หมายเหตุ
* เรื่องนี้เป็นคำรายงานที่สหายเหมาเจ๋อตุงกล่าวในที่ประชุมผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ซึ่งจัดให้มี
ขึ้นที่เยนอานเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ๑๙๒๗.
๑. “กรณีภาคเหนือของจีน” หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผิด ๆ กันในปี ๑๙๓๕ ที่โจรญี่ปุ่นรุกรานภาคเหนือของจีนและรัฐบาลก๊ก
มินตั๋งซึ่งมีเจียงไคเช็คเป็นหัวโจกได้ทำให้ชาติอัปยศอดสูและสูญเสียอธิปไตยในภาคเหนือ. เดือนพฤษภาคมปีนั้น โจรญี่ปุ่น
ได้เรียกร้องเอาอำนาจการปกครองในภาคเหนือของจีนต่อรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เดือนมิถุนายน เหอยิ่งชินตัวแทนของรัฐบาลก๊ก
มินตั๋งประจำภาคเหนือของจีนได้ลงนามในข้อตกลงกับโยชิจิโร อุเมสุ ผู้บัญชาการกองทัพโจรญี่ปุ่นประจำภาคเหนือของจีน
ยอมรับข้อเรียกร้องนี้ ซึ่งก็คือที่เรียกว่า “ข้อตกลงเหอยิ่งชิน-อุเมสุ”. ตามข้อตกลงฉบับนี้, อธิปไตยของจีนในเหอเป่ยและชา
ฮาร์ได้สูญเสียไปเป็นส่วนใหญ่. เดือนตุลาคม โจรญี่ปุ่นได้ยุให้พวกทรยศชาติก่อจลาจลจขึ้นที่เซียงเหอมณฑลเหอเป่ย และ
ยึดตัวอำเภอเมืองไว้ได้. เดือนพฤศจิกายน ได้ปลุกปั่นให้พวกทรยศชาติดำเนินการในสิ่งที่เรียกว่า “การเคลื่อนไหวปกครอง
ตนเองใน ๕ มณฑลภาคเหนือของจีน” และก่อตั้ง “รัฐบาลปกครองตนเองป้องกันคอมมิวนิสต์” ของพวกทรยศชาติในภาค
ตะวันออกเหอเป่ยขึ้นอีก. เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของโจรญี่ปุ่นเกี่ยวกับ “การปกครองพิเศษในภาคเหนือของจีน”
รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้ส่งซุ่งเจ๋อหยวนและคนอื่น ๆ ไปจัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารแห่งเหอเป่ยและชาฮาร์”.
๒. หมายถึงแถลงการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ประกาศเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๑๙๓๕. สาระสำคัญของแถลงการณ์มีดังต่อไป
นี้ :
“ในทุกวันนี้ ขณะที่ภัยพิบัติแห่งการสิ้นชาติสูญพันธุ์กำลังคุกคามอยู่ต่อหน้าเรานั้นพรรคคอมมิวนิสต์ขอเรียกร้องต่อพี่
น้องร่วมชาติทั้งหลายอีกครั้งหนึ่งว่า ไม่ว่าในหู่พรรคและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันในความคิดเห็นทางการ
เมืองหรือผลได้ผลเสียใด ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ตาม ไม่ว่าในหมู่พี่น้องร่วมชาติในวงการต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน
ในความเห็นหรือผลประโยชน์ใด ๆ ก็ตาม และไม่ว่าในหมู่กองทหารแต่ละหน่วยจะมีการปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์กันใด ๆ
ทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ตาม, เราทุกคนก็ควรจะต้องมีความสำนึกด้วยน้ำใสใจจจริงอย่างที่ว่า ‘ถึงพี่น้องจะทะเลาะเบาะแว้ง
กันในบ้าน ก็ต้องร่วมกันต่อต้านการรุกรานจากภายนอก’ ก่อนอื่นเราทุกคนควรจะต้องยุติสงครามกลางเมืองเสีย จะได้รวม
กำลังของชาติทั้งปวง (กำลังคน กำลังวัตถุ, กำลังการคลังและกำลังอาวุธ) ไปทำการต่อสู้เพื่อภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ในการ
ต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ. พรรคคอมมิวนิสต์ขอแถลงอย่างเคร่งครัดอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าแม้นกองทหารก๊กมินตั๋งยุติ
การปฏิบัติการเข้าตีกองทัพแดง ถ้าแม้นกองทหารหน่วยหนึ่งหน่วยใดดำเนินสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ไม่ว่าพวกเขาจะมีความ
พยาบาทเก่าใด ๆ กับกองทัพแดงทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ตาม และไม่ว่าพวกเขาจะมีความเห็นที่แตกต่างกันกับกองทัพ
แดงในปัญหาภายในประเทศใด ๆ ก็ตาม กองทัพแดงก็ไม่เพียงแต่จะยุติการปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขาในทันที
ทั้งยังยินดีจะร่วมมือกับพวกเขาอย่างสนิทแน่นแฟ้นเพื่อร่วมกันกอบกู้ประเทศชาติ.”
