bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

๔. ความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง

 

๔. ความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง
 
ในปัญหาลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง ยังมีสภาพอีก ๒ อย่างจะต้องนำเอาออกมาวิเคราะห์เป็นพิเศษ นั่นก็คือ ความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง,
ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งที่สลับซับซ้อน, มีความขัดแย้งจำนวนมากดำรงอยู่ และในจำนวนนี้ย่อมจะมีอันหนึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก เนื่องจากการดำรงอยู่และการพัฒนาของมัน จึงกำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของความขัดแย้งอื่น ๆ.
ตัวอย่างเช่น ในสังคมทุนนิยม พลังทั้งสองที่ขัดแย้งกันอันได้แก่ชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนนั้นเป็นความขัดแย้งหลัก; พลังอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกัน เช่นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาที่เหลือเดนกับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างนายทุนน้อยที่เป็นชาวนากับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับนายทุนน้อยที่เป็นชาวนา, ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนเสรีกับชนชั้นนายทุนผูกขาด, ความขัดแย้งระหว่างลัทธิประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนกับลัทธิฟัสซิสต์ของชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมด้วยกัน ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับเมืองขึ้น ตลอดจนความขัดแย้งอื่น ๆ ล้วนแต่กำหนดหรือส่งผลสะเทือนโดยพลังความขัดแย้งหลักนี้ทั้งสิ้น.
ในประเทศกึ่งเมืองขึ้นดังเช่นประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งที่มิใช่เป็นหลักปรากฏให้เห็นในสภาพที่สลับซับซ้อน.
ในเวลาที่จักรพรรดินิยมก่อสงครามรุกรานประเทศดังกล่าวนี้ นอกจากพวกทรยศกบฏชาติจำนวนน้อยแล้ว ชนชั้นต่าง ๆ ภายในประเทศอย่างนี้สามารถจะสามัคคีกันดำเนินสงครามประชาชาติคัดค้านจักรพรรดินิยมได้ชั่วคราว. ในเวลาเช่นนี้, ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับประเทศอย่างนี้ได้กลายเป็นความขัดแย้งหลัก ส่วนความขัดแย้งทั้งปวงระหว่างชนชั้นต่างๆ ภายในประเทศอย่างนี้ (รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างระบอบศักดินากับมวลประชาชนซึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก) ก็ล้วนแต่ลดลงสู่ฐานะรองและขึ้นต่อชั่วคราว.  ในประเทศจีน, สงครามฝิ่นปี ๑๘๔๐ สงครามจีน-ญี่ปุ่นปี ๑๘๙๔ สงครามอี้เหอถวนปี ๑๙๐๐ และสงครามจีน-ญี่ปุ่นในปัจจุบัน ล้วนแต่มีสภาพเช่นนี้ทั้งสิ้น.
แต่ในสภาพการณ์อีกอย่างหนึ่ง ฐานะของความขัดแย้งก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไป. ในเวลาที่จักรพรรดินิยมไม่ได้ทำการกดขี่ด้วยสงคราม หากกดขี่ด้วยรูปแบบที่ค่อนข้างละมุนละม่อมในทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางวัฒนธรรมนั้น ชนชั้นปกครองในประเทศกึ่งเมืองขึ้นก็จะยอมจำนนต่อจักรพรรดินิยม, แล้วทั้งสองฝ่ายก็สร้างความเป็นพันธมิตรขึ้น เพื่อร่วมกันกดขี่มวลประชาชน. ในเวลาเช่นนี้ มวลประชาชนมักจะใช้รูปแบบสงครามภายในประเทศไปคัดค้านพันธมิตรระหว่างจักรพรรดินิยมกับชนชั้นศักดินา ส่วนจักรพรรดินิยมนั้นก็มักจะใช้แบบวิธีโดยอ้อม ไปช่วยเหลือพวกปฏิกิริยาในประเทศกึ่งเมืองขึ้นกดขี่ประชาชน ไม่ใช้การปฏิบัติการโดยตรง ทำให้เห็นชัดถึงลักษณะแหลมคมเป็นพิเศษของความขัดแย้งภายใน. ในประเทศจีน สงครามปฏิวัติซินไฮ่ สงครามปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ สงครามปฏิวัติที่ดินสิบปีภายหลังปี ๑๙๒๗ ล้วนแต่มีสภาพเช่นนี้ทั้งสิ้น. ยังมีสงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มปกครองปฏิกิริยาต่าง ๆ ในประเทศกึ่งเมืองขึ้น เช่นสงครามขุนศึกในประเทศจีน ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นเดียวกัน.
ในเวลาที่สงครามปฏิวัติภายในประเทศขยายตัวถึงขั้นที่คุกคามโดยมูลฐานต่อการดำรงอยู่ของจักรพรรดินิยมและพวกปฏิกิริยาภายในประเทศสุนัขรับใช้ของมันแล้ว จักรพรรดินิยมก็มักจะใช้วิธีการที่นอกเหนือจากวิธีการดังกล่าวข้างต้น โดยมุ่งจะรักษาการปกครองของมันไว้ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการแยกตัวภายในแนวปฏิวัติ ไม่ก็ส่งทหารไปช่วยเหลือพวกปฏิกิริยาภายในประเทศโดยตรง. ในเวลาเช่นนี้ จักรพรรดินิยมต่างประเทศกับพวกปฏิกิริยาภายในประเทศยืนอยู่ในขั้วหนึ่งอย่างเปิดเผยโดยสิ้นเชิง ส่วนมวลประชาชนก็ยืนอยู่ในอีกขั้วหนึ่ง, กลายเป็นความขัดแย้งหลัก ซึ่งกำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อภาวการณ์พัฒนาของความขัดแย้งอื่น ๆ. การที่ประเทศทุนนิยมต่างๆ สนับสนุนช่วยเหลือพวกปฏิกิริยารัสเซียภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้น เป็นตัวอย่างของการแทรกแซงด้วยกำลังทหาร. การทรยศของเจียงไคเช็คเมื่อปี ๑๙๒๗ เป็นตัวอย่างของการก่อให้เกิดการแตกแยกตัวในแนวปฏิบัติ.
