หมายเหตุ
* นิพนธ์ปรัชญาเรื่องนี้ สหายเหมาเจ๋อตุงเขียนขึ้นหลังเรื่อง “ว่าด้วยการปฏิบัติ” ด้วยจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือเพื่อที่จะขจัด
ความคิดลัทธิคัมภีร์อันร้ายแรงที่มีอยู่ภายในพรรค เรื่องนี้เคยแสดงเป็นปาฐกถาในมหาวิทยาลัยการทหารและการเมืองต่อต้าน
ญี่ปุ่นที่เยนอานมาแล้ว. ในขณะที่รวบรวมเข้าไว้ในหนังสือเล่มนี้ ผู้นิพนธ์ได้เพิ่มเติม ตัดทอนและแก้ไขเป็นบางส่วน.
๑. อ้างจาก “บันทึกปรัชญา” ของเลนิน ตอน “สังเขปความจากตอน ‘ปรัชญาสำนักอิลิยา’ ในหนังสือ ‘ประวัติปรัชญา’ ของเฮเกล
เล่ม ๑”
๒. ในเรื่อง “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” เลนินกล่าวว่า “การแยกเป็น ๒ ส่วนของสิ่งเอกภาพและความรับรู้ของเราที่มีต่อส่วนต่าง ๆ ที่
ขัดแย้งกันของมัน, คือธาตุแท้ของวิภาษวิธี”. ในเรื่อง “สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” เลนินกล่าวอีกว่า “วิภาษวิธี
กำหนดได้อย่างคร่าว ๆ ว่า เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของด้านตรงกันข้าม. เช่นนี้ก็ยึดกุมแกนของวิภาษวิธีไว้ได้ แต่
ยังจำเป็นต้องอธิบายและขยายความ.”
๓. อ้างจาก “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” ของเลนิน.
๔. ตุ่งจุ้งซู ตัวแทนผู้มีชื่อเสียงของสำนักขงจื๊อในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ก่อนคริสต์ศักราช ๑๗๙-๑๐๔ ปี)เคยทูลพระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ว่า “ฟ้า
คือแหล่งเกิดอันใหญ่ยิ่งของมรรค ฟ้าไม่เปลี่ยน มรรคก็ไม่เปลี่ยน.” “มรรค” เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในหมู่นักปรัชญาสมัยโบราณ
ของจีน ซึ่งมีความหมายว่า “หนทาง” หรือ “หลักเหตุผล” และจะอธิบายว่า “กฎ” หรือ “กฎเกณฑ์” ก็ได้.
๕. ดูเรื่อง “แอนตี้ดูห์ริง” ของเองเกลส์ ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑๒ “วิภาษวิธี. ปริมาณกับคุณภาพ”.
๖. ดูได้จากเรื่อง “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” ของเลนิน.
๗. อ้างจากเรื่อง “แอนตี้ดูห์ริง” ของเองเกลส์ ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑๒ “วิภาษวิธี. ปริมาณกับคุณภาพ”.
๘. อ้างจากเรื่อง “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” ของเลนิน.
๙. อ้างจากเรื่อง “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” ของเลนิน.
๑๐.ดูได้จากเรื่อง “ลัทธิคอมมิวนิสต์” ใน “สรรพนิพนธ์เลนิน” เล่ม ๓๑. ดูหมายเหตุ ๑๐ ของเรื่อง “ปัญหายุทธศาสตร์ในสงคราม
ปฏิวัติของจีน” ประกอบ. ๑๑.ดูได้จาก “ซุนจื่อ” บทที่ ๓ “กลรุก”.
๑๒.เว่ยเจิง (ค.ศ. ๕๘๐-๖๔๓) เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักประวัติศาสตร์ในต้นสมัยราชวงศ์ถัง. คำอ้างในนิพนธ์นี้ดูได้
จากหนังสือ “จือจื้อทุงเจี้ยน” เล่ม ๑๙๒.
