที่ ๖ แล้ว สหายในพรรคส่วนหนึ่งที่ไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ปฏิวัติที่เป็นจริง
          ซึ่งมีเฉินเซ่าหยี่ (หวางหมิง) และฉินปังเซี่ยน (ป๋อกู่) เป็นหัวหน้า กลับลุกขึ้นต่อต้านมาตรการของศูนย์กลาง.  ในหนังสือเล่ม
          เล็กที่ให้ชื่อว่า “แนวทางสองแนว” หรือ “ต่อสู้เพื่อการแปรเป็นแบบบอลเชวิคยิ่งขึ้นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” ซึ่งตีพิมพ์ใน
          เวลานั้น พวกเขาได้ประกาศเน้นหนักเป็นพิเศษว่า  อันตรายที่สำคัญภายในพรรคเวลานั้นไม่ใช่ลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย”
          หากเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวา”  ถือเอาการ “วิจารณ์” แนวทางหลี่ลี่ซานว่า “ขวา” เป็นทุนในการเคลื่อนไหว
          ของพวกเขา.  พวกเขาได้เสนอหลักนโยบายการเมืองใหม่ที่สืบต่อ ฟื้นฟู หรือขยายแนวทางหลี่ลี่ซานกับความคิดเอียง “ซ้าย”
          และนโยบายเอียง “ซ้าย” อื่น ๆ ภายใต้รูปการใหม่ขึ้น เป็นปรปักษ์กับแนวทางที่ถูกต้องของสหายเหมาเจ๋อตุง.  นิพนธ์เรื่อง
          “ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามปฏิวัติของจีน” ของสหายเหมาเจ๋อตุง เขียนขึ้นเพื่อวิพากษ์ความผิดพลาดในด้านการทหารของ
          แนวทางลัทธิฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย” ใหม่นี้เป็นสำคัญ.  การครอบงำของแนวทางผิดพลาดเอียง “ซ้าย” ใหม่ภายในพรรคนี้
          ได้เริ่มตั้งแต่การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรคสมัยที่ ๔ ชุดที่ ๖ ในเดือนมกราคม ปี ๑๙๓๑ ไปสิ้นสุดลงเมื่อ
          ศูนย์กลางพรรคได้เรียกประชุมกรมการเมืองที่จุนยี่ มณฑลกุยจิ๋ว ยุติการนำของแนวทางที่ผิดพลาดนี้และเริ่มต้นการนำใหม่
          ของศูนย์กลางที่มีสหายเหมาเจ๋อตุงเป็นหัวหน้าในเดือนมกราคม ปี ๑๙๓๕. แนวทางผิดพลาดเอียง “ซ้าย” ครั้งนี้ได้ครอบงำอยู่
          ในพรรคนานเป็นพิเศษ (๔ ปี) ได้ทำความเสียหายให้แก่พรรคและการปฏิวัติอย่างหนักเป็นพิเศษ ผลร้ายของมันก็คือ พรรค
          คอมมิวนิสต์จีน กองทัพแดงของจีนและฐานที่มั่นของกองทัพแดงได้เสียหายไปประมาณร้อยละ ๙๐ ทำให้ประชาชนในฐานที่
          มั่นปฏิวัติหลายสิบล้านคนถูกก๊กมินตั๋งเหยียบย่ำทำลาย, ทำให้การขยายตัวคืบหน้าของการปฏิวัติของจีนต้องล่าช้าลง.  สหาย
          ที่เคยทำความผิดพลาดในแนวทางเอียง “ซ้าย” นี้ เมื่อได้ผ่านการสังเกตศึกษาเป็นเวลายาวนาน ส่วนใหญ่ที่สุดก็ได้เข้าใจและ
          ได้แก้ความผิดพลาดของตนไปแล้ว ทั้งยังได้ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่พรรคและประชาชนอย่างมากมายด้วย.  บนพื้นฐาน
          ของความรับรู้ทางการเมืองร่วมกัน และภายใต้การนำของสหายเหมาเจ๋อตุง สหายเหล่านี้ก็ได้สามัคคีกันกับสหายอื่น ๆ อัน
          ไพศาล. 