แต่จะอย่างไรก็ตาม ในขั้นต่างๆ แห่งการพัฒนาของกระบวนการนั้น มีความขัดแย้งหลักที่มีบทบาทนำเพียงอันเดียวเท่านั้น มีความขัดแย้งหลักที่มีบทบาทนำเพียงอันเดียวเท่านั้น ข้อนี้ไม่เป็นที่สงสัยเลย.
จากนี้จะรู้ได้ว่า ในกระบวนการใด ๆ ถ้ามีความขัดแย้งจำนวนมากดำรงอยู่ ในความขัดแย้งเหล่านี้จะต้องมีอยู่อันหนึ่งที่เป็นหลัก ที่มีบทบาทนำและชี้ขาด ส่วนความขัดแย้งอื่น ๆ นั้นอยู่ในฐานะรองและขึ้นต่อ. ดังนั้น ในการค้นคว้ากระบวนการใด ๆ ก็ดี ถ้าเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนที่มีความขัดแย้งมากกว่า ๒ อันดำรงอยู่แล้ว ก็จะต้องทุ่มกำลังทั้งหมดไปค้นให้พบความขัดแย้งหลักของมัน. เมื่อจับความขัดแย้งหลักนี้ได้แล้ว ปัญหาทั้งปวงก็จะแก้ตกไปได้โดยง่ายดาย. นี่คือวิธีการที่มาร์กซสอนเราเมื่อท่านค้นคว้าสังคมทุนนิยม. เมื่อเลนินและสตาลินค้นคว้าจักรพรรดินิยมและวิกฤตทั่วไปของทุนนิยม และเมื่อค้นคว้าเศรษฐกิจสหภาพโซเวียต ท่านทั้งสองก็ได้สอนวิธีการนี้แก่เราเช่นเดียวกัน. นักปราชญ์และนักการปฏิบัตินับพันนับหมื่นไม่เข้าใจวิธีการชนิดนี้ ผลก็คือ เหมือนตกลงไปในทะเลแห่งหมอกควัน ค้นไม่พบใจกลางดของปัญหา, และก็ค้นไม่พบวิธีการแก้ความขัดแย้ง.
จะถือว่าความขัดแย้งทั้งหมดในกระบวนการเป็นสิ่งเท่าเทียมกันไม่ได้ จะต้องจำแนกมันออกเป็นประเภทหลักและประเภทรอง และเน้นหนักในการจับความขัดแย้งหลักไว้ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น. แต่ในความขัดแย้งชนิดต่างๆ ไม่ว่าที่เป็นหลักหรือเป็นรอง เราจะถือว่าด้าน ๒ ด้านที่ขัดแย้งกันเป็นสิ่งเท่าเทียมกันได้ไหม? ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน. ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งชนิดใด ด้านต่างๆ ของความขัดแย้งย่อมพัฒนาไม่สม่ำเสมอกัน. บางครั้งดูคล้ายกับว่ามีกำลังพอ ๆ กัน, แต่นั่นก็เป็นเพียงสภาพชั่วคราวและสัมพัทธ์เท่านั้น ส่วนรูปการพื้นฐานหาสม่ำเสมอกันไม่. ในด้าน ๒ ด้านที่ขัดแย้งกันอยู่ ย่อมมีด้านหนึ่งที่เป็นหลัก อีกด้านหนึ่งเป็นรอง. ด้านหลักของมันก็คือสิ่งที่เรียกว่าด้านที่มีบทบาทนำในความขัดแย้งนั่นเอง. ลักษณะของสรรพสิ่งกำหนดโดยด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งมีฐานะครอบงำเป็นสำคัญ.
แต่สภาพเช่นนี้มิใช่อยู่คงที่ ด้านหลักกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้งแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกัน ลักษณะของสรรพสิ่งก็จะแปรเปลี่ยนตามไปด้วย. ในกระบวนการที่แน่นอนหนึ่งๆ นั้นหรือในขั้นที่แน่นอนหนึ่งๆ แห่งการพัฒนาของความขัดแย้ง ด้านหลักอยู่ทางฝ่าย ก. ด้านที่มิใช่เป็นหลักอยู่ทางฝ่าย ข.; ครั้นถึงขั้นพัฒนาอีกขั้นหนึ่งหรือกระบวนการแห่งการพัฒนาอีกกระบวนการหนึ่ง ก็จะสับเปลี่ยนกัน ทั้งนี้กำหนดโดยระดับการเพิ่มหรือลดของกำลังการต่อสู้ระหว่างด้านที่ขัดแย้งกัน ๒ ด้านในการพัฒนาของสรรพสิ่ง.
เรามักจะใช้คำว่า “ใหม่เข้าแทนที่เก่า”.  ใหม่เข้าแทนที่เก่าเป็นกฎทั่วไปของจักรวาลซึ่งไม่อาจจะต้านทานได้ชั่วนิรันดร. การที่สิ่งสิ่งหนึ่งแปรเปลี่ยนเป็นอีกสิ่งหนึ่งโดยผ่านรูปแบบการก้าวกระโดดที่ต่างกันตามลักษณะและเงื่อนไขของตัวมันเองนั้น ก็คือกระบวนการที่ใหม่เข้าแทนที่เก่า. ภายในของสิ่งหนึ่งสิ่งใดล้วนแต่มีความขัดแย้งระหว่างด้านใหม่กับด้านเก่า และก่อรูปขึ้นเป็นการต่อสู้ที่คดเคี้ยวทั้งกระบวน. ผลของการต่อสู้ก็คือ ด้านใหม่เปลี่ยนจากเล็กเป็นใหญ่และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นสิ่งครอบงำ; ส่วนด้านเก่าเปลี่ยนจากใหญ่เป็นเล็ก และกลายเป็นสิ่งที่ค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความพินาศ. เมื่อใดที่ด้านใหม่ครองฐานะครอบงำด้านเก่า เมื่อนั้นลักษณะของสิ่งเก่าก็จะเปลี่ยนเป็นลักษณะของสิ่งใหม่. จากนี้จะเห็นได้ว่า, ลักษณะของสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญนั้นกำหนดโดยด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งครองฐานะครอบงำ. เมื่อด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งครองฐานะครอบงำเกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะของสิ่งนั้นๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย.
