bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

ความรับผิดชอบในการนำของเรา

 

ความรับผิดชอบในการนำของเรา
 
(๑๖) ชนชั้นนายทุนจีนอาจจะเข้าร่วมการคัดค้านจักรพรรดินิยมและระบอบศักดินาได้ในสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์บางอย่าง แต่จะโลเลและแปรพักตร์ในสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งเพราะลักษณะอ่อนแอทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของตน กฎข้อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วจากประวัติศาสตร์ของจีน. ด้วยเหตุนี้ ประวัติศาสตร์จึงได้วินิจฉัยลงไปว่า ภาระหน้าที่แห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนที่คัดค้านจักรพรรดินิยมและศักดินานั้น จะผ่านการนำของชนชั้นนายทุนไม่ได้ หากจะต้องผ่านการนำของชนชั้นกรรมาชีพจึงจะบรรลุผลสำเร็จได้. ทั้งมีแต่ส่งเสริมลักษณะยืนหยัดและลักษณะถึงที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพอย่างเต็มที่ในการปฏิวัติประชาธิปไตยเท่านั้น จึงจะสามารถเอาชนะลักษณะโลเลและลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆซึ่งมีมาแต่กำเนิดของชนชั้นนายทุน และป้องกันมิให้การปฏิวัติล้มเหลวลงกลางคันได้. จะให้ชนชั้นกรรมาชีพตามหลังชนชั้นนายทุน หรือว่าจะให้ชนชั้นนายทุนตามหลังชนชั้นกรรมาชีพ? ปัญหาความรับผิดชอบในการนำการปฏิวัติของจีนนี้เป็นปมสำคัญที่จะตัดสินความแพ้ชนะในการปฏิวัติ. ความจัดเจนจากปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ได้แสดงให้เห็นว่า เวลาที่ชนชั้นนายทุนติดตามการนำทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพนั้น การปฏิวัติได้ก้าวหน้าไปเพียงไร; และเวลาที่ชนชั้นกรรมาชีพ (รับผิดชอบโดยพรรคคอมมิวนิสต์) กลายเป็นช้างเท้าหลังของชนชั้นนายทุนในทางการเมืองนั้น๑๗ การปฏิวัติได้ประสบความพ่ายแพ้อย่างไร. ประวัติศาสตร์เช่นนี้ไม่ควรซ้ำรอยอีก. กล่าวตามสภาพในปัจจุบันแล้ว ถ้าปราศจากการนำทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพและพรรคการเมืองของชนชั้นนี้แล้ว ก็ไม่อาจจะสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นได้ ก็ไม่อาจจะทำให้จุดมุ่งหมายแห่งสันติภาพ ประชาธิปไตยและสงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้นได้ ก็ไม่อาจจะพิทักษ์ปิตุภูมิไว้ได้ และก็ไม่อาจจะสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพขึ้นได้. ทุกวันนี้ ชนชั้นนายทุนซึ่งมีก๊กมินตั๋งเป็นตัวแทนยังมีลักษณะเป็นฝ่ายถูกกระทำและมีลักษณะอนุรักษ์อยู่มากมาย ข้อพิสูจน์ก็คือ ในระยะเวลาอันยาวนาน พวกเขาได้แสดงท่าทีว่าไม่กล้ารับแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งริเริ่มโดยพรรคคอมมิวนิสต์. สภาพเช่นนี้ได้ทำให้ความรับผิดชอบในการนำทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพและพรรคการเมืองของชนชั้นนี้เพิ่มหนักขึ้น. หน้าที่แห่งการเป็นกองเสนาธิการใหญ่ในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาตินั้น เป็นหน้าที่อันมิอาจจะบ่ายเบี่ยงได้และเป็นพันธะอันมิอาจจะปฏิเสธได้ของพรรคคอมมิวนิสต์.