     ๗.  โปรดอ่านประกอบจากหมายเหตุ ๒๑ และ ๒๒ ของเรื่อง “ว่าด้วยยุทธวิธีคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น”. 

     ๘.  กองฝึกอบรมนายทหารที่หลูซานเป็นองค์การจัดตั้งที่เจียงไคเช็คใช้ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานการทหารที่แอนตี้คอมมิวนิสต์ ตั้งขึ้น
          เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๓๓ ที่หลูซาน อำเภอจิ่วเจียง มณฑลกังไส.  นายทหารของเจียงไคเช็คถูกเรียกเป็นรุ่น ๆ เข้ารับการ
          ฝึกอบรมทางการทหารและทางการเมืองแบบฟัสซิสต์จากผู้ฝึกสอนวิชาการทหารชาวเยอรมัน อิตาลี และอเมริกัน. 

     ๙.  หลักการใหม่ทางการทหารใน “การล้อมปราบ” ครั้งที่ ๕ ที่กล่าวถึงในที่นี้ ที่สำคัญนั้นหมายถึง “นโยบายป้อมค่าย” ของพวก
          โจรเจียงไคเช็คที่รุกคืบหน้าด้วยการตั้งป้อมและตั้งค่ายเข้ามาทุก ๆ ก้าว. 

     ๑๐. ดู “สรรนิพนธ์เลนิน” เล่ม ๓๑ เรื่อง “ลัทธิคอมมิวนิสต์”. ในนิพนธ์เรื่องนี้ เลนินได้วิจารณ์เบลา กุน สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
           ฮังการีว่า “เขาได้ทิ้งสิ่งที่เป็นธาตุแท้ที่สุดของลัทธิมาร์กซ วิญญาณอันมีชีวิตของลัทธิมาร์กซ นั่นคือ การวิเคราะห์สภาพการณ์
           รูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม”. 

     ๑๑. สมัชชาผู้แทนพรรคเขตแดนต่อแดนหูหนาน-กังไส ครั้งที่ ๑ คือสมัชชาผู้แทนครั้งที่ ๑ ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เขตแดนต่อแดน
           หูหนาน-กังไสได้เรียกประชุมขึ้นมาที่เหมาผิง อำเภอหนิงกัง เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๑๙๒๘.  

     ๑๒. ดูหมายเหตุ ๒ และหมายเหตุ ๓ ของเรื่อง “เกี่ยวกับการแก้ความคิดที่ผิดภายในพรรค” ในนิพนธ์เล่มนี้. 

     ๑๓. “ลัทธิโจร” หมายถึงพฤติกรรมแย่งชิงปล้นสะดมอันไม่มีวินัย ไม่มีการจัดตั้ง และไม่มีจุดหมายทางการเมืองที่แจ่มชัด. 

     ๑๔. หมายถึงการเดินทัพทางไกล ๒๕,๐๐๐ ลี้ ของกองทัพแดงจากกังไสไปสู่ภาคเหนือส่านซี.  ดูหมายเหตุ ๒๐ ของเรื่อง “ว่าด้วย
           ยุทธวิธีคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น”. 

     ๑๕. “ทัพรอง” คือกองทหารที่ไม่ใช่กองกำลังหลัก เป็นเพียงกองทหารส่วนที่รับหน้าที่เป็นปีกเท่านั้น. 

     ๑๖. หมายถึงภายหลังที่การลุกขึ้นสู้เดือนธันวาคม ปี ๑๙๐๕ ของรัสเซียพ่ายแพ้ไปแล้ว การปฏิวัติได้เปลี่ยนจากระบบที่ขึ้นสู่
           กระแสสูงไปสู่ระยะที่ค่อย ๆ ลดต่ำลง.  โปรดอ่าน “แบบเรียนประวัติพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (บอลเชวิค) ฉบับ
           สังเขป” บทที่ ๓ ตอนที่ ๕ และตอนที่ ๖ ประกอบ. 