ในสังคมทุนนิยม ทุนนิยมได้แปรเปลี่ยนจากฐานะที่ขึ้นต่อในยุคสังคมนิยมศักดินาอันเป็นยุคเก่ามาเป็นพลังที่ครองฐานะครอบงำ ลักษณะของสังคมก็เปลี่ยนไปจากศักดินานิยมมาเป็นทุนนิยมด้วย. ในยุคสังคมนิยมเมื่อครั้งเป็นยุคใหม่ อิทธิพลศักดินาได้แปรเปลี่ยนจากพลังซึ่งเดิมอยู่ในฐานะครอบงำมาเป็นพลังที่ขึ้นต่อ และแล้วก็ค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสูญสลาย ตัวอย่างเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส ก็เป็นเช่นนี้. พร้อมกันไปกับการพัฒนาของพลังการผลิต ชนชั้นนายทุนได้แปรเปลี่ยนไปจากชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทก้าวหน้ามาเป็นชนชั้นเก่าที่มีบทบาทปฏิกิริยา จนกระทั่งในที่สุดถูกชนชั้นกรรมาชีพโค่นล้ม กลายเป็นชนชั้นที่ถูกยึดปัจจัยการผลิตส่วนบุคคลและสูญเสียอำนาจไป และชนชั้นนี้ก็จะค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสูญสลายเช่นเดียวกัน. ชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีจำนวนคนมากกว่าชนชั้นนายทุนเป็นอันมากและเติบโตขึ้นพร้อมกันกับชนชั้นนายทุนแต่ถูกชนชั้นนายทุนปกครองนั้น เป็นพลังใหม่อันหนึ่ง ชนชั้นนี้ได้เปลี่ยนจากฐานะที่ขึ้นต่อชนชั้นนายทุนในระยะแรกค่อย ๆ เติบใหญ่ขึ้นเป็นชนชั้นที่เป็นอิสระและมีบทบาทนำในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในที่สุดยึดอำนาจรัฐได้และกลายเป็นชนชั้นปกครอง. เมื่อนั้น ลักษณะของสังคมก็แปรเปลี่ยนจากสังคมทุนนิยมซึ่งเป็นสังคมเก่ามาเป็นสังคมสังคมนิยมซึ่งเป็นสังคมใหม่.  นี่แหละคือหนทางที่สหภาพโซเวียตได้เดินทางมาแล้วและประเทศอื่น ๆ ทั้งปวงก็จะต้องเดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น.
กล่าวตามสภาพของประเทศจีน จักรพรรดินิยมอยู่ในฐานะหลักในความขัดแย้งที่ประเทศจีนได้ก่อรูปขึ้นเป็นกึ่งเมืองขึ้น, จักรพรรดินิยมกดขี่ประชาชนจีน ส่วนประเทศจีนเปลี่ยนจากประเทศเอกราชมาเป็นกึ่งเมืองขึ้น. แต่การณ์จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน ในสถานการณ์การต่อสู้ระหว่าง ๒ ฝ่าย, พลังของประชาชนจีนซึ่งเติบโตขึ้นภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพจะต้องเปลี่ยนประเทศจีนจากกึ่งเมืองขึ้นไปเป็นประเทศเอกราชอย่างแน่นอน และจักรพรรดินิยมก็จะต้องถูกโค่นล้ม จีนเก่าจะต้องเปลี่ยนเป็นจีนใหม่อย่างแน่นอน.
การที่จีนเก่าเปลี่ยนเป็นจีนใหม่นั้น ยังรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพระหว่างอิทธิพลเก่าของศักดินากับอิทธิพลใหม่ของประชาชนด้วย. ชนชั้นเจ้าที่ดินศักดินาเก่าจะถูกโค่นล้มลง, เปลี่ยนจากผู้ครองอำนาจไปเป็นผู้ถูกปกครอง เมื่อนั้นชนชั้นนี้ก็จะค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสูญสลายเช่นเดียวกัน. ส่วนประชาชนนั้นก็จะเปลี่ยนจากผู้ถูกปกครองไปเป็นผู้ครองอำนาจภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพ. เมื่อนั้น ลักษณะของสังคมจีนก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนจากกึ่งเมืองขึ้นและกึ่งศักดินาซึ่งเป็นสังคมเก่าไปเป็นสังคมประชาธิปไตยซึ่งเป็นสังคมใหม่.
เรื่องการแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันเช่นนี้ เรามีความจัดเจนมาแล้วในอดีต. จักรวรรดิราชวงศ์เช็งซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่เป็นเวลาเกือบ ๓๐๐ ปี ได้ถูกโค่นล้มลงไปในสมัยการปฏิวัติซินไฮ่; ส่วนสมาคมพันธมิตรปฏิวัติซึ่งนำโดยซุนยัตเซ็นได้รับชัยชนะมาครั้งหนึ่ง. ในสงครามปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ อิทธิพลปฏิวัติทางภาคใต้ซึ่งเป็นอิทธิพลร่วมกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคก๊กมินตั๋ง ได้เปลี่ยนจากพลังที่อ่อนแอเป็นพลังที่เข้มแข็ง และได้รับชัยชนะในสงครามปราบขุนศึกภาคเหนือ; ส่วนขุนศึกภาคเหนือที่ครองความเป็นใหญ่อยู่ชั่วระยะหนึ่งนั้นถูกโค่นล้มลงไป. เมื่อปี ๑๙๒๗, พลังประชาชนที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ถูกอิทธิพลปฏิกิริยาก๊กมินตั๋งโจมตีจนหดเล็กลงไปมาก; แต่เนื่องจากได้กวาดล้างลัทธิฉวยโอกาสภายในของตน จึงค่อย ๆ เติบใหญ่ขึ้นมาอีก. ในฐานที่มั่นปฏิวัติซึ่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์, ชาวนาได้แปรเปลี่ยนจากผู้ถูกปกครองมาเป็นผู้ครองอำนาจ, ส่วนเจ้าที่ดินแปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม. ในโลกนี้สิ่งใหม่ย่อมเข้าแทนที่สิ่งเก่าเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่า ขจัดสิ่งเก่าก่อสิ่งใหม่หรือผลักสิ่งเก่าออกไปให้สิ่งใหม่ออกมาเช่นนี้มีอยู่ตลอดเวลา.
ในบางเวลาของการต่อสู้ปฏิวัติ เงื่อนไขที่ยากลำบากเหนือกว่าเงื่อนไขที่ราบรื่น ในเวลาเช่นนี้ ความยากลำบากเป็นด้านหลักของความขัดแย้ง ความราบรื่นเป็นด้านรองของความขัดแย้ง. แต่เนื่องจากความพยายามของชาวพรรคปฏิวัติ, สามารถขจัดอุปสรรคไปได้ทีละก้าว ๆ คลี่คลายขยายภาวการณ์ใหม่ที่ราบรื่น. สภาพที่กองทัพแดงในระหว่างเดินทัพทางไกล ล้วนแต่เป็นเช่นนี้ทั้งสิ้น. ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประเทศจีนได้ตกอยู่ในฐานะยากลำบากอีก แต่เราก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงสภาพเช่นนี้ ทำให้สภาพการณ์ทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมูลฐานได้. ในสภาพตรงกันข้าม ความราบรื่นก็เปลี่ยนเป็นความยากลำบากได้ ถ้าชาวพรรคปฏิวัติทำความผิดพลาดขึ้น. ชัยชนะของการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ เปลี่ยนไปเป็นความพ่ายแพ้แล้ว. ฐานที่มั่นปฏิวัติที่ขยายออกไปตามมณฑลต่าง ๆ ทางภาคใต้ภายหลังปี ๑๙๒๗ ก็พ่ายแพ้กันไปหมดแล้วในปี ๑๙๓๔.