๑๓.”สุยหู่จ้วน” (หรือ “ซ้องกั๋ง”) เป็นนวนิยายที่บรรยายถึงสงครามชาวนาครั้งหนึ่งในปลายสมัยราชวงศ์ซ้องเหนือ. ซ้องกั๋งเป็น
ตัวเอกในนวนิยายเล่มนี้. หมู่บ้านจู้เจียจวงอยู่ใกล้กับเนี้ยซัวเปาะฐานที่มั่นของสงครามชาวนา, ผู้ครองหมู่บ้านนี้เป็นเจ้าที่ดิน
อันธพาลใหญ่คนหนึ่งชื่อจู้เฉาเฟิ่ง.
๑๔. อ้างจากเรื่อง “ ว่าด้วยสหบาลกรรมการ สถานการณ์ปัจจุบันและความผิดพลาดของทรอตสกี้และบุคฮารินอีกครั้ง” ของเลนิน.
๑๕. ดูได้จากเรื่อง “จะทำอะไรดี?” ของเลนิน บทที่ ๑ ตอนที่ ๔.
๑๖. อ้างจากเรื่อง “สังเขปความจาก ‘ตรรกวิทยา’ ของเฮเกล” ของเลนิน.
๑๗. “ซานไห่จิง” เป็นบทประพันธ์เรื่องหนึ่งในสมัยจ้านกว๋อของจีน (ก่อนคริสต์ศักราช ๔๐๓-๒๒๑ ปี). ควาฟู่เป็นเทวมนุษย์คน
หนึ่งซึ่งบันทึกไว้ใน “ซานไห่จิง”. กล่าวกันว่า “ควาฟู่ไล่ตามดวงอาทิตย์. ครั้นดวงอาทิตย์ตกดิน, ควาฟู่ก็เกิดกระหายน้ำเป็น
กำลัง จึงไปดื่มน้ำที่แม่น้ำเหลืองและแม่น้ำเว่ยเหอ. แต่น้ำในแม่น้ำทั้งสองไม่พอดื่ม ควาฟู่บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือเพื่อดื่มน้ำ
ในทะเลสาบใหญ่. ยังไม่ทันถึง ก็กระหายน้ำตายเสียกลางทาง. ไม้เท้าที่ทิ้งไว้ได้กลายเป็นป่าเติ้งหลิน.” (จากตอน “ไห่ว่าย
เป่ยจิง”).
๑๘. ยี่เป็นวีรบุรุษในนิทานปรัมปราสมัยโบราณของจีน “ยิงดวงอาทิตย์” เป็นนิทานลือชื่อเกี่ยวกับฝีมือการยิงเกาทัณฑ์อันยอด
เยี่ยมของเขา. ตามหนังสือ “หวายหนานจื่อ” ซึ่งเรียบเรียงโดยหลิวอาน คนสมัยราชวงศ์ฮั่น (ผู้ดีในสมัยก่อนคริสต์ศักราช ๒
ศตวรรษ) กล่าวว่า “ในสมัยจักรพรรดิเงี้ยวเต้ ดวงอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน ๑๐ ดวง แผดเผาพืชพันธุ์ธัญญาหารและต้นไม้ใบหญ้า
ไหม้เกรียมตายไปหมด ทำให้ประชาชนไม่มีอาหารกิน. ขณะเดียวกันก็มีสิงห์สาราสัตว์อันดุร้ายและลมพายุทำร้ายและก่อ
ความเดือดร้อนแก่อาณาประชาราษฎร์. เงี้ยวเต้จึงตรัสสั่งให้ยี่...ยิงดวงอาทิตย์ ๑๐ ดวงบนฟ้าและสังหารสัตว์ร้ายบนพื้นดิน
เสีย...อาณาประชาราษฎร์ต่างปีติยินดีเป็นอันมาก.” ตามหมายเหตุซึ่งเขียนโดยหวางยี่คนสมัยราชวงศ์ตุงฮั่น (นักประพันธ์
สมัยศตวรรษที่ ๒) เกี่ยวกับบทกลอนเรื่อง “ถามสวรรค์” ของซีหยวนกล่าวว่า “หนังสือ ‘หวายหนานจื่อ’ ว่าในสมัยจักรพรรดิ
เงี้ยวเต้ ดวงอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน ๑๐ ดวง ต้นไม้ใบหญ้าถูกแผดเผาจนไหม้เกรียม. เงี้ยวเต้จึงตรัสสั่งแก่ยี่ให้ยิงดวงอาทิตย์ ๑๐
ดวง, ถูกเข้า ๙ ดวง...เหลือไว้เพียงดวงเดียว.”
