bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

ต่อสู้เพื่อช่วงชิงมวลชนเรือนแสนเรือนล้านให้เข้าสู่แนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น

 

ต่อสู้เพื่อช่วงชิงมวลชนเรือนแสน
เรือนล้านให้เข้าสู่
แนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น *
(๗ พฤษภาคม ๑๙๓๗)
 
สหายทั้งหลาย! ในระหว่างอภิปรายกันเมื่อไม่กี่วันมานี้, ท่านทั้งหลายต่างได้แสดงความเห็นชอบด้วยกับคำรายงานของข้าพเจ้าเรื่อง “ภาระหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสมัยต่อต้านญี่ปุ่น” มีสหายบางคนเท่านั้นที่ได้เสนอความเห็นที่แตกต่างออกไป. ความเห็นที่แตกต่างเหล่านี้ของพวกเขาค่อนข้างจะสำคัญ ฉะนั้น ในคำสรุปของข้าพเจ้า ก่อนอื่นจึงขออภิปรายถึงความเห็นเหล่านี้ แล้วค่อยกล่าวถึงปัญหาอื่น ๆ บ้าง.
 
ปัญหาสันติภาพ
 
พรรคเราได้ต่อสู้เพื่อสันติภาพภายในประเทศมาเป็นเวลาเกือบ ๒ ปีแล้ว. ภายหลังการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งสมัยที่ ๓ เราไดกล่าวว่า สันติภาพนั้นได้มาแล้ว ขั้นแห่ง “การช่วงชิงสันติภาพ” ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ภาระหน้าที่ใหม่นั้นคือ “เสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพ”, และชี้ให้เห็นว่า ภาระหน้าที่ใหม่นี้เกี่ยวพันกับ “การช่วงชิงประชาธิปไตย”—เสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพด้วยการช่วงชิงประชาธิปไตย. แต่ตามคำกล่าวของสหายบางคน ความเห็นของเรานี้กลับฟังไม่ขึ้น. ข้อสรุปของพวกเขาจึงย่อมจะเป็นข้อสรุปที่ตรงกันข้าม หรือกวัดแกว่งอยู่ระหว่างความเห็นทั้งสองนี้. เพราะพวกเขากล่าวว่า “ญี่ปุ่นถอยแล้ว๑ นานกิงโลเลยิ่งขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประชาชาติกำลังลดลง ความขัดแย้งภายในประเทศกำลังขึ้นสูง”. แน่ละ โดยการคาดคะเนนี้ ย่อมจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าขั้นใหม่และภาระหน้าที่ใหม่, และสภาพการณ์ก็จะหวนกลับไปสู่ขั้นเก่าหรือเลวยิ่งกว่านั้น. ความเห็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ถูกต้อง.
ที่เรากล่าวว่าสันติภาพได้มาแล้วนั้น มิได้หมายความว่าสันติภาพมั่นคงแล้ว ตรงกันข้าม เรากลับบอกว่ามันไม่มั่นคง. สันติภาพปรากฏเป็นจริงขึ้นแล้วกับสันติภาพมั่นคงแล้วเป็นคนละเรื่องกัน. การที่ประวัติศาสตร์จะย้อนกลับไปสู่ทางเดิมชั่วคราวและสันติภาพจะประสบอุปสรรคนั้น ย่อมมีความเป็นไปได้ เพราะเหตุว่าจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น พวกทรยศชาติและกลุ่มนิยมญี่ปุ่นยังมีอยู่. แต่ก็เป็นความจริงที่สันติภาพได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นหลังจากกรณีซีอาน และสภาพการณ์เช่นนี้ก็สืบเนื่องมาจากเหตุหลายด้าน (เข็มมุ่งพื้นฐานในการเข้าตีของญี่ปุ่น, การสนับสนุนสันติภาพของสหภาพโซเวียตและอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส การบีบบังคับของประชาชนจีน เข็มมุ่งสันติภาพในกรณีซีอานและนโยบายยุติการเป็นอริกันระหว่างอำนาจรัฐทั้งสองของพรรคคอมมิวนิสต์ การแยกตัวของชนชั้นนายทุน การแยกของตัวพรรคก๊กมินตั๋ง