bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

คำแถลงเกี่ยวกับคำแถลงของเจียงไคเช็ค

 

คำแถลงเกี่ยวกับ
คำแถลงของเจียงไคเช็ค
(๒๘ ธันวาคม ๑๙๓๖)
 
ที่ซีอาน เจียงไคเช็คได้ยอมรับคำเรียกร้องที่ให้ต่อต้านญี่ปุ่นของนายพลจางโซเหลียง นายพลหยางหู่เฉิงและประชาชนภาคพายัพ และก่อนอื่นได้มีคำสั่งให้กองทหารที่ดำเนินสงครามกลางเมืองถอนออกไปจากมณฑลส่านซีและกานซู่ นี่เป็นการเริ่มต้นที่เจียงไคเช็คเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ผิดพลาดของเขาซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปี๑.  นี่เป็นการโจมตีแผนกโลบายของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มปราบกบฏของจีน๒ ซึ่งบัญชาการสงครามกลางเมือง ก่อการแตกแยก และอยากจะให้เจียงไคเช็คถูกสังหารในกรณีครั้งนี้.  ความผิดหวังของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มปราบกบฏของจีนนั้นเห็นได้ชัดแจ้งแล้ว.  การแสดงความสำนึกตนของเจียงไคเช็คเช่นนี้, ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของก๊กมินตั๋งที่ปรารถนาจะยุตินโยบายที่ผิดพลาดของตนซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปี.
เจียงไคเช็คได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งที่ลกเอี๋ยงเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ซึ่งก็คือที่เรียกกันว่า “คำให้โอวาทแก่จางโซเหลียงและหยางหู่เฉิง” เนื้อหาสาระในคำแถลงนั้นกำกวมและหลบ ๆ เลี่ยง ๆ เป็นความเรียงที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งในบรรดาเอกสารทางการเมืองของประเทศจีนแท้ ๆ. แม้นเจียงไคเช็คปรารถนาจะรับบทเรียนอันลึกซึ้งจากกรณีครั้งนี้ แล้วพยายามสร้างชีวิตใหม่ให้แก่ก๊กมินตั๋ง ยุตินโยบายสืบทอดที่ผิดพลาดที่ประนีประนอมต่อต่างประเทศ ใช้กำลังทหารต่อภายในประเทศ และทำการกดขี่ต่อประชาชน เพื่อชักนำก๊กมินตั๋งไปสู่ฐานะที่ไม่ฝ่าฝืนเจตจำนงของประชาชนแล้วไซร้ เขาก็น่าจะมีความเรียงที่ดีกว่านี้สักชิ้นที่สำนึกถึงความผิดทางการเมืองแต่หนหลังและแผ้วถางทางให้แก่อนาคต เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจของตน. คำแถลงลงวันที่ ๒๖ ธันวาคมนั้นไม่อาจสนองความเรียกร้องต้องการของมวลประชาชนจีนได้เลย.
ในคำแถลงของเจียงไคเช็คมีข้อความตอนหนึ่งที่ควรแก่การสรรเสริญ คือตอนที่เขากล่าวว่า “พูดต้องมีสัตย์ ทำต้องเด็ดขาด”.  หมายความว่า แม้เขาจะไม่ได้ลงนามในเงื่อนไขที่จางโซเหลียงกับหยางยู่เฉิงได้เสนอขึ้นที่ซีอานก็ตาม แต่ก็ยินดีที่จะรับข้อเรียกร้องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และจะไม่กลับสัตย์ด้วยเหตุที่ตนมิได้ลงนาม. เราจะดูว่าหลังจากที่เจียงไคเช็คได้ถอนทหารออกไปแล้ว เขาจะรักษาวาจาสัตย์ได้จริงหรือไม่ และจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เขาเองได้รับคำไว้แล้วหรือไม่. เงื่อนไขเหล่านี้คือ (๑) ปรับปรุงการจัดตั้งของพรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลประชาราษฎร์ ขับไล่พวกนิยมญี่ปุ่นและรับเอาพวกต่อต้านญี่ปุ่น; (๒) ปล่อยหัวหน้าผู้รักชาติในเซี่ยงไฮ้๓ ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด และให้หลักประกันแก่สิทธิเสรีภาพของประชาชน; (๓) ยุตินโยบาย “ปราบคอมมิวนิสต์” ร่วมกับกองทัพแดงทำการต่อต้านญี่ปุ่น; (๔) จัดให้มีการประชุมกู้ชาติซึ่งมีผู้แทนของพรรค กลุ่มการเมือง, วงการและกองทัพต่าง ๆ เข้าร่วม กำหนดเข็มมุ่งต่อต้านญี่ปุ่น กอบกู้ประเทศชาติ; (๕) สร้างความสัมพันธ์ที่ร่วมมือกันกับบรรดาประเทศที่เห็นอกเห็นใจการต่อต้านญี่ปุ่นของประเทศจีน; (๖) วิธีการกู้ชาติที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ. การปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้ ก่อนอื่นจะต้องรักษาวาจาสัตย์จริง ๆ และจะต้องมีความกล้าหาญบ้าง.  เราจะพิจารณาจากการกระทำของเจียงไคเช็คนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป.
แต่ในคำแถลงของเจียงไคเช็คยังมีข้อความที่ว่า กรณีซีอานนั้นเกิดขึ้นเพราะถูกกดดันจาก “พวกปฏิกิริยา”.  เป็นที่น่าเสียดายที่เจียงไคเช็คไม่ได้ให้คำชี้แจงว่า “พวกปฏิกิริยา” ที่เขาพูดถึงนั้นเป็นบุคคลเช่นไรกันแน่ และก็ไม่ทราบคำว่า “พวกปฏิกิริยา” ในปทานุกรมของเจียงไคเช็คนั้นมีความหมายว่ากระไร.  แต่ความจริงในการก่อขึ้นของกรณีซีอานนั้นได้รับผลสะเทือนจากอิทธิพลดังต่อไปนี้ คือ (๑) การขึ้นสู่ระลอกสูงของกระแสคลื่นต่อต้านญี่ปุ่นอันดุเดือดในหมู่กองทหารของจางโซเหลียงกับหยางหู่เฉิงและในหมู่ประชาชนที่ปฏิวัติในภาคพายัพ; (๒) การขึ้นสู่ระลอกสูงของกระแสคลื่นต่อต้านญี่ปุ่นอันดุเดือดของประชาชนทั่วประเทศ; (๓) การขยายตัวของอิทธิพลฝ่ายซ้ายในพรรคก๊กมินตั๋ง; (๔) การเรียกร้องให้ต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติของพวกกุมกำลังในมณฑลต่าง ๆ; (๕) ข้อคิดเห็นของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ให้จัดตั้งแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น; (๖) การขยายตัวของแนวสันติภาพของโลก.  