     ๑๗. สนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่โซเวียตรัสเซียทำกับเยอรมันเมื่อเดือนมีนาคม ปี ๑๙๑๘.  ในสภาพที่
           กำลังของศัตรูเหนือกว่ากำลังปฏิวัติอย่างเด่นชัดในเวลานั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพนี้เป็นการถอยชั่วคราวที่ใช้เพื่อให้
           สาธารณรัฐโซเวียตซึ่งเพิ่งสถาปนาขึ้นใหม่และยังไม่มีกองทัพของตนเอง ไม่ถูกจักรพรรดิเยอรมันโจมตีเอา.  ทั้งนี้ทำให้
           สาธารณรัฐโซเวียตได้เวลาที่จะไปเสริมความมั่นคงแก่อำนาจรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ จัดสรรเศรษฐกิจ สร้างกองทัพแดง;
           ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพรักษาการนำที่มีต่อชาวนาไว้ได้และสะสมกำลังของตนขึ้น  จนสามารถตีกองทัพขาวและผู้แทรกแซง
           ด้วยกำลังอาวุธประเทศต่าง ๆ เช่นอังกฤษ, อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น โปแลนด์เป็นต้น ให้แตกกระเจิงไปในระหว่างปี ๑๙๑๘ ถึง
           ปี ๑๙๒๐. 

     ๑๘. เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๑๙๒๗ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชาวนาที่อำเภอไห่เฟิง-ลู่เฟิง มณฑลกวางตุ้ง ได้ก่อการ
           ลุกขึ้นสู้ครั้งที่ ๓ เข้ายึดไห่เฟิง-ลู่เฟิง และเขตใกล้เคียงไว้ได้ และได้จัดตั้งกองทัพแดง สถาปนาอำนาจรัฐประชาธิปไตย
           กรรมกรชาวนาขึ้น.  ต่อมาได้พ่ายแพ้ไปเพราะเกิดความผิดพลาดที่ประมาทข้าศึก. 

     ๑๙. ภายหลังที่กองทัพแดงด้านที่ ๔ กับกองทัพแดงด้านที่ ๒ ได้บรรจบกันเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี ๑๙๓๖ แล้ว  ก็ได้ออกจากภาคตะวัน
           ออกเฉียงเหนือซีคัง เคลื่อนย้ายขึ้นไปทางเหนือ.  ขณะนั้นจางกว๋อเถายังคงยืนกรานแอนตี้พรรค ยืนกรานในลัทธิล่าถอยและ
           ลัทธิยุบเลิกของเขาซึ่งมีอยู่ตลอดมา.  เมื่อเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ภายหลังที่กองทัพแดงด้านที่ ๒ และด้านที่ ๔ มาถึงมณฑล
           กานซู่แล้ว จางกว๋อเถาได้มีคำสั่งให้หน่วยกองหน้า ๒ หมื่นกว่าคนของกองทัพแดงด้านที่ ๔ จัดตั้งเป็นกองทัพสายตะวันตก
           ยกข้ามแม่น้ำเหลืองไปทางตะวันตกมู่งสู่ชิงไห่.  เมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖ กองทัพสายตะวันตกถูกโจมตีในการรบและพ่าย
           แพ้ไปโดยพื้นฐาน จนเดือนมีนาคม ปี ๑๙๓๗ ก็พ่ายแพ้ไปโดยสิ้นเชิง. 

     ๒๐. ดูจดหมายของมาร์กซที่มีถึงคูเกลมานานว่าด้วยคอมมูนปารีส. 

     ๒๑. “สุยหู่จ้วน” (หรือ “ซ้องกั๋ง”) เป็นนวนิยายลือชื่อของจีนที่บรรยายถึงสงครามชาวนา เล่าสืบต่อกันมาว่า ซื่อไน่อานคนสมัย
           ปลายราชวงศ์หงวนต้นราชวงศ์เหม็งในศตวรรษที่ ๑๔ เป็นผู้แต่ง.  หลินชุงและไฉจิ้นเป็นตัววีรบุรุษในนิยายเรื่องนี้. ครูหุงเป็น
           ครูมวยคนหนึ่งในบ้านไฉจิ้น. 