ฯลฯ) หาใช่เป็นสิ่งที่เจียงไคเช็คจะกำหนดหรือทำลายได้โดยลำพังคนเดียวไม่. ถ้าจะทำลายสันติภาพ ก็ต้องสู้กับอิทธิพลหลายด้าน และก็ต้องเข้ากับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มนิยมญี่ปุ่นจึงจะสำเร็จได้. ไม่เป็นปัญหาเลย จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มนิยมญี่ปุ่นยังคงพยายามที่จะให้จีนทำสงครามกลางเมืองต่อไป. การที่สันติภาพไม่มั่นคง เหตุผลก็อยู่ที่ตรงนี้. ในสภาพการณ์เช่นนี้ ข้อสรุปของเราแทนที่จะหวนกลับไปสู่คำขวัญเก่าที่ว่า “ยุติสงครามกลางเมือง” หรือ “ช่วงชิงสันติภาพ” กลับรุดหน้าไปอีกก้าวหนึ่ง โดยเสนอคำขวัญใหม่ให้ “ช่วงชิงประชาธิปไตย” ด้วยการทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะเสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพได้, และก็ด้วยการทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะทำให้สงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้นได้. ทำไมเราจึงได้เสนอคำขวัญ ๓ ประการ อันได้แก่ “เสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพ” ช่วงชิงประชาธิปไตย” และ “ทำให้สงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้น” ซึ่งเป็นองค์รวมอันเดียวกันนั้นเล่า? เพราะว่าเราทำเพื่อจะผลักดันกงล้อแห่งการปฏิวัติของเราให้เคลื่อนไปอีกก้าวหนึ่ง และเพราะว่าสภาพการณ์อำนวยให้เราเคลื่อนไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว. ถ้าหากปฏิเสธขั้นใหม่และภาระหน้าที่ใหม่ ปฏิเสธ “การเริ่มเปลี่ยนแปลง” ของก๊กมินตั๋ง และทั้งข้อสรุปในทางตรรกก็จำต้องปฏิเสธผลสำเร็จทั้งปวงที่เกิดจากความพยายามของอิทธิพลกลุ่มต่าง ๆ ที่ต่อสู้เพื่อช่วงชิงสันติภาพในระยะหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาแล้ว เราก็ได้แต่ทำให้ตนเองหยุดชะงักอยู่ในที่เดิม, มิได้ก้าวไปข้างหน้าเลยแม้แต่ก้าวเดียว.
ทำไมสหายเหล่านี้จึงได้มีการคาดคะเนที่ไม่เหมาะเช่นนั้นเล่า? เหตุผลก็คือ ในการพิจารณาสถานการณ์ พวกเขาไม่เริ่มต้นจากจุดมูลฐาน หากเริ่มต้นจากปรากฏการณ์เฉพาะส่วนและชั่วครู่ชั่วยามจำนวนมาก (การทูตซาโต การพิพากษาคดีที่ซูโจว๒ การปราบการนัดหยุดงาน การเคลื่อนย้ายกองทัพอีสานไปทางตะวันออก๓ หยางหู่เฉิงเดินทางไปต่างประเทศ๔ ฯลฯ) ดังนั้น จึงได้ประกอบขึ้นเป็นภาพที่มืดมัว. เรากล่าวว่าก๊กมินตั๋งได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ขณะเดียวกันเราก็กล่าวว่าก๊กมินตั๋งมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างถึงที่สุด. การที่จะให้นโยบายปฏิกิริยาของก๊กมินตั๋งซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปี เปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงที่สุดโดยที่เราและประชาชนไม่ต้องใช้ความพยายามใหม่ที่ทั้งมากและใหญ่หลวงยิ่งขึ้นนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะคาดคิดได้. ผู้ที่ได้ชื่อว่าพวกเอียง “ซ้าย” จำนวนไม่น้อย เวลาปรกติก็ด่าก๊กมินตั๋งอย่างเจ็บแสบ ระหว่างกรณีซีอานก็มีความคิดเห็นให้ฆ่าเจียงไคเช็คและ “ตีออกไปนอกถุงกวาน”๕ แต่พอสันติภาพเพิ่งจะปรากฏเป็นจริงและเกิดเหตุการณ์เช่นการพิพากษาคดีที่ซูโจวขึ้น พวกเขาก็ถามด้วยน้ำเสียงประหลาดใจว่า “ทำไมเจียงไคเช็คจึงทำอย่างนี้อีกล่ะ?”, เขาเหล่านั้นจะต้องเข้าใจว่า ทั้งสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และเจียงไคเช็คต่างก็ไม่ใช่เทวดา และก็ไม่ใช่เอกชนที่อยู่โดดเดี่ยว, หากเป็นบุคคลที่อยู่ในพรรคพรรคหนึ่ง ในชนชั้นชนชั้นหนึ่ง. พรรคคอมมิวนิสต์มีความสามารถที่จะผลักดันให้การปฏิวัติรุดหน้าไปทีละก้าว ๆ แต่ไม่มีความสามารถที่จะขจัดสิ่งชั่วร้ายทั่วประเทศให้หมดสิ้นไปในเช้าวันเดียว. เจียงไคเช็คหรือก๊กมินตั๋งได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ถ้าปราศจากความพยายามที่มากยิ่งขึ้นของประชาชนทั่วประเทศ ก็ไม่อาจจะชำระสิ่งสกปรกโสมมที่มีมาเป็นเวลา ๑๐ ปีของพวกเขาให้หมดสิ้นไปได้ในเช้าวันเดียวอย่างเด็ดขาด. เรากล่าวว่า ทิศทางแห่งการเคลื่อนไหวนั้นมุ่งไปสู่สันติภาพ ประชาธิปไตยและสงครามต่อต้าน, แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า พิษร้ายเก่าเช่นสงครามกลางเมือง, เผด็จการและการไม่ต่อต้านนั้นจะกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม. พิษร้ายเก่า สิ่งสกปรกโสมม อุปสรรคบางอย่างในวิถีดำเนินแห่งการปฏิวัติ และการย้อนกลับไปสู่ทางเดิมที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น จะเอาชนะได้ก็โดยผ่านการต่อสู้และใช้ความพยายามเท่านั้น ทั้งเป็นการต่อสู้และใช้ความพยายามที่กินเวลายาวนานด้วย.
“พวกเขาตั้งหน้าจะทำลายเรา”.  ถูกแล้ว พวกเขามุ่งจะทำลายเราอยู่เสมอ ข้าพเจ้ายอมรับความถูกต้องของการคาดคะเนนี้โดยสิ้นเชิง ถ้าไม่คาดคะเนถึงข้อนี้ก็เท่ากับนอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น. แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า แบบวิธีในการทำลายนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่. ข้าพเจ้าคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงแล้ว. นั่นคือ เปลี่ยนจากนโยบายสงครามและเข่นฆ่ามาเป็นนโยบายปฏิรูปและหลอกลวง เปลี่ยนจากนโยบายไม้แข็งมาเป็นนโยบายไม้อ่อน และเปลี่ยนจากนโยบายการทหารมาเป็นนโยบายการเมือง. ทำไมจึงมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เล่า? ชนชั้นนายทุนและก๊กมินตั๋งเมื่อเผชิญหน้ากับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ก็จำต้องแสวงหาพันธมิตรจากชนชั้นกรรมาชีพเป็นการชั่วคราว เช่นเดียวกับที่เราแสวงหาพันธมิตรจากชนชั้นนายทุนฉะนั้น. การพิจารณาปัญหาจะต้องเริ่มต้นจากจุดนี้. ในด้านสากล การที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้เปลี่ยนจากการเป็นอริกับสหภาพโซเวียตมาเป็นการร่วมกับสหภาพโซเวียต๖ นั้น เหตุผลก็อย่างเดียวกัน. ภาระหน้าที่ภายในประเทศของเรา ก็เปลี่ยนจากภาระหน้าที่ทางการทหารมาเป็นภาระหน้าที่ทางการเมืองเช่นกัน. เราไม่ต้องการเล่นเล่ห์เพทุบาย จุดมุ่งหมายของเราอยู่ที่สามัคคีบรรดาผู้ที่เห็นใจการต่อต้านญี่ปุ่นในหมู่ชนชั้นนายทุนและก๊กมินตั๋ง ร่วมกันไปเอาชนะจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น.
 