(๑๗) ชนชั้นกรรมาชีพจะทำให้การนำทางการเมืองที่มีต่อชนชั้นที่ปฏิวัติต่าง ๆ ทั่วประเทศโดยผ่านพรรคการเมืองของตนปรากฏเป็นจริงขึ้นได้อย่างไร? ประการแรก เสนอคำขวัญทางการเมืองขั้นพื้นฐานขึ้นตามวิถีการพัฒนาของประวัติศาสตร์ และเพื่อที่จะทำให้คำขวัญเหล่านี้ปรากฏเป็นจริงขึ้น ก็เสนอคำขวัญปลุกระดมในแต่ละขั้นของการพัฒนาและในเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ทุกกรณีขึ้นอีก. เช่นเมื่อเราเสนอคำขวัญขั้นพื้นฐานที่ว่า “แนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น” และ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพ” ขึ้นแล้ว ก็เสนอคำขวัญ “ยุติสงครามกลางเมือง” “ช่วงชิงให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย” และ “ทำให้สงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้น” เพื่อเป็นเป้าหมายรูปธรรมในการปฏิบัติการที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนทั่วประเทศ ถ้าไม่มีเป้าหมายรูปธรรมชนิดนี้แล้ว ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าการนำทางการเมือง. ประการที่สอง เวลาที่มีการปฏิบัติการทั่วทั้งประเทศตามเป้าหมายรูปธรรมนี้ ชนชั้นกรรมาชีพ โดยเฉพาะกองหน้าของชนชั้นนี้ คือพรรคคอมมิวนิสต์ควรจะเป็นแบบอย่างในการทำให้เป้าหมายที่เป็นรูปธรรมเหล่านี้ปรากฏเป็นจริงขึ้นโดยยกระดับความเอาการเอางานและความซื่อสัตย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดของตน. เวลาที่ต่อสู้เพื่อภาระหน้าที่ทุกอย่างของแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาธิปไตยนั้น สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ควรจะเป็นผู้ที่เห็นการณ์ไกลที่สุด เปี่ยมด้วยจิตใจเสียสละที่สุด แน่วแน่ที่สุด, ทั้งสามารถเข้าใจสภาพการณ์อย่างน้อมใจที่สุด อาศัยส่วนข้างมากของมวลชน และได้รับความสนับสนุนจากมวลชน. ประการที่สาม สร้างความสัมพันธ์อันพอเหมาะกับผู้ร่วมเป็นพันธมิตร ขยายและเสริมความมั่นคงให้แก่พันธมิตรนี้โดยยึดมั่นในหลักการที่ไม่สูญเสียเป้าหมายทางการเมืองที่กำหนดไว้. ประการที่สี่ ขยายขบวนของพรรคคอมมิวนิสต์ รักษาความเป็นเอกภาพทางความคิดและความเข้มงวดทางวินัย. การนำทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีต่อประชาชนทั่วประเทศจะให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น. เงื่อนไขเหล่านี้เป็นรากฐานในการประกันการนำทางการเมืองของตน และก็เป็นรากฐานในการทำให้การปฏิวัติได้รับชัยชนะอย่างถึงที่สุดโดยไม่ถูกความโลเลของผู้ร่วมเป็นพันธมิตรทำลาย.
(๑๘) เมื่อสันติภาพปรากฏเป็นจริงขึ้นและความร่วมมือระหว่างพรรคทั้งสองได้สร้างขึ้นแล้ว แบบวิธีการต่อสู้ แบบวิธีการจัดตั้งและแบบวิธีการทำงานภายใต้แนวทางซึ่งกำหนดขึ้นด้วยความเป็นอริกันระหว่างอำนาจรัฐทั้งสองในอดีตนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง. การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้ ที่สำคัญคือเปลี่ยนจากแบบวิธีการใช้กำลังอาวุธเป็นแบบวิธีสันติภาพ, และเปลี่ยนจากแบบวิธีที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นแบบวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมาย. การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ จะต้องเริ่มต้นศึกษากันใหม่. ดังนั้น การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานใหม่จึงเป็นห่วงโซ่สำคัญข้อหนึ่ง.