     ๒๒. แคว้นหลู่และแคว้นฉีเป็นรัฐศักดินา ๒ รัฐในสมัยชุนชิวของจีน (ก่อนคริสต์ศักราช ๗๒๒-๘๔๑ ปี) ฉีเป็นแคว้นใหญ่ อยู่ใน
           ภาคกลางมณฑลซานตุงเวลานี้; หลู่เป็นแคว้นเล็กกว่า อยู่ในภาคใต้มณฑลซานตุงเวลานี้.  หลู่จวงกุงเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นหลู่
           ในสมัยก่อนคริสต์ศักราช ๖๙๓-๖๖๒ ปี. 

     ๒๓. จ่อชิวหมิง ผู้ประพันธ์เรื่อง “จ่อจ้วน” จดหมายเหตุอันลือชื่อในสมัยราชวงศ์โจวของจีน.  ข้อความตอนที่นิพนธ์เรื่องนี้อ้างถึงดู
           ได้จากตอนจวงกุงศก ๑๐ ใน “จ่อจ้วน”.  

     ๒๔. เมืองเก่าเฉิงเกาอยู่ตอนตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเฉิงเกา มณฑลเหอหนานเวลานี้ เป็นชัยภูมิที่สำคัญทางการทหารใน
           สมัยโบราณ.  เมื่อก่อนคริสต์ศักราช ๒๐๓ ปี หลิวปังกษัตริย์ฮั่นกับเซี่ยงหยี่กษัตริย์ฉู่ (หรือฌ้อปาอ๋อง) เคยรบตรึงกันที่นี่.
           เวลานั้นเซี่ยงหยี่ตีเมืองสิงหยาง เฉิงเกา ได้ติด ๆ กัน กองทัพหลิวปังแตกกระเจิดกระเจิงจนแทบจะไม่เป็นขบวน.  แต่ต่อมา
           หลิวปังได้รอจนถึงโอกาสที่กองทัพฉู่ข้ามแม่น้ำซื่อสุ่ยไปถึงกลางน้ำ ก็ตีกองทัพฉู่แตกยับเยินและชิงเมืองเฉิงเกาคืนไปได้. 

     ๒๕. เมืองเก่าคุนหยางอยู่ในเขตอำเภอเย่เซี่ยน มณฑลเหอหนาน เวลานี้.  เมื่อ ค.ศ.๒๓ หลิวซิ่ว (พระเจ้ากวางหวู่แห่งราชวงศ์ตุง
           ฮั่น) ได้ตีกองทหารอองมั่งแตกที่นี่.  สงครามครั้งนี้กำลังทหารสองฝ่ายแข็งอ่อนเหลื่อมล้ำกันมาก ฝ่ายหลิวซิ่วมีเพียงแปดเก้า
           พัน ฝ่ายอองมั่งมีถึง ๔ แสนเศษ. หลิวซิ่วได้ใช้ประโยชน์จากความประมาทข้าศึกและความเฉื่อยเนือยไม่สนใจในการรบของ
           หวางสินและหวางอี้ขุนพลของอองมั่ง ส่งทหารฝีมือเยี่ยม ๓ พันเข้าทะลวงกำลังส่วนที่แข็งแกร่งที่สุดของกองทัพอองมั่งแตก
           แล้วถือโอกาสที่ทหารของตนกำลังฮึกเหิมเข้าโจมตีกองทัพข้าศึกแตกยับเยินไป. 

     ๒๖. กวานตู้อยู่ตอนตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอจุงโหมว มณฑลเหอหนานเวลานี้. เมื่อ ค.ศ. ๒๐๐ กองทัพของโจโฉกับอ้วน
           เสี้ยวรบกันที่นี่.  ขณะนั้นอ้วนเสี้ยวมีทหาร ๑ แสน ส่วนโจโฉทหารน้อยและเสบียงก็หมด.  แต่โจโฉได้ใช้ประโยชน์จากความ
           ประมาทข้าศึกและการไม่เตรียมพร้อมของกองทัพอ้วนเสี้ยว แต่งทหารติดอาวุธเบาลอบจู่โจมเข้าเผายานพาหนะและยุทธ
           สัมภาระของกองทัพอ้วนเสี้ยว. พอกองทัพอ้วนเสี้ยวแตกตื่นระส่ำระสาย กองทัพโจโฉก็ยกออกขยี้ทัพหลวงของอ้วนเสี้ยว
           ย่อยยับไป. 

