หมายเหตุ
* เรื่องนี้เป็นคำสรุปที่สหายเหมาเจ๋อตุงกล่าวในที่ประชุมผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเมื่อเดือน
พฤษภาคม ปี ๑๙๓๗.
๑. ภายหลังกรณีซีอาน พวกจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นได้แสดงท่าทีผ่อนคลายทางภายนอกเป็นการชั่วคราว เพื่อจะผลักดันให้ทางการ
ก๊กมินตั๋งทำลายสันติภาพภายในประเทศของจีนซึ่งเริ่มปรากฏเป็นจริงขึ้นแล้วในเวลานั้น และทำลายแนวร่วมประชาชาติต่อ
ต้านญี่ปุ่นซึ่งกำลังค่อย ๆ ก่อรูปขึ้น. โจรญี่ปุ่นได้ยุยงส่งเสริมให้รัฐบาลปกครองตนเองเถื่อนของมองโกเลียในส่งโทรเลข
สนับสนุนรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานกิงสองครั้ง คือ เมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖ ครั้งหนึ่ง และเมื่อเดือนมีนาคม ปี ๑๙๓๗ อีกครั้ง
หนึ่ง. ยิ่งกว่านั้น ซาโตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นยังได้เกลี้ยกล่อมเจียงไคเช็คอย่างออกหน้าออกตา โดย
แสร้งแถลงว่าจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่ญี่ปุ่นมีต่อจีนในอดีต ช่วยจีนให้เป็นเอกภาพและได้รับการฟื้นฟู. อีกด้านหนึ่ง
ญี่ปุ่นยังได้ให้ขุนคลังเกนยี โกดามากับพวกจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “คณะสังเกตการณ์ทางเศรษฐกิจ” เดินทางมาประเทศจีน โดย
แสร้งแถลงว่าจะช่วยจีน “บรรลุการจัดตั้งรัฐสมัยใหม่”. สิ่งที่เรียกว่า “การทูตซาโต” และที่ว่า “ญี่ปุ่นถอย” ในความเห็นของคน
บางคนที่หลงเชื่อปรากฏการณ์ลวงตาของจักรพรรดินิยมญีปุ่นนั้น ก็หมายถึงแผนกโลบายรุกรานชุดนี้นั่นเอง.
๒. รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้จับกุมเสิ่นจินหรูและคนอื่น ๆ รวม ๗ คน ซึ่งเป็นหัวหน้าที่นำการเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นกอบกู้ประเทศชาติ
ที่เซี่ยงไฮ้ในเวลานั้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๓๖ และอัยการศาลชั้นสูงของก๊กมินตั๋งที่ซูโจวได้ยื่น “ฟ้อง” พวกเขาเมื่อ
เดือนเมษายน ปี ๑๙๓๗. ทางการก๊กมินตั๋งยังคงใช้คำกล่าวปฏิกิริยาที่เคยใช้เรื่อยมาในการกล่าวหาการเคลื่อนไหวรักชาติทั้ง
ปวงว่า “เป็นภัยต่อสาธารณรัฐ” แล “ข้อหา” ที่ปรักปรำเสิ่นจินหรูและคนอื่น ๆ ก็ใช้คำว่า “เป็นภัยต่อสาธารณรัฐ” เช่นเดียวกัน.
๓. ก่อนกรณีซีอาน กองทัพอีสานเดิมประจำอยู่ที่ชายเขตมณฑลส่านซีกับกานซู่และติดต่อสัมพันธ์โดยตรงกับกองทัพแดงภาค
เหนือส่านซี ด้วยเหตุนี้จึงได้รับผลสะเทือนจากกองทัพแดงอย่างลึกซึ้ง ผลสุดท้ายก็ก่อกรณีซีอานขึ้น. เมื่อเดือนมีนาคม ปี
๑๙๓๗ พวกปฏิกิริยาก๊กมินตั๋งได้สั่งย้ายกองทัพอีสานไปทางตะวันออกสู่เหอหนานและอันฮุยโดยพลการ เพื่อจะตัดความ
สัมพันธ์ระหว่างกองทัพแดงกับกองทัพอีสาน และถือโอกาสนี้ก่อความแตกแยกขึ้นภายในกองทัพอีสาน.
๔. หยางหู่เฉิงเป็นหัวหน้าทางการทหารภาคพายัพซึ่งได้ก่อกรณีซีอานขึ้น มีชื่อเสียงเท่าเทียมกับจางโซเหลียง เวลานั้นเขาทั้งสอง
ได้ชื่อแฝดว่า “จาง-หยาง”. เมื่อปล่อยตัวเจียงไคเช็คแล้ว จางโซเหลียงได้ส่งเจียงกลับนานกิง, พอถึงก็ถูกกักตัวทันที. เมื่อ
เดือนเมษายน ปี ๑๙๓๗ หยางหู่เฉิงก็ถูกพวกปฏิกิริยาก๊กมินตั๋งบังคับให้ออกจากตำแหน่ง และเดินทางไปต่างประเทศ. ภาย
หลังที่สงครามต่อต้านได้ระเบิดขึ้น หยางกลับประเทศจีนเพื่อเตรียมร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น ก็ถูกเจียงไคเช็คคุมขังไว้เป็นเวลา
นาน และในที่สุดถูกสังหารในค่ายกักกันในขณะที่กองทัพปลดแอกประชาชนยกเข้าประชิดจุงกิงเมื่อเดือนกันยายน ปี
๑๙๔๙.
