bg-head-3

ประวัติส่วนตัว

๖. ฐานะของความเป็นปฏิปักษ์กันในความขัดแย้ง

 

๖. ฐานะของความเป็นปฏิปักษ์กันในความขัดแย้ง
 
ในปัญหาลักษณะต่อสู้ของความขัดแย้ง รวมถึงปัญหาที่ว่าความเป็นปฏิปักษ์กันคืออะไรด้วย. คำตอบของเราคือ ความเป็นปฏิปักษ์กันเป็นรูปแบบชนิดหนึ่งของการต่อสู้ของความขัดแย้ง มิใช่รูปแบบทั้งหมดของการต่อสู้ของความขัดแย้ง.
ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มีความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างชนชั้นดำรงอยู่ ทั้งนี้เป็นการแสดงออกชนิดหนึ่งที่เป็นเฉพาะของการต่อสู้ของความขัดแย้ง. ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นขูดรีดกับชนชั้นถูกขูดรีด ไม่ว่าในสังคมทาสก็ดี สังคมศักดินาก็ดี หรือสังคมทุนนิยมก็ดี ชนชั้นทั้งสองที่ขัดแย้งกันนี้ อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันเป็นเวลายาวนาน พวกเขาต่อสู้กัน, แต่ต้องรอจนกว่าความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทั้งสองพัฒนาไปถึงขั้นที่แน่นอนหนึ่งๆ แล้ว ทั้งสองฝ่ายจึงจะใช้รูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กันภายนอกและพัฒนาเป็นการปฏิวัติ. ในสังคมชนชั้นการแปรเปลี่ยนจากสันติภาพไปสู่สงคราม ก็เป็นเช่นนี้.
เวลาที่ลูกระเบิดยังไม่ระเบิด เป็นเวลาที่สิ่งขัดแย้งกันอยู่ร่วมกันในองค์เอกภาพอันเดียวกันเพราะเงื่อนไขที่แน่นอน. ต่อเมื่อเงื่อนไขใหม่ (การจุดชนวน) ปรากฏขึ้นแล้ว จึงจะเกิดการระเบิด. ปรากฏการณ์ทั้งปวงในโลกธรรมชาติซึ่งในที่สุดใช้รูปแบบปะทะกันภายนอกไปแก้ความขัดแย้งเก่าเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่นั้น ล้วนแต่มีสภาพที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวมานี้ทั้งสิ้น.
การรับรู้สภาพเช่นนี้สำคัญยิ่งนัก. มันทำให้เราเข้าใจว่า ในสังคมชนชั้น การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่พ้น หากปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็จะบรรลุการก้าวกระโดดในการพัฒนาของสังคมไม่ได้ ก็จะโค่นชนชั้นปกครองปฏิกิริยาให้ประชาชนได้รับอำนาจรัฐไม่ได้. ชาวพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องเปิดโปงการโฆษณาชวนเชื่อของพวกปฏิกิริยาที่ว่าการปฏิวัติสังคมเป็นสิ่งไม่จำเป็นและเป็นไปไม่ได้ ฯลฯ จะต้องยืนหยัดในทฤษฎีว่าด้วยการปฏิวัติสังคมแห่งลัทธิมาร์กซ-เลนิน, และทำให้ประชาชนเข้าใจว่า การปฏิวัติสังคมไม่เพียงแต่จำเป็นอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น หากยังเป็นไปได้อย่างสิ้นเชิงด้วย ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษยชาติและชัยชนะของสหภาพโซเวียตล้วนแต่ได้พิสูจน์ให้เห็นสัจธรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ข้อนี้แล้วทั้งสิ้น.
แต่เราจะต้องค้นคว้าสภาพต่าง ๆ ของการต่อสู้ของความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ควรนำเอาสูตรดังกล่าวข้างต้นไปใช้กับสิ่งทั้งปวงอย่างไม่เหมาะสม. ความขัดแย้งและการต่อสู้เป็นสิ่งทั่วไปและสัมบูรณ์ แต่วิธีการแก้ความขัดแย้ง นัยหนึ่งรูปแบบการต่อสู้นั้น แตกต่างกันเพราะลักษณะของความขัดแย้งแตกต่างกัน. ความขัดแย้งบางอย่างมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเปิดเผย แต่ความขัดแย้งบางอย่างไม่เป็นเช่นนั้น. โดยการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมของสรรพสิ่ง ความขัดแย้งบางอย่างเดิมทียังมีลักษณะที่มิใช่เป็นปฏิปักษ์กัน แต่แล้วพัฒนาเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน; และก็มีความขัดแย้งบางอย่างเดิมทีมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน แต่แล้วพัฒนาเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะที่มิใช่เป็นปฏิปักษ์กัน.