(๑๙) ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะและอนาคตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยนั้นได้มีสหายหลายคนเสนอขึ้นแล้ว. คำตอบของเราก็คือ ลักษณะชนชั้นของสาธารณรัฐนี้เป็นพันธมิตรระหว่างชนชั้นที่ปฏิวัติต่าง ๆ อนาคตของสาธารณรัฐนี้มีความเป็นไปได้ที่จะก้าวไปสู่สังคมนิยม. สาธารณรัฐประชาธิปไตยของเราสร้างขึ้นในกระบวนการของการปฏิบัติภาระหน้าที่ในสงครามต่อต้านแห่งประชาชาติ สร้างขึ้นภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพ และสร้างขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ทางสากล (ชัยชนะของสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต และคืนก่อนจะถึงระยะใหม่แห่งการปฏิวัติของโลก). ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าโดยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว สาธารณรัฐนี้จะยังคงเป็นรัฐที่มีลักษณะลัทธิประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน แต่โดยเงื่อนไขทางการเมืองที่เป็นรูปธรรมแล้ว สาธารณรัฐนี้ก็ควรจะเป็นรัฐแห่งพันธมิตรระหว่างกรรมกร ชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อยและชนชั้นนายทุน ซึ่งแตกต่างกับสาธารณรัฐชนชั้นนายทุนทั่วไป. ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าอนาคตของสาธารณรัฐนี้จะยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะก้าวไปสู่ทิศทางทุนนิยม แต่ขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่จะหันไปสู่ทิศทางสังคมนิยม, พรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพของจีนจะต้องพยายามช่วงชิงให้ได้มาซึ่งอนาคตอันหลังนี้.
(๒๐) การต่อสู้กับลัทธิปิดประตูและลัทธิเสี่ยงภัย และขณะเดียวกันก็ต่อสู้กับลัทธิช้างเท้าหลังนั้น เป็นเงื่อนไขอันจำเป็นในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพรรค. ในการเคลื่อนไหวมวลชน พรรคของเรามีความโน้มเอียงที่เป็นประเพณีสืบเนื่องในทางลัทธิปิดประตู ลัทธิพรรคพวกที่ถือตัว และลัทธิเสี่ยงภัยที่ร้ายแรง ซึ่งเป็นความโน้มเอียงที่เลวร้ายที่ขัดขวางมิให้พรรคสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นและช่วงชิงให้ได้มาซึ่งมวลชนส่วนข้างมาก. การกวาดล้างความโน้มเอียงชนิดนี้ในงานรูปธรรมทุกชิ้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างสิ้นเชิง. ข้อเรียกร้องของเราคือ อาศัยส่วนข้างมากและคำนึงถึงส่วนทั้งหมด. จะยอมให้ลัทธิช้างเท้าหลังของเฉินตู๋ซิ่วคืนชีพขึ้นมาอีกไม่ได้ ลัทธินี้เป็นการสะท้อนออกของลัทธิปฏิรูปชนชั้นนายทุนในขบวนชนชั้นกรรมาชีพ. การลดจุดยืนของพรรคให้ต่ำลง, การทำให้โฉมหน้าของพรรคเลือนลาง และการสละผลประโยชน์ของกรรมกรชาวนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลัทธิปฏิรูปชนชั้นนายทุนนั้น ย่อมจะนำการปฏิวัติไปสู่ความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน. ข้อเรียกร้องของเราคือ ดำเนินนโยบายปฏิวัติที่เด็ดขาด ช่วงชิงให้ได้มาซึ่งชัยชนะอย่างถึงที่สุดในการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน. เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งการเอาชนะความโน้มเอียงที่ไม่ดีดังกล่าว เป็นการจำเป็นทีเดียวที่จะต้องยกระดับทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินให้สูงขึ้นในทั่วทั้งพรรค เพราะว่ามีแต่ทฤษฎีชนิดนี้เท่านั้นที่เป็นเข็มทิศในการนำการปฏิวัติของจีนให้ก้าวไปสู่ชัยชนะ.
 