ในการค้นคว้าวิชาความรู้นั้น ความขัดแย้งจากไม่รู้ไปสู่รู้ก็เป็นเช่นนี้. เมื่อเราเพิ่งเริ่มค้นคว้าลัทธิมาร์กซ มีความขัดแย้งกันอยู่ในระหว่างสภาพที่ไม่รู้ลัทธิมาร์กซหรือรู้ไม่มากกับความรู้ลัทธิมาร์กซ. แต่เนื่องจากพยายามศึกษา ก็สามารถจะแปรเปลี่ยนจากไม่รู้เป็นรู้ จากรู้ไม่มากเป็นรู้มาก และจากความหลับหูหลับตาที่มีต่อลัทธิมาร์กซเป็นความสามารถในการใช้ลัทธิมาร์กซได้อย่างเสรี.
บางคนรู้สึกว่าความขัดแย้งบางอย่างมิได้เป็นเช่นนี้. เช่นในความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิต, พลังการผลิตเป็นด้านหลัก; ในความขัดแย้งระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นด้านหลัก; ในความขัดแย้งระหว่างรากฐานทางเศรษฐกิจกับโครงสร้างชั้นบน รากฐานทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก; ฐานะของมันหาได้แปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันไม่. นี่เป็นความเข้าใจของวัตถุนิยมกลไก มิใช่ความเข้าใจของวัตถุนิยมวิภาษ. จริงทีเดียว พลังการผลิต การปฏิบัติและรากฐานทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปต่างแสดงบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาด ผู้ใดไม่ยอมรับข้อนี้ ผู้
นั้นก็ไม่ใช่นักวัตถุนิยม. แต่ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่ง ๆ ด้านเหล่านี้ คือ ความสัมพันธ์การผลิต ทฤษฎีและโครงสร้างชั้นบนก็เปลี่ยนตัวมันเองกลับมาแสดงบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาดอีก ข้อนี้ก็จะต้องยอมรับเช่นเดียวกัน. ในเวลาที่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิต พลังการผลิตก็ไม่อาจจะพัฒนาไปได้นั้น การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิตก็มีบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาด. ในเวลาที่ “ถ้าไม่มีทฤษฎีปฏิวัติ ก็ไม่อาจมีการเคลื่อนไหวปฏิวัติได้”๑๕ ดังที่เลนินได้กล่าวไว้นั้น การสร้างและส่งเสริมทฤษฎีปฏิวัติก็มีบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาด. ในเวลาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (สิ่งใด ๆ ก็เหมือนกัน) แต่ยังไม่มีเข็มมุ่ง วิธีการ, โครงการหรือนโยบายนั้น การกำหนดเข็มมุ่ง วิธีการ โครงการหรือนโยบาย ก็เป็นสิ่งที่เป็นหลักและชี้ขาด. ในเวลาที่โครงสร้างชั้นบน เช่นการเมือง วัฒนธรรม เป็นต้น ขัดขวางการพัฒนาของรากฐานทางเศรษฐกิจ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองและวัฒนธรรมก็กลายเป็นสิ่งที่เป็นหลักและชี้ขาด. การที่เรากล่าวเช่นนี้ ขัดกับวัตถุนิยมไหม? ไม่ขัด. เพราะเรายอมรับว่า ในการพัฒนาทั่วไปของประวัติศาสตร์ สิ่งที่เป็นวัตถุกำหนดสิ่งที่เป็นจิต การดำรงอยู่ทางสังคมกำหนดจิตสำนึกทางสังคม; แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับและต้องยอมรับปฏิกิริยาของสิ่งที่เป็นจิต ปฏิกิริยาของจิตสำนึกทางสังคมที่มีต่อการดำรงอยู่ทางสังคม ปฏิกิริยาของโครงสร้างชั้นบนที่มีต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ. นี่ไม่ขัดกับวัตถุนิยม หากเป็นการหลีกเลี่ยงวัตถุนิยมกลไกและยืนหยัดในวัตถุนิยมวิภาษทีเดียว.
ในการค้นคว้าปัญหาลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง ถ้าไม่ค้นคว้าสภาพทั้ง ๒ อย่าง คือ ความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งที่มิใช่เป็นหลักในกระบวนการ และด้านหลักกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าไม่ค้นคว้าลักษณะแตกต่างของสภาพความขัดแย้ง ๒ อย่างนี้แล้ว ก็จะจมลงไปสู่การค้นคว้าที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจะเข้าใจสภาพความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรมได้ และดังนั้นก็ไม่สามารถจะค้นพบวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ความขัดแย้งได้. ลักษณะแตกต่างหรือลักษณะเฉพาะของสภาพความขัดแย้ง ๒ อย่างนี้, ล้วนแต่เป็นลักษณะไม่สม่ำเสมอของพลังที่ขัดแย้งกันทั้งสิ้น. ในโลกนี้ไม่มีสิ่งที่พัฒนาไปอย่างสม่ำเสมอโดยสัมบูรณ์ เราจะต้องคัดค้านทฤษฎีสม่ำเสมอหรือทฤษฎีดุลยภาพ. ในขณะเดียวกัน  ภาวะความขัดแย้งที่เป็นรูปธรรมชนิดนี้ และการเปลี่ยนแปลงของด้านหลักกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้งในกระบวนการแห่งการพัฒนานั้น ก็เป็นการแสดงถึงพลังที่สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่านั่นเอง. การค้นคว้าสภาพที่ไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ ของความขัดแย้ง การค้นคว้าความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งที่มิใช่เป็นหลัก ด้านหลักของความขัดแย้งกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้งนั้น ได้กลายเป็นวิธีการสำคัญอันหนึ่งของพรรคการเมืองปฏิวัติในอันที่จะกำหนดเข็มมุ่งยุทธศาสตร์และยุทธิวิธีในทางการเมืองและในทางการทหารของตนอย่างถูกต้อง ซึ่งชาวพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งปวงควรต้องสนใจ.
 