“พรรคคอมมิวนิสต์ยินดีจะเป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้งรัฐบาลป้องกันประเทศชนิดนี้ พรรคคอมมิวนิสต์ยินดีจะดำเนินการ
เจรจาในปัญหาร่วมกันก่อตั้งรัฐบาลป้องกันประเทศโดยทันทีกับพรรคและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ องค์การต่าง ๆ (สหบาล
กรรมกร สมาคมชาวนา สมาคมนักเรียนนักศึกษา สมาคมพ่อค้า สมาคมการศึกษา, สหพันธ์นักข่าว สหพันธ์ครูและ
พนักงานโรงเรียน สมาคมร่วมถิ่น, สมาคมจื้อกุงถาง สมาคมติดอาวุธป้องกันตัวแห่งประชาชาติ สมาคมต่อต้านญี่ปุ่น
สมาคมกู้ชาติ ฯลฯ) ผู้มีชื่อเสียงในหมู่สาธารณชน, บัณฑิตและนักการเมืองทั้งหลาย ตลอดจนบรรดาองค์การทหารและ
องค์การปกครองส่วนภูมิภาคในประเทศจีนที่ปรารถนาจะเข้าร่วมภารกิจต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ. รัฐบาลป้องกัน
ประเทศที่จะก่อตั้งขึ้นอันเป็นผลแห่งการเจรจานี้ ควรจะเป็นองค์การนำชั่วคราวในการกอบกู้ประเทศชาติให้ดำรงคงอยู่ต่อ
ไป. รัฐบาลป้องกันประเทศชนิดนี้ ควรจะต้องพยายามเรียกประชุมองค์การที่เป็นตัวแทนที่แท้จริงของพี่น้องร่วมชาติทั้ง
หลาย (ผู้แทนที่เลือกตั้งขึ้นภายใต้เงื่อนไขประชาธิปไตยจากวงการต่าง ๆ อันได้แก่วงการกรรมกร วงการชาวนา วงการ
ทหาร วงการพนักงานฝ่ายบริหาร, วงการพ่อค้าและวงการปัญญาชน จากพรรคและกลุ่มการเมืองตลอดจนองค์การสมาคม
ทั้งปวงที่ยินดีจะต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ, และจากพี่น้องร่วมชาติในต่างประเทศและชนชาติส่วนน้อยในอาณาจักร
จีน) เพื่อจะได้อภิปรายให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ. พรรค
คอมมิวนิสต์จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่การเรียกประชุมองค์การตัวแทนปวงชนนี้อย่างแน่นอน และจะปฏิบัติตามมติ
ขององค์การนี้อย่างเด็ดขาด.”
“กองทัพผสมต่อต้านญี่ปุ่นควรจะประกอบขึ้นจากหน่วยทหารทั้งปวงที่ยินดีต่อต้านญี่ปุ่น. จัดตั้งกองบัญชาการสูงสุด
แห่งกองทัพผสมต่อต้านญี่ปุ่นที่เป็นเอกภาพซึ่งนำโดยรัฐบาลป้องกันประเทศ. กองบัญชาการทหารสูงสุดนี้จะประกอบด้วย
ผู้แทนที่เลือกตั้งขึ้นจากนายและพลทหารของกองทัพหน่วยต่าง ๆ ที่ต่อต้านญี่ปุ่นหรือจะประกอบขึ้นโดยแบบวิธีอื่น ๆ ก็ได้
ทั้งนี้จะต้องกำหนดโดยผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ และประชามติของประชาชนทั้งปวง. กองทัพแดงจะเข้าร่วมกองทัพผสมก่อน
อย่างแน่นอน เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติอย่างสุดความสามารถ. เพื่อที่จะให้รัฐบาล
ป้องกันประเทศสามารถแบกรับภาระสำคัญในการป้องกันประเทศได้จริง ๆ และเพื่อที่จะให้กองทัพผสมต่อต้านญี่ปุ่น
สามารถแบกรับภาระสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่นได้จริง ๆ พรรคคอมมิวนิสต์ขอเรียกร้องต่อพี่น้องร่วมชาติทั้งหลายว่า ผู้มี
เงินจงออกเงิน ผู้มีปืนจงออกปืน ผู้มีเสบียงจงออกเสบียง ผู้มีแรงจงออกแรง และผู้มีเทคนิคเฉพาะจงออกเทคนิคเฉพาะ
เพื่อว่าพี่น้องร่วมชาติของเราทั้งหลายจะได้ระดมกันขึ้นทั่วไป และเพื่อว่ามวลประชาชนเรือนแสนเรือนล้านจะได้รับการติด
อาวุธทั้งแบบใหม่และแบบเก่า.”
๓. มติเดือนธันวาคมหมายถึง “มติเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและภาระหน้าที่ของพรรค” ซึ่งลงมติผ่านในที่ประชุม
กรมการเมืองซึ่งศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดให้มีขึ้น ณ หว่าหยาวเป่าภาคเหนือส่านซีเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๑๙๓๕. มติ
นี้ได้ทำการวิเคราะห์อย่างรอบด้านในสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระหว่างความสัมพันธ์ทาง
ชนชั้นในประเทศจีนในเวลานั้น พร้อมทั้งได้กำหนดนโยบายของพรรคขึ้น. ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของมตินี้:
“สถานการณ์ปัจจุบันได้บอกแก่เราว่า พฤติการณ์ที่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นจะเขมือบเอาประเทศจีนนั้น ได้สะเทือนไปทั่ว
ทั้งประเทศจีนและทั่วโลก. ชนชั้นต่าง ๆ พรรคการเมืองต่าง ๆ ตลอดจนกลุ่มกำลังอาวุธต่าง ๆ ในชีวิตการเมืองของจีน ต่าง
ได้ปรับหรือกำลังปรับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระหว่างพวกเขา. แนวปฏิบัติประชาชาติกับแนวปฏิปักษ์ปฏิวัติ