ความรับผิดชอบในการนำของเรา

 

          (๑๖) ชนชั้นนายทุนจีนอาจจะเข้าร่วมการคัดค้านจักรพรรดินิยมและระบอบศักดินาได้ในสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์บางอย่าง แต่จะโลเลและแปรพักตร์ในสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งเพราะลักษณะอ่อนแอทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของตน กฎข้อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วจากประวัติศาสตร์ของจีน. ด้วยเหตุนี้ ประวัติศาสตร์จึงได้วินิจฉัยลงไปว่า ภาระหน้าที่แห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนที่คัดค้านจักรพรรดินิยมและศักดินานั้น จะผ่านการนำของชนชั้นนายทุนไม่ได้ หากจะต้องผ่านการนำของชนชั้นกรรมาชีพจึงจะบรรลุผลสำเร็จได้. ทั้งมีแต่ส่งเสริมลักษณะยืนหยัดและลักษณะถึงที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพอย่างเต็มที่ในการปฏิวัติประชาธิปไตยเท่านั้น จึงจะสามารถเอาชนะลักษณะโลเลและลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ ซึ่งมีมาแต่กำเนิดของชนชั้นนายทุน และป้องกันมิให้การปฏิวัติล้มเหลวลงกลางคันได้. จะให้ชนชั้นกรรมาชีพตามหลังชนชั้นนายทุน หรือว่าจะให้ชนชั้นนายทุนตามหลังชนชั้นกรรมาชีพ? ปัญหาความรับผิดชอบในการนำการปฏิวัติของจีนนี้เป็นปมสำคัญที่จะตัดสินความแพ้ชนะในการปฏิวัติ. ความจัดเจนจากปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ ได้แสดงให้เห็นว่า เวลาที่ชนชั้นนายทุนติดตามการนำทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพนั้น การปฏิวัติได้ก้าวหน้าไปเพียงไร; และเวลาที่ชนชั้นกรรมาชีพ (รับผิดชอบโดยพรรคคอมมิวนิสต์) กลายเป็นช้างเท้าหลังของชนชั้นนายทุนในทางการเมืองนั้น๑๗ การปฏิวัติได้ประสบความพ่ายแพ้อย่างไร. ประวัติศาสตร์เช่นนี้ไม่ควรซ้ำรอยอีก. กล่าวตามสภาพในปัจจุบันแล้ว ถ้าปราศจากการนำทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพและพรรคการเมืองของชนชั้นนี้แล้ว ก็ไม่อาจจะสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นได้ ก็ไม่อาจจะทำให้จุดมุ่งหมายแห่งสันติภาพ ประชาธิปไตยและสงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้นได้ ก็ไม่อาจจะพิทักษ์ปิตุภูมิไว้ได้ และก็ไม่อาจจะสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพขึ้นได้. ทุกวันนี้ ชนชั้นนายทุนซึ่งมีก๊กมินตั๋งเป็นตัวแทนยังมีลักษณะเป็นฝ่ายถูกกระทำและมีลักษณะอนุรักษ์อยู่มากมาย ข้อพิสูจน์ก็คือ ในระยะเวลาอันยาวนาน พวกเขาได้แสดงท่าทีว่าไม่กล้ารับแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งริเริ่มโดยพรรคคอมมิวนิสต์. สภาพเช่นนี้ได้ทำให้ความรับผิดชอบในการนำทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพและพรรคการเมืองของชนชั้นนี้เพิ่มหนักขึ้น. หน้าที่แห่งการเป็นกองเสนาธิการใหญ่ในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาตินั้น เป็นหน้าที่อันมิอาจจะบ่ายเบี่ยงได้และเป็นพันธะอันมิอาจจะปฏิเสธได้ของพรรคคอมมิวนิสต์. 