๔. ความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง

 

          ในปัญหาลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง ยังมีสภาพอีก ๒ อย่างจะต้องนำเอาออกมาวิเคราะห์เป็นพิเศษ นั่นก็คือ ความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง. 

          ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งที่สลับซับซ้อน, มีความขัดแย้งจำนวนมากดำรงอยู่ และในจำนวนนี้ย่อมจะมีอันหนึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก เนื่องจากการดำรงอยู่และการพัฒนาของมัน จึงกำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของความขัดแย้งอื่น ๆ. 

          ตัวอย่างเช่น ในสังคมทุนนิยม พลังทั้งสองที่ขัดแย้งกันอันได้แก่ชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนนั้นเป็นความขัดแย้งหลัก; พลังอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกัน เช่นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาที่เหลือเดนกับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างนายทุนน้อยที่เป็นชาวนากับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับนายทุนน้อยที่เป็นชาวนา, ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนเสรีกับชนชั้นนายทุนผูกขาด, ความขัดแย้งระหว่างลัทธิประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนกับลัทธิฟัสซิสต์ของชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมด้วยกัน ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับเมืองขึ้น ตลอดจนความขัดแย้งอื่น ๆ ล้วนแต่กำหนดหรือส่งผลสะเทือนโดยพลังความขัดแย้งหลักนี้ทั้งสิ้น. 

          ในประเทศกึ่งเมืองขึ้นดังเช่นประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งที่มิใช่เป็นหลักปรากฏให้เห็นในสภาพที่สลับซับซ้อน. 

          ในเวลาที่จักรพรรดินิยมก่อสงครามรุกรานประเทศดังกล่าวนี้ นอกจากพวกทรยศกบฏชาติจำนวนน้อยแล้ว ชนชั้นต่าง ๆ ภายในประเทศอย่างนี้สามารถจะสามัคคีกันดำเนินสงครามประชาชาติคัดค้านจักรพรรดินิยมได้ชั่วคราว. ในเวลาเช่นนี้, ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับประเทศอย่างนี้ได้กลายเป็นความขัดแย้งหลัก ส่วนความขัดแย้งทั้งปวงระหว่างชนชั้นต่างๆ ภายในประเทศอย่างนี้ (รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างระบอบศักดินากับมวลประชาชนซึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก) ก็ล้วนแต่ลดลงสู่ฐานะรองและขึ้นต่อชั่วคราว. ในประเทศจีน, สงครามฝิ่นปี ๑๘๔๐ สงครามจีน-ญี่ปุ่นปี ๑๘๙๔ สงครามอี้เหอถวนปี ๑๙๐๐ และสงครามจีน-ญี่ปุ่นในปัจจุบัน ล้วนแต่มีสภาพเช่นนี้ทั้งสิ้น. 

          แต่ในสภาพการณ์อีกอย่างหนึ่ง ฐานะของความขัดแย้งก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไป. ในเวลาที่จักรพรรดินิยมไม่ได้ทำการกดขี่ด้วยสงคราม หากกดขี่ด้วยรูปแบบที่ค่อนข้างละมุนละม่อมในทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางวัฒนธรรมนั้น ชนชั้นปกครองในประเทศกึ่งเมืองขึ้นก็จะยอมจำนนต่อจักรพรรดินิยม, แล้วทั้งสองฝ่ายก็สร้างความเป็นพันธมิตรขึ้น เพื่อร่วมกันกดขี่มวลประชาชน. ในเวลาเช่นนี้ มวลประชาชนมักจะใช้รูปแบบสงครามภายในประเทศไปคัดค้านพันธมิตรระหว่างจักรพรรดินิยมกับชนชั้นศักดินา ส่วนจักรพรรดินิยมนั้นก็มักจะใช้แบบวิธีโดยอ้อม ไปช่วยเหลือพวกปฏิกิริยาในประเทศกึ่งเมืองขึ้นกดขี่ประชาชน ไม่ใช้การปฏิบัติการโดยตรง ทำให้เห็นชัดถึงลักษณะแหลมคมเป็นพิเศษของความขัดแย้งภายใน. ในประเทศจีน สงครามปฏิวัติซินไฮ่ สงครามปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ สงครามปฏิวัติที่ดินสิบปีภายหลังปี ๑๙๒๗ ล้วนแต่มีสภาพเช่นนี้ทั้งสิ้น. ยังมีสงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มปกครองปฏิกิริยาต่าง ๆ ในประเทศกึ่งเมืองขึ้น เช่นสงครามขุนศึกในประเทศจีน ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นเดียวกัน. 

          ในเวลาที่สงครามปฏิวัติภายในประเทศขยายตัวถึงขั้นที่คุกคามโดยมูลฐานต่อการดำรงอยู่ของจักรพรรดินิยมและพวกปฏิกิริยาภายในประเทศสุนัขรับใช้ของมันแล้ว จักรพรรดินิยมก็มักจะใช้วิธีการที่นอกเหนือจากวิธีการดังกล่าวข้างต้น โดยมุ่งจะรักษาการปกครองของมันไว้ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการแยกตัวภายในแนวปฏิวัติ ไม่ก็ส่งทหารไปช่วยเหลือพวกปฏิกิริยาภายในประเทศโดยตรง. ในเวลาเช่นนี้ จักรพรรดินิยมต่างประเทศกับพวกปฏิกิริยาภายในประเทศยืนอยู่ในขั้วหนึ่งอย่างเปิดเผยโดยสิ้นเชิง ส่วนมวลประชาชนก็ยืนอยู่ในอีกขั้วหนึ่ง, กลายเป็นความขัดแย้งหลัก ซึ่งกำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อภาวการณ์พัฒนาของความขัดแย้งอื่น ๆ. การที่ประเทศทุนนิยมต่างๆ สนับสนุนช่วยเหลือพวกปฏิกิริยารัสเซียภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้น เป็นตัวอย่างของการแทรกแซงด้วยกำลังทหาร. การทรยศของเจียงไคเช็คเมื่อปี ๑๙๒๗ เป็นตัวอย่างของการก่อให้เกิดการแตกแยกตัวในแนวปฏิบัติ. 

          แต่จะอย่างไรก็ตาม ในขั้นต่างๆ แห่งการพัฒนาของกระบวนการนั้น มีความขัดแย้งหลักที่มีบทบาทนำเพียงอันเดียวเท่านั้น มีความขัดแย้งหลักที่มีบทบาทนำเพียงอันเดียวเท่านั้น ข้อนี้ไม่เป็นที่สงสัยเลย. 

