bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

๓. ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง

 

๓. ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง
 
ความขัดแย้งดำรงอยู่ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสิ่งทั้งปววง ความขัดแย้งซึมซ่านอยู่ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของแต่ละสิ่งตั้งแต่ต้นจนจบ นี่คือลักษณะทั่วไปและลักษณะสัมบูรณ์ของความขัดแย้งซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้น. บัดนี้ขอกล่าวถึงลักษณะเฉพาะและลักษณะสัมพัทธ์ของความขัดแย้ง.
ปัญหานี้ควรจะค้นคว้าจากสภาพการณ์หลาย ๆ อย่าง.
ก่อนอื่น ความขัดแย้งในรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุชนิดต่าง ๆ ล้วนแต่มีลักษณะเฉพาะทั้งนั้น. การรับรู้วัตถุของคนเรา ก็คือการรับรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุ เพราะว่านอกจากวัตถุที่เคลื่อนไหวแล้ว ก็ไม่มีอะไรอีกในโลก และการเคลื่อนไหวของวัตถุก็จะต้องใช้รูปแบบที่แน่นอนรูปแบบหนึ่ง. สำหรับรูปแบบการเคลื่อนไหวแต่ละชนิดของวัตถุนั้น, เราจะต้องสนใจจุดร่วมกันระหว่างมันกับรูปแบบการเคลื่อนไหวชนิดอื่น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญเป็นพิเศษและที่ประกอบขึ้นเป็นรากฐานในการรับรู้สรรพสิ่งของเรานั้น คือ จะต้องสนใจลักษณะเฉพาะของมัน กล่าวคือ สนใจความแตกต่างทางคุณภาพระหว่างมันกับรูปแบบการเคลื่อนไหวอื่น ๆ. ต่อเมื่อสนใจข้อนี้แล้วเท่านั้น จึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะจำแนกสรรพสิ่ง. รูปแบบการเคลื่อนไหวใด ๆ ภายในของมันล้วนแต่มีความขัดแย้งเฉพาะของตัวมันเองทั้งสิ้น. ความขัดแย้งเฉพาะนี้ประกอบขึ้นเป็นธาตุแท้เฉพาะที่มีสิ่งหนึ่งแตกต่างกับสิ่งอื่น ๆ. นี่แหละคือเหตุภายในหรือเรียกว่ามูลฐานที่สิ่งต่าง ๆ ในโลกมีความแตกต่างกันร้อยแปดพันประการ. ในโลกธรรมชาติมีรูปแบบการเคลื่อนไหวอยู่เป็นอันมาก เช่น การเคลื่อนไหวแบบกลไก, การเกิดเสียง การเกิดแสง การเกิดความร้อน กระแสไฟฟ้า, การแยกตัว การรวมตัว เป็นต้น. บรรดารูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุเหล่านี้ล้วนแต่ดำรงอยู่โดยอาศัยกัน และก็แตกต่างกันในทางธาตุแท้. ธาตุแท้เฉพาะที่รูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุแต่ละอย่างมีอยู่นั้น กำหนดขึ้นโดยความขัดแย้งเฉพาะของมันเอง. สภาพเช่นนี้ไม่เพียงแต่ดำรงอยู่ในโลกธรรมชาติเท่านั้น หากยังดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ทางสังคมและปรากฏการณ์ทางความคิดด้วยเช่นเดียวกัน. รูปแบบสังคมและรูปแบบความคิดแต่ละชนิด มีความขัดแย้งเฉพาะและธาตุแท้เฉพาะของมันเองทั้งนั้น.
การจำแนกในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น ก็อาศัยลักษณะขัดแย้งเฉพาะที่มีอยู่ในเป้าหมายของวิทยาศาสตร์แขนงนั้น ๆ. ด้วยเหตุนี้ การค้นคว้าความขัดแย้งอันใดอันหนึ่งที่มีอยู่เฉพาะในปริมณฑลของปรากฏการณ์อันใดอันหนึ่งนั้น จึงประกอบขึ้นเป็นเป้าหมายของวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ๆ. เช่นจำนวนบวกกับจำนวนลบในคณิตศาสตร์ กิริยากับปฏิกิริยาในกลศาสตร์, ไฟฟ้าลบกับไฟฟ้าบวกในวิชาฟิสิคส์ การแยกตัวกับการรวมตัวในวิชาเคมี พลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิตและการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นกับชนชั้นในวิทยาศาสตร์สังคม การเข้าตีกับการตั้งรับในวิชาการทหาร จิตนิยมกับวัตถุนิยมและทรรศนะอภิปรัชญากับทรรศนะวิภาษวิธีในวิชาปรัชญา เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่ได้ประกอบขึ้นเป็นเป้าหมายของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกันเพราะมีความขัดแย้งเฉพาะและธาตุแท้เฉพาะ. จริงอยู่ ถ้าไม่เข้าใจลักษณะทั่วไปของความขัดแย้ง ก็ไม่มีทางจะค้นพบเหตุทั่วไปหรือมูลฐานทั่วไปแห่งการเคลื่อนไหวพัฒนาของสรรพสิ่งได้; แต่ถ้าไม่ค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง ก็ไม่มีทางจะกำหนดธาตุแท้เฉพาะที่สิ่งหนึ่งแตกต่างกับสิ่งอื่น ก็ไม่มีทางจะค้นพบเหตุเฉพาะหรือมูลฐานเฉพาะแห่งการเคลื่อนไหวพัฒนาของสรรพสิ่ง และก็ไม่มีทางจะแยกสรรพสิ่ง ไม่มีทางจะจำแนกปริมณฑลแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้.
กล่าวสำหรับอันดับในการเคลื่อนไหวรับรู้ของมนุษย์แล้ว, จะอย่างไรเสียก็เป็นการขยายทีละขั้น ๆ จากการรับรู้สิ่งเฉพาะรายและที่เป็นเฉพาะไปสู่การรับรู้สรรพสิ่งทั่วไป. คนเราไม่พ้นที่จะรับรู้ธาตุแท้เฉพาะของสิ่งที่ต่างกันจำนวนมากก่อน แล้วจึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินงานสรุปอีกขั้นหนึ่ง และรับรู้ธาตุแท้ร่วมกันของสิ่งต่าง ๆ ทีหลัง. เมื่อคนเราได้รับรู้ธาตุแท้ร่วมกันชนิดนี้แล้ว ก็จะใช้ความรับรู้ร่วมกันชนิดนี้เป็นเครื่องชี้นำ ทำการค้นคว้าสิ่งรูปธรรมนานาชนิดที่ยังมิได้ค้นคว้าหรือยังมิได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งนั้นอีกต่อไป เพื่อค้นหาให้พบธาตุแท้เฉพาะของมัน เช่นนี้จึงจะสามารถเพิ่มเติม ยังความสมบูรณ์และพัฒนาความรับรู้ในธาตุแท้ร่วมกันชนิดนี้ได้ และทำให้ความรับรู้ในธาตุแท้ร่วมกันชนิดนี้ไม่ถึงกับกลายเป็นสิ่งที่เหี่ยวแห้งและตายซากไป. นี่คือกระบวนการแห่งความรับรู้ ๒ กระบวน: กระบวนการหนึ่งจากเฉพาะสู่ทั่วไป อีกกระบวนการหนึ่งจากทั่วไปสู่เฉพาะ. ความรับรู้ของมนุษย์ย่อมจะดำเนินไปอย่างวนเวียนครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างนี้ และการวนเวียนในแต่ละครั้ง (ขอแต่ให้ทำตามวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวดเท่านั้น) ล้วนแต่มีความเป็นไปได้ที่จะยกระดับความรับรู้ของมนุษย์ให้สูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และทำให้ความรับรู้ของมนุษย์ลึกซึ้งขึ้นอย่างไม่ขาดสาย. ความผิดพลาดของพวกลัทธิคัมภีร์ของเราในปัญหานี้ก็คือ ด้านหนึ่ง ไม่เข้าใจว่า จะต้องค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งและรับรู้ธาตุแท้เฉพาะของสิ่งเฉพาะราย จึงจะมีความเป็นไปได้ในการรับรู้ลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งอย่างเต็มที่และรับรู้ธาตุแท้ร่วมกันของสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่; อีกด้านหนึ่ง ก็ไม่เข้าใจว่า เมื่อเรารับรู้ธาตุแท้ร่วมกันของสรรพสิ่งแล้ว ยังจะต้องค้นคว้าบรรดาสิ่งรูปธรรมที่ยังมิได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งหรือที่เพิ่งปรากฏออกมาใหม่อีกต่อไป. พวกลัทธิคัมภีร์ของเราเป็นคนเกียจคร้าน พวกเขาไม่ยอมทำงานค้นคว้าที่ลำบากยากเข็ญใด ๆ ในสิ่งรูปธรรม พวกเขาเห็นสัจธรรมทั่วไปเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นอย่างลอย ๆ และทำให้มันกลายเป็นสูตรนามธรรมล้วน ๆ ที่คนเราไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ เป็นการปฏิเสธและกลับตาลปัตรอันดับปรกติในการรับรู้สัจธรรมของมนุษย์เสียอย่างสิ้นเชิง. พวกเขาไม่เข้าใจความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันระหว่างกระบวนการทั้งสองในการรับรู้ของมนุษย์—จากเฉพาะสู่ทั่วไป แล้วจากทั่วไปสู่เฉพาะอีก พวกเขาไม่เข้าใจทฤษฎีความรับรู้แห่งลัทธิมาร์กซเลย.
เราไม่เพียงแต่จะต้องค้นคว้าลักษณะขัดแย้งเฉพาะของรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุในระบบใหญ่ ๆ แต่ละระบบและธาตุแท้ที่มันกำหนดขึ้นเท่านั้น หากยังจะต้องค้นคว้าความขัดแย้งเฉพาะของกระบวนการแต่ละกระบวนในระยะทางยาวแห่งการพัฒนาของรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุแต่ละรูปและธาตุแท้ของมันอีกด้วย. ในกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละกระบวนที่เป็นจริงและมิใช่เสกสรรขึ้นของรูปแบบการเคลื่อนไหวทั้งปวงนั้น ล้วนแต่มีคุณภาพที่ต่างกัน. งานค้นคว้าของเราจะต้องเน้นหนักในข้อนี้ และจะต้องเริ่มต้นจากข้อนี้.
ความขัดแย้งที่มีคุณภาพต่างกัน จะแก้ได้ก็ด้วยวิธีการที่มีคุณภาพต่างกันเท่านั้น. เป็นต้นว่า ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุน แก้ด้วยวิธีการปฏิวัติสังคมนิยม; ความขัดแย้งระหว่างเมืองขึ้นกับจักรพรรดินิยม แก้ด้วยวิธีการทำสงครามปฏิวัติประชาชาติ; ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมกรกับชนชั้นชาวนาในสังคมสังคมนิยม แก้ด้วยวิธีการแปรเกษตรกรรมให้เป็นแบบรวมหมู่และเป็นแบบใช้เครื่องจักรกล; ความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์ แก้ด้วยวิธีการวิจารณ์และวิจารณ์ตนเอง; ความขัดแย้งระหว่างสังคมกับธรรมชาติ แก้ด้วยวิธีการพัฒนาพลังการผลิต. เมื่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการเก่าและความขัดแย้งเก่าสูญสิ้นไป กระบวนการใหม่และความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้น วิธีการแก้ความขัดแย้งก็ย่อมจะต่างกันไปด้วย. ความขัดแย้งที่แก้ตกไปและวิธีการที่ใช้แก้ความขัดแย้งในการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์กับการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซียนั้นแตกต่างกันโดยมูลฐาน. การแก้ความขัดแย้งที่ต่างกันด้วยวิธีการที่ต่างกันนั้น เป็นหลักการข้อหนึ่งที่ชาวลัทธิมาร์กซ-เลนินต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด. พวกลัทธิคัมภีร์ไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อนี้ พวกเขาไม่เข้าใจความแตกต่างกันของสภาพการปฏิวัติชนิดต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่เข้าใจว่า ควรต้องแก้ความขัดแย้งที่ต่างกันด้วยวิธีการที่ต่างกัน ตรงกันข้ามพวกเขากลับนำเอาสูตรชนิดที่ตนสำคัญว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ไปใช้ดื้อ ๆ อย่างเป็นแบบเดียวกันหมดทั่วทุกหนทุกแห่ง ซึ่งรังแต่จะทำให้การปฏิวัติประสบความเพลี่ยงพล้ำ หรือไม่ก็ทำให้งานซึ่งความจริงควรจะทำได้ดีนั้นต้องเสียไปหมด.
