bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

ภาระหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสมัยต่อต้านญี่ปุ่น *

 

ภาระหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในสมัยต่อต้านญี่ปุ่น* (น.513)
(๓ พฤษภาคม ๑๙๓๗)
 
ขั้นปัจจุบันแห่งการพัฒนาของความขัดแย้ง
ทางประชาชาติ
และความขัดแย้งภายในประเทศ
 
(๑)การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ทางสากลและความสัมพันธ์ทางชนชั้นภายในประเทศอันเนื่องมาจากการที่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้กลายเป็นความขัดแย้งที่เป็นหลักและความขัดแย้งภายในประเทศได้ลดลงมาสู่ฐานะที่เป็นรองและขึ้นต่อนั้น ได้ก่อรูปขึ้นเป็นขั้นใหม่แห่งการพัฒนาของสถานการณ์ปัจจุบัน.
(๒)ประเทศจีนอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้งพื้นฐานสองชนิดที่รุนแรงมาเป็นเวลานาน นั่นคือความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับประเทศจีน และความขัดแย้งระหว่างระบอบศักดินากับมวลประชาชน. ในปี ๑๙๒๗ ชนชั้นนายทุนซึ่งมีก๊กมินตั๋งเป็นตัวแทนได้ทรยศต่อการปฏิวัติและขายผลประโยชน์ของประชาชาติให้แก่จักรพรรดินิยม ทำให้เกิดสถานการณ์ที่อำนาจรัฐของกรรมกรชาวนากับอำนาจรัฐของก๊กมินตั๋งเป็นปรปักษ์ต่อกันอย่างแหลมคม และสถานการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจำต้องแบกรับภาระหน้าที่ในการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยโดยลำพัง.
(๓) สถานการณ์ตั้งแต่กรณี ๑๘ กันยายน ปี ๑๙๓๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่กรณีภาคเหนือของจีนในปี ๑๙๓๕๑ เป็นต้นมา ได้ทำให้ความขัดแย้งเหล่านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้:
ก. ความขัดแย้งทั่วไประหว่างจักรพรรดินิยมกับประเทศจีนได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งที่เด่นชัดและแหลมคมเป็นพิเศษ ระหว่างจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับประเทศจีน.  จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายพิชิตประเทศจีนให้หมดสิ้น. ด้วยเหตุนี้ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมอื่น ๆ บางประเทศกับประเทศจีนจึงถูกผลักไปอยู่ในฐานะรอง และรอยร้าวแห่งความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมเหล่านี้กับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นจึงขยายกว้างออกไป. และก็ด้วยเหตุนี้ เบื้องหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนจึงเกิดมีภาระหน้าที่ในการประสานแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นของประเทศจีนกับแนวสันติภาพของโลก.  กล่าวคือ ประเทศจีนไม่เพียงแต่จะต้องร่วมกับสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นมิตรที่ดีของประชาชนจีนตลอดมาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย หากยังจะต้องสร้างความสัมพันธ์ในการคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นเท่าที่จะเป็นไปได้กับบรรดาประเทศจักรพรรดินิยมที่เวลานี้ประสงค์จะธำรงรักษาสันติภาพและคัดค้านสงครามรุกรานครั้งใหม่. จุดมุ่งหมายของแนวร่วมของเราจะต้องอยู่ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ไม่ใช่คัดค้านจักรพรรดินิยมทั้งหมดในเวลาเดียวกัน.
ข. ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้ทำให้ความสัมพันธ์ทางชนชั้นภายในประเทศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ชนชั้นนายทุนแม้กระทั่งพวกขุนศึกต่างต้องเผชิญกับปัญหาความเป็นความตายของตน และทำให้ในหมู่พวกเขาและในพรรคการเมืองของพวกเขาค่อย ๆ เกิดกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลงท่าทีทางการเมืองขึ้น. ดังนั้น เบื้องหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนจึงเกิดมีภาระหน้าที่ในการสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น. แนวร่วมของเรานั้นเป็นแนวร่วมที่รวมทั้งชนชั้นนายทุนและบุคคลทั้งปวงที่เห็นด้วยกับการป้องกันปิตุภูมิ เป็นแนวร่วมที่ประชาชนทั่วทั้งประเทศร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่อสู้กับศัตรูภายนอก. ภาระหน้าที่นี้ไม่เพียงแต่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไป หากยังสามารถทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วย.