          จากนี้จะรู้ได้ว่า ในกระบวนการใด ๆ ถ้ามีความขัดแย้งจำนวนมากดำรงอยู่ ในความขัดแย้งเหล่านี้จะต้องมีอยู่อันหนึ่งที่เป็นหลัก ที่มีบทบาทนำและชี้ขาด ส่วนความขัดแย้งอื่น ๆ นั้นอยู่ในฐานะรองและขึ้นต่อ. ดังนั้น ในการค้นคว้ากระบวนการใด ๆ ก็ดี ถ้าเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนที่มีความขัดแย้งมากกว่า ๒ อันดำรงอยู่แล้ว ก็จะต้องทุ่มกำลังทั้งหมดไปค้นให้พบความขัดแย้งหลักของมัน. เมื่อจับความขัดแย้งหลักนี้ได้แล้ว ปัญหาทั้งปวงก็จะแก้ตกไปได้โดยง่ายดาย. นี่คือวิธีการที่มาร์กซสอนเราเมื่อท่านค้นคว้าสังคมทุนนิยม. เมื่อเลนินและสตาลินค้นคว้าจักรพรรดินิยมและวิกฤตทั่วไปของทุนนิยม และเมื่อค้นคว้าเศรษฐกิจสหภาพโซเวียต ท่านทั้งสองก็ได้สอนวิธีการนี้แก่เราเช่นเดียวกัน. นักปราชญ์และนักการปฏิบัตินับพันนับหมื่นไม่เข้าใจวิธีการชนิดนี้ ผลก็คือ เหมือนตกลงไปในทะเลแห่งหมอกควัน ค้นไม่พบใจกลางดของปัญหา, และก็ค้นไม่พบวิธีการแก้ความขัดแย้ง.  

          จะถือว่าความขัดแย้งทั้งหมดในกระบวนการเป็นสิ่งเท่าเทียมกันไม่ได้ จะต้องจำแนกมันออกเป็นประเภทหลักและประเภทรอง และเน้นหนักในการจับความขัดแย้งหลักไว้ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น. แต่ในความขัดแย้งชนิดต่างๆ ไม่ว่าที่เป็นหลักหรือเป็นรอง เราจะถือว่าด้าน ๒ ด้านที่ขัดแย้งกันเป็นสิ่งเท่าเทียมกันได้ไหม? ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน. ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งชนิดใด ด้านต่างๆ ของความขัดแย้งย่อมพัฒนาไม่สม่ำเสมอกัน. บางครั้งดูคล้ายกับว่ามีกำลังพอ ๆ กัน, แต่นั่นก็เป็นเพียงสภาพชั่วคราวและสัมพัทธ์เท่านั้น ส่วนรูปการพื้นฐานหาสม่ำเสมอกันไม่. ในด้าน ๒ ด้านที่ขัดแย้งกันอยู่ ย่อมมีด้านหนึ่งที่เป็นหลัก อีกด้านหนึ่งเป็นรอง. ด้านหลักของมันก็คือสิ่งที่เรียกว่าด้านที่มีบทบาทนำในความขัดแย้งนั่นเอง. ลักษณะของสรรพสิ่งกำหนดโดยด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งมีฐานะครอบงำเป็นสำคัญ. 

          แต่สภาพเช่นนี้มิใช่อยู่คงที่ ด้านหลักกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้งแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกัน ลักษณะของสรรพสิ่งก็จะแปรเปลี่ยนตามไปด้วย. ในกระบวนการที่แน่นอนหนึ่งๆ นั้นหรือในขั้นที่แน่นอนหนึ่งๆ แห่งการพัฒนาของความขัดแย้ง ด้านหลักอยู่ทางฝ่าย ก. ด้านที่มิใช่เป็นหลักอยู่ทางฝ่าย ข.; ครั้นถึงขั้นพัฒนาอีกขั้นหนึ่งหรือกระบวนการแห่งการพัฒนาอีกกระบวนการหนึ่ง ก็จะสับเปลี่ยนกัน ทั้งนี้กำหนดโดยระดับการเพิ่มหรือลดของกำลังการต่อสู้ระหว่างด้านที่ขัดแย้งกัน ๒ ด้านในการพัฒนาของสรรพสิ่ง. 

          เรามักจะใช้คำว่า “ใหม่เข้าแทนที่เก่า”.  ใหม่เข้าแทนที่เก่าเป็นกฎทั่วไปของจักรวาลซึ่งไม่อาจจะต้านทานได้ชั่วนิรันดร. การที่สิ่งสิ่งหนึ่งแปรเปลี่ยนเป็นอีกสิ่งหนึ่งโดยผ่านรูปแบบการก้าวกระโดดที่ต่างกันตามลักษณะและเงื่อนไขของตัวมันเองนั้น ก็คือกระบวนการที่ใหม่เข้าแทนที่เก่า. ภายในของสิ่งหนึ่งสิ่งใดล้วนแต่มีความขัดแย้งระหว่างด้านใหม่กับด้านเก่า และก่อรูปขึ้นเป็นการต่อสู้ที่คดเคี้ยวทั้งกระบวน. ผลของการต่อสู้ก็คือ ด้านใหม่เปลี่ยนจากเล็กเป็นใหญ่และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นสิ่งครอบงำ; ส่วนด้านเก่าเปลี่ยนจากใหญ่เป็นเล็ก และกลายเป็นสิ่งที่ค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความพินาศ. เมื่อใดที่ด้านใหม่ครองฐานะครอบงำด้านเก่า เมื่อนั้นลักษณะของสิ่งเก่าก็จะเปลี่ยนเป็นลักษณะของสิ่งใหม่. จากนี้จะเห็นได้ว่า, ลักษณะของสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญนั้นกำหนดโดยด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งครองฐานะครอบงำ. เมื่อด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งครองฐานะครอบงำเกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะของสิ่งนั้นๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย. 

