bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

ปัญหาอนาคตของการปฏิวัติ

 

ปัญหาอนาคตของการปฏิวัติ
 
สหายบางคนได้เสนอปัญหานี้ขึ้น ข้าพเจ้าได้แต่ตอบสั้น ๆ เท่านั้น.
ความเรียงเรื่องใดที่มีสองภาค คือภาคต้นกับภาคปลาย, ย่อมต้องเขียนภาคต้นให้ดีเสียก่อน จึงจะเขียนภาคปลายให้ดีได้. การนำการปฏิวัติประชาธิปไตยอย่างเด็ดเดี่ยวเป็นเงื่อนไขในการช่วงชิงชัยชนะแห่งสังคมนิยม. เราต่อสู้เพื่อสังคมนิยม, ในข้อนี้เราแตกต่างกับชาวลัทธิไตรราษฎร์ที่ปฏิวัติทั้งหลาย. ความพยายามของเราในปัจจุบันนั้นมุ่งไปสู่เป้าหมายใหญ่ในอนาคต ถ้าละจากเป้าหมายใหญ่นี้เสียแล้ว เราก็มิใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์. แต่ถ้าเราคลายความพยายามในเวลานี้, ก็มิใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกัน.
เราเป็นผู้ถือทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแหง่การปฏิวัติ๗, ถือความคิดเห็นให้การปฏิวัติประชาธิปไตยเปลี่ยไปสู่ทิศทางสังคมนิยม. ในระหว่างการปฏิวัติประชาธิปไตย จะมีขั้นพัฒนหลายขั้น ซึ่งล้วนแต่อยู่ภายใต้คำขวัญว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยทั้งสิ้น. จากขั้นที่ชนชั้นนายทุนมีความเหนือกว่าถึงขั้นที่ชนชั้นกรรมาชีพมีความเหนือกว่านั้น เป็นกระบวนการแห่งการต่อสู้อันยาวยืด เป็นกระบวนการแห่งการช่วงชิงอำนาจการนำ ซึ่งจะต้องอาศัยพรรคคอมมิวนิสต์ไปยกระดับความตื่นตัวและระดับการจัดตั้งของชนชั้นกรรมาชีพให้สูงขึ้น, ยกระดับความตื่นตัวและระดับการจัดตั้งของชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองให้สูงขึ้น.
พันธมิตรที่มั่นคงของชนชั้นกรรมาชีพคือชาวนา รองลงมาคือชนชั้นนายทุนน้อยในเมือง. ผู้ที่แย่งชิงอำนาจการนำกับเรานั้นคือชนชั้นนายทุน.
การเอาชนะความโลเลและลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของชนชั้นนายทุนนั้น จะต้องอาศัยกำลังของมวลชนและนโยบายที่ถูกต้อง มิฉะนั้น ชนชั้นนายทุนก็จะกลับเป็นฝ่ายเอาชนะชนชั้นกรรมาชีพ.
การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หลั่งเลือดเป็นสิ่งที่เราปรารถนา เราควรต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นไปเช่นนี้ แต่ผลนั้นขึ้นอยู่กับกำลังของมวลชนว่ามีมากน้อยเพียงไร.
เราเป็นผู้ถือทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแห่งการปฏิวัติ, มิใช่ผู้ถือทฤษฎีว่าด้วย “การปฏิวัติไม่ขาดสาย” แห่งลัทธิทรอตสกี้.๘ เราถือความคิดเห็นให้บรรลุสังคมนิยมโดยผ่านขั้นที่จำเป็นทุกขั้นของสาธารณรัฐประชาธิปไตย. เราคัดค้านลัทธิช้างเท้าหลัง แต่ก็คัดค้านลัทธิเสี่ยงภัยและโรคใจร้อน.
การปฏิเสธชนชั้นนายทุนเพราะลักษณะชั่วคราวในการเข้าร่วมการปฏิวัติของชนชั้นนี้ และหาว่าการร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นในชนชั้นนายทุน (ในกึ่งเมืองขึ้น) เป็นลัทธิยอมจำนนนั้น เป็นคำกล่าวของลัทธิทรอตสกี้ ซึ่งเราจะเห็นด้วยไม่ได้. ในปัจจุบัน การร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นในชนชั้นนายทุนนั้น เป็นสะพานที่จำเป็นต้องข้ามในการก้าวไปสู่สังคมนิยม.
 