ค. ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้ทำให้สภาพการณ์ของมวลประชาชนทั่วประเทศ (ชนชั้นกรรมาชีพ ชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยในเมือง) เปลี่ยนแปลงไป และทำให้นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์เปลี่ยนแปลงไป. ประชาชนได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อกอบกู้ประเทศชาติอย่างขนานใหญ่ยิ่งขึ้น. พรรคคอมมิวนิสต์ได้พัฒนานโยบายที่ทำข้อตกลงต่อต้านญี่ปุ่นกับก๊กมินตั๋งส่วนที่ยินดีจะร่วมมือกับเราทำการต่อต้านญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไข ๓ ประการ (ยุติการเข้าตีฐานที่มั่นปฏิวัติ ให้หลักประกันแก่สิทธิเสรีภาพของประชาชน และติดอาวุธให้แก่ประชาชน) ภายหลังกรณี “๑๘ กันยายน” ให้กลายเป็นนโยบายสร้างแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นทั่วทั้งประชาชาติ. นี่แหละคือที่มาของจังหวะก้าวต่างๆของพรรคเรา อันได้แก่แถลงการณ์เดือนสิงหาคม๒ และมติเดือนธันวาคม๓ ในปี ๑๙๓๕ การละทิ้งคำขวัญ “แอนตี้เจียงไคเช็ค” เมื่อเดือนพฤษภาคม๔ สาส์นถึงพรรคก๊กมินตั๋งเมื่อเดือนสิงหาคม๕ มติเกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเมื่อเดือนกันยายน๖ และการยืนหยัดจัดการกับกรณีซีอานด้วยสันติวิธีเมื่อเดือนธันวาคมในปี ๑๙๓๖ และการมีโทรเลขถึงที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์๗ ในปี ๑๙๓๗.
ง. การแข็งอำนาจและการทำสงครามกลางเมืองในหมู่ขุนศึกของจีนซึ่งสืบเนื่องมาจากนโยบายแบ่งเขตอิทธิพลของจักรพรรดินิยมและสภาวะเศรษฐกิจกึ่งเมืองขึ้นของจีนนั้น เมื่อเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน. จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นสนับสนุนการแข็งอำนาจและการทำสงครามกลางเมืองชนิดนี้ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่ญี่ปุ่นในการครอบครองประเทศจีนแต่ผู้เดียว.  ส่วนจักรพรรดินิยมอื่นๆบางประเทศให้การสนับสนุนเป็นการชั่วคราวแก่ความเป็นเอกภาพและสันติภาพของประเทศจีนเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา. พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการคัดค้านสงครามกลางเมืองและการแตกแยก และในการช่วงชิงให้ได้มาซึ่งสันติภาพและเอกภาพ.
จ. กล่าวสำหรับส่วนเปรียบเทียบความสำคัญทางการเมืองแล้ว การคลี่คลายขยายตัวของความขัดแย้งทางประชาชาติระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองภายในประเทศลดฐานะลงมาเป็นสิ่งรองและขึ้นต่อ. แต่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองภายในประเทศนั้นยังคงมีอยู่อย่างเดิม หาได้ลดน้อยถอยลงหรือสาบสูญไปไม่. ความขัดแย้งระหว่างประเทศจีนกับประเทศจักรพรรดินิยมอื่น ๆ ยกเว้นญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน. ด้วยเหตุนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนจึงได้เผชิญกับภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ ปรับความขัดแย้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างเหมาะสมเท่าที่สามารถและจำเป็นต้องปรับในปัจจุบัน เพื่อให้เข้ากับภาระหน้าที่ทั่วไปในการสามัคคีกันต่อต้านญี่ปุ่น. นี่แหละคือที่มาของเข็มมุ่งต่างๆของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เรียกร้องให้มีสันติภาพและเอกภาพ ให้มีการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ให้มีการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ และให้ทำการเจรจากับบรรดาประเทศที่คัดค้านญี่ปุ่น.