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในเวลาที่ชนชั้นยังดำรงอยู่, ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องกับความคิดที่ผิดภายในพรรคคอมมิวนิสต์นั้น เป็นการสะท้อนเข้ามาภายในพรรคของความขัดแย้งทางชนชั้น. เมื่อเริ่มแรก หรือในปัญหาเฉพาะราย ความขัดแย้งชนิดนี้ไม่แน่ว่าจะแสดงออกเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กันทันที. แต่พร้อมกับการพัฒนาของการต่อสู้ทางชนชั้น ความขัดแย้งชนิดนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน. ประวัติพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตบอกแก่เราว่า, ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องของเลนินและสตาลินกับความคิดที่ผิดของทรอตสกี้5 บุคฮารินและคนอื่น ๆ เมื่อเริ่มแรกยังมิได้แสดงออกในรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน. ประวัติพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็เคยมีสภาพเช่นนี้. ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องของสหายจำนวนมากในพรรคเรากับความคิดที่ผิดของเฉินตู๋ซิ่ว จางกว๋อเถาและคนอื่นๆ เมื่อเริ่มแรกก็มิได้แสดงออกในรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน. ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องกับความคิดที่ผิดภายในพรรคเราในปัจจุบัน มิได้แสดงออกในรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน ถ้าสหายที่ทำความผิดพลาดแก้ความผิดพลาดของตนได้แล้ว ก็จะไม่พัฒนาเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน. ด้วยเหตุนี้ ด้านหนึ่ง พรรคจะต้องดำเนินการต่อสู้อย่างเคร่งครัดกับความคิดที่ผิด อีกด้านหนึ่ง ก็จะต้องให้โอกาสอย่างเต็มที่ในการสำนึกผิดแก่สหายที่ทำความผิดพลาด. ในสภาพเช่นนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า การต่อสู้ที่รุนแรงเกินไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม. แต่ถ้าผู้ทำความผิดพลาดดึงดันในความผิดพลาดและขยายความผิดพลาดนั้นต่อไป, ความขัดแย้งชนิดนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน.
ความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบทในด้านเศรษฐกิจนั้นเป็นความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์กันอย่างยิ่งทั้งในสังคมทุนนิยม (ที่นั่นเมืองซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของชนชั้นนายทุนปล้นสะดมชนบทอย่างทารุณ) และในเขตปกครองของก๊กมินตั๋งในประเทศจีน (ที่นั่นเมืองซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินิยมต่างประเทศและชนชั้นนายทุนนายหน้าใหญ่ในประเทศปล้นสะดมชนบทอย่างป่าเถื่อนยิ่ง). แต่ในประเทศสังคมนิยมและในฐานที่มั่นปฏิวัติของเรา ความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์กันนี้ก็ได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งที่มิใช่เป็นปฏิปักษ์กัน และเมื่อถึงสังคมคอมมิวนิสต์แล้ว ความขัดแย้งนี้ก็จะสูญสิ้นไป.
เลนินกล่าวว่า “ความเป็นปฏิปักษ์กันกับความขัดแย้งนั้นแตกต่างกันโดยเด็ดขาด. ภายใต้ระบอบสังคมนิยม ความเป็นปฏิปักษ์กันสูญสิ้นไปแล้ว แต่ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่.”๒๕ ทั้งนี้หมายความว่า ความเป็นปฏิปักษ์กันนั้น เป็นเพียงรูปแบบชนิดหนึ่งของการต่อสู้ของความขัดแย้งเท่านั้น มิใช่รูปแบบทั้งหมดของมัน จะนำสูตรนี้ไปใช้ในทุกหนทุกแห่งหาได้ไม่.
 