ปัญหาอนาคตของการปฏิวัติ

 

          สหายบางคนได้เสนอปัญหานี้ขึ้น ข้าพเจ้าได้แต่ตอบสั้น ๆ เท่านั้น. 

          ความเรียงเรื่องใดที่มีสองภาค คือภาคต้นกับภาคปลาย, ย่อมต้องเขียนภาคต้นให้ดีเสียก่อน จึงจะเขียนภาคปลายให้ดีได้. การนำการปฏิวัติประชาธิปไตยอย่างเด็ดเดี่ยวเป็นเงื่อนไขในการช่วงชิงชัยชนะแห่งสังคมนิยม. เราต่อสู้เพื่อสังคมนิยม, ในข้อนี้เราแตกต่างกับชาวลัทธิไตรราษฎร์ที่ปฏิวัติทั้งหลาย. ความพยายามของเราในปัจจุบันนั้นมุ่งไปสู่เป้าหมายใหญ่ในอนาคต ถ้าละจากเป้าหมายใหญ่นี้เสียแล้ว เราก็มิใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์. แต่ถ้าเราคลายความพยายามในเวลานี้, ก็มิใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกัน. 

          เราเป็นผู้ถือทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแหง่การปฏิวัติ, ถือความคิดเห็นให้การปฏิวัติประชาธิปไตยเปลี่ยไปสู่ทิศทางสังคมนิยม. ในระหว่างการปฏิวัติประชาธิปไตย จะมีขั้นพัฒนหลายขั้น ซึ่งล้วนแต่อยู่ภายใต้คำขวัญว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยทั้งสิ้น. จากขั้นที่ชนชั้นนายทุนมีความเหนือกว่าถึงขั้นที่ชนชั้นกรรมาชีพมีความเหนือกว่านั้น เป็นกระบวนการแห่งการต่อสู้อันยาวยืด เป็นกระบวนการแห่งการช่วงชิงอำนาจการนำ ซึ่งจะต้องอาศัยพรรคคอมมิวนิสต์ไปยกระดับความตื่นตัวและระดับการจัดตั้งของชนชั้นกรรมาชีพให้สูงขึ้น, ยกระดับความตื่นตัวและระดับการจัดตั้งของชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองให้สูงขึ้น. 

          พันธมิตรที่มั่นคงของชนชั้นกรรมาชีพคือชาวนา รองลงมาคือชนชั้นนายทุนน้อยในเมือง. ผู้ที่แย่งชิงอำนาจการนำกับเรานั้นคือชนชั้นนายทุน. 

          การเอาชนะความโลเลและลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของชนชั้นนายทุนนั้น จะต้องอาศัยกำลังของมวลชนและนโยบายที่ถูกต้อง มิฉะนั้น ชนชั้นนายทุนก็จะกลับเป็นฝ่ายเอาชนะชนชั้นกรรมาชีพ. 

          การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หลั่งเลือดเป็นสิ่งที่เราปรารถนา เราควรต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นไปเช่นนี้ แต่ผลนั้นขึ้นอยู่กับกำลังของมวลชนว่ามีมากน้อยเพียงไร. 

          เราเป็นผู้ถือทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแห่งการปฏิวัติ, มิใช่ผู้ถือทฤษฎีว่าด้วย “การปฏิวัติไม่ขาดสาย” แห่งลัทธิทรอตสกี้. เราถือความคิดเห็นให้บรรลุสังคมนิยมโดยผ่านขั้นที่จำเป็นทุกขั้นของสาธารณรัฐประชาธิปไตย. เราคัดค้านลัทธิช้างเท้าหลัง แต่ก็คัดค้านลัทธิเสี่ยงภัยและโรคใจร้อน.   

          การปฏิเสธชนชั้นนายทุนเพราะลักษณะชั่วคราวในการเข้าร่วมการปฏิวัติของชนชั้นนี้ และหาว่าการร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นในชนชั้นนายทุน (ในกึ่งเมืองขึ้น) เป็นลัทธิยอมจำนนนั้น เป็นคำกล่าวของลัทธิทรอตสกี้ ซึ่งเราจะเห็นด้วยไม่ได้. ในปัจจุบัน การร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นในชนชั้นนายทุนนั้น เป็นสะพานที่จำเป็นต้องข้ามในการก้าวไปสู่สังคมนิยม.