(๔) ขั้นแรกของระยะใหม่ในการปฏิวัติของจีนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๑๙๓๕ ได้สิ้นสุดลงเมื่อคราวมีการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๑๙๓๗. เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในขั้นนี้ คือ การเคลื่อนไหวกู้ชาติในหมู่นักเรียนนักศึกษา ในวงการวัฒนธรรมและวงการประชามติ การยกทัพเข้าสู่ภาคพายัพของกองทัพแดง งานโฆษณาและงานจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อนโยบายแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น การนัดหยุดงานแอนตี้ญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้และชิงเตา๘ แนวโน้มแห่งนโยบายของอังกฤษที่มีต่อญี่ปุ่นซึ่งค่อนข้างจะแข็งขึ้น๙ กรณีกวางตุ้งและกวางสี๑๐ สงครามในสุยหย่วนและการเคลื่อนไหวสนับสนุนช่วยเหลือสุยหย่วน๑๑ ท่าทีค่อนข้างแข็งของนานกิงในการเจรจาระหว่างจีนกับญี่ปุ่น๑๒ กรณีซีอาน และสุดท้ายคือการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งในนานกิง๑๓ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนแต่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ ความขัดแย้งพื้นฐานที่จีนกับญี่ปุ่นเป็นปรปักษ์ต่อกัน ล้วนแต่ห้อมล้อมโดยตรงรอบๆ การสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นความเรียกร้องต้องการทางประวัติศาสตร์.  ภาระหน้าที่พื้นฐานของการปฏิวัติในขั้นนี้ คือ ช่วงชิงให้ได้มาซึ่งสันติภาพภายในประเทศ ยุติการปะทะด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ เพื่อสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น. ในขั้นนี้ พรรคคอมมิวนิสต์ได้เสนอคำเรียกร้องให้ “ยุติสงครามกลางเมือง ร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น” คำเรียกร้องนี้ได้ปรากฏเป็นจริงโดยพื้นฐานแล้ว ทั้งนี้จึงได้ประกอบเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นประการแรกในการจัดตั้งแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในทางเป็นจริง.
(๕) สำหรับการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งนั้น เนื่องจากภายในพรรคมีพวกนิยมญี่ปุ่น จึงมิได้แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดแจ้งและอย่างถึงที่สุดในนโยบายของพรรคนี้ และมิได้แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม. แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแรงบีบของประชาชนและการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคก๊กมินตั๋งจึงจำต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ผิดซึ่งใช้อยู่ในระยะ ๑๐ ปีที่แล้วมา คือเปลี่ยนจากนโยบายสงครามกลางเมือง เผด็จการและไม่ต่อต้านญี่ปุ่นไปสู่ทิศทางสันติภาพ ประชาธิปไตยและต่อต้านญี่ปุ่น และเริ่มรับนโยบายแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงขั้นต้นนี้ได้แสดงออกในที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งแล้ว. ต่อไปนี้ก็อยู่ที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงที่สุดในนโยบายของก๊กมินตั๋ง. เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายอันนี้, เราและประชาชนทั่วประเทศจำเป็นต้องขยายการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นและเพื่อประชาธิปไตยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น, ทำการวิจารณ์ ผลักดันและกระตุ้นก๊กมินตั๋งต่อไปอีกขั้นหนึ่ง, สามัคคีบุคคลภายในพรรคก๊กมินตั๋งที่ถือความคิดเห็นให้มีสันติภาพ ประชาธิปไตยและต่อต้านญี่ปุ่น ผลักดันพวกที่โลเลไม่แน่ใจ และขจัดพวกนิยมญี่ปุ่นออกไป.
(๖) ขั้นปัจจุบันเป็นขั้นที่ ๒ ของระยะใหม่.  ทั้งขั้นก่อนและขั้นนี้ล้วนเป็นขั้นผ่านไปสู่การต่อต้านญี่ปุ่นด้วยกำลังอาวุธในลักษณะทั่วประเทศ.  ถ้าว่าภาระหน้าที่ในขั้นก่อนนั้นที่สำคัญคือช่วงชิงให้ได้มาซึ่งสันติภาพแล้ว ภาระหน้าที่ในขั้นนี้ที่สำคัญก็คือช่วงชิงให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย. จะต้องเข้าใจว่า ถ้าไม่มีสันติภาพภายในประเทศแล้ว การที่จะสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นที่แท้จริงและแข็งแกร่งนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีประชาธิปไตยภายในประเทศแล้ว ก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน. เพราะฉะนั้น การช่วงชิงให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยจึงเป็นห่วงโซ่ใจกลางของภาระหน้าที่การปฏิวัติในขั้นปัจจุบันของการพัฒนา. ถ้าเรามองไม่ชัดในความสำคัญของภาระหน้าที่เพื่อประชาธิปไตย และลดความพยายามในการช่วงชิงให้มาซึ่งประชาธิปไตยแล้ว เราก็ไม่สามารถจะบรรลุการสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นที่แท้จริงและแข็งแกร่งได้.
 

ภาระหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ในสมัยต่อต้านญี่ปุ่น * 

(๓ พฤษภาคม ๑๙๓๗)

 

ขั้นปัจจุบันแห่งการพัฒนาของความขัดแย้ง

ทางประชาชาติ

และความขัดแย้งภายในประเทศ

 

          (๑) การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ทางสากลและความสัมพันธ์ทางชนชั้นภายในประเทศอันเนื่องมาจากการที่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้กลายเป็นความขัดแย้งที่เป็นหลักและความขัดแย้งภายในประเทศได้ลดลงมาสู่ฐานะที่เป็นรองและขึ้นต่อนั้น ได้ก่อรูปขึ้นเป็นขั้นใหม่แห่งการพัฒนาของสถานการณ์ปัจจุบัน. 

           (๒) ประเทศจีนอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้งพื้นฐานสองชนิดที่รุนแรงมาเป็นเวลานาน นั่นคือความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับประเทศจีน และความขัดแย้งระหว่างระบอบศักดินากับมวลประชาชน. ในปี ๑๙๒๗ ชนชั้นนายทุนซึ่งมีก๊กมินตั๋งเป็นตัวแทนได้ทรยศต่อการปฏิวัติและขายผลประโยชน์ของประชาชาติให้แก่จักรพรรดินิยม ทำให้เกิดสถานการณ์ที่อำนาจรัฐของกรรมกรชาวนากับอำนาจรัฐของก๊กมินตั๋งเป็นปรปักษ์ต่อกันอย่างแหลมคม และสถานการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจำต้องแบกรับภาระหน้าที่ในการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยโดยลำพัง. 

           (๓) สถานการณ์ตั้งแต่กรณี ๑๘ กันยายน ปี ๑๙๓๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่กรณีภาคเหนือของจีนในปี ๑๙๓๕ เป็นต้นมา ได้ทำให้ความขัดแย้งเหล่านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้: 

           ก. ความขัดแย้งทั่วไประหว่างจักรพรรดินิยมกับประเทศจีนได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งที่เด่นชัดและแหลมคมเป็นพิเศษ ระหว่างจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับประเทศจีน.  จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายพิชิตประเทศจีนให้หมดสิ้น. ด้วยเหตุนี้ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมอื่น ๆ บางประเทศกับประเทศจีนจึงถูกผลักไปอยู่ในฐานะรอง และรอยร้าวแห่งความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมเหล่านี้กับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นจึงขยายกว้างออกไป. และก็ด้วยเหตุนี้ เบื้องหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนจึงเกิดมีภาระหน้าที่ในการประสานแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นของประเทศจีนกับแนวสันติภาพของโลก.  กล่าวคือ ประเทศจีนไม่เพียงแต่จะต้องร่วมกับสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นมิตรที่ดีของประชาชนจีนตลอดมาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย หากยังจะต้องสร้างความสัมพันธ์ในการคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นเท่าที่จะเป็นไปได้กับบรรดาประเทศจักรพรรดินิยมที่เวลานี้ประสงค์จะธำรงรักษาสันติภาพและคัดค้านสงครามรุกรานครั้งใหม่. จุดมุ่งหมายของแนวร่วมของเราจะต้องอยู่ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ไม่ใช่คัดค้านจักรพรรดินิยมทั้งหมดในเวลาเดียวกัน.

          ข. ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้ทำให้ความสัมพันธ์ทางชนชั้นภายในประเทศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ชนชั้นนายทุนแม้กระทั่งพวกขุนศึกต่างต้องเผชิญกับปัญหาความเป็นความตายของตน และทำให้ในหมู่พวกเขาและในพรรคการเมืองของพวกเขาค่อย ๆ เกิดกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลงท่าทีทางการเมืองขึ้น. ดังนั้น เบื้องหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนจึงเกิดมีภาระหน้าที่ในการสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น. แนวร่วมของเรานั้นเป็นแนวร่วมที่รวมทั้งชนชั้นนายทุนและบุคคลทั้งปวงที่เห็นด้วยกับการป้องกันปิตุภูมิ เป็นแนวร่วมที่ประชาชนทั่วทั้งประเทศร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่อสู้กับศัตรูภายนอก. ภาระหน้าที่นี้ไม่เพียงแต่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไป หากยังสามารถทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วย. 