ประชาชาติต่างกำลังทำการปรับปรุงจัดตั้งกันใหม่. ดังนั้น แนวทางยุทธวิธีของพรรคจึงอยู่ที่ปลุกระดม สามัคคีและจัดตั้ง
พลังปฏิวัติทั้งปวงของทั่วทั้งประเทศและทั่วทั้งประชาชาติไปคัดค้านศัตรูตัวเอกเฉพาะหน้า ซึ่งก็คือจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับ
เจียงไคเช็คผู้เป็นหัวโจกขายชาติ. ไม่ว่าคนใด กลุ่มการเมืองใด ขบวนกำลังอาวุธใดและชนชั้นใดก็ตาม, ขอแต่ให้เป็นผู้ที่
คัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับเจียงไคเช็คผู้เป็นโจรขายชาติ ก็ควรจะร่วมกันขึ้น เพื่อจะได้ดำเนินสงครามปฏิวัติประชาชาติ
อันศักดิ์สิทธิ์ ขับไล่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นออกไปจากประเทศจีน โค่นการปกครองของสุนัขรับใช้จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นใน
ประเทศจีน ให้ได้มาซึ่งการปลดแอกอย่างถึงที่สุดของประชาชาติจีน และธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและบูรณภาพเหนือดิน
แดนของจีน. มีแต่แนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นอันกว้างขวางที่สุดเท่านั้น (รวมทั้งชั้นล่างและชั้นบน) จึงจะสามารถ
เอาชนะจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับเจียงไคเช็คสุนัขรับใช้ของมันได้. แน่นอน การที่บุคคลที่ต่างกัน องค์การสมาคมที่ต่างกัน
ชนชั้นและชั้นชนสังคมที่ต่างกัน ตลอดจนขบวนกำลังอาวุธที่ต่างกันเข้าร่วมการปฏิวัติประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นนั้น ย่อมมี
เจตนาและจุดยืนที่ต่างกัน. บ้างเพื่อธำรงรักษาฐานะที่มีอยู่เดิมของตน บ้างเพื่อจะช่วงชิงอำนาจการนำในการเคลื่อนไหว
จะได้ให้การเคลื่อนไหวไม่เลยออกไปจากขอบเขตที่พวกเขายอมให้ และบ้างเพื่อการปลดแอกอย่างถึงที่สุดของ
ประชาชาติจีนจริง ๆ. เนื่องด้วยเจตนาและจุดยืนของพวกเขาต่างกันนั่นเอง บ้างก็จะโลเลหรือทรยศในขณะที่การต่อสู้ได้
เริ่มขึ้น, บ้างก็จะเฉื่อยเนือยหรือถอนตัวออกจากแนวรบในกลางคัน บ้างก็จะสมัครใจต่อสู้จนถึงที่สุด. แต่อย่างไรก็ตาม
ภาระหน้าที่ของเราก็อยู่ที่ว่าไม่เพียงแต่จะต้องสามัคคีบรรดาพลังพื้นฐานที่มีความเป็นไปได้ที่จะต่อต้านญี่ปุ่น หากยังจะ
ต้องสามัคคีบรรดาผู้ร่วมเป็นพันธมิตรที่มีความเป็นไปได้ที่จะต่อต้านญี่ปุ่นอีกด้วย และก็อยู่ที่ว่าจะต้องทำให้ประชาชนทั่ว
ประเทศผู้มีแรงออกแรง ผู้มีเงินออกเงิน ผู้มีปืนออกปืน และผู้มีวิชาความรู้ออกวิชาความรู้ ไม่ให้ชาวจีนผู้รักชาติคนใดอยู่
นอกแนวต่อต้านญี่ปุ่น. นี่แหละคือแนวทางทั่วไปแห่งยุทธวิธีของพรรคในแนวร่วมประชาชาติอันกว้างขวางที่สุด. มีแต่
ปฏิบัติตามแนวทางนี้เท่านั้น เราจึงจะสามารถระดมกำลังของประชาชนทั่วประเทศไปรับมือกับศัตรูร่วมของประชาชนทั่ว
ประเทศซึ่งก็คือจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับเจียงไคเช็คผู้เป็นโจรขายชาติได้. ชนชั้นกรรมกรและชาวนาของจีนยังคงเป็นพลัง
ดันพื้นฐานของการปฏิวัติของจีนอยู่. มวลชนชนชั้นนายทุนน้อยและปัญญาชนที่ปฏิวัติอันไพศาลเป็นพันธมิตรที่ไว้ใจได้ที่
สุดในการปฏิวัติประชาชาติ. พันธมิตรอันมั่นคงระหว่างกรรมกรชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยเป็นพลังพื้นฐานในการ
เอาชนะจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นกับพวกทรยศชาติและขายชาติ. ส่วนหนึ่งของชนชั้นนายทุนชาติและขุนศึก ไม่ว่าพวกเขาจะไม่
เห็นด้วยกับการปฏิวัติที่ดินและอำนาจรัฐแดงอย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเห็นอกเห็นใจหรือตั้งตัวเป็นกลางโดยเจตนาดีหรือ
เข้าร่วมโดยตรงในการต่อสู้คัดค้านญี่ปุ่นและคัดค้านพวกทรยศชาติและขายชาติ ก็เป็นประโยชน์ต่อการขยายแนวต่อต้าน
ญี่ปุ่นทั้งนั้น. เพราะว่า ทั้งนี้ได้ทำให้พวกเขาผละออกจากพลังปฏิปักษ์ปฏิวัติทั่วไป และทำให้พลังปฏิวัติทั่วไปได้รับการ
ขยาย. เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายอันนี้ พรรคตจะต้องใช้วิธีการหรือแบบวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสม ไปช่วงชิงกำลังเหล่านี้ให้เข้า
