bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

หมายเหตุ

 

หมายเหตุ
 
*   ในพรรคของเรา เคยมีสหายส่วนหนึ่งที่ถือลัทธิคัมภีร์ ได้ปฏิเสธความจัดเจนจากการปฏิวัติ ของจีนอยู่เป็นเวลานาน พวกเขาไม่ยอมรับสัจธรรมที่ว่า “ลัทธิมาร์กซมิใช่คัมภีร์ หากเป็นเข็มทิศของการกระทำ” ได้แต่คว้าเอาคำบางคำประโยคบางประโยคในหนังสือลัทธิมาร์กซไปใช้อย่างสุกเอาเผากินเพื่อขู่คน. ยังมีสหายอีกส่วนหนึ่งที่ถือลัทธิจัดเจน ฝังแน่นอยู่ด้วยความ ดเจนอันกระท่อนกระแท่นของตัวเองอยู่เป็นเวลานาน พวกเขาไม่เข้าใจความสำคัญของทฤษฎีที่มีต่อการปฏิบัติทางการปฏิวัติ และมองไม่เห็นส่วนทั้งหมดของการปฏิวัติ แม้ว่าพวกเขาก็ทำงานอย่างเหนื่อยยากมาเหมือนกัน—แต่ก็ทำไปอย่างหลับหูหลับตา. ความคิดที่ผิดของสหายทั้งสองประเภทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดลัทธิคัมภีร์ เคยทำให้การปฏิวัติของจีนได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาแล้วระหว่างปี ๑๙๓๑ ถึงปี ๑๙๓๔ ส่วนพวกลัทธิ คัมภีร์นั้นสวมเสื้อคลุมลัทธิมาร์กซมาหลอกให้สหายของเราหลงผิดไปเป็นจำนวนมากมาย. “ว่าด้วยการปฏิบัติ” ของสหายเหมาเจ๋อตุงเขียนขึ้นเพื่อจะใช้ทรรศนะทฤษฎีความรับรู้แห่ง      ลัทธิมาร์กซเปิดโปงความผิดพลาดทางลัทธิอัตวิสัยของลัทธิคัมภีร์และลัทธิจัดเจนภายในพรรค—โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิคัมภีร์. เนื่องจากจุดหนักอยู่ที่เปิดโปงลัทธิอัตวิสัยชนิดลัทธิคัมภีร์ที่ดูเบาการปฏิบัติ ดังนั้นจึงให้ชื่อเรื่องว่า “ว่าด้วยการปฏิบัติ”. สหายเหมาเจ๋อตุงได้เคยนำทรรศนะในนิพนธ์เรื่องนี้ไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองต่อต้านญี่ปุ่นที่เยนอานมาแล้ว.
๑. ตอนนี้อ้างจากเรื่อง “สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน.
๒. โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “หลักว่าด้วยฟอยเออร์บัค” ของมาร์กซและเรื่อง “วัตถุนิยมกับลัทธิวิพากษ์จัดเจน” ของเลนิน บทที่ ๒ ตอนที่ ๖.
๓. ตอนนี้อ้างจากเรื่อง “ สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน.
๔. โปรดอ่านประกอบจากคำพูดของเลนินที่ว่า “เพื่อความเข้าใจ จะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจและค้นคว้าทางความจัดเจน แล้วขยับสูงขึ้นจากความจัดเจนไปสู่ทั่วไป” ในหนังสือเรื่อง “สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน.
๕. อ้างจากเรื่อง “จะทำอะไรดี?” ของเลนิน บทที่ ๑ ตอนที่ ๔.
๖. อ้างจากเรื่อง “วัตถุนิยมกับลัทธิวิพากษ์จัดเจน” ของเลนิน. โปรดอ่านประกอบจากบทที่ ๒ ตอนที่ ๖ ของหนังสือเล่มนี้.
๗. อ้างจากเรื่อง “ว่าด้วยรากฐานลัทธิเลนิน” ของสตาลิน. โปรดอ่านประกอบจากภาค ๓ ของหนังสือเล่มนี้.
๘. โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “วัตถุนิยมกับลัทธิวิพากษ์จัดเจน” ของเลนิน บทที่ ๒ ตอนที่ ๕.
 
 
 