ต่อสู้เพื่อช่วงชิงมวลชนเรือนแสน

เรือนล้านให้เข้าสู่

แนวร่วมประชาชาติต่อต้านญี่ปุ่น *

(๗ พฤษภาคม ๑๙๓๗)

 

          สหายทั้งหลาย! ในระหว่างอภิปรายกันเมื่อไม่กี่วันมานี้, ท่านทั้งหลายต่างได้แสดงความเห็นชอบด้วยกับคำรายงานของข้าพเจ้าเรื่อง “ภาระหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสมัยต่อต้านญี่ปุ่น” มีสหายบางคนเท่านั้นที่ได้เสนอความเห็นที่แตกต่างออกไป. ความเห็นที่แตกต่างเหล่านี้ของพวกเขาค่อนข้างจะสำคัญ ฉะนั้น ในคำสรุปของข้าพเจ้า ก่อนอื่นจึงขออภิปรายถึงความเห็นเหล่านี้ แล้วค่อยกล่าวถึงปัญหาอื่น ๆ บ้าง. 

 

ปัญหาสันติภาพ

 

          พรรคเราได้ต่อสู้เพื่อสันติภาพภายในประเทศมาเป็นเวลาเกือบ ๒ ปีแล้ว. ภายหลังการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคก๊กมินตั๋งสมัยที่ ๓ เราไดกล่าวว่า สันติภาพนั้นได้มาแล้ว ขั้นแห่ง “การช่วงชิงสันติภาพ” ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ภาระหน้าที่ใหม่นั้นคือ “เสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพ”, และชี้ให้เห็นว่า ภาระหน้าที่ใหม่นี้เกี่ยวพันกับ “การช่วงชิงประชาธิปไตย”—เสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพด้วยการช่วงชิงประชาธิปไตย. แต่ตามคำกล่าวของสหายบางคน ความเห็นของเรานี้กลับฟังไม่ขึ้น. ข้อสรุปของพวกเขาจึงย่อมจะเป็นข้อสรุปที่ตรงกันข้าม หรือกวัดแกว่งอยู่ระหว่างความเห็นทั้งสองนี้. เพราะพวกเขากล่าวว่า “ญี่ปุ่นถอยแล้ว นานกิงโลเลยิ่งขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประชาชาติกำลังลดลง ความขัดแย้งภายในประเทศกำลังขึ้นสูง”. แน่ละ โดยการคาดคะเนนี้ ย่อมจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าขั้นใหม่และภาระหน้าที่ใหม่, และสภาพการณ์ก็จะหวนกลับไปสู่ขั้นเก่าหรือเลวยิ่งกว่านั้น. ความเห็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ถูกต้อง. 