           ค. ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้ทำให้สภาพการณ์ของมวลประชาชนทั่วประเทศ (ชนชั้นกรรมาชีพ ชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยในเมือง) เปลี่ยนแปลงไป และทำให้นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์เปลี่ยนแปลงไป. ประชาชนได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อกอบกู้ประเทศชาติอย่างขนานใหญ่ยิ่งขึ้น. พรรคคอมมิวนิสต์ได้พัฒนานโยบายที่ทำข้อตกลงต่อต้านญี่ปุ่นกับก๊กมินตั๋งส่วนที่ยินดีจะร่วมมือกับเราทำการต่อต้านญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไข ๓ ประการ (ยุติการเข้าตีฐานที่มั่นปฏิวัติ ให้หลักประกันแก่สิทธิเสรีภาพของประชาชน และติดอาวุธให้แก่ประชาชน) ภายหลังกรณี “๑๘ กันยายน” ให้กลายเป็นนโยบายสร้างแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นทั่วทั้งประชาชาติ. นี่แหละคือที่มาของจังหวะก้าวต่าง ๆ ของพรรคเรา อันได้แก่แถลงการณ์เดือนสิงหาคม และมติเดือนธันวาคม ในปี ๑๙๓๕ การละทิ้งคำขวัญ “แอนตี้เจียงไคเช็ค” เมื่อเดือนพฤษภาคม สาส์นถึงพรรคก๊กมินตั๋งเมื่อเดือนสิงหาคม มติเกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเมื่อเดือนกันยายน และการยืนหยัดจัดการกับกรณีซีอานด้วยสันติวิธีเมื่อเดือนธันวาคมในปี ๑๙๓๖ และการมีโทรเลขถึงที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ในปี ๑๙๓๗. 

           ง. การแข็งอำนาจและการทำสงครามกลางเมืองในหมู่ขุนศึกของจีนซึ่งสืบเนื่องมาจากนโยบายแบ่งเขตอิทธิพลของจักรพรรดินิยมและสภาวะเศรษฐกิจกึ่งเมืองขึ้นของจีนนั้น เมื่อเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน. จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นสนับสนุนการแข็งอำนาจและการทำสงครามกลางเมืองชนิดนี้ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่ญี่ปุ่นในการครอบครองประเทศจีนแต่ผู้เดียว.  ส่วนจักรพรรดินิยมอื่นๆบางประเทศให้การสนับสนุนเป็นการชั่วคราวแก่ความเป็นเอกภาพและสันติภาพของประเทศจีนเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา. พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการคัดค้านสงครามกลางเมืองและการแตกแยก และในการช่วงชิงให้ได้มาซึ่งสันติภาพและเอกภาพ. 

           จ. กล่าวสำหรับส่วนเปรียบเทียบความสำคัญทางการเมืองแล้ว การคลี่คลายขยายตัวของความขัดแย้งทางประชาชาติระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองภายในประเทศลดฐานะลงมาเป็นสิ่งรองและขึ้นต่อ. แต่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองภายในประเทศนั้นยังคงมีอยู่อย่างเดิม หาได้ลดน้อยถอยลงหรือสาบสูญไปไม่. ความขัดแย้งระหว่างประเทศจีนกับประเทศจักรพรรดินิยมอื่น ๆ ยกเว้นญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน. ด้วยเหตุนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชนจีนจึงได้เผชิญกับภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ ปรับความขัดแย้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างเหมาะสมเท่าที่สามารถและจำเป็นต้องปรับในปัจจุบัน เพื่อให้เข้ากับภาระหน้าที่ทั่วไปในการสามัคคีกันต่อต้านญี่ปุ่น. นี่แหละคือที่มาของเข็มมุ่งต่างๆของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เรียกร้องให้มีสันติภาพและเอกภาพ ให้มีการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ให้มีการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ และให้ทำการเจรจากับบรรดาประเทศที่คัดค้านญี่ปุ่น. 