เพื่อที่จะเผยให้เห็นลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งในด้านองค์รวมหรือในด้านการเกี่ยวพันกันของมัน กล่าวคือ เผยให้เห็นธาตุแท้ของกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ก็จะต้องเผยให้เห็นลักษณะเฉพาะหน้าของด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในกระบวนการ มิฉะนั้นแล้ว การเผยให้เห็นธาตุแท้ของกระบวนการก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ นี่ก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องสนใจอย่างยิ่งในเวลาที่ทำงานค้นคว้า.
สิ่งใหญ่ ๆ สิ่งหนึ่งมีความขัดแย้งจำนวนมากอยู่ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของมัน. เช่น ในกระบวนการแห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีน มีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นที่ถูกกดขี่ต่าง ๆ ในสังคมของจีนกับจักรพรรดินิยม มีความขัดแย้งระหว่างมวลประชาชนกับระบอบศักดินา, มีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุน มีความขัดแย้งระหว่างชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองกับชนชั้นนายทุน มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มปกครองปฏิกิริยากลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่สลับซับซ้อนอย่างยิ่ง. ความขัดแย้งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ต่างมีลักษณะเฉพาะของมัน ซึ่งจะถือเอาเป็นอย่างเดียวกันหมดไม่ได้ ทั้งด้านสองด้านของความขัดแย้งแต่ละอันต่างก็มีลักษณะพิเศษของมันอีก ซึ่งก็จะถือเอาเป็นอย่างเดียวกันหมดไม่ได้เช่นเดียวกัน. เราผู้ดำเนินการปฏิวัติของจีน ไม่เพียงแต่จะต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในองค์รวมของมันแต่ละอัน นัยหนึ่งในความเกี่ยวพันกันของความขัดแย้งเท่านั้น หากยังจะต้องลงมือค้นคว้าด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งด้วย จึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าใจองค์รวมของมัน. ที่ว่าเข้าใจด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งนั้นก็คือ เข้าใจว่าแต่ละด้านของมันต่างอยู่ในฐานะที่เป็นเฉพาะอย่างไร ต่างเกิดความสัมพันธ์ที่ทั้งพึ่งพาอาศัยกันและขัดแย้งกันกับด้านตรงกันข้ามด้วยรูปแบบรูปธรรมชนิดไร, และต่างทำการต่อสู้กับด้านตรงกันข้ามด้วยวิธีการรูปธรรมชนิดไรในระหว่างที่ทั้งสองด้านต่างพึ่งพาอาศัยกันและขัดแย้งกันอยู่และภายหลังที่การพึ่งพาอาศัยกันได้แตกแยกไปแล้ว. การค้นคว้าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. ที่เลนินกล่าวว่า, สิ่งที่เป็นธาตุแท้ที่สุดของลัทธิมาร์กซ วิญญาณที่มีชีวิตของลัทธิมาร์กซ อยู่ที่วิเคราะห์สภาพรูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม๑๐นั้นก็หมายถึงสิ่งที่กล่าวมานี้นั่นเอง. พวกลัทธิคัมภีร์ของเราฝ่าฝืนคำชี้แนะของเลนิน ไม่เคยใช้หัวสมองวิเคราะห์สิ่งใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรมเลย เมื่อเขียนบทความหรือแสดงปาฐกถาทีไร ก็เข้าทำนองการประพันธ์แบบแปดส่วนที่เป็นน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรงอยู่เรื่อย ซึ่งก่อให้เกิดท่วงทำนองที่เลวยิ่งชนิดหนึ่งขึ้นภายในพรรคเรา.
การค้นคว้าปัญหาต้องหลีกเลี่ยงลักษณะอัตวิสัย ลักษณะด้านเดียวและลักษณะผิวเผิน. ที่เรียกว่าลักษณะอัตวิสัยนั้นก็คือ ไม่รู้จักมองปัญหาอย่างภววิสัย ซึ่งก็คือไม่รู้จักมองปัญหาด้วยทรรศนะวัตถุนิยม. ข้อนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในเรื่อง “ว่าด้วยการปฏิบัติ” แล้ว. ที่เรียกว่าลักษณะด้านเดียวนั้นก็คือ ไม่รู้จักมองปัญหาอย่างรอบด้าน. เช่น เข้าใจแต่ด้านจีน ไม่เข้าใจด้านญี่ปุ่น เข้าใจแต่ด้านพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่เข้าใจด้านพรรคก๊กมินตั๋ง เข้าใจแต่ด้านชนชั้นกรรมาชีพ ไม่เข้าใจด้านชนชั้นนายทุน เข้าใจแต่ด้านชาวนา ไม่เข้าใจด้านเจ้าที่ดิน เข้าใจแต่ด้านสภาพการณ์ราบรื่น ไม่เข้าใจด้านสภาพการณ์ยากลำบาก, เข้าใจแต่ด้านอดีต ไม่เข้าใจด้านอนาคต เข้าใจแต่ด้านเอกเทศ, ไม่เข้าใจด้านองค์รวม เข้าใจแต่ด้านข้อบกพร่อง ไม่เข้าใจด้านข้อบกพร่อง ไม่เข้าใจด้านผลสำเร็จ เข้าใจแต่ด้านโจทก์ ไม่เข้าใจด้านจำเลย เข้าใจแต่ด้านงานลับของการปฏิวัติ ไม่เข้าใจด้านงานเปิดเผยของการปฏิวัติ ดังนี้เป็นต้น. รวมความว่า ไม่เข้าใจลักษณะพิเศษแห่งด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้ง. นี่เรียกว่ามองปัญหาด้านเดียว. หรือเรียกว่ามองเห็นแต่เพียงเฉพาะส่วน ไม่เห็นส่วนทั้งหมด, มองเห็นแต่เพียงต้นไม้ ไม่เห็นป่า. เช่นนี้ย่อมไม่สามารถค้นพบวิธีการแก้ความขัดแย้ง ย่อมไม่สามารถบรรลุภาระหน้าที่การปฏิวัติ ย่อมไม่สามารถทำงานในหน้าที่ให้ดี และย่อมไม่สามารถคลี่คลายการต่อสู้ทางความคิดภายในพรรคอย่างถูกต้องได้. ซุนจื่อได้กล่าวถึงการทหารว่า “รู้เขารู้เรา ร้อยศึกบ่พ่าย”๑๑ ที่เขากล่าวนั้นหมายถึงคู่สงครามทั้งสองฝ่าย. เว่ยเจิงคนสมัยราชวงศ์ถังกล่าวว่า “ฟังทุกฝ่าย หูตาสว่าง เชื่อฝ่ายเดียว มืดแปดด้าน”๑๒ ซึ่งแสดงว่าเขาก็เข้าใจถึงความไม่ถูกต้องของลักษณะด้านเดียวเช่นเดียวกัน. แต่ว่าการมองปัญหาของสหายเหมาเรามักจะมีลักษณะด้านเดียว คนเช่นนี้จึงมักจะหัวชนกำแพงเสมอ. ในนวนิยายเรื่อง “สุยหู่จ้วน”, ซ้องกั๋งเข้าตีหมู่บ้านจู้เจียจวง ๓ ครั้ง๑๓  ๒ ครั้งแรกได้แพ้ไปเพราะไม่รู้สภาพและใช้วิธีการไม่ถูกต้อง. ต่อมาเปลี่ยนวิธีการใหม่ เริ่มต้นจากการสำรวจสภาพ จึงคุ้นกับหนทางที่วกไปเวียนมา และทำลายพันธมิตรระหว่างหมู่บ้านหลี่เจียจวง-หู้เจียจวง-จู้เจียจวงไป ทั้งได้จัดทหารไปซุ่มคอยอยู่ในค่ายของข้าศึก ใช้วิธีการที่คล้ายคลึงกับกลม้าไม้3 ในนิยายต่างประเทศ, จึงได้รบชนะในครั้งที่ ๓. ในเรื่อง “สุยหู่จ้วน” มีตัวอย่างที่เป็นวิภาษวิธีวัตถุนิยมอยู่มากมาย การเข้าตีหมู่บ้านจู้เจียจวง ๓ ครั้งดังกล่าว นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดอันหนึ่ง. เลนินกล่าวว่า:
“การที่จะรับรู้เป้าหมายอย่างแท้จริง ก็จะต้องยึดกุมและค้นคว้าด้านทั้งหมด ความสัมพันธ์และ ‘สื่อ’ ทั้งหมดของมัน.  เราทำไม่ได้ถึงขนาดนี้อย่างสิ้นเชิงเป็นแน่, แต่การเรียกร้องให้มีลักษณะทั่วด้าน จะทำให้เราป้องกันความผิดพลาดและสภาพตายด้านได้”๑๔
เราควรจดจำคำของท่านไว้. ลักษณะผิวเผินนั้นคือ ไม่มองลักษณะพิเศษแห่งองค์รวมของความขัดแย้งและลักษณะพิเศษแห่งด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้ง ปฏิเสธความจำเป็นในการหยั่งลึกเข้าสู่ภายในของสรรพสิ่งไปค้นคว้าลักษณะพิเศษของความขัดแย้งอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพียงแต่ยืนดูอยู่ไกล ๆ พอมองเห็นรูปโฉมของความขัดแย้งได้หน่อยอย่างหยาบ ๆ ก็คิดจะลงมือแก้ความขัดแย้ง (ตอบปัญหา แก้การพิพาท จัดการกับงานการ หรือบัญชาการสงคราม). การทำเช่นนี้ไม่มีเลยที่จะไม่เกิดความวุ่นวาย. การที่สหายจีนที่มีลัทธิคัมภีร์และลัทธิจัดเจนทำความผิดพลาดขึ้น ก็เพราะว่าวิธีการมองสรรพสิ่งของพวกเขาเป็นแบบอัตวิสัย ด้านเดียวและผิวเผิน. ลักษณะด้านเดียวและลักษณะผิวเผินก็เป็นลักษณะอัตวิสัยเช่นเดียวกัน, เพราะว่าสิ่งภววิสัยทั้งปวงที่จริงก็สัมพันธ์กันและมีกฎภายในอยู่, แต่คนเราไม่ไปสะท้อนสภาพเหล่านี้ตามความเป็นจริงของมัน, กลับมองดูมันอย่างด้านเดียวหรืออย่างผิวเผิน ไม่เข้าใจความสัมพันธ์กันของสรรพสิ่ง ไม่เข้าใจกฎภายในของสรรพสิ่ง, ฉะนั้น วิธีการชนิดนี้จึงเป็นลัทธิอัตวิสัย.
ไม่เพียงแต่การเคลื่อนไหวของความขัดแย้งในกระบวนการทั้งกระบวนแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งเท่านั้นที่เราจะต้องสนใจลักษณะพิเศษของมันทั้งในด้านการเกี่ยวพันกันของมัน และในสภาพด้านต่าง ๆ ของมัน หากในขั้นของกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละขั้น ก็มีลักษณะพิเศษของมันเองที่เราจะต้องสนใจด้วยเช่นเดียวกัน.
ความขัดแย้งมูลฐานของกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งและธาตุแท้ของกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยความขัดแย้งมูลฐานนี้ จะไม่สูญสิ้นไปจนกว่ากระบวนการจะสิ้นสุดลง; แต่ขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นในกระบวนการอันยาวนานแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ก็มักจะมีสภาพแตกต่างกันอีก. ทั้งนี้ก็เพราะว่า แม้ลักษณะของความขัดแย้งมูลฐานในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งและธาตุแท้ของกระบวนการจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ความขัดแย้งมูลฐานได้ใช้รูปแบบที่ค่อย ๆ รุนแรงขึ้นในขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นในกระบวนการอันยาวนาน. ยิ่งกว่านั้น ในบรรดาความขัดแย้งทั้งใหญ่และเล็กจำนวนมากที่ถูกกำหนดหรือส่งผลสะเทือนโดยความขัดแย้งมูลฐานนั้น บ้างก็รุนแรงขึ้น บ้างก็แก้ตกไปหรือผ่อนคลายลงชั่วคราวหรือเฉพาะส่วน และบ้างก็เกิดขึ้น ดังนั้น กระบวนการจึงเผยลักษณะขั้นออกมาให้เห็น. ถ้าคนเราไม่ไปสนใจลักษณะขั้นในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งแล้ว, คนเราก็ไม่สามารถจะจัดการกับความขัดแย้งของสรรพสิ่งอย่างเหมาะสมได้.