     ๒๗. แคว้นหวูหมายถึงฝ่ายซุนกวน แคว้นเว่ยหมายถึงฝ่ายโจโฉ. ฉื้อปี้อยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงตอนตะวันออกเฉียงเหนือของ
           อำเภอเจียหยี มณฑลหูเป่ย.  เมื่อ ค.ศ. ๒๐๘ โจโฉยกทหาร ๕ แสนเศษ โดยประกาศว่ามีพล ๘ แสน เข้าตีซุนกวน. ฝ่ายซุน
           กวนได้ร่วมกับเล่าปี่ศัตรูของโจโฉยกทหาร ๓ หมื่นเข้ารับศึก ทั้งสองได้ทีที่เกิดโรคระบาดขึ้นในกองทัพโจโฉ, ประกอบกับ
           กองทัพโจโฉไม่ชินกับการรบทางน้ำ จึงเอาไฟเผาเรือกองทัพโจโฉ ตีกองทัพโจโฉแตกยับเยินไป. 

     ๒๘. หยี่หลิงอยู่ตอนตะวันออกของอำเภอหยีชาง มณฑลหูเป่ยเวลานี้.  เมื่อ ค.ศ. ๒๒๒ ลกซุนขุนพลแคว้นหวูได้ตีกองทัพเล่าปี่ผู้
           ครองแคว้นสู่แตกยับเยินที่นี่. กองทัพเล่าปี่รบชนะเรื่อยมาตั้งแต่ต้นในสงครามนี้ ครั้นยกเข้าหยีหลิงก็ล้ำเข้าไปในแดนของ
           แคว้นหวูประมาณห้าหกร้อยลี้.  ลกซุนตั้งรักษาที่มั่นไม่ออกรบเป็นเวลาเจ็ดแปดเดือน คอยจนฝ่ายเล่าปี่ “ทหารอิดโรยขวัญ
           เสื่อมทรุด คิดกลศึกไม่ออกอีก” แล้ว จึงจุดเพลิงเผาขึ้นทางต้นลม ตีกองทัพเล่าปี่แตกยับเยินไป. 

     ๒๙. เมื่อ ค.ศ. ๓๘๓ เซ่เสียนขุนพลตุงจิ้นตีกองทัพของฝูเจียนเจ้าผู้ครองแคว้นฉินแตกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยมณฑลอันฮุย. เวลานั้น ฝู
           เจียนมีทหารเดินเท้า ๖ แสนเศษ ทหารม้า ๒ แสน ๗ หมื่น กองรักษาการณ์ทหารม้า ๓ หมื่นเศษ, ฝ่ายตุงจิ้นมีทัพบกทัพเรือ
           เพียง ๘ หมื่น.  ในขณะที่กองทัพสองฝ่ายตั้งประจัญกันคนละฟากฝั่งที่แม่น้ำเฝยสุ่ยนั้น แม่ทัพแคว้นจิ้นได้อาศัยความทะนง
           ตนถือดีของข้าศึก เรียกร้องให้กองทัพฉินที่อยู่ฝั่งเหนือของแม่น้ำเฝยสุ่ยถอยร่นพ้นฝั่งเข้าไปให้มีที่สำหรับรบกัน เพื่อกองทัพ
           จิ้นจะได้ข้ามน้ำไปทำศึกแตกหัก.  กองทัพฉินก็ยอมให้จริง ๆ แต่พอถอยเข้าก็ไม่สามารถยับยั้งได้ กองทัพจิ้นได้ทีก็ยกข้าม
           แม่น้ำไปแล้วเข้าโจมตีทันที กองทัพฉินจึงถูกตีแตกพ่ายยับเยิน. 