๑๙. “ไซอิ๋ว” เป็นเทพนิยายเรื่องหนึ่งของจีนในศตวรรษที่ ๑๖. เห้งเจียตัวเอกในเรื่อง “ไซอิ๋ว” เป็นลิงกายสิทธิ์ มีอภินิหารแปลง
กายได้ ๗๒ อย่าง มันแปลงได้ตามใจชอบทุกอย่างไม่ว่านก สัตว์ป่า แมลง ปลา ต้นไม้ ต้นหญ้า, เครื่องใช้ สิ่งของหรือคน.
๒๐. “นิทานประหลาดจากเหลียวจาย” เป็นหนังสือชุมนุมนิยายเรื่องสั้นซึ่งผู่ซุงหลิง คนสมัยราชวงศ์เช็งในศตวรรษที่ ๑๗ รวบรวม
เขียนขึ้นจากนิทานปรัมปราพื้นบ้าน รวม ๔๓๑ เรื่อง ส่วนใหญ่บรรยายถึงเรื่องเทวดา ภูตผี และปีศาจฮู่ลี้.
๒๑. อ้างจากเรื่อง “คำนำเรื่องวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมือง” ของมาร์กซ.
๒๒. อ้างจากเรื่อง “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” ของเลนิน.
๒๓. คำ ๆ นี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นสมัยแรก” ซึ่งเขียนโดยปานกู้ (นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง
ของจีนในศตวรรษที่ ๑) และก็ใช้กันค่อนข้างแพร่หลายในเวลาต่อมา.
๒๔. ดูได้จากเรื่อง “เกี่ยวกับปัญหาวิภาษวิธี” ของเลนิน.
๒๕. ดูได้จากคำวิจารณ์ของเลนินเกี่ยวกับเรื่อง “เศรษฐศาสตร์ในระยะผ่าน” ของบุคฮาริน.
หมายเหตุผู้แปล
1. เดโบริน (ปี ๑๘๘๑-๑๙๖๓) เป็นนักปรัชญาของสหภาพโซเวียต รัฐบัณฑิตแห่งสภาวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียต. เมื่อปี ๑๙๓๐
วงการปรัชญาสหภาพโซเวียตได้ก่อการวิพากษ์สำนักเดโบริน โดยชี้ว่า สำนักนี้กระทำผิดในลักษณะจิตนิยม เช่น ทฤษฎีแยก
ออกจากการปฏิบัติ ปรัชญาแยกออกจากการเมือง เป็นต้น.
2. บุคฮาริน (ปี ๑๘๘๘-๑๙๓๘) เดิมเป็นหัวหน้าของกลุ่มแอนตี้ลัทธิเลนินกลุ่มหนึ่งในการเคลื่อนไหวปฏิวัติรัสเซีย ต่อมาเนื่องจาก
ได้เข้าร่วมกลุ่มทรยศกบฏชาติ จึงถูกไล่ออกจากพรรคเมื่อปี ๑๙๓๗ และถูกศาลฎีกาแห่งสหภาพโซเวียตตัดสินประหารชีวิต
เมื่อปี ๑๙๓๘. ที่สหายเหมาเจ๋อตุงวิพากษ์ในที่นี้ คือ ความเห็นที่ผิดชนิดหนึ่งที่บุคฮารินยืนหยัดเป็นเวลานาน นั่นก็คือ ปกปิด
ความขัดแย้งทางชนชั้น และใช้การร่วมมือทางชนชั้นเข้าแทนที่การต่อสู้ทางชนชั้น. เมื่อสหภาพโซเวียตเตรียมจะดำเนินการ
แปรเกษตรกรรมให้เป็นแบบรวมหมู่อย่างทั่วด้านระหว่างปี ๑๙๒๘ ถึงปี ๑๙๒๙ นั้น บุคฮารินได้เสนอความเห็นที่ผิดชนิดนี้อย่าง
โจ่งแจ้งยิ่งขึ้น โดยพยายามปกปิดความขัดแย้งทางชนชั้นระหว่างชาวนารวยกับชาวนาจนและชาวนากลาง คัดค้านการต่อสู้
อย่างเด็ดเดี่ยวกับชาวนารวย ทั้งยังถือความเห็นอันเหลวไหลว่า ชนชั้นกรรมกรสร้างพันธมิตรกับชาวนารวยได้ และชาวนารวยก็
“เจริญเข้าสู่สังคมนิยมอย่างสันติ” ได้.