ตัวอย่างเช่น ทุนนิยมยุคแก่งแย่งแข่งขันโดยเสรีพัฒนาเป็นจักรพรรดินิยม ในระยะนี้ ลักษณะของชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนอันเป็นชนชั้นที่ขัดแย้งกันโดยมูลฐานและธาตุแท้ที่เป็นทุนนิยมของสังคมนี้หาได้เปลี่ยนแปลงไม่; แต่ว่าความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทั้งสองได้รุนแรงขึ้น ความขัดแย้งระหว่างทุนผูกขาดกับทุนเสรีได้เกิดขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศเจ้าเมืองขึ้นกับเมืองขึ้นได้รุนแรงขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมต่าง ๆ ซึ่งก็คือความขัดแย้งที่เกิดจากภาวะที่ประเทศเหล่านี้พัฒนาไม่สม่ำเสมอกันนั้นได้แสดงออกมาอย่างแหลมคมเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงก่อรูปเป็นขั้นพิเศษของทุนนิยม ก่อรูเป็นขั้นจักรพรรดินิยม. การที่ลัทธิเลนินเป็นลัทธิมาร์กซในยุคแห่งจักรพรรดินิยมและการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพนั้น ก็เพราะว่าเลนินและสตาลินได้อธิบายความขัดแย้งเหล่านี้อย่างถูกต้อง และได้สร้างทฤษฎีและยุทธวิธีแห่งการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพอย่างถูกต้องสำหรับแก้ความขัดแย้งเหล่านี้.
ดูจากสภาพในกระบวนการแห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนซึ่งเริ่มต้นจากการปฏิวัติซินไฮ่ ก็มีขั้นพิเศษหลายขั้นเช่นเดียวกัน. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติในสมัยที่นำโดยชนชั้นนายทุนกับการปฏิวัติในสมัยที่นำโดยชนชั้นกรรมาชีพ ได้แบ่งออกเป็นขั้นประวัติศาสตร์ ๒ ขั้นที่แตกต่างกันอย่างมากมาย. นั่นก็คือ เนื่องจากการนำของชนชั้นกรรมาชีพ ได้ทำให้โฉมหน้าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไปโดยมูลฐาน ได้นำมาซึ่งการปรับความสัมพันธ์ทางชนชั้นกันใหม่, การก่อการปฏิวัติชาวนาขึ้นอย่างขนานใหญ่ ลักษณะถึงที่สุดของการปฏิวัติคัดค้านจักรพรรดินิยมและคัดค้านศักดินานิยม, ความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนจากการปฏิวัติประชาธิปไตยไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยม ฯลฯ. ทั้งหมดนี้ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะปรากฏขึ้นในสมัยที่การปฏิวัตินำโดยชนชั้นนายทุน. แม้ว่าลักษณะของความขัดแย้งมูลฐานในกระบวนการทั้งกระบวน, และลักษณะที่เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยที่คัดค้านจักรพรรดินิยม คัดค้านศักดินาของกระบวนการ (ด้านกลับของมันคือลักษณะที่เป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา) จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ตาม; แต่ในระยะเวลาอันยาวนานนี้ ได้ผ่านเหตุการณ์ใหญ่ ๆ เช่น ความพ่ายแพ้ในการปฏิวัติซินไฮ่และการปกครองของขุนศึกภาคเหนือ การก่อตั้งแนวร่วมประชาชาติครั้งแรกและการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ การแตกแยกของแนวร่วมและชนชั้นนายทุนหันไปอยู่กับฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติ สงครามระหว่างขุนศึกใหม่ สงครามปฏิวัติที่ดิน การก่อตั้งแนวร่วมประชาชาติครั้งที่ ๒ และสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เป็นต้น, รวมความว่า ในระหว่าง ๒๐ กว่าปีได้ผ่านขั้นพัฒนามาหลายขั้น, ในขั้นเหล่านี้มีสภาพเฉพาะต่าง ๆ เป็นต้นว่า ความขัดแย้งบางอย่างได้รุนแรงขึ้น (เช่นสงครามปฏิวัติที่ดินและญี่ปุ่นรุกรานภาคอีสานทั้ง ๔ มณฑล) ความขัดแย้งบางอย่างได้แก้ตกไปในเฉพาะส่วนหรือชั่วคราว (เช่นขุนศึกภาคเหนือถูกทำลายไปและเราได้ริบที่ดินของเจ้าที่ดิน) ความขัดแย้งบางอย่างได้เกิดขึ้นใหม่อีก (เช่นการต่อสู้ระหว่างขุนศึกใหม่และเจ้าที่ดินยึดที่ดินกลับคืนอีกภายหลังการสูญเสียฐานที่มั่นปฏิวัติต่าง ๆ ทางภาคใต้).
การค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นของกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ไม่เพียงแต่จะต้องมองจากด้านเกี่ยวพันของมันและด้านองค์รวมของมันเท่านั้น หากยังจะต้องมองจากด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในขั้นต่าง ๆ ด้วย.
ตัวอย่างเช่น พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์. ด้านพรรคก๊กมินตั๋ง เนื่องจากในสมัยแนวร่วมครั้งแรก พรรคนี้ได้ดำเนินนโยบายใหญ่ ๓ ประการของซุนยัตเซ็นที่ให้ร่วมกับรัสเซีย ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์และช่วยเหลือกรรมกรชาวนา ฉะนั้นจึงเป็นพรรคที่ปฏิวัติและกระปรี้กระเปร่า และเป็นพันธมิตรของชนชั้นต่าง ๆ ในการปฏิวัติประชาธิปไตย. ภายหลังปี ๑๙๒๗ พรรคก๊กมินตั๋งได้เปลี่ยนไปสู่ด้านตรงกันข้าม และกลายเป็นกลุ่มปฏิกิริยาของชนชั้นเจ้าที่ดินและนายทุนใหญ่. ครั้นภายหลังกรณีซีอานเมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖, พรรคนี้ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางยุติสงครามกลางเมืองและร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์คัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นด้วยกันอีก. นี่แหละคือลักษณะพิเศษในขั้น ๓ ขั้นของพรรคก๊กมินตั๋ง. แน่ละ การก่อรูปเป็นลักษณะพิเศษเหล่านี้ย่อมมีเหตุนานาประการ. ส่วนด้านพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในสมัยแนวร่วมครั้งแรก ยังเป็นพรรคที่อยู่ในเยาว์วัย พรรคนี้ได้นำการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ อย่างองอาจกล้าหาญ; แต่ก็ได้แสดงลักษณะเยาว์วัยของตนออกมาในด้านความเข้าใจในลักษณะ,ภาระหน้าที่และวิธีการของการปฏิวัติ ดังนั้น ลัทธิเฉินตู๋ซิ่วที่เกิดขึ้นในระยะหลังของการปฏิวัติครั้งนี้จึงเกิดบทบาทขึ้นได้, และทำให้การปฏิวัติครั้งนี้ต้องพ่ายแพ้ไป ภายหลังปี ๑๙๒๗, พรรคนี้ก็ได้นำสงครามปฏิวัติที่ดินอย่างองอาจกล้าหาญอีก ได้สร้างกองทัพปฏิวัติและฐานที่มั่นปฏิวัติ แต่ก็ได้ทำความผิดพลาดทางลัทธิเสี่ยงภัยและนำแนวร่วมใหม่ที่ต่อต้านญี่ปุ่นอีก การต่อสู้อันยิ่งใหญ่นี้กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน. ในขั้นนี้ พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคที่ได้ผ่านการทดสอบจากการปฏิวัติ ๒ ครั้งและมีความจัดเจนอันอุดมสมบูรณ์. เหล่านี้คือลักษณะพิเศษในขั้น ๓ ขั้นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน. การก่อรูปขึ้นเป็นลักษณะพิเศษเหล่านี้ก็มีเหตุนานาประการเช่นเดียวกัน. ถ้าไม่ค้นคว้าลักษณะพิเศษเหล่านี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์กันที่เป็นเฉพาะระหว่างพรรคทั้งสองในขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นได้ นั่นก็คือ การก่อตั้งแนวร่วม การแตกแยกของแนวร่วม และการก่อตั้งแนวร่วมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง. และเมื่อจะค้นคว้าลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของพรรคทั้งสอง สิ่งที่เป็นมูลฐานที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ จะต้องค้นคว้ารากฐานทางชนชั้นของพรรคทั้งสองนี้และความเป็นปรปักษ์ขัดแย้งกันระหว่างสองพรรคนี้กับฝ่ายอื่น ๆ ที่ก่อรูปขึ้นในแต่ละสมัย อันเนื่องมาจากรากฐานทางชนชั้นของพรรคทั้งสอง. เช่น พรรคก๊กมินตั๋ง ในสมัยที่พรรคร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งแรก, ด้านหนึ่งมีความขัดแย้งกับจักรพรรดินิยมต่างประเทศ ดังนั้นจึงคัดค้านจักรพรรดินิยม; อีกด้านหนึ่งมีความขัดแย้งกับมวลประชาชนภายในประเทศ ถึงแม้พรรคนี้รับปากว่าจะให้ผลประโยชน์มากมายแก่ประชาชนผู้ใช้แรงงาน แต่ในทางความเป็นจริงนั้นให้น้อยเต็มทีหรือไม่ให้อะไรเลย. ในสมัยที่พรรคนี้ดำเนินสงครามแอนตี้คอมมิวนิสต์นั้น มันก็ร่วมมือกับจักรพรรดินิยมและศักดินานิยมคัดค้านมวลประชาชน ลบล้างผลประโยชน์ทั้งปวงของมวลประชาชนที่ช่วงชิงได้มาจากการปฏิวัติเสียสิ้น จึงทำให้ความขัดแย้งระหว่างพรรคนี้กับมวลประชาชนรุนแรงขึ้น. ในปัจจุบันอันเป็นสมัยต่อต้านญี่ปุ่น, พรรคก๊กมินตั๋งมีความขัดแย้งกับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ด้านหนึ่งพรรคนี้ต้องการจะร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์และกดขี่ประชาชนภายในประเทศ. ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์นั้น ไม่ว่าในสมัยไหนล้วนแต่ยืนอยู่กับมวลประชาชน คัดค้านจักรพรรดินิยมและคัดค้านศักดินานิยมทั้งนั้น; แต่ในปัจจุบันอันเป็นสมัยต่อต้านญี่ปุ่น พรรคก็ใช้นโยบายผ่อนคลายต่อก๊กมินตั๋งและอิทธิพลศักดินาภายในประเทศเพราะพรรคก๊กมินตั๋งแสดงท่าทีว่าจะต่อต้านญี่ปุ่น. เนื่องจากสภาพการณ์เหล่านี้ ฉะนั้นบางทีก็ทำให้มีการร่วมกันระหว่างพรรคทั้งสอง บางทีก็ทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างพรรคทั้งสอง และแม้กระทั่งในสมัยที่ร่วมกันระหว่างพรรรคทั้งสอง ก็มีสภาพสลับซับซ้อนที่ทั้งร่วมกันและต่อสู้กัน. ถ้าเราไม่ได้ไปค้นคว้าลักษณะพิเศษของด้านความขัดแย้งเหล่านี้แล้ว เราก็ไม่เพียงแต่ไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์ที่สองพรรคนี้ต่างก็มีต่อฝ่ายอื่น ๆ หากยังไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกันของพรรคทั้งสองด้วย.
จากนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งชนิดใด—ความขัดแย้งในรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุแต่ละรูป  ความขัดแย้งในกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละกระบวนของรูปแบบการเคลื่อนไหวแต่ละรูป ด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในกระบวนการพัฒนาแต่ละกระบวน ความขัดแย้งในขั้นพัฒนาแต่ละขั้นของกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละกระบวน หรือด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในขั้นพัฒนาแต่ละขั้น—การค้นคว้าลักษณะเฉพาะทั้งหมดของความขัดแย้งเหล่านี้ จะติดลักษณะตามใจชอบอย่างอัตวิสัยไม่ได้ทั้งนั้น จะต้องวิเคราะห์มันอย่างเป็นรูปธรรม. ถ้าผิดจากการวิเคราะห์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็ไม่อาจจะรับรู้ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งใด ๆ ได้. เราจะต้องจดจำคำพูดของเลนินนี้ไว้ทุกขณะ คือ วิเคราะห์สิ่งรูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม.
การวิเคราะห์อย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้ มาร์กซกับเองเกลส์ได้ให้แบบอย่างที่ดียิ่งแก่เราเป็นคนแรก.
เมื่อมาร์กซกับเองเกลส์นำกฎแห่งความขัดแย้งในสรรพสิ่งนี้ไปใช้ในการค้นคว้ากระบวนการของประวัติศาสตร์สังคม, ท่านทั้งสองได้มองเห็นความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิต มองเห็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นขูดรีดกับชนชั้นถูกขูดรีดตลอดจนความขัดแย้งระหว่างรากฐานทางเศรษฐกิจกับโครงสร้างชั้นบนอันได้แก่การเมือง ความคิด ฯลฯ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความขัดแย้งดังกล่าว และความขัดแย้งเหล่านี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางสังคมชนิดต่าง ๆ ในสังคมชนชั้นชนิดต่าง ๆ อยางหลีกเลี่ยงไม่พ้นอย่างไร.
เมื่อมาร์กซนเอากฎข้อนี้ไปใช้ในการค้นคว้าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคมทุนนิยม ท่านได้มองเห็นว่า ความขัดแย้งพื้นฐานของสังคมนี้อยู่ที่ความขัดแย้งระหว่างลักษณะสังคมของการผลิตกับลักษณะส่วนบุคคลของระบอบกรรมสิทธิ์. ความขัดแย้งนี้แสดงออกในความขัดแย้งระหว่างลักษณะมีการจัดตั้งในการผลิตของวิสาหกิจแต่ละแห่งกับลักษณะไม่มีการจัดตั้งในการผลิตของทั่วทั้งสังคม. การแสดงออกทางชนชั้นของความขัดแย้งนี้คือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ.
เนื่องจากขอบเขตของสรรพสิ่งกว้างขวางอย่างยิ่ง และการพัฒนของมันก็มีลักษณะไม่จำกัด ฉะนั้น สิ่งที่มีลักษณะทั่วไปในกรณีที่แน่นอนหนึ่ง ๆ จะกลายเป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะในกรณีที่แน่นอนอีกกรณีหนึ่งไป. ในทางกลับกัน สิ่งที่มีลักษณะเฉพาะในกรณีที่แน่นอนหนึ่ง ๆ ก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีลักษณะทั่วไปในกรณ๊ที่แน่นอนอีกกรณีหนึ่ง. ความขัดแย้งระหว่างการแปรเป็นแบบสังคมของการผลิตกับระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิตซึ่งมีอยู่ในระบอบทุนนิยมนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ร่วมกันในทุก ๆ ประเทศที่มีทุนนิยมดำรงอยู่และพัฒนาไป, กล่าวสำหรับทุนนิยมแล้ว นี่เป็นลักษณะทั่วไปของความขัดแย้ง. แต่ความขัดแย้งของทุนนิยมนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในขั้นประวัติศาสตร์ที่แน่นอนแห่งการพัฒนาของสังคมชนชั้นทั่วไป, ซึ่งกล่าวสำหรับความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิตในสังคมชนชั้นทั่วไปแล้ว ก็เป็นลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง. แต่ในเวลาที่มาร์กซวิภาคแยกแยะลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งทั้งหมดนี้ในสังคมทุนนิยมแล้ว, ก็ได้ให้ความกระจ่างแจ้งในลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิตในสังคมชนชั้นทั่วไปเต็มที่ยิ่งขึ้นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกขั้นหนึ่งพร้อมกันไปด้วย.
เนื่องจากสิ่งเฉพาะเกี่ยวพันกับสิ่งทั่วไป เนื่องจากภายในของแต่ละสิ่งไม่เพียงแต่มีลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งเท่านั้น หากยังมีลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งด้วย ลักษณะทั่วไปดำรงอยู่ในลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ในเวลาที่เราค้นคว้าสิ่งที่แน่นอนสิ่งหนึ่ง ก็ควรจะไปค้นให้พบด้าน ๒ ด้านนี้และความเกี่ยวพันของมัน ค้นให้พบทั้งด้านลักษณะเฉพาะและด้านลักษณะทั่วไปภายในสิ่งหนึ่ง ๆ และความเกี่ยวพันกันของมัน, ค้นให้พบความเกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งหนึ่ง ๆ กับสิ่งหลาย ๆ สิ่งที่อยู่ภายนอกสิ่งนั้น ๆ. ในเวลาที่สตาลินอธิบายมูลรากทางประวัติศาสตร์ของลัทธิเลนินในเรื่อง “ว่าด้วยรากฐานลัทธิเลนิน” นิพนธ์อันลือชื่อของท่านนั้น ท่านได้วิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมทางสากลที่ทำให้เกิดลัทธิเลนิน วิเคราะห์ถึงความขัดแย้งต่าง ๆ ของทุนนิยมซึ่งได้พัฒนาถึงขีดสุดแล้วภายใต้เงื่อนไขจักรพรรดินิยม ตลอดจนการที่ความขัดแย้งเหล่านี้ได้ทำให้การปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นปัญหาปฏิบัติโดยตรง และได้สร้างเงื่อนไขที่ดีในการเข้าโจมตีทุนนิยมโดยตรง. ใช่แต่เท่านั้นไม่ ท่านยังได้วิเคราะห์ว่าเหตุใดรัสเซียจึงกลายเป็นแหล่งกำเนิดลัทธิเลนิน วิเคราะห์ว่ารัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์เป็นจุดรวมแห่งความขัดแย้งทั้งปวงของจักรพรรดินิยมในเวลานั้น และวิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียได้กลายเป็นกองหน้าของชนชั้นกรรมาชีพปฏิวัติทางสากล. เช่นนี้แล้ว สตาลินก็ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งของจักรพรรดินิยม และได้อธิบายว่า ลัทธิเลนินคือลัทธิมาร์กซในยุคจักรพรรดินิยมและการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ; ทั้งยังได้วิเคราะห์ถึงลักษณะเฉพาะของจักรพรรดินิยมรัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์ที่มีอยู่ในความขัดแย้งทั่วไปนี้, และได้อธิบายว่ารัสเซียได้กลายเป็นบ้านเกิดเมืองของทฤษฎีและยุทธวิธีการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ และในลักษณะเฉพาะนี้ก็มีลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งอยู่ด้วย. การวิเคราะห์ของสตาลินเช่นนี้ ได้เสนอแบบอย่างแก่เราในอันที่จะเข้าใจลักษณะเฉพาะกับลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งและความเกี่ยวพันกันของมัน.
ในการใช้วิภาษวิธีไปค้นคว้าปรากฏการณ์ทางภววิสัยนั้น, มาร์กซและเองเกลส์ เลนินและสตาลินก็เช่นเดียวกัน ได้ชี้แนะคนทั้งหลายอยู่ตลอดเวลาว่า อย่าได้ติดลักษณะตามใจชอบทางอัตวิสัยใด ๆ หากจะต้องเริ่มจากเงื่อนไขรูปธรรมที่มีอยู่ในการเคลื่อนไหวที่เป็นจริงทางภววิสัย ไปค้นพบความขัดแย้งรูปธรรม และฐานะรูปธรรมของด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้ง, ตลอดจนความสัมพันธ์กันอย่างเป็นรูปธรรมของความขัดแย้งในปรากฏการณ์เหล่านี้. เนื่องจากไม่มีท่าทีค้นคว้าชนิดนี้, พวกลัทธิคัมภีร์ของเราจึงไม่ได้ความเลยแม้แต่เรื่องเดียว. เราจะต้องถือเอาความล้มเหลวของพวกลัทธิคัมภีร์เป็นข้อเตือนใจ,เรียนรู้ท่าทีค้นคว้าชนิดนี้ นอกจากนี้แล้วก็ไม่มีวิธีการค้นคว้าชนิดที่สองอีก.
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งกับลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะร่วมกับลักษณะจำเพาะของความขัดแย้ง. ลักษณะร่วมของมันคือ ความขัดแย้งดำรงอยู่ในกระบวนการทั้งปวงและซึมซ่านอยู่ตลอดกระบวนการทั้งปวงตั้งแต่ต้นจนจบ ความขัดแย้งก็คือการเคลื่อนไหว ก็คือสรรพสิ่ง ก็คือกระบวนการ, และก็คือความคิด. การปฏิเสธความขัดแย้งในสรรพสิ่งก็คือการปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง. นี่เป็นหลักเหตุผลร่วมกัน ทั้งในสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน ทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ ไม่มีข้อยกเว้น. ฉะนั้น มันจึงเป็นลักษณะร่วม เป็นลักษณะสัมบูรณ์. แต่ว่าลักษณะร่วมนี้มีอยู่ในลักษณะจำเพาะทั้งปวง, ถ้าไม่มีลักษณะจำเพาะก็ไม่มีลักษณะร่วม. ถ้าหักลักษณะจำเพาะทั้งปวงออกเสียแล้ว ยังจะมีลักษณะร่วมอะไรอีกเล่า? เนื่องจากความขัดแย้งต่างก็มีลักษณะเฉพาะอยู่ จึงได้เกิดมีลักษณะจำเพาะ. ลักษณะจำเพาะทั้งปวงล้วนแต่ดำรงอยู่อย่างมีเงื่อนไขและชั่วคราวทั้งสิ้น และดังนั้นจึงเป็นสิ่งสัมพัทธ์.
หลักเหตุผลเกี่ยวกับลักษณะร่วมกับลักษณะจำเพาะ ความสัมบูรณ์กับความสัมพัทธ์นี้ เป็นแก่นแท้ของปัญหาเกี่ยวกับความขัดแย้งในสรรพสิ่ง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งนี้แล้ว ก็เท่ากับว่าทิ้งวิภาษวิธีไป.
 