เหล่านี้ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจจะปิดบังได้.  คำว่า “พวกปฏิกิริยา” ที่เจียงไคเช็คกล่าวถึงนั้น, มิใช่อะไรอื่น คืออิทธิพลเหล่านี้นั่นเอง ต่างกันแต่ว่าประชาชนทั่วไปเรียกกันว่าพวกปฏิวัติ ส่วนเจียงไคเช็คกลับเรียกว่า “พวกปฏิกิริยา” เท่านั้นเอง.  ที่เจียงไคเช็คเคยกล่าวไว้ที่ซีอานว่าจะต่อต้านญี่ปุ่นอย่างจริงจังนั้น คงจะไม่ถึงกับพอพ้นจากซีอานก็โจมตีอิทธิพลปฏิวัติอย่างเต็มที่อีก เพราะว่าไม่เพียงแต่ปัญหาการถือสัตย์เกี่ยวพันถึงชีวิตการเมืองของเจียงไคเช็คกับพวกเท่านั้น ทั้งบนวิถีทางการเมืองที่เป็นจริงนั้น ยังมีอิทธิพลชนิดหนึ่งซึ่งพองโตขึ้นแล้วและไม่เป็นผลดีต่อพวกเขา กำลังขวางหน้าเจียงไคเช็คกับพวกอยู่ นั่นก็คือ ที่เรียกกันว่ากลุ่มปราบกบฏที่อยากจะให้เจียงไคเช็คถูกสังหารในกรณีซีอาน.  เพราะฉะนั้น เราจึงขอเตือนให้เจียงไคเช็คแก้ปทานุกรมการเมืองของตนเสียใหม่ แก้คำว่า “พวกปฏิกิริยา” เป็นพวกปฏิวัติ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงจะเหมาะสมกว่า.
เจียงไคเช็คควรต้องจดจำไว้ว่า การที่เขาออกจากซีอานได้โดยสวัสดิภาพนั้น นอกจากบทบาทของนายพลจางโซเหลียงกับนายพลหยางหู่เฉิงผู้นำในซีอานแล้ว การไกล่เกลี่ยของพรรคคอมมิวนิสต์ก็มีบทบาทที่ทรงพลัง.  การที่พรรคคอมมิวนิสต์มีข้อคิดเห็นให้แก้กรณีซีอานโดยสันติวิธี และได้ใช้ความพยายามต่าง ๆ เพื่อการนี้นั้น ก็เริ่มต้นจากทรรศนะเพื่อการดำรงคงอยู่ของประชาชาติโดยสิ้นเชิง.  ถ้าหากสงครามกลางเมืองขยายออกไป และจางโซเหลียงกับหยางหู่เฉิงได้กักขังเจียงไคเช็คไว้เป็นเวลานาน กรณีซีอานก็รังแต่จะคลี่คลายขยายตัวไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มปราบกบฏของจีนเท่านั้น.  ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้, พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปิดโปงแผนกโลบายของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับกลุ่มปราบกบฏของจีนอันมีวังจิงไว๔ เหอยิ่งชิน๕ และคนอื่น ๆ อย่างเด็ดเดี่ยว และยืนยันในข้อคิดเห็นที่ให้แก้กรณีนี้โดยสันติวิธีอย่างเด็ดเดี่ยว  ซึ่งกล่าวได้ว่าสอดคล้องต้องกันโดยมิได้ร่วมคิดมาก่อนกับข้อคิดเห็นของนายพลจางโซเหลียงและนายพลหยางหู่เฉิงตลอดจนชาวพรรคก๊กมินตั๋ง เช่น ที.วี.ซุง๖ และคนอื่น ๆ. นี่แหละคือข้อคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เพราะสงครามกลางเมืองในเวลานี้เป็นที่ชิงชังของประชาชนอย่างที่สุด.
เจียงไคเช็คได้รับอิสรภาพด้วยยอมรับเงื่อนไขซีอานแล้ว. ปัญหาต่อไปอยู่ที่ว่าเจียงไคเช็คจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของตนที่ว่า “พูดต้องมีสัตย์ ทำต้องเด็ดขาด” โดยทุกประการและทำให้เงื่อนไขการกู้ชาติทุกข้อปรากฏเป็นจริงขึ้นอย่างแท้จริงหรือไม่. ประชาชนทั่วประเทศจะไม่ยอมให้เจียงไคเช็คมีทางโลเลและทำอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้อีก.  ถ้าหากเจียงไคเช็คยังมีความลังเลในปัญหาการต่อต้านญี่ปุ่น และประวิงเวลาในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของตนแล้ว กระแสคลื่นแห่งการปฏิวัติของประชาชนทั่วประเทศก็จะกลืนเอาเจียงไคเช็คลงไป.  โบราณท่านว่า “คนผู้ไร้สัตย์นั้น จะได้การดังฤา” เจียงไคเช็คกับพวกต้องระวังให้จงหนัก.
ถ้าเจียงไคเช็คสามารถชำระสะสางสิ่งโสโครกในนโยบายปฏิกิริยาที่ดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปีของก๊กมินตั๋ง แก้ไขอย่งถึงที่สุดในความผิดพื้นฐานที่อ่อนข้อต่อต่างประเทศ ใช้กำลังทหารต่อภายในประเทศ และทำการกดขี่ต่อประชาชน ก้าวไปสู่แนวรบแห่งการร่วมกับพรรคและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ต่อต้านญี่ปุ่นด้วยน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยทันที และสามารถใช้จังหวะก้าวในการกู้ชาติอย่างแท้จริงทั้งในด้านการทหารและด้านการเมืองแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์ย่อมจะให้การสนับสนุนอย่างแน่นอน. พรรคคอมมิวนิสต์ได้ให้คำมั่นสัญญาในการสนับสนุนนี้แก่เจียงไคเช็คและก๊กมินตั๋งไว้แล้วในสาส์นถึงพรรคก๊กมินตั๋ง๗ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม. การ “พูดต้องมีสัตย์, ทำต้องเด็ดขาด” ของพรรคคอมมิวนิสต์นั้น ประชาชนทั่วประเทศได้รับรองกันมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว. เป็นความจริงที่ประชาชนทั่วประเทศเชื่อถือในคำพูดและการกระทำของพรรคคอมมิวนิสต์ยิ่งกว่าคำพูดและการกระทำของพรรคและกลุ่มการเมืองใด ๆ ภายในประเทศ.
 