     ๓๐. วันที่ ๑ สิงหาคม ๑๙๒๗ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้นำการลุกขึ้นสู้อันลือชื่อขึ้นที่หนานชางเมืองเอกมณฑลกังไส เพื่อคัดค้าน
           การเป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติของเจียงไคเช็คและวังจิงไว และดำเนินภารกิจปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ต่อไป. ผู้ที่เข้าร่วมการลุก
           ขึ้นสู้ครั้งนี้มีกองทหารที่ติดอาวุธ ๓ หมื่นกว่าคน, ผู้ทำหน้าที่นำมีสหายโจวเอินไหล จูเต๋อ เฮ่อหลุงและเย่ถิ่ง.  กองทัพลุกขึ้นสู้
           ถอยออกจากหนานชางเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ตามแผนการที่วางไว้แต่เดิม เมื่อยกเข้าแต้จิ๋วและซัวเถาในมณฑลกวางตุ้ง ก็ถูก
           ตีพ่ายไป.  ต่อมาส่วนหนึ่งของกองทัพลุกขึ้นสู้ซึ่งนำโดยสหายจูเต๋อ เฉินยี่และหลินเปียว ได้เวียนรบไปถึงเขาจิ่งกังซาน แล้ว
           บรรจบกับกองทัพปฏิวัติกรรมกรชาวนากองทัพที่ ๑ กองพลที่ ๑ ซึ่งนำโดยสหายเหมาเจ๋อตุง. 

     ๓๑. ดูหมายเหตุ ๘ ของเรื่อง “เหตุใดอำนาจรัฐแดงของจีนจึงดำรงอยู่ได้?” ในนิพนธ์เล่มนี้. 

     ๓๒. กลุ่ม เอ.บี. เป็นองค์การสายลับปฏิปักษ์ปฏิวัติของพวก๊กมินตั๋งที่ซ่อนเร้นอยู่ในบริเวณเขตแดงเวลานั้น.  เอ.บี. เป็นอักษรย่อ
           ของคำในภาษาอังกฤษว่า Anti-Bolshevik (แอนตี้บอลเชวิค). 

     ๓๓. โปรดอ่านนิพนธ์เรื่อง “หัวข้อเกี่ยวกับปัญหาการเจรจาสันติภาพโดยลำพังทันทีและการทำสัญญาสันติภาพตัดแบ่งดินแดน”
           เรื่อง “คำกล่าวที่ทั้งแปลกและอัศจรรย์” เรื่อง “บทเรียนอันหนักหน่วงและความรับผิดชอบอันหนักหน่วง” เรื่อง “คำรายงาน
           เกี่ยวกับปัญหาสงครามและสันติภาพ” ของเลนิน และ “แบบเรียนประวัติพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (บอลเชวิค)
           ฉบับสังเขป” บทที่ ๗ ตอนที่ ๗ ประกอบ. 

     ๓๔. ชาวธิเบตและชาวหุยที่กล่าวถึงในที่นี้หมายถึงชนชาติธิเบตในแถบมณฑลซีคัง (อยู่ในภาคตะวันกตกมณฑลเสฉวนเวลานี้—ผู้
           แปล) และชนชาติหุย ในมณฑลกานซู่ ชิงไห่และซินเกียง. 

     ๓๕. การประพันธ์แบบแปดส่วนเป็นรูปการประพันธ์พิเศษชนิดหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ในระบอบสอบคัดเลือกขุนนางของราชสำนัก
           ศักดินาจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ ถึงศตวรรษที่ ๑๙. รูปการประพันธ์ชนิดนี้เป็นการเล่นอักษรที่ไม่มีเนื้อหาสาระและเอาแต่รูป
           แบบอย่างเดียว.  การประพันธ์แบบแปดส่วนทุกบทประกอบขึ้นด้วยส่วนต่าง ๆ  อันได้แก่ ไขหัวเรื่อง รับหัวเรื่อง เริ่มเดินเรื่อง
           ลงมือ ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลายและส่วนปิดท้าย.  “ไขหัวเรื่อง” มี ๒ ประโยค ไขความหมายอันสำคัญของหัวเรื่อง. “รับ
           หัวเรื่อง” ใช้ข้อความ ๓ หรือ ๔ ประโยค อธิบายให้รับกับความหมายของการไขหัวเรื่อง.  “เริ่มเดินเรื่อง” กล่าวถึงเนื้อเรื่อง
           ทั้งหมดโดยย่อ เป็นการเริ่มบรรยายเรื่อง.  “ลงมือ” คือตอนที่ลงมือหลังจากเริ่มเดินเรื่องแล้ว.  ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลาย
           และส่วนปิดท้าย ๔ ตอนนี้จึงจะเป็นการบรรยายเรื่องอย่างแท้จริง ส่วนกลางเป็นหัวใจของบทประพันธ์ทั้งบท.  ใน ๔ ตอนนี้
           แต่ละตอนมีถ้อยคำที่รับกันเป็นคู่ ๆ ๒ ส่วน รวมทั้งหมดเป็น ๘ ส่วน ดังนั้นจึงเรียกว่าการประพันธ์แบบแปดส่วน หรือแปดคู่ก็
           เรียก. ในที่นี้สหายเหมาเจ๋อตุงได้กล่าวถึงกระบวนการของการเดินเรื่องจากส่วนหนึ่งไปสู่อีกส่วนหนึ่งในการเขียนบทประพันธ์
           แบบแปดส่วน เพื่อใช้เป็นอุปมาของขั้นต่าง ๆ ในการขยายตัวของการปฏิวัติ.  แต่ในกรณีทั่วไป สหายเหมาเจ๋อตุงมักยกเอาคำ
           ว่าการประพันธ์แบบแปดส่วนนี้ไปเป็นอุปมาเหน็บแนมลัทธิคัมภีร์.