 

๓. ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง

 

          ความขัดแย้งดำรงอยู่ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสิ่งทั้งปววง ความขัดแย้งซึมซ่านอยู่ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของแต่ละสิ่งตั้งแต่ต้นจนจบ นี่คือลักษณะทั่วไปและลักษณะสัมบูรณ์ของความขัดแย้งซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้น. บัดนี้ขอกล่าวถึงลักษณะเฉพาะและลักษณะสัมพัทธ์ของความขัดแย้ง. 

          ปัญหานี้ควรจะค้นคว้าจากสภาพการณ์หลาย ๆ อย่าง. 

          ก่อนอื่น ความขัดแย้งในรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุชนิดต่าง ๆ ล้วนแต่มีลักษณะเฉพาะทั้งนั้น. การรับรู้วัตถุของคนเรา ก็คือการรับรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุ เพราะว่านอกจากวัตถุที่เคลื่อนไหวแล้ว ก็ไม่มีอะไรอีกในโลก และการเคลื่อนไหวของวัตถุก็จะต้องใช้รูปแบบที่แน่นอนรูปแบบหนึ่ง. สำหรับรูปแบบการเคลื่อนไหวแต่ละชนิดของวัตถุนั้น, เราจะต้องสนใจจุดร่วมกันระหว่างมันกับรูปแบบการเคลื่อนไหวชนิดอื่น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญเป็นพิเศษและที่ประกอบขึ้นเป็นรากฐานในการรับรู้สรรพสิ่งของเรานั้น คือ จะต้องสนใจลักษณะเฉพาะของมัน กล่าวคือ สนใจความแตกต่างทางคุณภาพระหว่างมันกับรูปแบบการเคลื่อนไหวอื่น ๆ. ต่อเมื่อสนใจข้อนี้แล้วเท่านั้น จึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะจำแนกสรรพสิ่ง. รูปแบบการเคลื่อนไหวใด ๆ ภายในของมันล้วนแต่มีความขัดแย้งเฉพาะของตัวมันเองทั้งสิ้น. ความขัดแย้งเฉพาะนี้ประกอบขึ้นเป็นธาตุแท้เฉพาะที่มีสิ่งหนึ่งแตกต่างกับสิ่งอื่น ๆ. นี่แหละคือเหตุภายในหรือเรียกว่ามูลฐานที่สิ่งต่าง ๆ ในโลกมีความแตกต่างกันร้อยแปดพันประการ. ในโลกธรรมชาติมีรูปแบบการเคลื่อนไหวอยู่เป็นอันมาก เช่น การเคลื่อนไหวแบบกลไก, การเกิดเสียง การเกิดแสง การเกิดความร้อน กระแสไฟฟ้า, การแยกตัว การรวมตัว เป็นต้น. บรรดารูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุเหล่านี้ล้วนแต่ดำรงอยู่โดยอาศัยกัน และก็แตกต่างกันในทางธาตุแท้. ธาตุแท้เฉพาะที่รูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุแต่ละอย่างมีอยู่นั้น กำหนดขึ้นโดยความขัดแย้งเฉพาะของมันเอง. สภาพเช่นนี้ไม่เพียงแต่ดำรงอยู่ในโลกธรรมชาติเท่านั้น หากยังดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ทางสังคมและปรากฏการณ์ทางความคิดด้วยเช่นเดียวกัน. รูปแบบสังคมและรูปแบบความคิดแต่ละชนิด มีความขัดแย้งเฉพาะและธาตุแท้เฉพาะของมันเองทั้งนั้น. 

          การจำแนกในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น ก็อาศัยลักษณะขัดแย้งเฉพาะที่มีอยู่ในเป้าหมายของวิทยาศาสตร์แขนงนั้น ๆ. ด้วยเหตุนี้ การค้นคว้าความขัดแย้งอันใดอันหนึ่งที่มีอยู่เฉพาะในปริมณฑลของปรากฏการณ์อันใดอันหนึ่งนั้น จึงประกอบขึ้นเป็นเป้าหมายของวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ๆ. เช่นจำนวนบวกกับจำนวนลบในคณิตศาสตร์ กิริยากับปฏิกิริยาในกลศาสตร์, ไฟฟ้าลบกับไฟฟ้าบวกในวิชาฟิสิคส์ การแยกตัวกับการรวมตัวในวิชาเคมี พลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิตและการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นกับชนชั้นในวิทยาศาสตร์สังคม การเข้าตีกับการตั้งรับในวิชาการทหาร จิตนิยมกับวัตถุนิยมและทรรศนะอภิปรัชญากับทรรศนะวิภาษวิธีในวิชาปรัชญา เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่ได้ประกอบขึ้นเป็นเป้าหมายของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกันเพราะมีความขัดแย้งเฉพาะและธาตุแท้เฉพาะ. จริงอยู่ ถ้าไม่เข้าใจลักษณะทั่วไปของความขัดแย้ง ก็ไม่มีทางจะค้นพบเหตุทั่วไปหรือมูลฐานทั่วไปแห่งการเคลื่อนไหวพัฒนาของสรรพสิ่งได้; แต่ถ้าไม่ค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง ก็ไม่มีทางจะกำหนดธาตุแท้เฉพาะที่สิ่งหนึ่งแตกต่างกับสิ่งอื่น ก็ไม่มีทางจะค้นพบเหตุเฉพาะหรือมูลฐานเฉพาะแห่งการเคลื่อนไหวพัฒนาของสรรพสิ่ง และก็ไม่มีทางจะแยกสรรพสิ่ง ไม่มีทางจะจำแนกปริมณฑลแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้. 

          กล่าวสำหรับอันดับในการเคลื่อนไหวรับรู้ของมนุษย์แล้ว, จะอย่างไรเสียก็เป็นการขยายทีละขั้น ๆ จากการรับรู้สิ่งเฉพาะรายและที่เป็นเฉพาะไปสู่การรับรู้สรรพสิ่งทั่วไป. คนเราไม่พ้นที่จะรับรู้ธาตุแท้เฉพาะของสิ่งที่ต่างกันจำนวนมากก่อน แล้วจึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินงานสรุปอีกขั้นหนึ่ง และรับรู้ธาตุแท้ร่วมกันของสิ่งต่าง ๆ ทีหลัง. เมื่อคนเราได้รับรู้ธาตุแท้ร่วมกันชนิดนี้แล้ว ก็จะใช้ความรับรู้ร่วมกันชนิดนี้เป็นเครื่องชี้นำ ทำการค้นคว้าสิ่งรูปธรรมนานาชนิดที่ยังมิได้ค้นคว้าหรือยังมิได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งนั้นอีกต่อไป เพื่อค้นหาให้พบธาตุแท้เฉพาะของมัน เช่นนี้จึงจะสามารถเพิ่มเติม ยังความสมบูรณ์และพัฒนาความรับรู้ในธาตุแท้ร่วมกันชนิดนี้ได้ และทำให้ความรับรู้ในธาตุแท้ร่วมกันชนิดนี้ไม่ถึงกับกลายเป็นสิ่งที่เหี่ยวแห้งและตายซากไป. นี่คือกระบวนการแห่งความรับรู้ ๒ กระบวน: กระบวนการหนึ่งจากเฉพาะสู่ทั่วไป อีกกระบวนการหนึ่งจากทั่วไปสู่เฉพาะ. ความรับรู้ของมนุษย์ย่อมจะดำเนินไปอย่างวนเวียนครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างนี้ และการวนเวียนในแต่ละครั้ง (ขอแต่ให้ทำตามวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวดเท่านั้น) ล้วนแต่มีความเป็นไปได้ที่จะยกระดับความรับรู้ของมนุษย์ให้สูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และทำให้ความรับรู้ของมนุษย์ลึกซึ้งขึ้นอย่างไม่ขาดสาย. ความผิดพลาดของพวกลัทธิคัมภีร์ของเราในปัญหานี้ก็คือ ด้านหนึ่ง ไม่เข้าใจว่า จะต้องค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งและรับรู้ธาตุแท้เฉพาะของสิ่งเฉพาะราย จึงจะมีความเป็นไปได้ในการรับรู้ลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งอย่างเต็มที่และรับรู้ธาตุแท้ร่วมกันของสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่; อีกด้านหนึ่ง ก็ไม่เข้าใจว่า เมื่อเรารับรู้ธาตุแท้ร่วมกันของสรรพสิ่งแล้ว ยังจะต้องค้นคว้าบรรดาสิ่งรูปธรรมที่ยังมิได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งหรือที่เพิ่งปรากฏออกมาใหม่อีกต่อไป. พวกลัทธิคัมภีร์ของเราเป็นคนเกียจคร้าน พวกเขาไม่ยอมทำงานค้นคว้าที่ลำบากยากเข็ญใด ๆ ในสิ่งรูปธรรม พวกเขาเห็นสัจธรรมทั่วไปเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นอย่างลอย ๆ และทำให้มันกลายเป็นสูตรนามธรรมล้วน ๆ ที่คนเราไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ เป็นการปฏิเสธและกลับตาลปัตรอันดับปรกติในการรับรู้สัจธรรมของมนุษย์เสียอย่างสิ้นเชิง. พวกเขาไม่เข้าใจความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันระหว่างกระบวนการทั้งสองในการรับรู้ของมนุษย์—จากเฉพาะสู่ทั่วไป แล้วจากทั่วไปสู่เฉพาะอีก พวกเขาไม่เข้าใจทฤษฎีความรับรู้แห่งลัทธิมาร์กซเลย. 

          เราไม่เพียงแต่จะต้องค้นคว้าลักษณะขัดแย้งเฉพาะของรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุในระบบใหญ่ ๆ แต่ละระบบและธาตุแท้ที่มันกำหนดขึ้นเท่านั้น หากยังจะต้องค้นคว้าความขัดแย้งเฉพาะของกระบวนการแต่ละกระบวนในระยะทางยาวแห่งการพัฒนาของรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุแต่ละรูปและธาตุแท้ของมันอีกด้วย. ในกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละกระบวนที่เป็นจริงและมิใช่เสกสรรขึ้นของรูปแบบการเคลื่อนไหวทั้งปวงนั้น ล้วนแต่มีคุณภาพที่ต่างกัน. งานค้นคว้าของเราจะต้องเน้นหนักในข้อนี้ และจะต้องเริ่มต้นจากข้อนี้. 

          ความขัดแย้งที่มีคุณภาพต่างกัน จะแก้ได้ก็ด้วยวิธีการที่มีคุณภาพต่างกันเท่านั้น. เป็นต้นว่า ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุน แก้ด้วยวิธีการปฏิวัติสังคมนิยม; ความขัดแย้งระหว่างเมืองขึ้นกับจักรพรรดินิยม แก้ด้วยวิธีการทำสงครามปฏิวัติประชาชาติ; ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมกรกับชนชั้นชาวนาในสังคมสังคมนิยม แก้ด้วยวิธีการแปรเกษตรกรรมให้เป็นแบบรวมหมู่และเป็นแบบใช้เครื่องจักรกล; ความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์ แก้ด้วยวิธีการวิจารณ์และวิจารณ์ตนเอง; ความขัดแย้งระหว่างสังคมกับธรรมชาติ แก้ด้วยวิธีการพัฒนาพลังการผลิต. เมื่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการเก่าและความขัดแย้งเก่าสูญสิ้นไป กระบวนการใหม่และความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้น วิธีการแก้ความขัดแย้งก็ย่อมจะต่างกันไปด้วย. ความขัดแย้งที่แก้ตกไปและวิธีการที่ใช้แก้ความขัดแย้งในการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์กับการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซียนั้นแตกต่างกันโดยมูลฐาน. การแก้ความขัดแย้งที่ต่างกันด้วยวิธีการที่ต่างกันนั้น เป็นหลักการข้อหนึ่งที่ชาวลัทธิมาร์กซ-เลนินต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด. พวกลัทธิคัมภีร์ไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อนี้ พวกเขาไม่เข้าใจความแตกต่างกันของสภาพการปฏิวัติชนิดต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่เข้าใจว่า ควรต้องแก้ความขัดแย้งที่ต่างกันด้วยวิธีการที่ต่างกัน ตรงกันข้ามพวกเขากลับนำเอาสูตรชนิดที่ตนสำคัญว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ไปใช้ดื้อ ๆ อย่างเป็นแบบเดียวกันหมดทั่วทุกหนทุกแห่ง ซึ่งรังแต่จะทำให้การปฏิวัติประสบความเพลี่ยงพล้ำ หรือไม่ก็ทำให้งานซึ่งความจริงควรจะทำได้ดีนั้นต้องเสียไปหมด. 