 
หมายเหตุ
 
๑. โดยที่ได้รับผลสะเทือนจากกองทัพแดงของจีนและการเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นของประชาชน กองทัพภาคอีสานของก๊กมินตั๋งซึ่งมีจางโซเหลียงเป็นหัวหน้าและกองทัพลู่ที่ ๑๗ ของก๊กมินตั๋งซึ่งมีหยางหู่เฉิงเป็นหัวหน้า จึงเห็นชอบด้วยกับแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเสนอขึ้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเรียกร้องให้เจียงไคเช็คร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านญี่ปุ่น. เจียงปฏิเสธ มิหนำซ้ำยังปฏิบัติผิดทำนองคลองธรรมหนักขึ้นอีก โดยวางแผนทางการทหารเข้า “ปราบคอมมิวนิสต์” อย่าขะมักเขม้นและได้สังหารเยาวชนผู้ต่อต้านญี่ปุ่นที่ซีอานอีกด้วย. จางโซเหลียงและหยางหู่เฉิงจึงได้ปฏิบัติการร่วมกันจับกุมตัวเจียงไคเช็คไว้. นี่แหละคือกรณีซีอานอันลือชื่อเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๑๙๓๖.  เวลานั้นเจียงไคเช็คได้ถูกบีบบังคับให้ต้องยอมรับเงื่อนไขร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านญี่ปุ่น จึงได้รับการปล่อยตัวกลับไปยังนานกิง.
๒. หมายถึงพวกนิยมญี่ปุ่นภายในรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานกิง ซึ่งแย่งอำนาจและชิงผลประโยชน์กับเจียงไคเช็คและถือความคิดเห็นให้ทำการ “ปราบกบฏ” จางโซเหลียงและหยางหู่เฉิง ในขณะที่เกิดกรณีซีอาน บุคคลเหล่านี้มีวังจิงไว เห่อยิ่งชินเป็นหัวหน้า พวกเขาเตรียมจะก่อสงครามกลางเมืองขนานใหญ่ขึ้นโดยอาศัยกรณีซีอานเป็นข้ออ้าง เพื่อให้ความสะดวกแก่การเข้าตีของญี่ปุ่นและฉวยโอกาสเข้ายึดฐานะการปกครองแทนที่เจียงไคเช็ค.
๓. หัวหน้าผู้รักชาติในเซี่ยงไฮ้หมายถึงผู้นำ ๗ คนในการเคลื่อนไหวรักชาติต่อต้านญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้ อันได้แก่เสิ่นจินหรู จางหน่ายซี่ โจวเท่าเฟิ่น, หลี่กุงผู ซาเชียนหลี่ สื่อเหลียงและหวางเจ้าสือ. พวกเขาถูกรัฐบาลเจียงไคเช็คจับกุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๓๖ จนเดือนกรกฎาคม ปี ๑๙๓๗ จึงได้รับการปล่อยตัว.
๔. วังจิงไวเป็นหัวหน้าพวกนิยมญี่ปุ่นในพรรคก๊กมินตั๋งในเวลานั้น. เริ่มแต่ปี ๑๙๓๑ เขาก็ถือความคิดเห็นให้ประนีประนอมต่อการรุกรานของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นตลอดมา.  เมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๘ เขาได้ออกจากจุงกิงไปสวามิภักดิ์ต่อโจรญี่ปุ่นอย่างเปิดเผยและจัดตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นที่นานกิง.
๕. เหอยิ่งชิน ขุนศึกก๊กมินตั๋ง เป็นหัวหน้าพวกนิยมญี่ปุ่นในพรรคก๊กมินตั๋งอีกคนหนึ่ง. ในระหว่างเกิดกรณีซีอาน เขากระตือรือร้นในการวางแผนจะก่อสงครามกลางเมืองขึ้น โดยจัดวางกองทหารก๊กมินตั๋งจะเข้าตีส่านซีตามเส้นทางรถไฟสายไห่โจว-กานซู่ ทั้งยังวางแผนจะฆ่าเจียงไคเช็คโดยทิ้งระเบิดซีอาน เพื่อจะเข้าแทนที่เจียงไคเช็ค.
๖. ที.วี. ซุงเป็นพวกนิยมอเมริกา. เนื่องจากเวลานั้นจักรพรรดินิยมอเมริกากับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นมีความขัดแย้งที่ต่างก็ชิงจะเป็นจ้าวแห่งตะวันออกไกล โดยผลประโยชน์ของอเมริกา เขาจึงสนับสนุนให้แก้ปัญหากรณีซีอานด้วยสันติวิธี.
๗. สาส์นฉบับนี้ได้วิพากษ์อย่างมีเหตุผลและอย่างเคร่งครัดถึงการปกครองปฏิกิริยาของก๊กมินตั๋งและการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๒ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งในเวลานั้น  ขณะเดียวกันก็ได้แถลงถึงนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกี่ยวกับการก่อตั้งแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นและการเตรียมสร้างการร่วมมือระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นใหม่.  ต่อไปนี้เป็นส่วนสำคัญของสาส์นฉบับนี้:
“การรวมศูนย์และการเป็นเอกภาพ” ที่กล่าวถึงในที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๒ ของคณะกรรมการกลางของพรรคของท่านนั้นช่างกลับหัวเป็นท้าย กลับเหตุเป็นผลเสียจริง ๆ. พึงตระหนักว่าการที่เกิดสงครามกลางเมืองและไม่เป็นเอกภาพในระยะเวลา ๑๐ ปีที่แล้วมานั้น เนื่องมาจากนโยบายพึ่งจักรพรรดินิยมซึ่งเป็นภยันตรายต่อชาติของพรรคและรัฐบาลพรรคของท่านทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องมาจากนโยบายไม่ต่อต้านซึ่งดำเนินมาตลอดเวลาตั้งแต่กรณี “๑๘ กันยายน” เป็นต้นมา.  ภายใต้คำขวัญที่ว่า “จะต้องทำให้ภายในสงบเสียก่อนแล้วจึงค่อยต่อต้านการเข้าตีของต่างประเทศที่หลัง”, พรรคและรัฐบาลพรรคของท่านได้ดำเนินสงครามกลางเมืองเรื่อยมาหลายต่อหลายปีโดยไม่ขาดระยะ ได้ทำการล้อมตีกองทัพแดงนับครั้งไม่ถ้วนและปราบปรามการเคลื่อนไหวรักชาติและการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของประชาชนทั่วประเทศอย่างสุดกำลัง. จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้พวกท่านก็ยังทิ้งภาคอีสานและภาคเหนือไปอย่างไม่แยแส ลืมว่าจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นคือศัตรูตัวใหญ่ที่สุดของจีน กลับใช้กำลังทุกอย่างคัดค้านกองทัพแดงและดำเนินการต่อสู้กันระหว่างพวกภายในพรรคของท่านเอง ใช้กำลังทุกอย่างขวางทางที่กองทัพแดงจะไปต่อต้านญี่ปุ่น ก่อกวนเขตหลังต่อต้านญี่ปุ่นของกองทัพแดง ไม่นำพาต่อความเรียกร้องต้องการของประชาชนทั่วประเทศที่ให้ต่อต้านญี่ปุ่น และริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วประเทศ. รักชาติมีความผิด ผู้บริสุทธิ์ถูกโยนใส่คุกมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง; ขายชาติได้รับรางวัล ผู้ทรยศชาติพากันฉลองเตรียมเข้าสวมตำแหน่งราชการ. การแสวงหาการรวมศูนย์และการเป็นเอกภาพด้วยนโยบายที่ผิดชนิดนี้ ไม่ผิดอะไรกับปีนขึ้นไปจับปลาบนต้นไม้ ซึ่งจะต้องประสบกับผลอันตรงกันข้ามอย่างแม่นมั่น.  บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า ถ้าพวกท่านไม่เปลี่ยนเข็มมุ่งที่ผิดของตนโดยขั้นมูลฐาน และถ้าพวกท่านไม่นำเอาจิตใจแห่งความเคียดแค้นมุ่งไปยังจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น หากมุ่งไปยังพี่น้องร่วมชาติของตนต่อไปอีกแล้วไซร้ ถึงพวกท่านประสงค์จะรักษาสถานะเดิมไว้อย่างขอไปที ก็ไม่อาจจะเป็นไปได้ โดยเฉพาะการรวมศูนย์และการเป็นเอกภาพ ตลอดจนสิ่งที่เรียกว่า “รัฐสมัยใหม่” นั้น ก็ยิ่งจะเป็นคำพูดลม ๆ แล้ง ๆ โดยสิ้นเชิง. สิ่งที่ประชาชนทั่วประเทศเรียกร้องต้องการในเวลานี้ คือการรวมศูนย์และการเป็นเอกภาพในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ ไม่ใช่การรวมศูนย์และการเป็นเอกภาพในการประจบประแจงคนต่างด้าวและประทุษร้ายประชาชนของเรา.  