มาอยู่ในแนวต่อต้านญี่ปุ่น. ไม่เพียงแต่เช่นนี้เท่านั้น แม้กระทั่งในค่ายชนชั้นเจ้าที่ดินและนายหน้า ก็ใช่ว่าจะเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกันไปหมด. เนื่องจากในอดีตประเทศจีนเป็นที่ประชันขันสู้กันและกันของเหล่าจักรพรรดินิยม, ฉะนั้นจึงยังผลให้เกิดมี
กลุ่มโจรขายชาติสังกัดจักรพรรดินิยมต่าง ๆ ที่ประชันขันสู้กันในประเทศจีน ซึ่งความขัดแย้งและการปะทะกันระหว่างพวก
เขาเหล่านั้น พรรคเราก็ควรจะใช้วิธีต่าง ๆ ทำให้พลังปฏิปักษ์ปฏิวัติบางส่วนอยู่ในฐานะที่ไม่เอาการเอางานในการคัดค้าน
แนวต่อต้านญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราว. กับจักรพรรดินิยมอื่น ๆ ยกเว้นจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ก็ควรจะใช้ยุทธวิธีแบบนี้เช่น
เดียวกัน. ในระหว่างที่พรรคเราปลุกระดม สามัคคีและจัดตั้งพลังของประชาชนจีนทั่วประเทศเพื่อคัดค้านศัตรูร่วมของ
ประชาชนจีนทั่วประเทศนั้น ควรต้องทำการต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่กับความโน้มเอียงที่โลเล, ประนีประนอม ยอมจำนน
และทรยศทุกอย่างที่มีอยู่ในแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่น. ผู้ใดบ่อนทำลายการเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นของประชาชนจีน ผู้นั้นก็
เป็นพวกทรยศชาติและขายชาติ ควรที่ทุกคนจะลุกขึ้นโจมตีนั้น. พรรคคอมมิวนิสต์ควรใช้วาจาและการกระทำที่คัดค้าน
ญี่ปุ่นและคัดค้านพวกทรยศชาติและพวกขายชาติอย่างถึงที่สุดและอย่างถูกต้องของตนไปช่วงชิงให้ได้มาซึ่งอำนาจ
การนำของตนในแนวต่อต้านญี่ปุ่น. การเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นจะมีชัยอย่างถึงที่สุดได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในการนำของพรรค
คอมมิวนิสต์แล้วเท่านั้น. สำหรับมวลชนอันไพศาลในสงครามต่อต้านญี่ปุ่นนั้น ควรสนองความเรียกร้องต้องการในผล
ประโยชน์พื้นฐานของพวกเขาให้เป็นที่พอใจ (ความเรียกร้องต้องการในที่ดินของชาวนา ความเรียกร้องต้องการให้ปรับปรุง
ชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมกร พลทหาร ผู้ยากจนและปัญญาชน ฯลฯ). มีแต่สนองความเรียกร้องต้องการของพวกเขาให้
เป็นที่พอใจแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถปลุกระดมมวลชนอันไพศาลยิ่งกว่าเดิมให้เข้ามาอยู่ในขบวนต่อต้านญี่ปุ่นได้, จึงจะ
สามารถทำให้การเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นมีลักษณะยืดเยื้อได้, และจึงจะสามารถทำให้การเคลื่อนไหวก้าวไปสู่ชัยชนะ
อย่างถึงที่สุดได้. มีแต่เช่นนี้เท่านั้น จึงจะสามารถได้มาซึ่งอำนาจการนำของพรรคในสงครามต่อต้านญี่ปุ่น.”
โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “ว่าด้วยยุทธวิธีคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น”.
๔. โปรดอ่านโทรเลขฉบับลงวันที่ ๕ พฤษภาคม ๑๙๓๖ ของกองทัพแดงที่เรียกร้องให้รัฐบาลนานกิงยุติสงคราม เจรจาสันติภาพ
ร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น. ข้อความละเอียดในโทรเลขมีดังต่อไปนี้:
“คณะกรรมการการทหารแห่งรัฐบาลประชาราษฎร์นานกิง กองทัพบก เรือและอากาศ พรรคต่าง ๆ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ
องค์การสมาคมต่าง ๆ และสำนักหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ พี่น้องร่วมชาติที่ไม่ยอมเป็นข้าทาสที่สูญชาติทั้งหลาย:
นับตั้งแต่กองหน้าต่อต้านญี่ปุ่นของกองทัพแดงแห่งประชาชนจีนซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการการทหารปฏิวัติแห่ง
กองทัพแดงของจีนได้ข้ามแม่น้ำเหลืองเคลื่อนทัพไปทางตะวันออกเป็นต้นมา กองหน้าต่อต้านญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในทุกหน
ทุกแห่ง และได้รับการสนองรับจากทั่วทั้งประเทศ. แต่ขณะที่กองหน้าต่อต้านญี่ปุ่นเข้ายึดเส้นทางรถไฟสายต้าถุง-ผูโจว
และเตรียมจะเคลื่อนทัพไปทางตะวันออกเข้าสู่เหอเป่ยอย่างแข็งขันเพื่อทำการรบกับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นโดยตรงนั้น เจียง
ไคเช็คกลับส่งกำลังทหารกว่า ๑๐ กองพลเคลื่อนเข้าสุ่ซานซีและประสานกับเหยียนสีซานขวางทางที่กองทัพแดงจะไปต่อ
ต้านญี่ปุ่น และมีคำสั่งให้จางโซเหลียง หยางหู่เฉิงและกองทหารที่ประจำอยู่ภาคเหนือส่านซีรุกเข้าสู่เขตแดงส่านซี-กานซู่