           (๑๗) ชนชั้นกรรมาชีพจะทำให้การนำทางการเมืองที่มีต่อชนชั้นที่ปฏิวัติต่าง ๆ ทั่วประเทศโดยผ่านพรรคการเมืองของตนปรากฏเป็นจริงขึ้นได้อย่างไร? ประการแรก เสนอคำขวัญทางการเมืองขั้นพื้นฐานขึ้นตามวิถีการพัฒนาของประวัติศาสตร์ และเพื่อที่จะทำให้คำขวัญเหล่านี้ปรากฏเป็นจริงขึ้น ก็เสนอคำขวัญปลุกระดมในแต่ละขั้นของการพัฒนาและในเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ทุกกรณีขึ้นอีก. เช่นเมื่อเราเสนอคำขวัญขั้นพื้นฐานที่ว่า “แนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น” และ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยที่เป็นเอกภาพ” ขึ้นแล้ว ก็เสนอคำขวัญ “ยุติสงครามกลางเมือง” “ช่วงชิงให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย” และ “ทำให้สงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้น” เพื่อเป็นเป้าหมายรูปธรรมในการปฏิบัติการที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนทั่วประเทศ ถ้าไม่มีเป้าหมายรูปธรรมชนิดนี้แล้ว ก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าการนำทางการเมือง. ประการที่สอง เวลาที่มีการปฏิบัติการทั่วทั้งประเทศตามเป้าหมายรูปธรรมนี้ ชนชั้นกรรมาชีพ โดยเฉพาะกองหน้าของชนชั้นนี้ คือพรรคคอมมิวนิสต์ควรจะเป็นแบบอย่างในการทำให้เป้าหมายที่เป็นรูปธรรมเหล่านี้ปรากฏเป็นจริงขึ้นโดยยกระดับความเอาการเอางานและความซื่อสัตย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดของตน. เวลาที่ต่อสู้เพื่อภาระหน้าที่ทุกอย่างของแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาธิปไตยนั้น สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ควรจะเป็นผู้ที่เห็นการณ์ไกลที่สุด เปี่ยมด้วยจิตใจเสียสละที่สุด แน่วแน่ที่สุด, ทั้งสามารถเข้าใจสภาพการณ์อย่างน้อมใจที่สุด อาศัยส่วนข้างมากของมวลชน และได้รับความสนับสนุนจากมวลชน. ประการที่สาม สร้างความสัมพันธ์อันพอเหมาะกับผู้ร่วมเป็นพันธมิตร ขยายและเสริมความมั่นคงให้แก่พันธมิตรนี้โดยยึดมั่นในหลักการที่ไม่สูญเสียเป้าหมายทางการเมืองที่กำหนดไว้. ประการที่สี่ ขยายขบวนของพรรคคอมมิวนิสต์ รักษาความเป็นเอกภาพทางความคิดและความเข้มงวดทางวินัย. การนำทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีต่อประชาชนทั่วประเทศจะให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น. เงื่อนไขเหล่านี้เป็นรากฐานในการประกันการนำทางการเมืองของตน และก็เป็นรากฐานในการทำให้การปฏิวัติได้รับชัยชนะอย่างถึงที่สุดโดยไม่ถูกความโลเลของผู้ร่วมเป็นพันธมิตรทำลาย. 

           (๑๘) เมื่อสันติภาพปรากฏเป็นจริงขึ้นและความร่วมมือระหว่างพรรคทั้งสองได้สร้างขึ้นแล้ว แบบวิธีการต่อสู้ แบบวิธีการจัดตั้งและแบบวิธีการทำงานภายใต้แนวทางซึ่งกำหนดขึ้นด้วยความเป็นอริกันระหว่างอำนาจรัฐทั้งสองในอดีตนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง. การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้ ที่สำคัญคือเปลี่ยนจากแบบวิธีการใช้กำลังอาวุธเป็นแบบวิธีสันติภาพ, และเปลี่ยนจากแบบวิธีที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นแบบวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมาย. การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ จะต้องเริ่มต้นศึกษากันใหม่. ดังนั้น การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานใหม่จึงเป็นห่วงโซ่สำคัญข้อหนึ่ง. 