ปัจจุบัน ประชาชนทั่วประเทศเรียกร้องต้องการจะมีรัฐบาลที่กู้ชาติและช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์ที่แท้จริงอย่างแรงกล้า และเรียกร้องต้องการจะมีสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่แท้จริง. ประชาชนทั่วประเทศเรียกร้องต้องการจะมีรัฐบาลแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่รับใช้ผลประโยชน์ของพวกเขาเอง. หลักนโยบายสำคัญของรัฐบาลนี้จะต้องเป็นหลักนโยบายที่: ๑. สามารถต่อต้านการรุกรานของต่างประเทศ.  ๒. สามารถอำนวยสิทธิประชาธิปไตยแก่ประชาชน.  ๓. สามารถพัฒนาเศรษฐกิจประชาชาติ บรรเทาหรือกระทั่งขจัดความทุกข์ร้อนในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน. ถ้าจะพูดถึง “รัฐสมัยใหม่” แล้ว หลักนโยบายเหล่านี้นี่แหละจึงจะเป็นสิ่งที่ประเทศจีนซึ่งเป็นเมืองขึ้นกึ่งเมืองขึ้นเรียกร้องต้องการจริง ๆ ในยุคปัจจุบัน.  เวลานี้ ประชาชนทั่วประเทศกำลังต่อสู้เพื่อให้เป้าหมายนี้ปรากฏเป็นจริงขึ้นด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าและด้วยการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่.  ส่วนนโยบายของพรรคและรัฐบาลพรรคของท่านกลับหันหลังให้แก่ความปรารถนาของประชาชนทั่วประเทศนี้ การที่หวังจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนด้วยนโยบายเช่นนี้นั้น เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด. บัดนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพแดงของจีน ขอประกาศอย่างจริงจังว่า เราส่งเสริมให้สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพทั่วประเทศจีน ส่งเสริมให้เรียกประชุมรัฐสภาที่เลือกตั้งขึ้นโดยการใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป สนับสนุนสมัชชาผู้แทนต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติของประชาชนและกองทัพต่อต้านญี่ปุ่นทั่วประเทศ และสนับสนุนรัฐบาลป้องกันประเทศที่เป็นเอกภาพทั่วประเทศ. เราขอประกาศว่า  เมื่อใดสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพทั่วประเทศจีนสถาปนาขึ้นแล้ว เมื่อนั้นเขตแดงก็จะกลายเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพทั่วประเทศจีน ผู้แทนประชาชนในเขตแดงจะเข้าร่วมรัฐสภาที่มีลักษณะทั่วประเทศจีน และจะดำเนินระบอบประชาธิปไตยในเขตแดงเช่นเดียวกับทั่วประเทศจีน. เราเห็นว่า, การประชุมสภาป้องกันประเทศที่จะจัดให้มีขึ้นโดยมติของที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๒ ของคณะกรรมการกลางของพรรคของท่านตลอดจนสมัชชาประชาราษฎร์ที่พรรคและรัฐบาลพรรคของท่านกำลังเรียกประชุมอยู่นั้น ไม่สามารถบรรลุภาระหน้าที่การรวมศูนย์และการเป็นเอกภาพเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติได้. เมื่อพิจารณาจากกฎข้อบังคับของสภาป้องกันประเทศซึ่งลงมติผ่านโดยที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๒ ของคณะกรรการกลางของพรรคของท่านแล้ว, ก็เห็นได้ว่า การจัดตั้งสภาป้องกันประเทศนั้น จำกัดผู้ที่เข้าร่วมอยู่ในหมู่ข้าราชการจำนวนน้อยที่กุมอำนาจในพรรคและรัฐบาลพรรคของท่านเท่านั้น; ภาระหน้าที่ของสภาป้องกันประเทศก็เพียงเป็นองค์การที่ปรึกษาของรัฐบาลพรรคของท่านเท่านั้น. เป็นที่แจ่มชัดยิ่งที่การประชุมชนิดนี้ไม่สามารถจะบรรลุผลสำเร็จใด ๆ และไม่สามารถจะได้รับความไว้วางใจใดๆ จากประชาชนได้. ส่วนสมัชชาประชาราษฎร์ที่ท่านทั้งหลายกำลังจะเรียกประชุมอยู่นั้น เมื่อพิจารณาจาก “ร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน” และ “กฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งและกฤษฎีกาว่าด้วยการเลือกตั้งผู้แทนของสมัชชาประชาราษฎร์” ซึ่งลงมติผ่านโดยรัฐบาลพรรคของท่านแล้ว ก็ไม่สามารถจะบรรลุผลสำเร็จใด ๆ และก็ไม่สามารถจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนได้เช่นกัน เพราะว่าสมัชชาประชาราษฎร์ชนิดนี้เป็นเพียงองค์การที่ครอบงำโดยข้าราชการจำนวนน้อยในพรรคและรัฐบาลพรรคของท่าน เป็นเครื่องพ่วงท้ายและเครื่องประดับของพวกข้าราชการเหล่านี้เท่านั้นเอง. สภาป้องกันประเทศและสมัชชาประชาราษฎร์นี้กับสมัชชาผู้แทนต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติทั่วประเทศ (ซึ่งก็คือสภาป้องกันประเทศ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยจีนและรัฐสภาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยจีนซึ่งพรรคเราได้ยืนยันมานั้น ไม่มีอะไรที่สอดคล้องกันเลยแม้แต่น้อย. เราเห็นว่าสภาป้องกันประเทศที่ต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติจะต้องรับเอาผู้แทนของพรรคและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ วงการต่าง ๆ และกองกำลังอาวุธต่างๆ เข้าร่วมด้วย ประกอบเป็นองค์การอำนาจที่แท้จริง ซึ่งสามารถกำหนดแผนการสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ และก่อตั้งรัฐบาลป้องกันประเทศที่เป็นเอกภาพทั่วประเทศขึ้นจากสภานี้. ส่วนสมัชชาประชาราษฎร์ก็ต้องเป็นรัฐสภาที่กำเนิดขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยประชาชนทั่วประเทศ และเป็นองค์การอำนาจสูงสุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยจีน. มีแต่จัดให้มีสภาป้องกันประเทศและรัฐสภาที่มีลักษณะทั่วประเทศเช่นนี้เท่านั้น จึงจะเป็นที่ต้อนรับ สนับสนุนและมีการเข้าร่วมของประชาชนทั่วประเทศได้ ภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่จะกอบกู้ประเทศชาติและช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์จึงจะตั้งอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงและไม่สั่นคลอนได้. มิฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำพูดอันไพเราะเพราะพริ้งใด ๆ ก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อสภาพความเป็นจริงอย่างเด็ดขาด