           (๔) ขั้นแรกของระยะใหม่ในการปฏิวัติของจีนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๑๙๓๕ ได้สิ้นสุดลงเมื่อคราวมีการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๑๙๓๗. เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในขั้นนี้ คือ การเคลื่อนไหวกู้ชาติในหมู่นักเรียนนักศึกษา ในวงการวัฒนธรรมและวงการประชามติ การยกทัพเข้าสู่ภาคพายัพของกองทัพแดง งานโฆษณาและงานจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อนโยบายแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น การนัดหยุดงานแอนตี้ญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้และชิงเตา แนวโน้มแห่งนโยบายของอังกฤษที่มีต่อญี่ปุ่นซึ่งค่อนข้างจะแข็งขึ้น กรณีกวางตุ้งและกวางสี๑๐ สงครามในสุยหย่วนและการเคลื่อนไหวสนับสนุนช่วยเหลือสุยหย่วน๑๑ ท่าทีค่อนข้างแข็งของนานกิงในการเจรจาระหว่างจีนกับญี่ปุ่น๑๒ กรณีซีอาน และสุดท้ายคือการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งในนานกิง๑๓ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนแต่ห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ ความขัดแย้งพื้นฐานที่จีนกับญี่ปุ่นเป็นปรปักษ์ต่อกัน ล้วนแต่ห้อมล้อมโดยตรงรอบๆ การสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นความเรียกร้องต้องการทางประวัติศาสตร์.  ภาระหน้าที่พื้นฐานของการปฏิวัติในขั้นนี้ คือ ช่วงชิงให้ได้มาซึ่งสันติภาพภายในประเทศ ยุติการปะทะด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ เพื่อสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น. ในขั้นนี้ พรรคคอมมิวนิสต์ได้เสนอคำเรียกร้องให้ “ยุติสงครามกลางเมือง ร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น” คำเรียกร้องนี้ได้ปรากฏเป็นจริงโดยพื้นฐานแล้ว ทั้งนี้จึงได้ประกอบเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นประการแรกในการจัดตั้งแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในทางเป็นจริง. 

           (๕) สำหรับการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งนั้น เนื่องจากภายในพรรคมีพวกนิยมญี่ปุ่น จึงมิได้แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดแจ้งและอย่างถึงที่สุดในนโยบายของพรรคนี้ และมิได้แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม. แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแรงบีบของประชาชนและการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคก๊กมินตั๋งจึงจำต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ผิดซึ่งใช้อยู่ในระยะ ๑๐ ปีที่แล้วมา คือเปลี่ยนจากนโยบายสงครามกลางเมือง เผด็จการและไม่ต่อต้านญี่ปุ่นไปสู่ทิศทางสันติภาพ ประชาธิปไตยและต่อต้านญี่ปุ่น และเริ่มรับนโยบายแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงขั้นต้นนี้ได้แสดงออกในที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งแล้ว. ต่อไปนี้ก็อยู่ที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงที่สุดในนโยบายของก๊กมินตั๋ง. เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายอันนี้, เราและประชาชนทั่วประเทศจำเป็นต้องขยายการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นและเพื่อประชาธิปไตยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น, ทำการวิจารณ์ ผลักดันและกระตุ้นก๊กมินตั๋งต่อไปอีกขั้นหนึ่ง, สามัคคีบุคคลภายในพรรคก๊กมินตั๋งที่ถือความคิดเห็นให้มีสันติภาพ ประชาธิปไตยและต่อต้านญี่ปุ่น ผลักดันพวกที่โลเลไม่แน่ใจ และขจัดพวกนิยมญี่ปุ่นออกไป. 

           (๖) ขั้นปัจจุบันเป็นขั้นที่ ๒ ของระยะใหม่.  ทั้งขั้นก่อนและขั้นนี้ล้วนเป็นขั้นผ่านไปสู่การต่อต้านญี่ปุ่นด้วยกำลังอาวุธในลักษณะทั่วประเทศ.  ถ้าว่าภาระหน้าที่ในขั้นก่อนนั้นที่สำคัญคือช่วงชิงให้ได้มาซึ่งสันติภาพแล้ว ภาระหน้าที่ในขั้นนี้ที่สำคัญก็คือช่วงชิงให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย. จะต้องเข้าใจว่า ถ้าไม่มีสันติภาพภายในประเทศแล้ว การที่จะสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นที่แท้จริงและแข็งแกร่งนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีประชาธิปไตยภายในประเทศแล้ว ก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน. เพราะฉะนั้น การช่วงชิงให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยจึงเป็นห่วงโซ่ใจกลางของภาระหน้าที่การปฏิวัติในขั้นปัจจุบันของการพัฒนา. ถ้าเรามองไม่ชัดในความสำคัญของภาระหน้าที่เพื่อประชาธิปไตย และลดความพยายามในการช่วงชิงให้มาซึ่งประชาธิปไตยแล้ว เราก็ไม่สามารถจะบรรลุการสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นที่แท้จริงและแข็งแกร่งได้.