 
หมายเหตุผู้แปล
 
1. ซิ่วฉาย คือผู้ที่สอบไล่ได้ตำแหน่งขั้นต่ำสุดในระบอบสอบไล่ราชบัณฑิตศักดินาของจีน.
2. การเคลื่อนไหว “๔ พฤษภาคม” หมายถึงการเคลื่อนไหวปฏิวัติที่คัดค้านจักรพรรดินิยมและศักดินานิยมซึ่งระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๑๙๑๙. ในครึ่งแรกของปี ๑๙๑๙ ประเทศจักรพรรดินิยมอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลีซึ่งเป็นประเทศชนะสงครามในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้มีการประชุมแบ่งปันทรัพย์สินที่ปล้นสะดมจากสงครามกันที่ปารีส และตกลงให้ญี่ปุ่นรับช่วงเอกสิทธิ์ต่าง ๆ ของเยอรมันที่มีอยู่ในมณฑลซานตุงของจีน. วันที่ ๔ พฤษภาคม นักเรียนนักศึกษาในปักกิ่งได้มีการชุมนุมและเดินขบวนสำแดงกำลังแสดงการคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวเป็นรายแรก. รัฐบาลขุนศึกภาคเหนือได้ทำการปราบปรามและจับกุมนักเรียนนักศึกษาไป ๓๐ กว่าคน. ด้วยเหตุนี้ นักเรียนนักศึกษาในปักกิ่งจึงได้ประท้วงด้วยการนัดหยุดเรียน และนักเรียนนักศึกษาในที่อื่น ๆ ก็พากันลุกขึ้นสนับสนุน. เริ่มแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ในปักกิ่ง รัฐบาลขุนศึกภาคเหนือได้ทำการจับกุมอย่างขนานใหญ่ยิ่งกว่าครั้งแรก ชั่วเวลาสองวันก็จับกุมนักเรียนนักศึกษาไปประมาณพันคน. กรณี ๓ มิถุนายนได้ทำให้ประชาชนทั่วประเทศโกรธแค้นมากขึ้น. ตั้งแต่วันที่ ๕ มิถุนายน กรรมกรในเซี่ยงไฮ้และในที่อื่น ๆ อีกมากมายหลายแห่งได้พากันนัดหยุดงาน บรรดาพ่อค้าก็พากันนัดหยุดค้าต่อเนื่องกันไป. แต่นั้นมาการเคลื่อนไหวรักชาติซึ่งเดิมทีมีพวกปัญญาชนเข้าร่วมเป็นสำคัญก็ได้ขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวรักชาติที่มีขอบเขตทั่วประเทศโดยมีชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุนน้อยและชนชั้นนายทุนเข้าร่วมด้วย. พร้อม ๆ กับที่การเคลื่อนไหวรักชาติได้ขยายตัวออกไปนั้น การเคลื่อนไหววัฒนธรรมใหม่ที่คัดค้านจักรพรรดินิยม ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้นก่อนกรณี “๔ พฤษภาคม” นั้น ก็ได้ขยายตัวไปเป็นการเคลื่อนไหววัฒนธรรมปฏิวัติที่มีขอบเขตกว้างขวางใหญ่โตโดยมีการโฆษณาลัทธิมาร์กซ-เลนินเป็นกระแสหลักตามไปด้วย.
 
 
 
 

หมายเหตุ

 

     *   ในพรรคของเรา เคยมีสหายส่วนหนึ่งที่ถือลัทธิคัมภีร์ ได้ปฏิเสธความจัดเจนจากการปฏิวัติ ของจีนอยู่เป็นเวลานาน พวกเขาไม่
          ยอมรับสัจธรรมที่ว่า “ลัทธิมาร์กซมิใช่คัมภีร์ หากเป็นเข็มทิศของการกระทำ” ได้แต่คว้าเอาคำบางคำประโยคบางประโยคใน
          หนังสือลัทธิมาร์กซไปใช้อย่างสุกเอาเผากินเพื่อขู่คน. ยังมีสหายอีกส่วนหนึ่งที่ถือลัทธิจัดเจน ฝังแน่นอยู่ด้วยความจัดเจนอัน
          กระท่อนกระแท่นของตัวเองอยู่เป็นเวลานาน พวกเขาไม่เข้าใจความสำคัญของทฤษฎีที่มีต่อการปฏิบัติทางการปฏิวัติ และมอง
          ไม่เห็นส่วนทั้งหมดของการปฏิวัติ แม้ว่าพวกเขาก็ทำงานอย่างเหนื่อยยากมาเหมือนกัน—แต่ก็ทำไปอย่างหลับหูหลับตา. ความ
          คิดที่ผิดของสหายทั้งสองประเภทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดลัทธิคัมภีร์ เคยทำให้การปฏิวัติของจีนได้รับความเสียหาย
          อย่างใหญ่หลวงมาแล้วระหว่างปี ๑๙๓๑ ถึงปี ๑๙๓๔ ส่วนพวกลัทธิ คัมภีร์นั้นสวมเสื้อคลุมลัทธิมาร์กซมาหลอกให้สหายของ
          เราหลงผิดไปเป็นจำนวนมากมาย. “ว่าด้วยการปฏิบัติ” ของสหายเหมาเจ๋อตุงเขียนขึ้นเพื่อจะใช้ทรรศนะทฤษฎีความรับรู้แห่ง  
          ลัทธิมาร์กซเปิดโปงความผิดพลาดทางลัทธิอัตวิสัยของลัทธิคัมภีร์และลัทธิจัดเจนภายในพรรค—โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิ
          คัมภีร์. เนื่องจากจุดหนักอยู่ที่เปิดโปงลัทธิอัตวิสัยชนิดลัทธิคัมภีร์ที่ดูเบาการปฏิบัติ ดังนั้นจึงให้ชื่อเรื่องว่า “ว่าด้วยการปฏิบัติ”.
          สหายเหมาเจ๋อตุงได้เคยนำทรรศนะในนิพนธ์เรื่องนี้ไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองต่อต้านญี่ปุ่นที่เยน
          อานมาแล้ว. 