          เพื่อที่จะเผยให้เห็นลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งในด้านองค์รวมหรือในด้านการเกี่ยวพันกันของมัน กล่าวคือ เผยให้เห็นธาตุแท้ของกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ก็จะต้องเผยให้เห็นลักษณะเฉพาะหน้าของด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในกระบวนการ มิฉะนั้นแล้ว การเผยให้เห็นธาตุแท้ของกระบวนการก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ นี่ก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องสนใจอย่างยิ่งในเวลาที่ทำงานค้นคว้า. 

          สิ่งใหญ่ ๆ สิ่งหนึ่งมีความขัดแย้งจำนวนมากอยู่ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของมัน. เช่น ในกระบวนการแห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีน มีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นที่ถูกกดขี่ต่าง ๆ ในสังคมของจีนกับจักรพรรดินิยม มีความขัดแย้งระหว่างมวลประชาชนกับระบอบศักดินา, มีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุน มีความขัดแย้งระหว่างชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองกับชนชั้นนายทุน มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มปกครองปฏิกิริยากลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่สลับซับซ้อนอย่างยิ่ง. ความขัดแย้งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ต่างมีลักษณะเฉพาะของมัน ซึ่งจะถือเอาเป็นอย่างเดียวกันหมดไม่ได้ ทั้งด้านสองด้านของความขัดแย้งแต่ละอันต่างก็มีลักษณะพิเศษของมันอีก ซึ่งก็จะถือเอาเป็นอย่างเดียวกันหมดไม่ได้เช่นเดียวกัน. เราผู้ดำเนินการปฏิวัติของจีน ไม่เพียงแต่จะต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในองค์รวมของมันแต่ละอัน นัยหนึ่งในความเกี่ยวพันกันของความขัดแย้งเท่านั้น หากยังจะต้องลงมือค้นคว้าด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งด้วย จึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าใจองค์รวมของมัน. ที่ว่าเข้าใจด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งนั้นก็คือ เข้าใจว่าแต่ละด้านของมันต่างอยู่ในฐานะที่เป็นเฉพาะอย่างไร ต่างเกิดความสัมพันธ์ที่ทั้งพึ่งพาอาศัยกันและขัดแย้งกันกับด้านตรงกันข้ามด้วยรูปแบบรูปธรรมชนิดไร, และต่างทำการต่อสู้กับด้านตรงกันข้ามด้วยวิธีการรูปธรรมชนิดไรในระหว่างที่ทั้งสองด้านต่างพึ่งพาอาศัยกันและขัดแย้งกันอยู่และภายหลังที่การพึ่งพาอาศัยกันได้แตกแยกไปแล้ว. การค้นคว้าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. ที่เลนินกล่าวว่า, สิ่งที่เป็นธาตุแท้ที่สุดของลัทธิมาร์กซ วิญญาณที่มีชีวิตของลัทธิมาร์กซ อยู่ที่วิเคราะห์สภาพรูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม๑๐นั้นก็หมายถึงสิ่งที่กล่าวมานี้นั่นเอง. พวกลัทธิคัมภีร์ของเราฝ่าฝืนคำชี้แนะของเลนิน ไม่เคยใช้หัวสมองวิเคราะห์สิ่งใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรมเลย เมื่อเขียนบทความหรือแสดงปาฐกถาทีไร ก็เข้าทำนองการประพันธ์แบบแปดส่วนที่เป็นน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรงอยู่เรื่อย ซึ่งก่อให้เกิดท่วงทำนองที่เลวยิ่งชนิดหนึ่งขึ้นภายในพรรคเรา. 

          การค้นคว้าปัญหาต้องหลีกเลี่ยงลักษณะอัตวิสัย ลักษณะด้านเดียวและลักษณะผิวเผิน. ที่เรียกว่าลักษณะอัตวิสัยนั้นก็คือ ไม่รู้จักมองปัญหาอย่างภววิสัย ซึ่งก็คือไม่รู้จักมองปัญหาด้วยทรรศนะวัตถุนิยม. ข้อนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในเรื่อง “ว่าด้วยการปฏิบัติ” แล้ว. ที่เรียกว่าลักษณะด้านเดียวนั้นก็คือ ไม่รู้จักมองปัญหาอย่างรอบด้าน. เช่น เข้าใจแต่ด้านจีน ไม่เข้าใจด้านญี่ปุ่น เข้าใจแต่ด้านพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่เข้าใจด้านพรรคก๊กมินตั๋ง เข้าใจแต่ด้านชนชั้นกรรมาชีพ ไม่เข้าใจด้านชนชั้นนายทุน เข้าใจแต่ด้านชาวนา ไม่เข้าใจด้านเจ้าที่ดิน เข้าใจแต่ด้านสภาพการณ์ราบรื่น ไม่เข้าใจด้านสภาพการณ์ยากลำบาก, เข้าใจแต่ด้านอดีต ไม่เข้าใจด้านอนาคต เข้าใจแต่ด้านเอกเทศ, ไม่เข้าใจด้านองค์รวม เข้าใจแต่ด้านข้อบกพร่อง ไม่เข้าใจด้านข้อบกพร่อง ไม่เข้าใจด้านผลสำเร็จ เข้าใจแต่ด้านโจทก์ ไม่เข้าใจด้านจำเลย เข้าใจแต่ด้านงานลับของการปฏิวัติ ไม่เข้าใจด้านงานเปิดเผยของการปฏิวัติ ดังนี้เป็นต้น. รวมความว่า ไม่เข้าใจลักษณะพิเศษแห่งด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้ง. นี่เรียกว่ามองปัญหาด้านเดียว. หรือเรียกว่ามองเห็นแต่เพียงเฉพาะส่วน ไม่เห็นส่วนทั้งหมด, มองเห็นแต่เพียงต้นไม้ ไม่เห็นป่า. เช่นนี้ย่อมไม่สามารถค้นพบวิธีการแก้ความขัดแย้ง ย่อมไม่สามารถบรรลุภาระหน้าที่การปฏิวัติ ย่อมไม่สามารถทำงานในหน้าที่ให้ดี และย่อมไม่สามารถคลี่คลายการต่อสู้ทางความคิดภายในพรรคอย่างถูกต้องได้. ซุนจื่อได้กล่าวถึงการทหารว่า “รู้เขารู้เรา ร้อยศึกบ่พ่าย”๑๑ ที่เขากล่าวนั้นหมายถึงคู่สงครามทั้งสองฝ่าย. เว่ยเจิงคนสมัยราชวงศ์ถังกล่าวว่า “ฟังทุกฝ่าย หูตาสว่าง เชื่อฝ่ายเดียว มืดแปดด้าน”๑๒ ซึ่งแสดงว่าเขาก็เข้าใจถึงความไม่ถูกต้องของลักษณะด้านเดียวเช่นเดียวกัน. แต่ว่าการมองปัญหาของสหายเหมาเรามักจะมีลักษณะด้านเดียว คนเช่นนี้จึงมักจะหัวชนกำแพงเสมอ. ในนวนิยายเรื่อง “สุยหู่จ้วน”, ซ้องกั๋งเข้าตีหมู่บ้านจู้เจียจวง ๓ ครั้ง๑๓  ๒ ครั้งแรกได้แพ้ไปเพราะไม่รู้สภาพและใช้วิธีการไม่ถูกต้อง. ต่อมาเปลี่ยนวิธีการใหม่ เริ่มต้นจากการสำรวจสภาพ จึงคุ้นกับหนทางที่วกไปเวียนมา และทำลายพันธมิตรระหว่างหมู่บ้านหลี่เจียจวง-หู้เจียจวง-จู้เจียจวงไป ทั้งได้จัดทหารไปซุ่มคอยอยู่ในค่ายของข้าศึก ใช้วิธีการที่คล้ายคลึงกับกลม้าไม้3 ในนิยายต่างประเทศ, จึงได้รบชนะในครั้งที่ ๓. ในเรื่อง “สุยหู่จ้วน” มีตัวอย่างที่เป็นวิภาษวิธีวัตถุนิยมอยู่มากมาย การเข้าตีหมู่บ้านจู้เจียจวง ๓ ครั้งดังกล่าว นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดอันหนึ่ง. เลนินกล่าวว่า: 

               “การที่จะรับรู้เป้าหมายอย่างแท้จริง ก็จะต้องยึดกุมและค้นคว้าด้านทั้งหมด ความสัมพันธ์และ ‘สื่อ’ ทั้งหมดของมัน.  เรา
          ทำไม่ได้ถึงขนาดนี้อย่างสิ้นเชิงเป็นแน่, แต่การเรียกร้องให้มีลักษณะทั่วด้าน จะทำให้เราป้องกันความผิดพลาดและสภาพตาย
          ด้านได้”๑๔ 

เราควรจดจำคำของท่านไว้. ลักษณะผิวเผินนั้นคือ ไม่มองลักษณะพิเศษแห่งองค์รวมของความขัดแย้งและลักษณะพิเศษแห่งด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้ง ปฏิเสธความจำเป็นในการหยั่งลึกเข้าสู่ภายในของสรรพสิ่งไปค้นคว้าลักษณะพิเศษของความขัดแย้งอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพียงแต่ยืนดูอยู่ไกล ๆ พอมองเห็นรูปโฉมของความขัดแย้งได้หน่อยอย่างหยาบ ๆ ก็คิดจะลงมือแก้ความขัดแย้ง (ตอบปัญหา แก้การพิพาท จัดการกับงานการ หรือบัญชาการสงคราม). การทำเช่นนี้ไม่มีเลยที่จะไม่เกิดความวุ่นวาย. การที่สหายจีนที่มีลัทธิคัมภีร์และลัทธิจัดเจนทำความผิดพลาดขึ้น ก็เพราะว่าวิธีการมองสรรพสิ่งของพวกเขาเป็นแบบอัตวิสัย ด้านเดียวและผิวเผิน. ลักษณะด้านเดียวและลักษณะผิวเผินก็เป็นลักษณะอัตวิสัยเช่นเดียวกัน, เพราะว่าสิ่งภววิสัยทั้งปวงที่จริงก็สัมพันธ์กันและมีกฎภายในอยู่, แต่คนเราไม่ไปสะท้อนสภาพเหล่านี้ตามความเป็นจริงของมัน, กลับมองดูมันอย่างด้านเดียวหรืออย่างผิวเผิน ไม่เข้าใจความสัมพันธ์กันของสรรพสิ่ง ไม่เข้าใจกฎภายในของสรรพสิ่ง, ฉะนั้น วิธีการชนิดนี้จึงเป็นลัทธิอัตวิสัย.

          ไม่เพียงแต่การเคลื่อนไหวของความขัดแย้งในกระบวนการทั้งกระบวนแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งเท่านั้นที่เราจะต้องสนใจลักษณะพิเศษของมันทั้งในด้านการเกี่ยวพันกันของมัน และในสภาพด้านต่าง ๆ ของมัน หากในขั้นของกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละขั้น ก็มีลักษณะพิเศษของมันเองที่เราจะต้องสนใจด้วยเช่นเดียวกัน. 