 

หมายเหตุผู้แปล

 

     1.  ระบอบเขตหลังใหญ่ หมายถึงองค์การเขตหลังที่ใหญ่เทอะทะไม่เหมาะกับสภาพการณ์ของสงครามในเวลานั้นซึ่งเคยเป็นความ
          คิดเห็นของผู้ชี้นำแนวทางเอียง “ซ้าย” ในสมัยสงครามปฏิวัติภายในประเทศครั้งที่ ๒. ส่วนระบอบเขตหลังเล็ก หมายถึงการก่อ
          ตั้งองค์การเขตหลังขนาดเล็กแบบสู้รบที่รัดกุม. 

     2.  คำนี้เป็นคำมาจากเรื่องโบราณเรื่องหนึ่งของจีน.  ความเดิมมีว่า เมื่อก่อนคริสต์ศักราช ๕๘๙ ปี แคว้นฉีได้ทำศึกกับแคว้นจิ้น
          หลู่และเว่ย.  ฉีชิงกุงเจ้าผู้ครองแคว้นฉีประมาทข้าศึก ใคร่จะเผด็จศึกในเร็ววัน จึงตรัสว่า “ขอให้เราทำลายข้าศึกกลุ่มนี้เสียก่อน
          เถอะจึงค่อยกินข้าวเช้า”.  ว่าแล้ว ทัพฉีก็บุกตะลุยออกไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทันได้สวมเกราะให้ม้าที่เทียมรถศึก ผลที่สุดก็รบแพ้. 

     3.  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๓๓ ภายใต้ผลสะเทือนแห่งกระแสสูงการต่อต้านญี่ปุ่นของประชาชนจีนทั่วประเทศ นายพลใน
          กองทัพลู่ที่ ๑๙ “ของก๊กมินตั๋ง ได้ร่วมมือกับอิทธิพลส่วนหนึ่งของหลี่จี้เซินและคนอื่น ๆ ในพรรคก๊กมินตั๋ง ประกาศแตกหักกับ
          เจียงไคเช็คอย่างเปิดเผย”.  พวกเขาได้ประกาศก่อตั้ง “รัฐบาลปฏิวัติประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นในมณฑล
          ฮกเกี้ยน และทั้งได้ทำข้อตกลงกับกองทัพแดงในการต่อต้านญี่ปุ่นคัดค้านเจียงไคเช็ค. นี่คือที่เรียกกันว่า “กรณีฮกเกี้ยน”. ต่อ
          มากองทัพลู่ที่ ๑๙ และรัฐบาลประชาชนฮกเกี้ยนได้พ่ายแพ้ไปด้วยการบีบบังคับของกำลังทหารเจียงไคเช็ค. 

     4.  พญาเล่งอ๋อง (พญามังกร) ตัวละครในเทพนิยายของจีน เป็นจ้าวแห่งทะเล, มีของวิเศษนับไม่ถ้วน.