          ในสังคมทุนนิยม ทุนนิยมได้แปรเปลี่ยนจากฐานะที่ขึ้นต่อในยุคสังคมนิยมศักดินาอันเป็นยุคเก่ามาเป็นพลังที่ครองฐานะครอบงำ ลักษณะของสังคมก็เปลี่ยนไปจากศักดินานิยมมาเป็นทุนนิยมด้วย. ในยุคสังคมนิยมเมื่อครั้งเป็นยุคใหม่ อิทธิพลศักดินาได้แปรเปลี่ยนจากพลังซึ่งเดิมอยู่ในฐานะครอบงำมาเป็นพลังที่ขึ้นต่อ และแล้วก็ค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสูญสลาย ตัวอย่างเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส ก็เป็นเช่นนี้. พร้อมกันไปกับการพัฒนาของพลังการผลิต ชนชั้นนายทุนได้แปรเปลี่ยนไปจากชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทก้าวหน้ามาเป็นชนชั้นเก่าที่มีบทบาทปฏิกิริยา จนกระทั่งในที่สุดถูกชนชั้นกรรมาชีพโค่นล้ม กลายเป็นชนชั้นที่ถูกยึดปัจจัยการผลิตส่วนบุคคลและสูญเสียอำนาจไป และชนชั้นนี้ก็จะค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสูญสลายเช่นเดียวกัน. ชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีจำนวนคนมากกว่าชนชั้นนายทุนเป็นอันมากและเติบโตขึ้นพร้อมกันกับชนชั้นนายทุนแต่ถูกชนชั้นนายทุนปกครองนั้น เป็นพลังใหม่อันหนึ่ง ชนชั้นนี้ได้เปลี่ยนจากฐานะที่ขึ้นต่อชนชั้นนายทุนในระยะแรกค่อย ๆ เติบใหญ่ขึ้นเป็นชนชั้นที่เป็นอิสระและมีบทบาทนำในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในที่สุดยึดอำนาจรัฐได้และกลายเป็นชนชั้นปกครอง. เมื่อนั้น ลักษณะของสังคมก็แปรเปลี่ยนจากสังคมทุนนิยมซึ่งเป็นสังคมเก่ามาเป็นสังคมสังคมนิยมซึ่งเป็นสังคมใหม่.  นี่แหละคือหนทางที่สหภาพโซเวียตได้เดินทางมาแล้วและประเทศอื่น ๆ ทั้งปวงก็จะต้องเดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น. 

          กล่าวตามสภาพของประเทศจีน จักรพรรดินิยมอยู่ในฐานะหลักในความขัดแย้งที่ประเทศจีนได้ก่อรูปขึ้นเป็นกึ่งเมืองขึ้น, จักรพรรดินิยมกดขี่ประชาชนจีน ส่วนประเทศจีนเปลี่ยนจากประเทศเอกราชมาเป็นกึ่งเมืองขึ้น. แต่การณ์จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน ในสถานการณ์การต่อสู้ระหว่าง ๒ ฝ่าย, พลังของประชาชนจีนซึ่งเติบโตขึ้นภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพจะต้องเปลี่ยนประเทศจีนจากกึ่งเมืองขึ้นไปเป็นประเทศเอกราชอย่างแน่นอน และจักรพรรดินิยมก็จะต้องถูกโค่นล้ม จีนเก่าจะต้องเปลี่ยนเป็นจีนใหม่อย่างแน่นอน. 

          การที่จีนเก่าเปลี่ยนเป็นจีนใหม่นั้น ยังรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพระหว่างอิทธิพลเก่าของศักดินากับอิทธิพลใหม่ของประชาชนด้วย. ชนชั้นเจ้าที่ดินศักดินาเก่าจะถูกโค่นล้มลง, เปลี่ยนจากผู้ครองอำนาจไปเป็นผู้ถูกปกครอง เมื่อนั้นชนชั้นนี้ก็จะค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสูญสลายเช่นเดียวกัน. ส่วนประชาชนนั้นก็จะเปลี่ยนจากผู้ถูกปกครองไปเป็นผู้ครองอำนาจภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพ. เมื่อนั้น ลักษณะของสังคมจีนก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนจากกึ่งเมืองขึ้นและกึ่งศักดินาซึ่งเป็นสังคมเก่าไปเป็นสังคมประชาธิปไตยซึ่งเป็นสังคมใหม่. 

           เรื่องการแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันเช่นนี้ เรามีความจัดเจนมาแล้วในอดีต. จักรวรรดิราชวงศ์เช็งซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่เป็นเวลาเกือบ ๓๐๐ ปี ได้ถูกโค่นล้มลงไปในสมัยการปฏิวัติซินไฮ่; ส่วนสมาคมพันธมิตรปฏิวัติซึ่งนำโดยซุนยัตเซ็นได้รับชัยชนะมาครั้งหนึ่ง. ในสงครามปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ อิทธิพลปฏิวัติทางภาคใต้ซึ่งเป็นอิทธิพลร่วมกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคก๊กมินตั๋ง ได้เปลี่ยนจากพลังที่อ่อนแอเป็นพลังที่เข้มแข็ง และได้รับชัยชนะในสงครามปราบขุนศึกภาคเหนือ; ส่วนขุนศึกภาคเหนือที่ครองความเป็นใหญ่อยู่ชั่วระยะหนึ่งนั้นถูกโค่นล้มลงไป. เมื่อปี ๑๙๒๗, พลังประชาชนที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ถูกอิทธิพลปฏิกิริยาก๊กมินตั๋งโจมตีจนหดเล็กลงไปมาก; แต่เนื่องจากได้กวาดล้างลัทธิฉวยโอกาสภายในของตน จึงค่อย ๆ เติบใหญ่ขึ้นมาอีก. ในฐานที่มั่นปฏิวัติซึ่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์, ชาวนาได้แปรเปลี่ยนจากผู้ถูกปกครองมาเป็นผู้ครองอำนาจ, ส่วนเจ้าที่ดินแปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม. ในโลกนี้สิ่งใหม่ย่อมเข้าแทนที่สิ่งเก่าเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่า ขจัดสิ่งเก่าก่อสิ่งใหม่หรือผลักสิ่งเก่าออกไปให้สิ่งใหม่ออกมาเช่นนี้มีอยู่ตลอดเวลา. 

          ในบางเวลาของการต่อสู้ปฏิวัติ เงื่อนไขที่ยากลำบากเหนือกว่าเงื่อนไขที่ราบรื่น ในเวลาเช่นนี้ ความยากลำบากเป็นด้านหลักของความขัดแย้ง ความราบรื่นเป็นด้านรองของความขัดแย้ง. แต่เนื่องจากความพยายามของชาวพรรคปฏิวัติ, สามารถขจัดอุปสรรคไปได้ทีละก้าว ๆ คลี่คลายขยายภาวการณ์ใหม่ที่ราบรื่น. สภาพที่กองทัพแดงในระหว่างเดินทัพทางไกล ล้วนแต่เป็นเช่นนี้ทั้งสิ้น. ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประเทศจีนได้ตกอยู่ในฐานะยากลำบากอีก แต่เราก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงสภาพเช่นนี้ ทำให้สภาพการณ์ทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมูลฐานได้. ในสภาพตรงกันข้าม ความราบรื่นก็เปลี่ยนเป็นความยากลำบากได้ ถ้าชาวพรรคปฏิวัติทำความผิดพลาดขึ้น. ชัยชนะของการปฏิวัติปี ๑๙๒๔ ถึงปี ๑๙๒๗ เปลี่ยนไปเป็นความพ่ายแพ้แล้ว. ฐานที่มั่นปฏิวัติที่ขยายออกไปตามมณฑลต่าง ๆ ทางภาคใต้ภายหลังปี ๑๙๒๗ ก็พ่ายแพ้กันไปหมดแล้วในปี ๑๙๓๔.  