     ๑.  ตอนนี้อ้างจากเรื่อง “สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน. 

     ๒.  โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “หลักว่าด้วยฟอยเออร์บัค” ของมาร์กซและเรื่อง “วัตถุนิยมกับลัทธิวิพากษ์จัดเจน” ของเลนิน บท
          ที่ ๒ ตอนที่ ๖.

     ๓.  ตอนนี้อ้างจากเรื่อง “ สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน.

     ๔.  โปรดอ่านประกอบจากคำพูดของเลนินที่ว่า “เพื่อความเข้าใจ จะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจและค้นคว้าทางความจัดเจน แล้ว
          ขยับสูงขึ้นจากความจัดเจนไปสู่ทั่วไป” ในหนังสือเรื่อง “สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน. 

     ๕.  อ้างจากเรื่อง “จะทำอะไรดี?” ของเลนิน บทที่ ๑ ตอนที่ ๔. 

     ๖.  อ้างจากเรื่อง “วัตถุนิยมกับลัทธิวิพากษ์จัดเจน” ของเลนิน. โปรดอ่านประกอบจากบทที่ ๒ ตอนที่ ๖ ของหนังสือเล่มนี้. 

     ๗.  อ้างจากเรื่อง “ว่าด้วยรากฐานลัทธิเลนิน” ของสตาลิน. โปรดอ่านประกอบจากภาค ๓ ของหนังสือเล่มนี้. 

     ๘.  โปรดอ่านประกอบจากเรื่อง “วัตถุนิยมกับลัทธิวิพากษ์จัดเจน” ของเลนิน บทที่ ๒ ตอนที่ ๕. 

 

หมายเหตุผู้แปล

 

     1.   ซิ่วฉาย คือผู้ที่สอบไล่ได้ตำแหน่งขั้นต่ำสุดในระบอบสอบไล่ราชบัณฑิตศักดินาของจีน. 

     2.   การเคลื่อนไหว “๔ พฤษภาคม” หมายถึงการเคลื่อนไหวปฏิวัติที่คัดค้านจักรพรรดินิยมและศักดินานิยมซึ่งระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ ๔
          พฤษภาคม ๑๙๑๙. ในครึ่งแรกของปี ๑๙๑๙ ประเทศจักรพรรดินิยมอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลีซึ่งเป็นประเทศ
          ชนะสงครามในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้มีการประชุมแบ่งปันทรัพย์สินที่ปล้นสะดมจากสงครามกันที่ปารีส และตกลงให้ญี่ปุ่น
          รับช่วงเอกสิทธิ์ต่าง ๆ ของเยอรมันที่มีอยู่ในมณฑลซานตุงของจีน. วันที่ ๔ พฤษภาคม นักเรียนนักศึกษาในปักกิ่งได้มีการ
          ชุมนุมและเดินขบวนสำแดงกำลังแสดงการคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวเป็นรายแรก. รัฐบาลขุนศึกภาคเหนือได้ทำการปราบปราม
          และจับกุมนักเรียนนักศึกษาไป ๓๐ กว่าคน. ด้วยเหตุนี้ นักเรียนนักศึกษาในปักกิ่งจึงได้ประท้วงด้วยการนัดหยุดเรียน และ
          นักเรียนนักศึกษาในที่อื่น ๆ ก็พากันลุกขึ้นสนับสนุน. เริ่มแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ในปักกิ่ง รัฐบาลขุนศึกภาคเหนือได้ทำการจับกุม
          อย่างขนานใหญ่ยิ่งกว่าครั้งแรก ชั่วเวลาสองวันก็จับกุมนักเรียนนักศึกษาไปประมาณพันคน. กรณี ๓ มิถุนายนได้ทำให้
          ประชาชนทั่วประเทศโกรธแค้นมากขึ้น. ตั้งแต่วันที่ ๕ มิถุนายน กรรมกรในเซี่ยงไฮ้และในที่อื่น ๆ อีกมากมายหลายแห่งได้พา
          กันนัดหยุดงาน บรรดาพ่อค้าก็พากันนัดหยุดค้าต่อเนื่องกันไป. แต่นั้นมาการเคลื่อนไหวรักชาติซึ่งเดิมทีมีพวกปัญญาชนเข้า
          ร่วมเป็นสำคัญก็ได้ขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวรักชาติที่มีขอบเขตทั่วประเทศโดยมีชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุนน้อยและ
          ชนชั้นนายทุนเข้าร่วมด้วย. พร้อม ๆ กับที่การเคลื่อนไหวรักชาติได้ขยายตัวออกไปนั้น การเคลื่อนไหววัฒนธรรมใหม่ที่คัดค้าน
          จักรพรรดินิยม ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้นก่อนกรณี “๔ พฤษภาคม” นั้น ก็ได้ขยายตัวไปเป็นการ
          เคลื่อนไหววัฒนธรรมปฏิวัติที่มีขอบเขตกว้างขวางใหญ่โตโดยมีการโฆษณาลัทธิมาร์กซ-เลนินเป็นกระแสหลักตามไปด้วย.