ก่อกวนเขตหลังต่อต้านญี่ปุ่นของเรา. อันที่จริงกองหน้าต่อต้านญี่ปุ่นของกองทัพแดงแห่งประชาชนจีนควรจะรวมศูนย์กำลัง
ทั้งหมดของตนไปทำลายกองทหารของเจียงไคเช็คซึ่งขวางทางที่เราจะไปต่อต้านญี่ปุ่น เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการ
ทำการรบกับญี่ปุ่นโดยตรง. แต่หลังจากที่ได้พิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่า คณะกรรมการการทหารปฏิวัติแห่งกองทัพแดงก็เห็น
ว่า การรบแตกหักระหว่างสองฝ่ายในยามที่ประเทศชาติกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์อยู่เช่นนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะได้รับชัยชนะ ก็
ล้วนแต่จะนำความเสียหายมาสู่กำลังป้องกันประเทศของจีนทั้งนั้น และจะเป็นที่ปีติลิงโลดของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น. ยิ่งกว่า
นั้น ในกองทัพของเจียงไคเช็คและเหยียนสีซานก็มีนายและพลทหารที่รักชาติไม่น้อยที่ยินดีจะยุติสงครามกลางเมืองและ
ร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ถึงแม้เวลานี้พวกเขาจะรับคำสั่งจากเจียงไคเช็คและเหยียนสีซานไปขวางทางที่กองทัพแดงจะไปต่อ
ต้านญี่ปุ่น แต่ที่จริงแล้วก็เป็นการกระทำที่ฝืนจิตใจที่เป็นธรรมของตน. ดังนั้น เพื่อรักษากำลังแท้ในการป้องกันประเทศ, จะ
ได้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินสงครามต่อต้านญี่ปุ่นโดยเร็ว เพื่อปฏิบัติตามอย่างเด็ดเดี่ยวในข้อคิดเห็นที่เราได้แถลงต่อ
ประชาชนทั่วประเทศทุกครั้งเกี่ยวกับการยุติสงครามกลางเมืองและร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น และเพื่อส่งเสริมให้เจียงไคเช็คกับ
นายและพลทหารที่รักชาติทั้งหลายซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขามีความสำนึกในที่สุด, คณะกรรมการการทหารปฏิวัติแห่ง
กองทัพแดงจึงคงให้กองหน้าต่อต้านญี่ปุ่นของประชาชนถอนกลับมายังฝั่งตะวันตกแม่น้ำเหลืองทั้ง ๆ ที่ได้รับชัยชนะ
มากมายในซานซีมาแล้ว. ด้วยการกระทำเช่นนี้ เราประสงค์จะแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของเราที่มีต่อรัฐบาลนานกิง
กองทัพบก เรือและอากาศทั่วประเทศและประชาชนทั่วประเทศว่า เรายินดีจะยุติสงครามและเจรจาสันติภาพกับกองกำลัง
อาวุธทั้งปวงที่เข้าตีกองทัพแดงผู้ต่อต้านญี่ปุ่นภายในเวลาหนึ่งเดือน, เพื่อจะได้บรรลุจุดมุ่งหมายในการยุติ
สงครามกลางเมืองและเริ่มต่อต้านญี่ปุ่น. คณะกรรมการการทหารปฏิวัติแห่งกองทัพแดงขอเสนอความเห็นต่อท่านทั้งหลาย
ในรัฐบาลนานกิงอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษว่า ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานที่ชาติจะสิ้นพันธุ์จะสูญนี้ สมควรแล้วที่จะสำนึกผิด
กลับตัวเสียใหม่ ยุติสงครามกลางเมืองในขอบเขตทั่วประเทศ ซึ่งก่อนอื่นคือยุติสงครามกลางเมืองในส่านซี, กานซู่และ
ซานซีโดยถือจิตใจที่ว่า ‘ถึงพี่น้องจะทะเลาะเบาะแว้งกันในบ้าน ก็ต้องร่วมกันต่อต้านการรุกรานจากภายนอก’ และให้ทั้ง
สองฝ่ายต่างส่งผู้แทนเข้าร่วมปรึกษาหารือวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ. ทั้งนี้มิเพียงแต่เป็น
บุญแก่ท่านทั้งหลายเท่านั้น หากยังเป็นกุศลแก่ประชาชาติอีกด้วย. ถ้ายังดื้อดึงไม่สำนึกผิดอีก และสมัครใจจะเป็นพวก
ทรยศชาติและขายชาติแล้ว การปกครองของท่านทั้งหลายก็จะต้องพังทลายลงในที่สุดอย่างแน่นอน และจะต้องถูก
ประชาชนทั่วประเทศเขี่ยทิ้งและโค่นลงอย่างแน่นอน โบราณท่านว่า ‘ผู้ใดมวลประชาพาชี้หน้า ผู้นั้นหนาบ่ไข้ตายทั้งเป็น.’
โบราณท่านยังกล่าวอีกว่า ‘จงวางดาบเพชฌฆาตเสีย จะได้สำเร็จเป็นอรหันต์ในทันที.’ ขอให้ท่านทั้งหลายใคร่ครวญและ
ตรึกตรองให้จงดี. คณะกรรมการการทหารปฏิวัติแห่งกองทัพแดงขอเรียกร้องให้บรรดาองค์การสมาคม พรรคและกลุ่ม
การเมืองและประชาชนทั่วประเทศที่ไม่ยอมเป็นข้าทาสที่สูญชาติ จงสนับสนุนข้อคิดเห็นของเราที่ให้ยุติสงคราม เจรจา
สันติภาพและร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น จัดตั้งสมาคมส่งเสริมการยุติสงครามกลางเมือง ส่งผู้แทนไปยังแนวรบเพื่อยับยั้งการสู้
รบของทั้งสองฝ่าย กระตุ้นและควบคุมให้ข้อคิดเห็นนี้ปรากฏเป็นจริงขึ้นโดยสมบูรณ์.”
๕. ดูหมายเหตุ ๗ ของเรื่อง “คำแถลงเกี่ยวกับคำแถลงของเจียงไคเช็ค”.