และจะไม่เป็นที่เห็นชอบของประชาชนทั่วประเทศอย่างเด็ดขาด. ความล้มเหลวของการประชุมนานาชนิดที่จัดให้มีขึ้นโดยพรรคและรัฐบาลพรรคของท่านตลอดมานั้นเป็นข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุด. แถลงการณ์ของที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๒ ของคณะกรรมการกลางของพรรคของท่านได้กล่าวอีกว่า “ความลำบากและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นนั้น อันที่จริงก็เป็นสิ่งที่คาดได้ แต่จะหย่อนคลายในหน้าที่รับผิดชอบของตนที่พึงปฏิบัติเพราะความลำบากยุ่งยากของเหตุการณ์บ้านเมืองก็หาไม่”. “แน่นอน พรรคของเราจะต้องใช้ความมานะพยายามทั้งกายและใจไปดำเนินการโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบในปัญหาความเป็นความตายของประเทศชาติ.” จริงอย่างว่า พรรคของท่านเป็นพรรคการเมืองที่ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ที่สุดของประเทศจีน พรรคของท่านจำต้องแบกรับความรับผิดชอบทางการเมืองอันได้ดำเนินไปแล้วทุกอย่าง. ภายใต้การเผด็จการโดยพรรคเดียวของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ก๊กมินตั๋งไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของตนได้แน่.  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่กรณี ๑๘ กันยายนเป็นต้นมา พรรคของท่านได้ฝ่าฝืนประชามติทั่วประเทศ ฝ่าฝืนผลประโยชน์ของประชาชาติทั้งประชาชาติ และดำเนินนโยบายที่ผิดอย่างเด็ดขาด, ยังผลให้ต้องสูญเสียดินแดนของจีนไปเกือบครึ่งประเทศ ความรับผิดชอบในเรื่องนี้จะโยนให้แก่ผู้อื่นผู้ใดไม่ได้อย่างเด็ดขาด.  ในสายตาของเราและประชาชนทั่วประเทศ ประเทศจีนครึ่งประเทศได้สูญเสียไปเพราะพรรคของท่าน จึงจำต้องกำชับพรรคของท่านให้รับผิดชอบในการกู้เอาดินแดนและอธิปไตยคืนมา. พร้อมกันนั้น บุคคลที่มีจิตใจเป็นธรรมจำนวนมากในพรรคของท่าน บัดนี้ก็ได้สำนึกอย่างแท้จริงถึงความน่าสะพรึงกลัวที่ประเทศชาติจะก้าวไปสู่ความล่มจมและความไม่อาจจะสบประมาทได้ของประชามติ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอันใหม่ และเริ่มมีความเดือดแค้นและมีความไม่พอใจต่อบุคคลภายในพรรคของตนที่นำความหายนะมาสู่พรรคและมาสู่ประเทศชาติ. พรรคคอมมิวนิสต์จีนเห็นอกเห็นใจในการเปลี่ยนแปลงอันใหม่นี้อย่างสิ้นเชิง ขอแสดงความยินดีอย่างเต็มที่ต่อเจตจำนงและความตื่นตัวของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งจีนที่มีจิตใจรักชาติและจิตใจเป็นธรรมเหล่านี้ ขอแสดงความยินดีต่อจิตใจที่พร้อมที่จะเสียสละในการต่อสู้และจิตใจที่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าของพวกเขาในยามที่ประชาชาติเผชิญกับภัยแห่งความล่มจม. เราทราบดีว่า ในศูนย์กลางพรรคและสำนักงานพรรคประจำมณฑลต่างๆ ของพรรคของท่าน ในรัฐบาลกลางและรัฐบาลมณฑลต่าง ๆ, ในวงการศึกษา ในวงการวิทยาศาสตร์ ในวงการศิลปะ ในวงการหนังสือพิมพ์ ในวงการวิสาหกิจอุตสาหกรรม ในวงการสตรี ในวงการศาสนา ในวงการแพทย์ ในวงการตำรวจและองค์การสมาคมประชาชนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกองทหารอันไพศาล ในหมู่สมาชิกพรรคทั้งเก่าและใหม่ ตลอดจนในหมู่ผู้ทำหน้าที่นำชั้นต่างๆ ของพรรคก๊กมินตั๋ง มีบุคลที่มีความสำนึกและที่รักชาติอยู่เป็นจำนวนมากจริง ๆ และบุคคลชนิดนี้นับวันแต่จะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าปีติยินดีอย่างยิ่ง.  พรรคคอมมิวนิสต์จีนพร้อมที่จะร่วมมือกับชาวพรรคก๊กมินตั๋งเหล่านี้อยู่เสมอ เพื่อจัดตั้งเป็นแนวร่วมประชาชาติอันมั่นคงไปคัดค้านศัตรูตัวใหญ่ที่สุดของประชาชาติ—จักรพรรดินิยมญี่ปุ่น. เราหวังว่าสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งเหล่านี้จะสามารถก่อรูปเป็นอิทธิพลครอบงำอย่างหนึ่งขึ้นภายในพรรคก๊กมินตั๋งอย่างรวดเร็ว  จะได้ข่มทับพวกสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งที่เลวร้ายและอัปยศอดสูที่สุดที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชาติและในทางเป็นจริงแล้วได้กลายเป็นตัวแทนของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและพวกทรยศชาติผู้นิยมญี่ปุ่น ซึ่งก็คือพวกสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งที่เหยียดหยามท่านซุนยัตเซ็น จะได้ฟื้นฟูเจตนารมณ์แห่งลัทธิไตรราษฎร์ที่ปฏิวัติของท่านซุนยัตเซ็น ฟื้นฟูขึ้นใหม่ซึ่งนโยบายใหญ่ ๓ ประการที่ให้ร่วมกับรัสเซีย ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์และช่วยเหลือชาวนากรรมกรของท่านซุนยัตเซ็น ใช้ “ความมานะพยายามทั้งกายและใจ” ของตนไป “ดำเนินการโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ” ตามลัทธิไตรราษฎร์ที่ปฏิวัติและนโยบายใหญ่ ๓ ประการ และ “ดำเนินการโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ” ตามพินัยกรรมที่ปฏิวัติของท่านซุนยัตเซ็น. เราหวังว่าพวกเขาคงจะร่วมกันกับบรรดาหัวหน้าที่รักชาติในพรรคต่าง ๆ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ และวงการต่าง ๆ และร่วมกันกับประชาชนที่รักชาติทั่วประเทศ แบกรับภาระหน้าที่ในการรับช่วงภารกิจปฏิวัติของท่านซุนยัตเซ็นอย่างเด็ดเดี่ยว ต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวเพื่อขับไล่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่น กอบกู้ประเทศจีนให้รอดพ้นจากความล่มจม ต่อสู้เพื่อลัทธิประชาธิปไตยของประชาชนทั่วประเทศ ต่อสู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจประชาชาติของจีนและปลดเปลื้องความทุกข์ยากของประชาชนส่วนมากที่สุด และต่อสู้เพื่อให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยจีนและรัฐสภาประชาธิปไตยกับรัฐบาลประชาธิปไตยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยจีนปรากฏเป็นจริงขึ้น.  พรรคคอมมิวนิสต์จีนขอแถลงต่อชาวพรรคก๊กมินตั๋งจีนทั้งหลายว่า ถ้าพวกท่านกระทำเช่นนี้จริง ๆ แล้ว เราก็จะสนับสนุนพวกท่านอย่างเด็ดเดี่ยว เรายินดีร่วมกับพวกท่าน ผนึกกันเข้าเป็นแนวร่วมปฏิวัติอันมั่นคง เหมือนดั่งแนวร่วมที่ยิ่งใหญ่ในการคัดค้านการกดขี่ทางประชาชาติและการกดขี่ทางศักดินาซึ่งพรรคทั้งสองได้เคยจัดตั้งขึ้นในสมัยปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ของจีนระหว่างปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗. เพราะว่านี่เป็นวิถีทางที่ถูกต้องแต่ทางเดียวในทุกวันนี้ที่จะะกอบกู้ประเทศชาติให้รอดพ้นจากความล่มลมและดำรงคงอยู่สืบไป.
 