           (๑๙) ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะและอนาคตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยนั้นได้มีสหายหลายคนเสนอขึ้นแล้ว. คำตอบของเราก็คือ ลักษณะชนชั้นของสาธารณรัฐนี้เป็นพันธมิตรระหว่างชนชั้นที่ปฏิวัติต่าง ๆ อนาคตของสาธารณรัฐนี้มีความเป็นไปได้ที่จะก้าวไปสู่สังคมนิยม. สาธารณรัฐประชาธิปไตยของเราสร้างขึ้นในกระบวนการของการปฏิบัติภาระหน้าที่ในสงครามต่อต้านแห่งประชาชาติ สร้างขึ้นภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพ และสร้างขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ทางสากล (ชัยชนะของสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต และคืนก่อนจะถึงระยะใหม่แห่งการปฏิวัติของโลก). ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าโดยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว สาธารณรัฐนี้จะยังคงเป็นรัฐที่มีลักษณะลัทธิประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน แต่โดยเงื่อนไขทางการเมืองที่เป็นรูปธรรมแล้ว สาธารณรัฐนี้ก็ควรจะเป็นรัฐแห่งพันธมิตรระหว่างกรรมกร ชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อยและชนชั้นนายทุน ซึ่งแตกต่างกับสาธารณรัฐชนชั้นนายทุนทั่วไป. ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าอนาคตของสาธารณรัฐนี้จะยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะก้าวไปสู่ทิศทางทุนนิยม แต่ขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่จะหันไปสู่ทิศทางสังคมนิยม, พรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพของจีนจะต้องพยายามช่วงชิงให้ได้มาซึ่งอนาคตอันหลังนี้. 

           (๒๐) การต่อสู้กับลัทธิปิดประตูและลัทธิเสี่ยงภัย และขณะเดียวกันก็ต่อสู้กับลัทธิช้างเท้าหลังนั้น เป็นเงื่อนไขอันจำเป็นในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพรรค. ในการเคลื่อนไหวมวลชน พรรคของเรามีความโน้มเอียงที่เป็นประเพณีสืบเนื่องในทางลัทธิปิดประตู ลัทธิพรรคพวกที่ถือตัว และลัทธิเสี่ยงภัยที่ร้ายแรง ซึ่งเป็นความโน้มเอียงที่เลวร้ายที่ขัดขวางมิให้พรรคสร้างแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นและช่วงชิงให้ได้มาซึ่งมวลชนส่วนข้างมาก. การกวาดล้างความโน้มเอียงชนิดนี้ในงานรูปธรรมทุกชิ้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างสิ้นเชิง. ข้อเรียกร้องของเราคือ อาศัยส่วนข้างมากและคำนึงถึงส่วนทั้งหมด. จะยอมให้ลัทธิช้างเท้าหลังของเฉินตู๋ซิ่วคืนชีพขึ้นมาอีกไม่ได้ ลัทธินี้เป็นการสะท้อนออกของลัทธิปฏิรูปชนชั้นนายทุนในขบวนชนชั้นกรรมาชีพ. การลดจุดยืนของพรรคให้ต่ำลง, การทำให้โฉมหน้าของพรรคเลือนลาง และการสละผลประโยชน์ของกรรมกรชาวนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลัทธิปฏิรูปชนชั้นนายทุนนั้น ย่อมจะนำการปฏิวัติไปสู่ความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน. ข้อเรียกร้องของเราคือ ดำเนินนโยบายปฏิวัติที่เด็ดขาด ช่วงชิงให้ได้มาซึ่งชัยชนะอย่างถึงที่สุดในการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน. เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งการเอาชนะความโน้มเอียงที่ไม่ดีดังกล่าว เป็นการจำเป็นทีเดียวที่จะต้องยกระดับทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินให้สูงขึ้นในทั่วทั้งพรรค เพราะว่ามีแต่ทฤษฎีชนิดนี้เท่านั้นที่เป็นเข็มทิศในการนำการปฏิวัติของจีนให้ก้าวไปสู่ชัยชนะ.