๖. ใน “มติเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและภาระหน้าที่ของพรรค” ซึ่งผ่านในที่ประชุมกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการ
กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๕ และในคำรายงาน “ว่าด้วยยุทธวิธีคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น” ของ
สหายเหมาเจ๋อตุงได้เสนอคำขวัญให้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนขึ้น. ต่อมาโดยความจำเป็นของสภาพการณ์ พรรคเราได้ใช้
นโยบายที่บีบบังคับให้เจียงไคเช็คต่อต้านญี่ปุ่นและคำนึงถึงว่ากลุ่มเจียงไคเช็คจะไม่ยอมรับคำขวัญสาธารณรัฐประชาชนนี้เป็น
แน่ จึงได้เปลี่ยนคำขวัญเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยในสาส์นที่มีถึงพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ๑๙๓๖. จากนั้นใน
เดือนกันยายนปีเดียวกัน ศูนย์กลางพรรคก็ได้แถลงชี้แจงเกี่ยวกับคำขวัญสาธารณรัฐประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมอีกใน
“มติเกี่ยวกับสถานการณ์ใหม่ในการเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย”. ถึงแม้คำขวัญทั้ง
สองคำนี้มีความหมายต่างกันในรูปแบบก็จริง แต่โดยเนื้อหาแล้วอย่างเดียวกัน. ต่อไปนี้คือข้อความสองตอนที่เกี่ยวกับปัญหา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยในมติของศูนย์กลางพรรคเมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๓๖:
“ศูนย์กลางเห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีความจำเป็นที่จะต้องเสนอคำขวัญสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น
เพราะว่านี่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการสามัคคีพลังทั้งปวงที่ต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อประกันไว้ซึ่งบูรณภาพเหนือดินแดนของจีนและ
ปกป้องมิให้เกิดภัยพิบัติอันน่าอนาถที่ประชาชนจีนจะประสบความสิ้นชาติสูญพันธุ์, และก็เป็นคำขวัญที่เหมาะสมที่สุด
สำหรับแนวร่วมซึ่งเกิดจากความเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยของประชาชนอันไพศาลด้วย. สาธารณรัฐประชาธิปไตย
เป็นประชาธิปไตยที่ในทางภูมิบริเวณกว้างขวางกว่าระบอบเผด็จการประชาธิปไตยกรรมกรชาวนาที่นำออกใช้ในดินแดน
ส่วนหนึ่ง และเป็นระบอบการเมืองที่ก้าวหน้ากว่าระบอบเผด็จการโดยก๊กมินตั๋งแต่พรรคเดียวในอาณาบริเวณส่วนสำคัญ
ของประเทศจีน ด้วยเหตุนี้ จึงยิ่งเป็นหลักประกันแก่การปลุกระดมอย่างทั่วถึงและชัยชนะอย่างถึงที่สุดในสงครามต่อต้าน
ญี่ปุ่น. ในขณะเดียวกัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยก็ไม่เพียงแต่สามารถทำให้มวลประชาชนอันไพศาลที่สุดทั่วทั้งประเทศ
จีนเข้าร่วมในชีวิตการเมือง ยกระดับความตื่นตัวทางการเมืองของพวกเขา และเสริมกำลังจัดตั้งของพวกเขาเท่านั้น หากยัง
อำนวยให้ชนชั้นกรรมาชีพของจีนและผู้นำของชนชั้นนี้อันได้แก่พรรคคอมมิวนิสต์มีเวทีเคลื่อนไหวอย่างเสรีในการต่อสู้
เพื่อชัยชนะของสังคมนิยมในอนาคตด้วย. ฉะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงขอประกาศว่า พรรคเราสนับสนุนการเคลื่อนไหว
เพื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยอย่างแข็งขัน. และขอประกาศอีกว่า เมื่อใดที่ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้นในทั่ว
ประเทศจีนและได้เรียกร้องประชุมรัฐสภาที่จัดตั้งขึ้นโดยการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว เมื่อนั้นเขตแดงก็จะกลายเป็นส่วนประกอบ
ส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐนี้ในทันที ประชาชนในเขตแดงก็จะเลือกตั้งผู้แทนของตนไปเข้ารัฐสภา และจะให้ระบอบ
ประชาธิปไตยนี้บรรลุผลในเขตแดงด้วย.”
“ศูนย์กลางได้ชี้เน้นว่า มีแต่ขยายการเคลื่อนไหวของประชาชนทั่วประเทศจีนที่ต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติต่อไป,
ขยายแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นของพรรคต่าง ๆ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ วงการต่าง ๆ และกองทหารต่าง ๆ ให้กว้างออก
ไป, เสริมสร้างบทบาทการนำทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในแนวร่วมประชาชาติให้เข้มแข็งขึ้น เสริมสร้างอำนาจ
รัฐแดงและเด็ดเดี่ยวกับวาจาและการกระทำทั้งปวงที่ทำให้ชาติอัปยศอดสูและสูญเสียอธิปไตยตลอดจนบั่นทอนกำลังของ
แนวร่วมประชาชาติเท่านั้น เราจึงจะสามารถผลักดันให้รัฐบาลนานกิงของก๊กมินตั๋งก้าวไปสู่ทางแห่งการต่อต้านญี่ปุ่นได้ จึง
จะสามารถเตรียมเงื่อนไขเบื้องแรกในการทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยปรากฏเป็นจริงขึ้นได้. ถ้าปราศจากการต่อสู้อย่าง
ทรหดอดทนและยืดเยื้อ, และปราศจากการปลุกระดมประชาชนทั่วประเทศจีนและการขึ้นสู่ระลอกสูงของกระแสคลื่นแห่ง
การปฏิวัติแล้ว การที่จะทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยปรากฏเป็นจริงขึ้นนั้นย่อมจะเป็นไปไม่ได้. ในกระบวนการแห่งการ
ต่อสู้เพื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนควรที่จะทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยนี้เริ่มต้นจากการดำเนิน
หลักนโยบายใหญ่ ๑๐ ประการในการต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติซึ่งเสนอขึ้นโดยพรรคเรา ตราบจนกระทั่งภาระหน้าที่
พื้นฐานในการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนจะสำเร็จลุล่วงอย่างถึงที่สุด.”