๕. ถุงกวานเป็นด่านสำคัญทางการทหารที่ชายเขตมณฑลระหว่างส่านซี เหอหนาน กับซานซี. เมื่อเกิดกรณีซีอาน กองทหารก๊ก
มินตั๋งประจำอยู่ทางตะวันออกของถุงกวานเป็นส่วนใหญ่ เวลานั้นผู้ที่ได้ชื่อว่าเอียง “ซ้าย” บางคน (จางกว๋อเถาเป็นคนหนึ่งใน
จำนวนนั้น) ถือความคิดเห็นให้ “ตีออกไปนอกถุงกวาน” ซึ่งก็คือ ให้เข้าตีกองทหารก๊กมินตั๋ง. ความคิดเห็นนี้ตรงกันข้ามกับเข็ม
มุ่งของศูนย์กลางพรรคที่ให้จัดการกับกรณีซีอานด้วยสันติวิธี.
๖. ภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย จักรพรรดินิยมฝรั่งเศสได้ดำเนินนโยบายที่เป็นอริกับสหภาพโซเวียตอยู่เป็นเวลา
ยาวนาน. หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมไม่นาน รัฐบาลฝรั่งเศสก็เข้าร่วมอย่างแข็งขนในการแทรกแซงด้วยกำลังอาวุธซึ่ง ๑๔
ประเทศกระทำต่อสหภาพโซเวียตระหว่างปี ๑๙๑๘ ถึงปี ๑๙๒๐ และเมื่อการแทรกแซงครั้งนี้ล้มเหลวลงแล้ว ก็ยังคงดำเนิน
นโยบายปฏิกิริยาที่ทำให้สหภาพโซเวียตอยู่โดดเดี่ยวอีกต่อไป. จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี ๑๙๓๕ เนื่องจากการทูต
สันติภาพของสหภาพโซเวียตได้ส่งผลสะเทือนเข้าไปในหมู่ประชาชนฝรั่งเศส และเนื่องจากการคุกคามของฟัสซิสต์เยอรมัน
ต่อฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงได้ทำสนธิสัญญาช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับสหภาพโซเวียต. แต่ในเวลาต่อมา รัฐบาลปฏิกิริยาฝรั่งเศสก็
หาได้ปฏิบัติตามสนธิสัญญานี้อย่างซื่อสัตย์ไม่.
๗. โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” ของมาร์กซกับเองเกลส์ ส่วนที่ ๔ เรื่อง “ยุทธวิธีสองอย่างของ
พรรคสังคมประชาธิปไตยในการปฏิวัติประชาธิปไตย” ของเลนิน ส่วนที่ ๑๒-๑๓ และเรื่อง “แบบเรียนประวัติศาสตร์พรรค
คอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (บอลเชวิค) ฉบับสังเขป” บทที่ ๓ ตอนที่ ๓.
๘. โปรดอ่านประกอบจากนิพนธ์ของสตาลิน เรื่อง “ว่าด้วยรากฐานลัทธิเลนิน” ส่วนที่ ๓ เรื่อง “การปฏิวัติเดือนตุลาคมกับยุทธวิธี
ของชาวพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย” ส่วนที่ ๒ และเรื่อง “ว่าด้วยปัญหาบางประการของลัทธิเลนิน” ส่วนที่ ๓.
๙. จากปาฐกถาของสตาลินที่กล่าวในที่ประชุมประกอบพิธีสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาสถาบันกองทัพแดงเมื่อเดือนพฤษภาคม
ปี ๑๙๓๕ ซึ่งมีข้อความว่า “คน ผู้ปฏิบัติงานเป็นทุนที่มีค่าที่สุดและมีความหมายชี้ขาดที่สุดในบรรดาทุนที่มีค่าทั้งปวงในโลก.
จะต้องเข้าใจว่า ภายใต้เงื่อนไขของเราในปัจจุบัน ‘ผู้ปฏิบัติงานชี้ขาดทุกสิ่งทุกอย่าง’”.
๑๐. หมายถึงความแตกต่างระหว่างแนวทางของศูนย์กลางพรรคกับแนวทางถอยหนีของจางกว๋อเถาระหว่างปี ๑๙๓๕ ถึงปี ๑๙๓๖.
โปรดอ่านประกอบจากหมายเหตุ ๒๒ ของเรื่อง “ว่าด้วยยุทธวิธีคัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น”. ที่สหายเหมาเจ๋อตุงกล่าวไว้ในที่
นี้ว่า “ความแตกต่าง...ได้แก้ตกไปแล้ว” นั้น หมายถึงกองทัพแดงด้านที่ ๔ ได้บรรจบกับกองทัพแดงส่วนกลาง. ส่วนที่จา
งกว๋อเถาทรยศต่อพรรคอย่างเปิดเผยและเสื่อมทรามลงเป็นพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติในเวลาต่อมานั้น หาใช่ปัญหาเกี่ยวกับแนวทาง
การนำอีกไม่, หากเป็นเพียงพฤติกรรมทรยศของส่วนบุคคลเท่านั้น.
หมายเหตุผู้แปล
1. การลักลอบสินค้าในที่นี้ หมายถึงการลักลอบนำสินค้าญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศจีน.
2. “การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ” เป็นคำขวัญที่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นเสนอขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินการปล้น
สะดมและรุกรานทางเศรษฐกิจต่อประเทศจีน.