          ความขัดแย้งมูลฐานของกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งและธาตุแท้ของกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยความขัดแย้งมูลฐานนี้ จะไม่สูญสิ้นไปจนกว่ากระบวนการจะสิ้นสุดลง; แต่ขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นในกระบวนการอันยาวนานแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ก็มักจะมีสภาพแตกต่างกันอีก. ทั้งนี้ก็เพราะว่า แม้ลักษณะของความขัดแย้งมูลฐานในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งและธาตุแท้ของกระบวนการจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ความขัดแย้งมูลฐานได้ใช้รูปแบบที่ค่อย ๆ รุนแรงขึ้นในขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นในกระบวนการอันยาวนาน. ยิ่งกว่านั้น ในบรรดาความขัดแย้งทั้งใหญ่และเล็กจำนวนมากที่ถูกกำหนดหรือส่งผลสะเทือนโดยความขัดแย้งมูลฐานนั้น บ้างก็รุนแรงขึ้น บ้างก็แก้ตกไปหรือผ่อนคลายลงชั่วคราวหรือเฉพาะส่วน และบ้างก็เกิดขึ้น ดังนั้น กระบวนการจึงเผยลักษณะขั้นออกมาให้เห็น. ถ้าคนเราไม่ไปสนใจลักษณะขั้นในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งแล้ว, คนเราก็ไม่สามารถจะจัดการกับความขัดแย้งของสรรพสิ่งอย่างเหมาะสมได้.  

          ตัวอย่างเช่น ทุนนิยมยุคแก่งแย่งแข่งขันโดยเสรีพัฒนาเป็นจักรพรรดินิยม ในระยะนี้ ลักษณะของชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนอันเป็นชนชั้นที่ขัดแย้งกันโดยมูลฐานและธาตุแท้ที่เป็นทุนนิยมของสังคมนี้หาได้เปลี่ยนแปลงไม่; แต่ว่าความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทั้งสองได้รุนแรงขึ้น ความขัดแย้งระหว่างทุนผูกขาดกับทุนเสรีได้เกิดขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศเจ้าเมืองขึ้นกับเมืองขึ้นได้รุนแรงขึ้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมต่าง ๆ ซึ่งก็คือความขัดแย้งที่เกิดจากภาวะที่ประเทศเหล่านี้พัฒนาไม่สม่ำเสมอกันนั้นได้แสดงออกมาอย่างแหลมคมเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงก่อรูปเป็นขั้นพิเศษของทุนนิยม ก่อรูเป็นขั้นจักรพรรดินิยม. การที่ลัทธิเลนินเป็นลัทธิมาร์กซในยุคแห่งจักรพรรดินิยมและการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพนั้น ก็เพราะว่าเลนินและสตาลินได้อธิบายความขัดแย้งเหล่านี้อย่างถูกต้อง และได้สร้างทฤษฎีและยุทธวิธีแห่งการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพอย่างถูกต้องสำหรับแก้ความขัดแย้งเหล่านี้. 

          ดูจากสภาพในกระบวนการแห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนซึ่งเริ่มต้นจากการปฏิวัติซินไฮ่ ก็มีขั้นพิเศษหลายขั้นเช่นเดียวกัน. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติในสมัยที่นำโดยชนชั้นนายทุนกับการปฏิวัติในสมัยที่นำโดยชนชั้นกรรมาชีพ ได้แบ่งออกเป็นขั้นประวัติศาสตร์ ๒ ขั้นที่แตกต่างกันอย่างมากมาย. นั่นก็คือ เนื่องจากการนำของชนชั้นกรรมาชีพ ได้ทำให้โฉมหน้าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไปโดยมูลฐาน ได้นำมาซึ่งการปรับความสัมพันธ์ทางชนชั้นกันใหม่, การก่อการปฏิวัติชาวนาขึ้นอย่างขนานใหญ่ ลักษณะถึงที่สุดของการปฏิวัติคัดค้านจักรพรรดินิยมและคัดค้านศักดินานิยม, ความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนจากการปฏิวัติประชาธิปไตยไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยม ฯลฯ. ทั้งหมดนี้ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะปรากฏขึ้นในสมัยที่การปฏิวัตินำโดยชนชั้นนายทุน. แม้ว่าลักษณะของความขัดแย้งมูลฐานในกระบวนการทั้งกระบวน, และลักษณะที่เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยที่คัดค้านจักรพรรดินิยม คัดค้านศักดินาของกระบวนการ (ด้านกลับของมันคือลักษณะที่เป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา) จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ตาม; แต่ในระยะเวลาอันยาวนานนี้ ได้ผ่านเหตุการณ์ใหญ่ ๆ เช่น ความพ่ายแพ้ในการปฏิวัติซินไฮ่และการปกครองของขุนศึกภาคเหนือ การก่อตั้งแนวร่วมประชาชาติครั้งแรกและการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ การแตกแยกของแนวร่วมและชนชั้นนายทุนหันไปอยู่กับฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติ สงครามระหว่างขุนศึกใหม่ สงครามปฏิวัติที่ดิน การก่อตั้งแนวร่วมประชาชาติครั้งที่ ๒ และสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เป็นต้น, รวมความว่า ในระหว่าง ๒๐ กว่าปีได้ผ่านขั้นพัฒนามาหลายขั้น, ในขั้นเหล่านี้มีสภาพเฉพาะต่าง ๆ เป็นต้นว่า ความขัดแย้งบางอย่างได้รุนแรงขึ้น (เช่นสงครามปฏิวัติที่ดินและญี่ปุ่นรุกรานภาคอีสานทั้ง ๔ มณฑล) ความขัดแย้งบางอย่างได้แก้ตกไปในเฉพาะส่วนหรือชั่วคราว (เช่นขุนศึกภาคเหนือถูกทำลายไปและเราได้ริบที่ดินของเจ้าที่ดิน) ความขัดแย้งบางอย่างได้เกิดขึ้นใหม่อีก (เช่นการต่อสู้ระหว่างขุนศึกใหม่และเจ้าที่ดินยึดที่ดินกลับคืนอีกภายหลังการสูญเสียฐานที่มั่นปฏิวัติต่าง ๆ ทางภาคใต้). 

          การค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นของกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ไม่เพียงแต่จะต้องมองจากด้านเกี่ยวพันของมันและด้านองค์รวมของมันเท่านั้น หากยังจะต้องมองจากด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในขั้นต่าง ๆ ด้วย. 

          ตัวอย่างเช่น พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์. ด้านพรรคก๊กมินตั๋ง เนื่องจากในสมัยแนวร่วมครั้งแรก พรรคนี้ได้ดำเนินนโยบายใหญ่ ๓ ประการของซุนยัตเซ็นที่ให้ร่วมกับรัสเซีย ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์และช่วยเหลือกรรมกรชาวนา ฉะนั้นจึงเป็นพรรคที่ปฏิวัติและกระปรี้กระเปร่า และเป็นพันธมิตรของชนชั้นต่าง ๆ ในการปฏิวัติประชาธิปไตย. ภายหลังปี ๑๙๒๗ พรรคก๊กมินตั๋งได้เปลี่ยนไปสู่ด้านตรงกันข้าม และกลายเป็นกลุ่มปฏิกิริยาของชนชั้นเจ้าที่ดินและนายทุนใหญ่. ครั้นภายหลังกรณีซีอานเมื่อเดือนธันวาคม ปี ๑๙๓๖, พรรคนี้ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางยุติสงครามกลางเมืองและร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์คัดค้านจักรพรรดินิยมญี่ปุ่นด้วยกันอีก. นี่แหละคือลักษณะพิเศษในขั้น ๓ ขั้นของพรรคก๊กมินตั๋ง. แน่ละ การก่อรูปเป็นลักษณะพิเศษเหล่านี้ย่อมมีเหตุนานาประการ. ส่วนด้านพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในสมัยแนวร่วมครั้งแรก ยังเป็นพรรคที่อยู่ในเยาว์วัย พรรคนี้ได้นำการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ อย่างองอาจกล้าหาญ; แต่ก็ได้แสดงลักษณะเยาว์วัยของตนออกมาในด้านความเข้าใจในลักษณะ,ภาระหน้าที่และวิธีการของการปฏิวัติ ดังนั้น ลัทธิเฉินตู๋ซิ่วที่เกิดขึ้นในระยะหลังของการปฏิวัติครั้งนี้จึงเกิดบทบาทขึ้นได้, และทำให้การปฏิวัติครั้งนี้ต้องพ่ายแพ้ไป ภายหลังปี ๑๙๒๗, พรรคนี้ก็ได้นำสงครามปฏิวัติที่ดินอย่างองอาจกล้าหาญอีก ได้สร้างกองทัพปฏิวัติและฐานที่มั่นปฏิวัติ แต่ก็ได้ทำความผิดพลาดทางลัทธิเสี่ยงภัยและนำแนวร่วมใหม่ที่ต่อต้านญี่ปุ่นอีก การต่อสู้อันยิ่งใหญ่นี้กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน. ในขั้นนี้ พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคที่ได้ผ่านการทดสอบจากการปฏิวัติ ๒ ครั้งและมีความจัดเจนอันอุดมสมบูรณ์. เหล่านี้คือลักษณะพิเศษในขั้น ๓ ขั้นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน. การก่อรูปขึ้นเป็นลักษณะพิเศษเหล่านี้ก็มีเหตุนานาประการเช่นเดียวกัน. ถ้าไม่ค้นคว้าลักษณะพิเศษเหล่านี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์กันที่เป็นเฉพาะระหว่างพรรคทั้งสองในขั้นการพัฒนาแต่ละขั้นได้ นั่นก็คือ การก่อตั้งแนวร่วม การแตกแยกของแนวร่วม และการก่อตั้งแนวร่วมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง. และเมื่อจะค้นคว้าลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของพรรคทั้งสอง สิ่งที่เป็นมูลฐานที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ จะต้องค้นคว้ารากฐานทางชนชั้นของพรรคทั้งสองนี้และความเป็นปรปักษ์ขัดแย้งกันระหว่างสองพรรคนี้กับฝ่ายอื่น ๆ ที่ก่อรูปขึ้นในแต่ละสมัย อันเนื่องมาจากรากฐานทางชนชั้นของพรรคทั้งสอง. เช่น พรรคก๊กมินตั๋ง ในสมัยที่พรรคร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งแรก, ด้านหนึ่งมีความขัดแย้งกับจักรพรรดินิยมต่างประเทศ ดังนั้นจึงคัดค้านจักรพรรดินิยม; อีกด้านหนึ่งมีความขัดแย้งกับมวลประชาชนภายในประเทศ ถึงแม้พรรคนี้รับปากว่าจะให้ผลประโยชน์มากมายแก่ประชาชนผู้ใช้แรงงาน แต่ในทางความเป็นจริงนั้นให้น้อยเต็มทีหรือไม่ให้อะไรเลย. ในสมัยที่พรรคนี้ดำเนินสงครามแอนตี้คอมมิวนิสต์นั้น มันก็ร่วมมือกับจักรพรรดินิยมและศักดินานิยมคัดค้านมวลประชาชน ลบล้างผลประโยชน์ทั้งปวงของมวลประชาชนที่ช่วงชิงได้มาจากการปฏิวัติเสียสิ้น จึงทำให้ความขัดแย้งระหว่างพรรคนี้กับมวลประชาชนรุนแรงขึ้น. ในปัจจุบันอันเป็นสมัยต่อต้านญี่ปุ่น, พรรคก๊กมินตั๋งมีความขัดแย้งกับจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ด้านหนึ่งพรรคนี้ต้องการจะร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์และกดขี่ประชาชนภายในประเทศ. ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์นั้น ไม่ว่าในสมัยไหนล้วนแต่ยืนอยู่กับมวลประชาชน คัดค้านจักรพรรดินิยมและคัดค้านศักดินานิยมทั้งนั้น; แต่ในปัจจุบันอันเป็นสมัยต่อต้านญี่ปุ่น พรรคก็ใช้นโยบายผ่อนคลายต่อก๊กมินตั๋งและอิทธิพลศักดินาภายในประเทศเพราะพรรคก๊กมินตั๋งแสดงท่าทีว่าจะต่อต้านญี่ปุ่น. เนื่องจากสภาพการณ์เหล่านี้ ฉะนั้นบางทีก็ทำให้มีการร่วมกันระหว่างพรรคทั้งสอง บางทีก็ทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างพรรคทั้งสอง และแม้กระทั่งในสมัยที่ร่วมกันระหว่างพรรรคทั้งสอง ก็มีสภาพสลับซับซ้อนที่ทั้งร่วมกันและต่อสู้กัน. ถ้าเราไม่ได้ไปค้นคว้าลักษณะพิเศษของด้านความขัดแย้งเหล่านี้แล้ว เราก็ไม่เพียงแต่ไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์ที่สองพรรคนี้ต่างก็มีต่อฝ่ายอื่น ๆ หากยังไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกันของพรรคทั้งสองด้วย. 

          จากนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะค้นคว้าลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งชนิดใด—ความขัดแย้งในรูปแบบการเคลื่อนไหวของวัตถุแต่ละรูป  ความขัดแย้งในกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละกระบวนของรูปแบบการเคลื่อนไหวแต่ละรูป ด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในกระบวนการพัฒนาแต่ละกระบวน ความขัดแย้งในขั้นพัฒนาแต่ละขั้นของกระบวนการแห่งการพัฒนาแต่ละกระบวน หรือด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้งในขั้นพัฒนาแต่ละขั้น—การค้นคว้าลักษณะเฉพาะทั้งหมดของความขัดแย้งเหล่านี้ จะติดลักษณะตามใจชอบอย่างอัตวิสัยไม่ได้ทั้งนั้น จะต้องวิเคราะห์มันอย่างเป็นรูปธรรม. ถ้าผิดจากการวิเคราะห์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็ไม่อาจจะรับรู้ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งใด ๆ ได้. เราจะต้องจดจำคำพูดของเลนินนี้ไว้ทุกขณะ คือ วิเคราะห์สิ่งรูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม. 

          การวิเคราะห์อย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้ มาร์กซกับเองเกลส์ได้ให้แบบอย่างที่ดียิ่งแก่เราเป็นคนแรก. 

          เมื่อมาร์กซกับเองเกลส์นำกฎแห่งความขัดแย้งในสรรพสิ่งนี้ไปใช้ในการค้นคว้ากระบวนการของประวัติศาสตร์สังคม, ท่านทั้งสองได้มองเห็นความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิต มองเห็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นขูดรีดกับชนชั้นถูกขูดรีดตลอดจนความขัดแย้งระหว่างรากฐานทางเศรษฐกิจกับโครงสร้างชั้นบนอันได้แก่การเมือง ความคิด ฯลฯ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความขัดแย้งดังกล่าว และความขัดแย้งเหล่านี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางสังคมชนิดต่าง ๆ ในสังคมชนชั้นชนิดต่าง ๆ อยางหลีกเลี่ยงไม่พ้นอย่างไร.

          เมื่อมาร์กซนเอากฎข้อนี้ไปใช้ในการค้นคว้าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคมทุนนิยม ท่านได้มองเห็นว่า ความขัดแย้งพื้นฐานของสังคมนี้อยู่ที่ความขัดแย้งระหว่างลักษณะสังคมของการผลิตกับลักษณะส่วนบุคคลของระบอบกรรมสิทธิ์. ความขัดแย้งนี้แสดงออกในความขัดแย้งระหว่างลักษณะมีการจัดตั้งในการผลิตของวิสาหกิจแต่ละแห่งกับลักษณะไม่มีการจัดตั้งในการผลิตของทั่วทั้งสังคม. การแสดงออกทางชนชั้นของความขัดแย้งนี้คือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ. 

          เนื่องจากขอบเขตของสรรพสิ่งกว้างขวางอย่างยิ่ง และการพัฒนของมันก็มีลักษณะไม่จำกัด ฉะนั้น สิ่งที่มีลักษณะทั่วไปในกรณีที่แน่นอนหนึ่ง ๆ จะกลายเป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะในกรณีที่แน่นอนอีกกรณีหนึ่งไป. ในทางกลับกัน สิ่งที่มีลักษณะเฉพาะในกรณีที่แน่นอนหนึ่ง ๆ ก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีลักษณะทั่วไปในกรณ๊ที่แน่นอนอีกกรณีหนึ่ง. ความขัดแย้งระหว่างการแปรเป็นแบบสังคมของการผลิตกับระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิตซึ่งมีอยู่ในระบอบทุนนิยมนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ร่วมกันในทุก ๆ ประเทศที่มีทุนนิยมดำรงอยู่และพัฒนาไป, กล่าวสำหรับทุนนิยมแล้ว นี่เป็นลักษณะทั่วไปของความขัดแย้ง. แต่ความขัดแย้งของทุนนิยมนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในขั้นประวัติศาสตร์ที่แน่นอนแห่งการพัฒนาของสังคมชนชั้นทั่วไป, ซึ่งกล่าวสำหรับความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิตในสังคมชนชั้นทั่วไปแล้ว ก็เป็นลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง. แต่ในเวลาที่มาร์กซวิภาคแยกแยะลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งทั้งหมดนี้ในสังคมทุนนิยมแล้ว, ก็ได้ให้ความกระจ่างแจ้งในลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิตในสังคมชนชั้นทั่วไปเต็มที่ยิ่งขึ้นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกขั้นหนึ่งพร้อมกันไปด้วย. 

          เนื่องจากสิ่งเฉพาะเกี่ยวพันกับสิ่งทั่วไป เนื่องจากภายในของแต่ละสิ่งไม่เพียงแต่มีลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งเท่านั้น หากยังมีลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งด้วย ลักษณะทั่วไปดำรงอยู่ในลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ในเวลาที่เราค้นคว้าสิ่งที่แน่นอนสิ่งหนึ่ง ก็ควรจะไปค้นให้พบด้าน ๒ ด้านนี้และความเกี่ยวพันของมัน ค้นให้พบทั้งด้านลักษณะเฉพาะและด้านลักษณะทั่วไปภายในสิ่งหนึ่ง ๆ และความเกี่ยวพันกันของมัน, ค้นให้พบความเกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งหนึ่ง ๆ กับสิ่งหลาย ๆ สิ่งที่อยู่ภายนอกสิ่งนั้น ๆ. ในเวลาที่สตาลินอธิบายมูลรากทางประวัติศาสตร์ของลัทธิเลนินในเรื่อง “ว่าด้วยรากฐานลัทธิเลนิน” นิพนธ์อันลือชื่อของท่านนั้น ท่านได้วิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมทางสากลที่ทำให้เกิดลัทธิเลนิน วิเคราะห์ถึงความขัดแย้งต่าง ๆ ของทุนนิยมซึ่งได้พัฒนาถึงขีดสุดแล้วภายใต้เงื่อนไขจักรพรรดินิยม ตลอดจนการที่ความขัดแย้งเหล่านี้ได้ทำให้การปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นปัญหาปฏิบัติโดยตรง และได้สร้างเงื่อนไขที่ดีในการเข้าโจมตีทุนนิยมโดยตรง. ใช่แต่เท่านั้นไม่ ท่านยังได้วิเคราะห์ว่าเหตุใดรัสเซียจึงกลายเป็นแหล่งกำเนิดลัทธิเลนิน วิเคราะห์ว่ารัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์เป็นจุดรวมแห่งความขัดแย้งทั้งปวงของจักรพรรดินิยมในเวลานั้น และวิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียได้กลายเป็นกองหน้าของชนชั้นกรรมาชีพปฏิวัติทางสากล. เช่นนี้แล้ว สตาลินก็ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งของจักรพรรดินิยม และได้อธิบายว่า ลัทธิเลนินคือลัทธิมาร์กซในยุคจักรพรรดินิยมและการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ; ทั้งยังได้วิเคราะห์ถึงลักษณะเฉพาะของจักรพรรดินิยมรัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์ที่มีอยู่ในความขัดแย้งทั่วไปนี้, และได้อธิบายว่ารัสเซียได้กลายเป็นบ้านเกิดเมืองของทฤษฎีและยุทธวิธีการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ และในลักษณะเฉพาะนี้ก็มีลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งอยู่ด้วย. การวิเคราะห์ของสตาลินเช่นนี้ ได้เสนอแบบอย่างแก่เราในอันที่จะเข้าใจลักษณะเฉพาะกับลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งและความเกี่ยวพันกันของมัน. 

          ในการใช้วิภาษวิธีไปค้นคว้าปรากฏการณ์ทางภววิสัยนั้น, มาร์กซและเองเกลส์ เลนินและสตาลินก็เช่นเดียวกัน ได้ชี้แนะคนทั้งหลายอยู่ตลอดเวลาว่า อย่าได้ติดลักษณะตามใจชอบทางอัตวิสัยใด ๆ หากจะต้องเริ่มจากเงื่อนไขรูปธรรมที่มีอยู่ในการเคลื่อนไหวที่เป็นจริงทางภววิสัย ไปค้นพบความขัดแย้งรูปธรรม และฐานะรูปธรรมของด้านต่าง ๆ ของความขัดแย้ง, ตลอดจนความสัมพันธ์กันอย่างเป็นรูปธรรมของความขัดแย้งในปรากฏการณ์เหล่านี้. เนื่องจากไม่มีท่าทีค้นคว้าชนิดนี้, พวกลัทธิคัมภีร์ของเราจึงไม่ได้ความเลยแม้แต่เรื่องเดียว. เราจะต้องถือเอาความล้มเหลวของพวกลัทธิคัมภีร์เป็นข้อเตือนใจ,เรียนรู้ท่าทีค้นคว้าชนิดนี้ นอกจากนี้แล้วก็ไม่มีวิธีการค้นคว้าชนิดที่สองอีก. 

          ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของความขัดแย้งกับลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะร่วมกับลักษณะจำเพาะของความขัดแย้ง. ลักษณะร่วมของมันคือ ความขัดแย้งดำรงอยู่ในกระบวนการทั้งปวงและซึมซ่านอยู่ตลอดกระบวนการทั้งปวงตั้งแต่ต้นจนจบ ความขัดแย้งก็คือการเคลื่อนไหว ก็คือสรรพสิ่ง ก็คือกระบวนการ, และก็คือความคิด. การปฏิเสธความขัดแย้งในสรรพสิ่งก็คือการปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง. นี่เป็นหลักเหตุผลร่วมกัน ทั้งในสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน ทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ ไม่มีข้อยกเว้น. ฉะนั้น มันจึงเป็นลักษณะร่วม เป็นลักษณะสัมบูรณ์. แต่ว่าลักษณะร่วมนี้มีอยู่ในลักษณะจำเพาะทั้งปวง, ถ้าไม่มีลักษณะจำเพาะก็ไม่มีลักษณะร่วม. ถ้าหักลักษณะจำเพาะทั้งปวงออกเสียแล้ว ยังจะมีลักษณะร่วมอะไรอีกเล่า? เนื่องจากความขัดแย้งต่างก็มีลักษณะเฉพาะอยู่ จึงได้เกิดมีลักษณะจำเพาะ. ลักษณะจำเพาะทั้งปวงล้วนแต่ดำรงอยู่อย่างมีเงื่อนไขและชั่วคราวทั้งสิ้น และดังนั้นจึงเป็นสิ่งสัมพัทธ์. 

          หลักเหตุผลเกี่ยวกับลักษณะร่วมกับลักษณะจำเพาะ ความสัมบูรณ์กับความสัมพัทธ์นี้ เป็นแก่นแท้ของปัญหาเกี่ยวกับความขัดแย้งในสรรพสิ่ง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งนี้แล้ว ก็เท่ากับว่าทิ้งวิภาษวิธีไป.