           ที่เรากล่าวว่าสันติภาพได้มาแล้วนั้น มิได้หมายความว่าสันติภาพมั่นคงแล้ว ตรงกันข้าม เรากลับบอกว่ามันไม่มั่นคง. สันติภาพปรากฏเป็นจริงขึ้นแล้วกับสันติภาพมั่นคงแล้วเป็นคนละเรื่องกัน. การที่ประวัติศาสตร์จะย้อนกลับไปสู่ทางเดิมชั่วคราวและสันติภาพจะประสบอุปสรรคนั้น ย่อมมีความเป็นไปได้ เพราะเหตุว่าจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น พวกทรยศชาติและกลุ่มนิยมญี่ปุ่นยังมีอยู่. แต่ก็เป็นความจริงที่สันติภาพได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นหลังจากกรณีซีอาน และสภาพการณ์เช่นนี้ก็สืบเนื่องมาจากเหตุหลายด้าน (เข็มมุ่งพื้นฐานในการเข้าตีของญี่ปุ่น, การสนับสนุนสันติภาพของสหภาพโซเวียตและอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส การบีบบังคับของประชาชนจีน เข็มมุ่งสันติภาพในกรณีซีอานและนโยบายยุติการเป็นอริกันระหว่างอำนาจรัฐทั้งสองของพรรคคอมมิวนิสต์ การแยกตัวของชนชั้นนายทุน การแยกของตัวพรรคก๊กมินตั๋ง ฯลฯ) หาใช่เป็นสิ่งที่เจียงไคเช็คจะกำหนดหรือทำลายได้โดยลำพังคนเดียวไม่. ถ้าจะทำลายสันติภาพ ก็ต้องสู้กับอิทธิพลหลายด้าน และก็ต้องเข้ากับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มนิยมญี่ปุ่นจึงจะสำเร็จได้. ไม่เป็นปัญหาเลย จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นและกลุ่มนิยมญี่ปุ่นยังคงพยายามที่จะให้จีนทำสงครามกลางเมืองต่อไป. การที่สันติภาพไม่มั่นคง เหตุผลก็อยู่ที่ตรงนี้. ในสภาพการณ์เช่นนี้ ข้อสรุปของเราแทนที่จะหวนกลับไปสู่คำขวัญเก่าที่ว่า “ยุติสงครามกลางเมือง” หรือ “ช่วงชิงสันติภาพ” กลับรุดหน้าไปอีกก้าวหนึ่ง โดยเสนอคำขวัญใหม่ให้ “ช่วงชิงประชาธิปไตย” ด้วยการทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะเสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพได้, และก็ด้วยการทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะทำให้สงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้นได้. ทำไมเราจึงได้เสนอคำขวัญ ๓ ประการ อันได้แก่ “เสริมความมั่นคงให้แก่สันติภาพ” ช่วงชิงประชาธิปไตย” และ “ทำให้สงครามต่อต้านปรากฏเป็นจริงขึ้น” ซึ่งเป็นองค์รวมอันเดียวกันนั้นเล่า? เพราะว่าเราทำเพื่อจะผลักดันกงล้อแห่งการปฏิวัติของเราให้เคลื่อนไปอีกก้าวหนึ่ง และเพราะว่าสภาพการณ์อำนวยให้เราเคลื่อนไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว. ถ้าหากปฏิเสธขั้นใหม่และภาระหน้าที่ใหม่ ปฏิเสธ “การเริ่มเปลี่ยนแปลง” ของก๊กมินตั๋ง และทั้งข้อสรุปในทางตรรกก็จำต้องปฏิเสธผลสำเร็จทั้งปวงที่เกิดจากความพยายามของอิทธิพลกลุ่มต่าง ๆ ที่ต่อสู้เพื่อช่วงชิงสันติภาพในระยะหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาแล้ว เราก็ได้แต่ทำให้ตนเองหยุดชะงักอยู่ในที่เดิม, มิได้ก้าวไปข้างหน้าเลยแม้แต่ก้าวเดียว. 