คำแถลงเกี่ยวกับ

คำแถลงของเจียงไคเช็ค

(๒๘ ธันวาคม ๑๙๓๖)

 

          ที่ซีอาน เจียงไคเช็คได้ยอมรับคำเรียกร้องที่ให้ต่อต้านญี่ปุ่นของนายพลจางโซเหลียง นายพลหยางหู่เฉิงและประชาชนภาคพายัพ และก่อนอื่นได้มีคำสั่งให้กองทหารที่ดำเนินสงครามกลางเมืองถอนออกไปจากมณฑลส่านซีและกานซู่ นี่เป็นการเริ่มต้นที่เจียงไคเช็คเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ผิดพลาดของเขาซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปี.  นี่เป็นการโจมตีแผนกโลบายของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มปราบกบฏของจีน ซึ่งบัญชาการสงครามกลางเมือง ก่อการแตกแยก และอยากจะให้เจียงไคเช็คถูกสังหารในกรณีครั้งนี้. ความผิดหวังของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มปราบกบฏของจีนนั้นเห็นได้ชัดแจ้งแล้ว.  การแสดงความสำนึกตนของเจียงไคเช็คเช่นนี้, ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของก๊กมินตั๋งที่ปรารถนาจะยุตินโยบายที่ผิดพลาดของตนซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปี. 