๖. ฐานะของความเป็นปฏิปักษ์กันในความขัดแย้ง

 

          ในปัญหาลักษณะต่อสู้ของความขัดแย้ง รวมถึงปัญหาที่ว่าความเป็นปฏิปักษ์กันคืออะไรด้วย. คำตอบของเราคือ ความเป็นปฏิปักษ์กันเป็นรูปแบบชนิดหนึ่งของการต่อสู้ของความขัดแย้ง มิใช่รูปแบบทั้งหมดของการต่อสู้ของความขัดแย้ง. 

          ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มีความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างชนชั้นดำรงอยู่ ทั้งนี้เป็นการแสดงออกชนิดหนึ่งที่เป็นเฉพาะของการต่อสู้ของความขัดแย้ง. ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นขูดรีดกับชนชั้นถูกขูดรีด ไม่ว่าในสังคมทาสก็ดี สังคมศักดินาก็ดี หรือสังคมทุนนิยมก็ดี ชนชั้นทั้งสองที่ขัดแย้งกันนี้ อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันเป็นเวลายาวนาน พวกเขาต่อสู้กัน, แต่ต้องรอจนกว่าความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทั้งสองพัฒนาไปถึงขั้นที่แน่นอนหนึ่งๆ แล้ว ทั้งสองฝ่ายจึงจะใช้รูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กันภายนอกและพัฒนาเป็นการปฏิวัติ. ในสังคมชนชั้นการแปรเปลี่ยนจากสันติภาพไปสู่สงคราม ก็เป็นเช่นนี้. 

          เวลาที่ลูกระเบิดยังไม่ระเบิด เป็นเวลาที่สิ่งขัดแย้งกันอยู่ร่วมกันในองค์เอกภาพอันเดียวกันเพราะเงื่อนไขที่แน่นอน. ต่อเมื่อเงื่อนไขใหม่ (การจุดชนวน) ปรากฏขึ้นแล้ว จึงจะเกิดการระเบิด. ปรากฏการณ์ทั้งปวงในโลกธรรมชาติซึ่งในที่สุดใช้รูปแบบปะทะกันภายนอกไปแก้ความขัดแย้งเก่าเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่นั้น ล้วนแต่มีสภาพที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวมานี้ทั้งสิ้น. 

          การรับรู้สภาพเช่นนี้สำคัญยิ่งนัก. มันทำให้เราเข้าใจว่า ในสังคมชนชั้น การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่พ้น หากปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็จะบรรลุการก้าวกระโดดในการพัฒนาของสังคมไม่ได้ ก็จะโค่นชนชั้นปกครองปฏิกิริยาให้ประชาชนได้รับอำนาจรัฐไม่ได้. ชาวพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องเปิดโปงการโฆษณาชวนเชื่อของพวกปฏิกิริยาที่ว่าการปฏิวัติสังคมเป็นสิ่งไม่จำเป็นและเป็นไปไม่ได้ ฯลฯ จะต้องยืนหยัดในทฤษฎีว่าด้วยการปฏิวัติสังคมแห่งลัทธิมาร์กซ-เลนิน, และทำให้ประชาชนเข้าใจว่า การปฏิวัติสังคมไม่เพียงแต่จำเป็นอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น หากยังเป็นไปได้อย่างสิ้นเชิงด้วย ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษยชาติและชัยชนะของสหภาพโซเวียตล้วนแต่ได้พิสูจน์ให้เห็นสัจธรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ข้อนี้แล้วทั้งสิ้น. 

          แต่เราจะต้องค้นคว้าสภาพต่าง ๆ ของการต่อสู้ของความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ควรนำเอาสูตรดังกล่าวข้างต้นไปใช้กับสิ่งทั้งปวงอย่างไม่เหมาะสม. ความขัดแย้งและการต่อสู้เป็นสิ่งทั่วไปและสัมบูรณ์ แต่วิธีการแก้ความขัดแย้ง นัยหนึ่งรูปแบบการต่อสู้นั้น แตกต่างกันเพราะลักษณะของความขัดแย้งแตกต่างกัน. ความขัดแย้งบางอย่างมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเปิดเผย แต่ความขัดแย้งบางอย่างไม่เป็นเช่นนั้น. โดยการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมของสรรพสิ่ง ความขัดแย้งบางอย่างเดิมทียังมีลักษณะที่มิใช่เป็นปฏิปักษ์กัน แต่แล้วพัฒนาเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน; และก็มีความขัดแย้งบางอย่างเดิมทีมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน แต่แล้วพัฒนาเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะที่มิใช่เป็นปฏิปักษ์กัน. 

          ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในเวลาที่ชนชั้นยังดำรงอยู่, ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องกับความคิดที่ผิดภายในพรรคคอมมิวนิสต์นั้น เป็นการสะท้อนเข้ามาภายในพรรคของความขัดแย้งทางชนชั้น. เมื่อเริ่มแรก หรือในปัญหาเฉพาะราย ความขัดแย้งชนิดนี้ไม่แน่ว่าจะแสดงออกเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กันทันที. แต่พร้อมกับการพัฒนาของการต่อสู้ทางชนชั้น ความขัดแย้งชนิดนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน. ประวัติพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตบอกแก่เราว่า, ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องของเลนินและสตาลินกับความคิดที่ผิดของทรอตสกี้5 บุคฮารินและคนอื่น ๆ เมื่อเริ่มแรกยังมิได้แสดงออกในรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน. ประวัติพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็เคยมีสภาพเช่นนี้. ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องของสหายจำนวนมากในพรรคเรากับความคิดที่ผิดของเฉินตู๋ซิ่ว จางกว๋อเถาและคนอื่นๆ เมื่อเริ่มแรกก็มิได้แสดงออกในรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน. ความขัดแย้งระหว่างความคิดที่ถูกต้องกับความคิดที่ผิดภายในพรรคเราในปัจจุบัน มิได้แสดงออกในรูปแบบที่เป็นปฏิปักษ์กัน ถ้าสหายที่ทำความผิดพลาดแก้ความผิดพลาดของตนได้แล้ว ก็จะไม่พัฒนาเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน. ด้วยเหตุนี้ ด้านหนึ่ง พรรคจะต้องดำเนินการต่อสู้อย่างเคร่งครัดกับความคิดที่ผิด อีกด้านหนึ่ง ก็จะต้องให้โอกาสอย่างเต็มที่ในการสำนึกผิดแก่สหายที่ทำความผิดพลาด. ในสภาพเช่นนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า การต่อสู้ที่รุนแรงเกินไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม. แต่ถ้าผู้ทำความผิดพลาดดึงดันในความผิดพลาดและขยายความผิดพลาดนั้นต่อไป, ความขัดแย้งชนิดนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กัน. 

          ความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบทในด้านเศรษฐกิจนั้นเป็นความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์กันอย่างยิ่งทั้งในสังคมทุนนิยม (ที่นั่นเมืองซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของชนชั้นนายทุนปล้นสะดมชนบทอย่างทารุณ) และในเขตปกครองของก๊กมินตั๋งในประเทศจีน (ที่นั่นเมืองซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินิยมต่างประเทศและชนชั้นนายทุนนายหน้าใหญ่ในประเทศปล้นสะดมชนบทอย่างป่าเถื่อนยิ่ง). แต่ในประเทศสังคมนิยมและในฐานที่มั่นปฏิวัติของเรา ความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์กันนี้ก็ได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งที่มิใช่เป็นปฏิปักษ์กัน และเมื่อถึงสังคมคอมมิวนิสต์แล้ว ความขัดแย้งนี้ก็จะสูญสิ้นไป. 

          เลนินกล่าวว่า “ความเป็นปฏิปักษ์กันกับความขัดแย้งนั้นแตกต่างกันโดยเด็ดขาด. ภายใต้ระบอบสังคมนิยม ความเป็นปฏิปักษ์กันสูญสิ้นไปแล้ว แต่ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่.”๒๕ ทั้งนี้หมายความว่า ความเป็นปฏิปักษ์กันนั้น เป็นเพียงรูปแบบชนิดหนึ่งของการต่อสู้ของความขัดแย้งเท่านั้น มิใช่รูปแบบทั้งหมดของมัน จะนำสูตรนี้ไปใช้ในทุกหนทุกแห่งหาได้ไม่.