           ทำไมสหายเหล่านี้จึงได้มีการคาดคะเนที่ไม่เหมาะเช่นนั้นเล่า? เหตุผลก็คือ ในการพิจารณาสถานการณ์ พวกเขาไม่เริ่มต้นจากจุดมูลฐาน หากเริ่มต้นจากปรากฏการณ์เฉพาะส่วนและชั่วครู่ชั่วยามจำนวนมาก (การทูตซาโต การพิพากษาคดีที่ซูโจว การปราบการนัดหยุดงาน การเคลื่อนย้ายกองทัพอีสานไปทางตะวันออก หยางหู่เฉิงเดินทางไปต่างประเทศ ฯลฯ) ดังนั้น จึงได้ประกอบขึ้นเป็นภาพที่มืดมัว. เรากล่าวว่าก๊กมินตั๋งได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ขณะเดียวกันเราก็กล่าวว่าก๊กมินตั๋งมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างถึงที่สุด. การที่จะให้นโยบายปฏิกิริยาของก๊กมินตั๋งซึ่งดำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ ปี เปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงที่สุดโดยที่เราและประชาชนไม่ต้องใช้ความพยายามใหม่ที่ทั้งมากและใหญ่หลวงยิ่งขึ้นนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะคาดคิดได้. ผู้ที่ได้ชื่อว่าพวกเอียง “ซ้าย” จำนวนไม่น้อย เวลาปรกติก็ด่าก๊กมินตั๋งอย่างเจ็บแสบ ระหว่างกรณีซีอานก็มีความคิดเห็นให้ฆ่าเจียงไคเช็คและ “ตีออกไปนอกถุงกวาน” แต่พอสันติภาพเพิ่งจะปรากฏเป็นจริงและเกิดเหตุการณ์เช่นการพิพากษาคดีที่ซูโจวขึ้น พวกเขาก็ถามด้วยน้ำเสียงประหลาดใจว่า “ทำไมเจียงไคเช็คจึงทำอย่างนี้อีกล่ะ?”, เขาเหล่านั้นจะต้องเข้าใจว่า ทั้งสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และเจียงไคเช็คต่างก็ไม่ใช่เทวดา และก็ไม่ใช่เอกชนที่อยู่โดดเดี่ยว, หากเป็นบุคคลที่อยู่ในพรรคพรรคหนึ่ง ในชนชั้นชนชั้นหนึ่ง. พรรคคอมมิวนิสต์มีความสามารถที่จะผลักดันให้การปฏิวัติรุดหน้าไปทีละก้าว ๆ แต่ไม่มีความสามารถที่จะขจัดสิ่งชั่วร้ายทั่วประเทศให้หมดสิ้นไปในเช้าวันเดียว. เจียงไคเช็คหรือก๊กมินตั๋งได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ถ้าปราศจากความพยายามที่มากยิ่งขึ้นของประชาชนทั่วประเทศ ก็ไม่อาจจะชำระสิ่งสกปรกโสมมที่มีมาเป็นเวลา ๑๐ ปีของพวกเขาให้หมดสิ้นไปได้ในเช้าวันเดียวอย่างเด็ดขาด. เรากล่าวว่า ทิศทางแห่งการเคลื่อนไหวนั้นมุ่งไปสู่สันติภาพ ประชาธิปไตยและสงครามต่อต้าน, แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า พิษร้ายเก่าเช่นสงครามกลางเมือง, เผด็จการและการไม่ต่อต้านนั้นจะกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม. พิษร้ายเก่า สิ่งสกปรกโสมม อุปสรรคบางอย่างในวิถีดำเนินแห่งการปฏิวัติ และการย้อนกลับไปสู่ทางเดิมที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น จะเอาชนะได้ก็โดยผ่านการต่อสู้และใช้ความพยายามเท่านั้น ทั้งเป็นการต่อสู้และใช้ความพยายามที่กินเวลายาวนานด้วย. 

           “พวกเขาตั้งหน้าจะทำลายเรา”.  ถูกแล้ว พวกเขามุ่งจะทำลายเราอยู่เสมอ ข้าพเจ้ายอมรับความถูกต้องของการคาดคะเนนี้โดยสิ้นเชิง ถ้าไม่คาดคะเนถึงข้อนี้ก็เท่ากับนอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น. แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า แบบวิธีในการทำลายนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่. ข้าพเจ้าคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงแล้ว. นั่นคือ เปลี่ยนจากนโยบายสงครามและเข่นฆ่ามาเป็นนโยบายปฏิรูปและหลอกลวง เปลี่ยนจากนโยบายไม้แข็งมาเป็นนโยบายไม้อ่อน และเปลี่ยนจากนโยบายการทหารมาเป็นนโยบายการเมือง. ทำไมจึงมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เล่า? ชนชั้นนายทุนและก๊กมินตั๋งเมื่อเผชิญหน้ากับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ก็จำต้องแสวงหาพันธมิตรจากชนชั้นกรรมาชีพเป็นการชั่วคราว เช่นเดียวกับที่เราแสวงหาพันธมิตรจากชนชั้นนายทุนฉะนั้น. การพิจารณาปัญหาจะต้องเริ่มต้นจากจุดนี้. ในด้านสากล การที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้เปลี่ยนจากการเป็นอริกับสหภาพโซเวียตมาเป็นการร่วมกับสหภาพโซเวียต นั้น เหตุผลก็อย่างเดียวกัน. ภาระหน้าที่ภายในประเทศของเรา ก็เปลี่ยนจากภาระหน้าที่ทางการทหารมาเป็นภาระหน้าที่ทางการเมืองเช่นกัน. เราไม่ต้องการเล่นเล่ห์เพทุบาย จุดมุ่งหมายของเราอยู่ที่สามัคคีบรรดาผู้ที่เห็นใจการต่อต้านญี่ปุ่นในหมู่ชนชั้นนายทุนและก๊กมินตั๋ง ร่วมกันไปเอาชนะจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น.