3. กลม้าไม้เป็นนิยายลือชื่อเรื่องหนึ่งในเทพนิยายกรีก. เล่าสืบต่อกันมาว่า ชาวกรีกสมัยโบราณตีเมืองทรอยเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่
อาจตีแตกได้. ต่อมาพวกเขาแสร้งทำเป็นถอนกลับ และทิ้งม้าไม้ยักษ์ตัวหนึ่งไว้ที่ค่ายทหารเชิงกำแพงเมือง ในท้องม้ามีผู้กล้า
หาญจำนวนหนึ่งซ่อนอยู่. ชาวทรอยไม่รู้ว่าเป็นกลยุทธ์ของข้าศึก จึงช่วยกันลากเอาม้าไม้ตัวนั้นเข้าไปในเมืองโดยถือว่าเป็นสิน
ศึก. ตกดึก บรรดาผู้กล้าหาญก็ออกจากม้าไม้ ถือโอกาสที่ชาวทรอยมิได้ระแวดระวังเลยแม้แต่น้อย ประสานกับกองทหารที่อยู่
นอกเมือง ยึดเมืองทรอยไว้ได้อย่างรวดเร็ว.
4. คอมมูนปารีส เป็นองค์การอำนาจรัฐของชนชั้นกรรมาชีพองค์การแรกในประวัติศาสตร์ของโลก. เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๑๘๗๑
ชนชั้นกรรมาชีพฝรั่งเศสได้ก่อการลุกขึ้นสู้ที่ปารีสและเข้ายึดอำนาจรัฐได้ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ได้ก่อตั้งคอมมูนปารีสใน
การนำของชนชั้นกรรมาชีพขึ้นโดยผ่านการเลือกตั้ง. คอมมูนปารีสเป็นการทดลองครั้งแรกของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในอัน
ที่จะทำลายกลไกรัฐชนชั้นนายทุน และก็เป็นการริเริ่มที่ยิ่งใหญ่ในอันที่จะใช้อำนาจรัฐชนชั้นกรรมาชีพเข้าแทนที่อำนาจรัฐ
ชนชั้นนายทุนที่ถูกทำลายไปแล้ว. เนื่องจากชนชั้นกรรมาชีพฝรั่งเศสในเวลานั้นยังไม่สุกงอมพอ พวกเขามิได้สนใจในการ
สามัคคีพันธมิตรชาวนาอันไพศาล ทั้งผ่อนปรนต่อพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติมากเกินไปและมิได้ดำเนินการเข้าตีทางการทหารอย่าง
เด็ดเดี่ยวให้ทันท่วงที จึงเป็นเหตุให้อิทธิพลปฏิปักษ์ปฏิวัติสามารถรวบรวมกำลังที่แตกกระเจิงได้อย่างไม่รีบร้อน แล้วหวนกลับ
มาก่อการสังหารครั้งใหญ่อย่างบ้าคลั่งต่อมวลชนที่ลุกขึ้นสู้. คอมมูนปารีสได้ถึงแก่ความพ่ายแพ้ไปเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคมปี
นั้นเอง.
5. ทรอตสกี้ (ปี ๑๘๗๙-๑๙๔๐) เดิมเป็นหัวหน้าของกลุ่มแอนตี้ลัทธิเลนินกลุ่มหนึ่งในการเคลื่อนไหวปฏิวัติของรัสเซีย ต่อมาได้
เสื่อมทรามลงเป็นโจรปฏิปักษ์ปฏิวัติโดยสิ้นเชิง. เขาถูกศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตไล่ออกจากพรรคเมื่อปี
๑๙๒๗ ถูกรัฐบาลสหภาพโซเวียตเนรเทศเมื่อปี ๑๙๒๙ ถูกถอนสัญชาติสหภาพโซเวียตเมื่อปี ๑๙๓๒ และในที่สุดตายในต่าง
ประเทศเมื่อปี ๑๙๔๐.