          ในการค้นคว้าวิชาความรู้นั้น ความขัดแย้งจากไม่รู้ไปสู่รู้ก็เป็นเช่นนี้. เมื่อเราเพิ่งเริ่มค้นคว้าลัทธิมาร์กซ มีความขัดแย้งกันอยู่ในระหว่างสภาพที่ไม่รู้ลัทธิมาร์กซหรือรู้ไม่มากกับความรู้ลัทธิมาร์กซ. แต่เนื่องจากพยายามศึกษา ก็สามารถจะแปรเปลี่ยนจากไม่รู้เป็นรู้ จากรู้ไม่มากเป็นรู้มาก และจากความหลับหูหลับตาที่มีต่อลัทธิมาร์กซเป็นความสามารถในการใช้ลัทธิมาร์กซได้อย่างเสรี. 

          บางคนรู้สึกว่าความขัดแย้งบางอย่างมิได้เป็นเช่นนี้. เช่นในความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิตกับความสัมพันธ์การผลิต, พลังการผลิตเป็นด้านหลัก; ในความขัดแย้งระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นด้านหลัก; ในความขัดแย้งระหว่างรากฐานทางเศรษฐกิจกับโครงสร้างชั้นบน รากฐานทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก; ฐานะของมันหาได้แปรเปลี่ยนไปสู่กันและกันไม่. นี่เป็นความเข้าใจของวัตถุนิยมกลไก มิใช่ความเข้าใจของวัตถุนิยมวิภาษ. จริงทีเดียว พลังการผลิต การปฏิบัติและรากฐานทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปต่างแสดงบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาด ผู้ใดไม่ยอมรับข้อนี้ ผู้นั้นก็ไม่ใช่นักวัตถุนิยม. แต่ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่ง ๆ ด้านเหล่านี้ คือ ความสัมพันธ์การผลิต ทฤษฎีและโครงสร้างชั้นบนก็เปลี่ยนตัวมันเองกลับมาแสดงบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาดอีก ข้อนี้ก็จะต้องยอมรับเช่นเดียวกัน. ในเวลาที่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิต พลังการผลิตก็ไม่อาจจะพัฒนาไปได้นั้น การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิตก็มีบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาด. ในเวลาที่ “ถ้าไม่มีทฤษฎีปฏิวัติ ก็ไม่อาจมีการเคลื่อนไหวปฏิวัติได้”๑๕ ดังที่เลนินได้กล่าวไว้นั้น การสร้างและส่งเสริมทฤษฎีปฏิวัติก็มีบทบาทที่เป็นหลักและชี้ขาด. ในเวลาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (สิ่งใด ๆ ก็เหมือนกัน) แต่ยังไม่มีเข็มมุ่ง วิธีการ, โครงการหรือนโยบายนั้น การกำหนดเข็มมุ่ง วิธีการ โครงการหรือนโยบาย ก็เป็นสิ่งที่เป็นหลักและชี้ขาด. ในเวลาที่โครงสร้างชั้นบน เช่นการเมือง วัฒนธรรม เป็นต้น ขัดขวางการพัฒนาของรากฐานทางเศรษฐกิจ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองและวัฒนธรรมก็กลายเป็นสิ่งที่เป็นหลักและชี้ขาด. การที่เรากล่าวเช่นนี้ ขัดกับวัตถุนิยมไหม? ไม่ขัด. เพราะเรายอมรับว่า ในการพัฒนาทั่วไปของประวัติศาสตร์ สิ่งที่เป็นวัตถุกำหนดสิ่งที่เป็นจิต การดำรงอยู่ทางสังคมกำหนดจิตสำนึกทางสังคม; แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับและต้องยอมรับปฏิกิริยาของสิ่งที่เป็นจิต ปฏิกิริยาของจิตสำนึกทางสังคมที่มีต่อการดำรงอยู่ทางสังคม ปฏิกิริยาของโครงสร้างชั้นบนที่มีต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ. นี่ไม่ขัดกับวัตถุนิยม หากเป็นการหลีกเลี่ยงวัตถุนิยมกลไกและยืนหยัดในวัตถุนิยมวิภาษทีเดียว. 

          ในการค้นคว้าปัญหาลักษณะเฉพาะของความขัดแย้ง ถ้าไม่ค้นคว้าสภาพทั้ง ๒ อย่าง คือ ความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งที่มิใช่เป็นหลักในกระบวนการ และด้านหลักกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าไม่ค้นคว้าลักษณะแตกต่างของสภาพความขัดแย้ง ๒ อย่างนี้แล้ว ก็จะจมลงไปสู่การค้นคว้าที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจะเข้าใจสภาพความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรมได้ และดังนั้นก็ไม่สามารถจะค้นพบวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ความขัดแย้งได้. ลักษณะแตกต่างหรือลักษณะเฉพาะของสภาพความขัดแย้ง ๒ อย่างนี้, ล้วนแต่เป็นลักษณะไม่สม่ำเสมอของพลังที่ขัดแย้งกันทั้งสิ้น. ในโลกนี้ไม่มีสิ่งที่พัฒนาไปอย่างสม่ำเสมอโดยสัมบูรณ์ เราจะต้องคัดค้านทฤษฎีสม่ำเสมอหรือทฤษฎีดุลยภาพ. ในขณะเดียวกัน  ภาวะความขัดแย้งที่เป็นรูปธรรมชนิดนี้ และการเปลี่ยนแปลงของด้านหลักกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้งในกระบวนการแห่งการพัฒนานั้น ก็เป็นการแสดงถึงพลังที่สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่านั่นเอง. การค้นคว้าสภาพที่ไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ ของความขัดแย้ง การค้นคว้าความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งที่มิใช่เป็นหลัก ด้านหลักของความขัดแย้งกับด้านที่มิใช่เป็นหลักของความขัดแย้งนั้น ได้กลายเป็นวิธีการสำคัญอันหนึ่งของพรรคการเมืองปฏิวัติในอันที่จะกำหนดเข็มมุ่งยุทธศาสตร์และยุทธิวิธีในทางการเมืองและในทางการทหารของตนอย่างถูกต้อง ซึ่งชาวพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งปวงควรต้องสนใจ.