          เจียงไคเช็คได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งที่ลกเอี๋ยงเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ซึ่งก็คือที่เรียกกันว่า “คำให้โอวาทแก่จางโซเหลียงและหยางหู่เฉิง” เนื้อหาสาระในคำแถลงนั้นกำกวมและหลบ ๆ เลี่ยง ๆ เป็นความเรียงที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งในบรรดาเอกสารทางการเมืองของประเทศจีนแท้ ๆ. แม้นเจียงไคเช็คปรารถนาจะรับบทเรียนอันลึกซึ้งจากกรณีครั้งนี้ แล้วพยายามสร้างชีวิตใหม่ให้แก่ก๊กมินตั๋ง ยุตินโยบายสืบทอดที่ผิดพลาดที่ประนีประนอมต่อต่างประเทศ ใช้กำลังทหารต่อภายในประเทศ และทำการกดขี่ต่อประชาชน เพื่อชักนำก๊กมินตั๋งไปสู่ฐานะที่ไม่ฝ่าฝืนเจตจำนงของประชาชนแล้วไซร้ เขาก็น่าจะมีความเรียงที่ดีกว่านี้สักชิ้นที่สำนึกถึงความผิดทางการเมืองแต่หนหลังและแผ้วถางทางให้แก่อนาคต เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจของตน. คำแถลงลงวันที่ ๒๖ ธันวาคมนั้นไม่อาจสนองความเรียกร้องต้องการของมวลประชาชนจีนได้เลย. 

           ในคำแถลงของเจียงไคเช็คมีข้อความตอนหนึ่งที่ควรแก่การสรรเสริญ คือตอนที่เขากล่าวว่า “พูดต้องมีสัตย์ ทำต้องเด็ดขาด”.  หมายความว่า แม้เขาจะไม่ได้ลงนามในเงื่อนไขที่จางโซเหลียงกับหยางยู่เฉิงได้เสนอขึ้นที่ซีอานก็ตาม แต่ก็ยินดีที่จะรับข้อเรียกร้องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และจะไม่กลับสัตย์ด้วยเหตุที่ตนมิได้ลงนาม. เราจะดูว่าหลังจากที่เจียงไคเช็คได้ถอนทหารออกไปแล้ว เขาจะรักษาวาจาสัตย์ได้จริงหรือไม่ และจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เขาเองได้รับคำไว้แล้วหรือไม่. เงื่อนไขเหล่านี้คือ (๑) ปรับปรุงการจัดตั้งของพรรคก๊กมินตั๋งและรัฐบาลประชาราษฎร์ ขับไล่พวกนิยมญี่ปุ่นและรับเอาพวกต่อต้านญี่ปุ่น; (๒) ปล่อยหัวหน้าผู้รักชาติในเซี่ยงไฮ้ ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด และให้หลักประกันแก่สิทธิเสรีภาพของประชาชน; (๓) ยุตินโยบาย “ปราบคอมมิวนิสต์” ร่วมกับกองทัพแดงทำการต่อต้านญี่ปุ่น; (๔) จัดให้มีการประชุมกู้ชาติซึ่งมีผู้แทนของพรรค กลุ่มการเมือง, วงการและกองทัพต่าง ๆ เข้าร่วม กำหนดเข็มมุ่งต่อต้านญี่ปุ่น กอบกู้ประเทศชาติ; (๕) สร้างความสัมพันธ์ที่ร่วมมือกันกับบรรดาประเทศที่เห็นอกเห็นใจการต่อต้านญี่ปุ่นของประเทศจีน; (๖) วิธีการกู้ชาติที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ. การปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้ ก่อนอื่นจะต้องรักษาวาจาสัตย์จริง ๆ และจะต้องมีความกล้าหาญบ้าง.  เราจะพิจารณาจากการกระทำของเจียงไคเช็คนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป. 

           แต่ในคำแถลงของเจียงไคเช็คยังมีข้อความที่ว่า กรณีซีอานนั้นเกิดขึ้นเพราะถูกกดดันจาก “พวกปฏิกิริยา”.  เป็นที่น่าเสียดายที่เจียงไคเช็คไม่ได้ให้คำชี้แจงว่า “พวกปฏิกิริยา” ที่เขาพูดถึงนั้นเป็นบุคคลเช่นไรกันแน่ และก็ไม่ทราบคำว่า “พวกปฏิกิริยา” ในปทานุกรมของเจียงไคเช็คนั้นมีความหมายว่ากระไร.  แต่ความจริงในการก่อขึ้นของกรณีซีอานนั้นได้รับผลสะเทือนจากอิทธิพลดังต่อไปนี้ คือ (๑) การขึ้นสู่ระลอกสูงของกระแสคลื่นต่อต้านญี่ปุ่นอันดุเดือดในหมู่กองทหารของจางโซเหลียงกับหยางหู่เฉิงและในหมู่ประชาชนที่ปฏิวัติในภาคพายัพ; (๒) การขึ้นสู่ระลอกสูงของกระแสคลื่นต่อต้านญี่ปุ่นอันดุเดือดของประชาชนทั่วประเทศ; (๓) การขยายตัวของอิทธิพลฝ่ายซ้ายในพรรคก๊กมินตั๋ง; (๔) การเรียกร้องให้ต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติของพวกกุมกำลังในมณฑลต่าง ๆ; (๕) ข้อคิดเห็นของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ให้จัดตั้งแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น; (๖) การขยายตัวของแนวสันติภาพของโลก. เหล่านี้ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจจะปิดบังได้.  คำว่า “พวกปฏิกิริยา” ที่เจียงไคเช็คกล่าวถึงนั้น, มิใช่อะไรอื่น คืออิทธิพลเหล่านี้นั่นเอง ต่างกันแต่ว่าประชาชนทั่วไปเรียกกันว่าพวกปฏิวัติ ส่วนเจียงไคเช็คกลับเรียกว่า “พวกปฏิกิริยา” เท่านั้นเอง.  ที่เจียงไคเช็คเคยกล่าวไว้ที่ซีอานว่าจะต่อต้านญี่ปุ่นอย่างจริงจังนั้น คงจะไม่ถึงกับพอพ้นจากซีอานก็โจมตีอิทธิพลปฏิวัติอย่างเต็มที่อีก เพราะว่าไม่เพียงแต่ปัญหาการถือสัตย์เกี่ยวพันถึงชีวิตการเมืองของเจียงไคเช็คกับพวกเท่านั้น ทั้งบนวิถีทางการเมืองที่เป็นจริงนั้น ยังมีอิทธิพลชนิดหนึ่งซึ่งพองโตขึ้นแล้วและไม่เป็นผลดีต่อพวกเขา กำลังขวางหน้าเจียงไคเช็คกับพวกอยู่ นั่นก็คือ ที่เรียกกันว่ากลุ่มปราบกบฏที่อยากจะให้เจียงไคเช็คถูกสังหารในกรณีซีอาน.  เพราะฉะนั้น เราจึงขอเตือนให้เจียงไคเช็คแก้ปทานุกรมการเมืองของตนเสียใหม่ แก้คำว่า “พวกปฏิกิริยา” เป็นพวกปฏิวัติ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงจะเหมาะสมกว่า.  