๗. โทรเลขฉบับนี้ส่งเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๑๙๓๗ ต้นฉบับเดิมมีใจความดังต่อไปนี้:
“ถึงท่านทั้งหลายที่เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งจีน:
เป็นที่น่าปีติยินดีของประชาชนทั่วประเทศที่ปัญหาซีอานได้แก้ตกไปโดยสันติวิธี ต่อแต่นี้ไปเข็มมุ่งสันติภาพ เอกภาพ
และสามัคคีกันต่อต้านการรุกรานของต่างชาติก็จะปรากฏเป็นจริงขึ้น นี่ช่างเป็นบุญกุศลของประเทศและประชาชาติเสียจริง
ๆ. ในยามนี้อันเป็นเวลาที่โจรญี่ปุ่นกำลังกำเริบเสิบสานและความเป็นความตายของประชาชาติจีนกำลังอยู่ในสถานะหน้าสิ่ว
หน้าขวาน พรรคเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อที่จะปฏิบัติตามเข็มมุ่งนี้ ที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลาง
ของพรรคของท่านคงจะได้กำหนดข้อความต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ลงไปเป็นนโยบายของชาติ กล่าวคือ (๑) ยุติ
สงครามกลางเมืองทั้งปวง รวมศูนย์พลังของชาติ, ร่วมกันต่อต้านกับศัตรูภายนอก; (๒) ให้หลักประกันแก่เสรีภาพในการ
พูด การเขียน การชุมนุม และการจัดตั้งสมาคม ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด; (๓) เรียกประชุมผู้แทนของพรรคต่าง
ๆ, กลุ่มการเมืองต่าง ๆ วงการต่าง ๆ และกองทหารหน่วยต่าง ๆ, ระดมผู้มีความสามารถทั่วทั้งประเทศเพื่อร่วมกันกู้ชาติ;
(๔) เตรียมการทั้งปวงสำหรับสงครามต่อต้านญี่ปุ่นใหสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว; (๕) ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ให้ดีขึ้น. ถ้าที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางของพรรคของท่านกำหนดข้อเหล่านี้เป็นนโยบายของชาติ
อย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ได้จริง ๆ แล้ว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการสามัคคีกันต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ
พรรคเรายินดีจะให้หลักประกันแก่ที่ประชุมเต็มคณะสมัยที่ ๓ ของคณะกรรมการกลางของพรรคของท่านดังต่อไปนี้คือ
(๑) ยุติเข็มมุ่งลุกฮือขึ้นด้วยกำลังอาวุธในการโค่นรัฐบาลประชาราษฎร์ตลอดทั่วทั้งประเทศ; (๒) รัฐบาลประชาธิปไตย
กรรมกรชาวนาจะเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐบาลเขตพิเศษแห่งสาธารณรัฐจีน, กองทัพแดงจะเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพปฏิวัติ
ประชาราษฎร์ และจะรับการชี้แนะของรัฐบาลส่วนกลางแห่งนานกิงกับคณะกรรมการการทหารของรัฐบาลนี้โดยตรง; (๓)
ในเขตของรัฐบาลเขตพิเศษจะดำเนินระบอบประชาธิปไตยที่ถึงที่สุด โดยมีการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป; (๔) ยุตินโยบาย
ริบที่ดินของเจ้าที่ดิน ปฏิบัติตามหลักนโยบายร่วมของแนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่นอย่างเด็ดเดี่ยว.”
๘. ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖ กรรมกร ๔๕,๐๐๐ กว่าคนในโรงงานปั่นด้ายทอผ้าของญี่ปุ่นและของจีน
ในเซี่ยงไฮ้รวม ๒๖ โรงได้นัดหยุดงานกันครั้งใหญ่. ในเดือนธันวาคม กรรมกรในโรงงานปั่นด้ายทอผ้าต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในชิง
เตาก็นัดหยุดงานกันทั้งหมด เพื่อสนับสนุนกรรมกรเซี่ยงไฮ้. กรรมกรเซี่ยงไฮ้ได้รับชัยชนะโดยได้รับการเพิ่มค่าแรงร้อยละ ๕
และจ่ายย้อนหลังตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป อีกทั้งห้ามมิให้ฝ่ายเจ้าของโรงงานคัดชื่อกรรมกรออกจากโรงงานโดย
ปราศจากเหตุผล, และห้ามมิให้ดุด่าเฆี่ยนตีกรรมกรด้วย. ส่วนกรรมกรชิงเตาถูกพรรคนาวิกโยธินญี่ปุ่นปราบปรามลงไป.
๙. ภายหลังที่โจรญี่ปุ่นเข้ายึดซานไห่กวานและรุกเข้าสู่ภาคเหนือของจีนในปี ๑๙๓๓ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังที่ได้ทำ “ข้อตก
ลงเหอยิ่งชิน-อุเมสุ” ในปี ๑๙๓๕ แล้ว ผลประโยชน์ของจักรพรรดินิยมอังกฤษและอเมริกาในภาคเหนือและภาคกลางของจีน
ได้ถูกโจมตีจากจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นโดยตรง, ด้วยเหตุนี้ อังกฤษและอเมริกาจึงเริ่มเปลี่ยนท่าทีที่มีต่อญี่ปุ่น และยังผลสะเทือน
ให้แก่นโยบายของรัฐบาลเจียงไคเช็คที่มีต่อญี่ปุ่น. ในขณะที่เกิดกรณีซีอานปี ๑๙๓๖ นั้น อังกฤษเคยแสดงความคิดเห็นว่าจะ
ปฏิเสธข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นที่ไม่เป็นผลดีต่อผลประโยชน์ของอังกฤษที่มีอยู่ในประเทศจีน กระทั่งแสดงว่า ขอแต่ให้รัฐบาล
เจียงไคเช็คยังสามารถปกครองประชาชนจีนต่อไปได้ รัฐบาลเจียงไคเช็คจะ “ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์โดยรูปแบบบาง
ประการ” ก็ได้ เพื่อจะได้โจมตีในนโยบายรุกรานของญี่ปุ่น.