           เจียงไคเช็คควรต้องจดจำไว้ว่า การที่เขาออกจากซีอานได้โดยสวัสดิภาพนั้น นอกจากบทบาทของนายพลจางโซเหลียงกับนายพลหยางหู่เฉิงผู้นำในซีอานแล้ว การไกล่เกลี่ยของพรรคคอมมิวนิสต์ก็มีบทบาทที่ทรงพลัง.  การที่พรรคคอมมิวนิสต์มีข้อคิดเห็นให้แก้กรณีซีอานโดยสันติวิธี และได้ใช้ความพยายามต่าง ๆ เพื่อการนี้นั้น ก็เริ่มต้นจากทรรศนะเพื่อการดำรงคงอยู่ของประชาชาติโดยสิ้นเชิง.  ถ้าหากสงครามกลางเมืองขยายออกไป และจางโซเหลียงกับหยางหู่เฉิงได้กักขังเจียงไคเช็คไว้เป็นเวลานาน กรณีซีอานก็รังแต่จะคลี่คลายขยายตัวไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มปราบกบฏของจีนเท่านั้น.  ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้, พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปิดโปงแผนกโลบายของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับกลุ่มปราบกบฏของจีนอันมีวังจิงไว เหอยิ่งชิน และคนอื่น ๆ อย่างเด็ดเดี่ยว และยืนยันในข้อคิดเห็นที่ให้แก้กรณีนี้โดยสันติวิธีอย่างเด็ดเดี่ยว  ซึ่งกล่าวได้ว่าสอดคล้องต้องกันโดยมิได้ร่วมคิดมาก่อนกับข้อคิดเห็นของนายพลจางโซเหลียงและนายพลหยางหู่เฉิงตลอดจนชาวพรรคก๊กมินตั๋ง เช่น ที.วี.ซุง และคนอื่น ๆ. นี่แหละคือข้อคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เพราะสงครามกลางเมืองในเวลานี้เป็นที่ชิงชังของประชาชนอย่างที่สุด. 

           เจียงไคเช็คได้รับอิสรภาพด้วยยอมรับเงื่อนไขซีอานแล้ว. ปัญหาต่อไปอยู่ที่ว่าเจียงไคเช็คจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของตนที่ว่า “พูดต้องมีสัตย์ ทำต้องเด็ดขาด” โดยทุกประการและทำให้เงื่อนไขการกู้ชาติทุกข้อปรากฏเป็นจริงขึ้นอย่างแท้จริงหรือไม่. ประชาชนทั่วประเทศจะไม่ยอมให้เจียงไคเช็คมีทางโลเลและทำอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้อีก.  ถ้าหากเจียงไคเช็คยังมีความลังเลในปัญหาการต่อต้านญี่ปุ่น และประวิงเวลาในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของตนแล้ว กระแสคลื่นแห่งการปฏิวัติของประชาชนทั่วประเทศก็จะกลืนเอาเจียงไคเช็คลงไป.  โบราณท่านว่า “คนผู้ไร้สัตย์นั้น จะได้การดังฤา” เจียงไคเช็คกับพวกต้องระวังให้จงหนัก. 

           ถ้าเจียงไคเช็คสามารถชำระสะสางสิ่งโสโครกในนโยบายปฏิกิริยาที่ดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปีของก๊กมินตั๋ง แก้ไขอย่งถึงที่สุดในความผิดพื้นฐานที่อ่อนข้อต่อต่างประเทศ ใช้กำลังทหารต่อภายในประเทศ และทำการกดขี่ต่อประชาชน ก้าวไปสู่แนวรบแห่งการร่วมกับพรรคและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ต่อต้านญี่ปุ่นด้วยน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยทันที และสามารถใช้จังหวะก้าวในการกู้ชาติอย่างแท้จริงทั้งในด้านการทหารและด้านการเมืองแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์ย่อมจะให้การสนับสนุนอย่างแน่นอน. พรรคคอมมิวนิสต์ได้ให้คำมั่นสัญญาในการสนับสนุนนี้แก่เจียงไคเช็คและก๊กมินตั๋งไว้แล้วในสาส์นถึงพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม. การ “พูดต้องมีสัตย์, ทำต้องเด็ดขาด” ของพรรคคอมมิวนิสต์นั้น ประชาชนทั่วประเทศได้รับรองกันมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว. เป็นความจริงที่ประชาชนทั่วประเทศเชื่อถือในคำพูดและการกระทำของพรรคคอมมิวนิสต์ยิ่งกว่าคำพูดและการกระทำของพรรคและกลุ่มการเมืองใด ๆ ภายในประเทศ.