๑๐. เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ๑๙๓๖ หลีจุงเยน ไป๋ฉุงสี่ขุนศึกกวางสีและเฉินจี้ถางขุนศึกกวางตุ้งได้ร่วมกันคัดค้านเจียงไคเช็คโดย
แอบอ้างคำขวัญ “ต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ”. ครั้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน กรณีนี้ได้ถูกเจียงไคเช็คใช้วิธียุแหย่และให้
อามิสสินจ้างจนแตกสลายไป.
๑๑. กองทหารญี่ปุ่นและกองทหารหุ่นเริ่มทำการบุกรุกสุยหย่วนในเดือนสิงหาคมปี ๑๙๓๖. ในเดือนพฤศจิกายน กองทหารจีนที่ตั้ง
ประจำอยู่ในสุยหย่วนได้ทำการต่อต้าน และประชาชนทั่วประเทศได้ทำการเคลื่อนไหวสนับสนุนการต่อต้านในสุยหย่วนครั้งนี้.
๑๒. ภายหลังที่ได้ทำ “ข้อตกลงเหอยิ่งชิน-อุเมสุ” ในปี ๑๙๓๕ แล้ว เนื่องจากแรงกดดันจากกระแสคลื่นต่อต้านญี่ปุ่นของ
ประชาชนจีน และเนื่องจากผลสะเทือนในนโยบายของจักรพรรดินิยมอังกฤษและอเมริกาที่มีต่อญี่ปุ่นค่อนข้างแข็ง รัฐบาลก๊ก
มินตั๋งแห่งนานกิงจึงได้ใช้ท่าทีค่อนข้างแข็งต่อญี่ปุ่น. ในการเจรจากับญี่ปุ่นระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖
รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้ใช้วิธีถ่วงเวลา ทำให้การเจรจาต้องยุติโดยไมได้ผลอะไรเลย.
๑๓. หมายถึงการประชุมครั้งหนึ่งที่ศูนย์กลางพรรคก๊กมินตั๋งจัดให้มีขึ้นที่นานกิงเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๑๙๓๗ ภายหลังที่กรณีซี
อานได้แก้ตกไปโดยสันติวิธีแล้ว.
๑๔. อา Q เป็นตัวละครสำคัญในเรื่อง “ประวัติจริงของอา Q” นวนิยายอันลือชื่อของหลู่ซิ่นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีน. หลู่ซิ่นได้
บรรยายตัวละครผู้นี้ให้เป็นแบบฉบับชนิดหนึ่งที่ชินกับการใช้วิธีปลอบใจตนเองซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในสภาพการณ์ใด ๆ ก็สำคัญว่า
ตนเป็นผู้ชนะ คือ “ชนะในใจ”.
๑๕. ลัทธิไตรราษฎร์ของซุนยัตเซ็นที่กล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงหลักการและหลักนโยบายที่เกี่ยวกับปัญหาประชาชาติ ประชาสิทธิ์
และประชาชีพซึ่งท่านเป็นผู้เสนอขึ้น มิได้หมายถึงโลกทรรศน์หรือระบบทฤษฎีของท่าน. ในขั้นปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้น
นายทุน ชาวพรรคคอมมิวนิสต์เห็นด้วยกับด้านพื้นฐานของหลักนโยบายซุนยัตเซ็น และได้ร่วมมือกับท่าน แต่หาได้เห็นด้วย
กับโลกทรรศน์หรือระบบทฤษฎีชนชั้นนายทุนและชนชั้นนายทุนน้อยซึ่งท่านเป็นตัวแทนนั้นไม่. โดยทางโลกทรรศน์หรือระบบ
ทฤษฎี, และโดยทรรศนะทางทฤษฎีเกี่ยวกับปัญหาประชาชาติหรือปัญหาอื่น ๆ แล้ว, ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ในฐานะที่เป็นกอง
หน้าชนชั้นกรรมาชีพของจีนย่อมต่างกันกับซุนยัตเซ็นโดยสิ้นเชิง. โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “ว่าด้วยลัทธิประชาธิปไตย
แผนใหม่” ของสหายเหมาเจ๋อตุง.
๑๖. หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงจัดตั้งใหม่โดยซุนยัตเซ็นในปี ๑๙๒๔ แล้ว, ก๊กมินตั๋งได้กลายเป็นพันธมิตรที่ปฏิวัติของชนชั้นต่าง
ๆ เวลานั้นชาวพรรคอมมิวนิสต์จีนได้สมัครเข้าพรรคก๊กมินตั๋งโดยฐานะส่วนตัว. หลังจากที่ก๊กมินตั๋งได้ทรยศต่อการปฏิวัติในปี
๑๙๒๗ แล้ว ก๊กมินตั๋งได้เข่นฆ่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และพวกฝ่ายซ้ายในพรรคก๊กมินตั๋งเป็นจำนวนมากที่สนับสนุน
นโยบายใหญ่ ๓ ประการของซุนยัตเซ็นอย่างจริงจังตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งก๊กมินตั๋งเรียกว่า “การเคลื่อนไหวสะสาง
พรรค”. จากนั้นมา ก๊กมินตั๋งก็ได้กลายเป็นพรรคการเมืองปฏิปักษ์ปฏิวัติของชนชั้นเจ้าที่ดินใหญ่และชนชั้นนายทุนใหญ่.
๑๗. ในที่นี้หมายถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำที่เป็นลัทธิฉวยโอกาสของศูนย์กลางพรรคในครึ่งปีแรกของปี ๑๙๒๗.