การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2518 นับเป็นเหตูการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งต่อความสัมพันธ์ไทยกับจีน เพราะเป็นการยุติความขัดแย้งระหว่างกันที่มีมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2492 การทำความเข้าใจการสถาปนาความสัมพันธ์ครั้งนี้ ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำของประเทศไทยและผู้นำของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคซึ่ง เป็นปัจจัยภายนอกประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจภายในของประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ซึ่งเป็นปัจจัยภายใน ล้วนมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อท่าทีของประเทศทั้งสอง
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
นับตั้งแต่จีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในวันที่ 1 ตุลาคม 2492 จีนรู้สึกว่าตนถูกกีดกันจากประชาคมโลกและต้องการการยอมรับจากประชาคมโลก ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์การเมืองของระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบเสรี ประชาธิปไตย ทำให้โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายโลกคอมมิวนิสต์กับค่ายโลกเสรี ความหวาดระแวงระหว่างประเทศมหาอำนาจต่างอุดมการณ์และประเทศในแต่ละค่ายทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตึงเครียด อย่างไรก็ดี ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค หลายประการในเวลาต่อมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสาม คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสาธารณรัฐประชาชนจีน และการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทยตั้ง อยู่
1.ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนกับสหภาพโซเวียต ได้กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเมืองโลก แต่เดิมนั้นทั้งสองประเทศเป็นสหายร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แต่ต่อมาได้มีความขัดแย้งกันทั้งการตีความอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่ต่างกัน และผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนานิวเคลียร์ และการแข่งขันเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศโลกที่สาม จึงแตกแยกกันตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองได้ทวีความรุนแรงจนถึงขั้นปะทะด้วยกำลังที่ พรมแดนบริเวณเกาะเจินเป้า (Zhenpao) หรือดาแมนสกี้ (Damansky) บนแม่น้ำอุสซูรี (Ussuri River) ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2512 ยิ่งไปกว่านั้น การที่สหภาพโซเวียตส่งกำลังทหารกว่า 40 กองพลประชิดพรมแดนจีน อีกทั้งได้เคยใช้กำลังทหารรุกรานเชคโกสโลวาเกียใน พ.ศ. 2511 โดยอ้างความชอบธรรมของหลักการเบรสเนฟ (Brehznev Doctrine) จึงทำให้จีนหวาดระแวงและหวั่นเกรงว่าสหภาพโซเวียตอาจคุกคามและรุกรานจีนได้ อีกทั้งมองภัยคุกคามจากสหภาพโซเวียตว่า มีความเข้มข้นมากกว่าสหรัฐซึ่งกำลังอ่อนล้าจากสงครามเวียดนาม จีนเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะปิดล้อมตนตามแผนสร้าง "ความมั่นคงร่วมกันในเอเชีย" (Asian Collective Security) ของประธานาธิบดีเบรสเนฟแห่งสหภาพโซเวียต
2.การปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ความ หวาดระแวงสหภาพโซเวียตของจีน ทำให้ผู้นำจีนต้องการหาประเทศมหาอำนาจมาเป็นแนวร่วมเพื่อสร้างดุลและคาน อำนาจสหภาพโซเวียต ในขณะที่จีนเป็นรองสหภาพโซเวียตทางด้านทหาร ประกอบกับสหรัฐอเมริการู้สึกว่าไม่อาจละเลยจีนได้อีกต่อไป และเห็นประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์ในการปรับความสัมพันธ์กับจีน จีนได้เริ่มติดต่อโดยเชิญทีมปิงปองสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันในจีน และสหรัฐอเมริกาได้ตอบสนองตอบด้วยการส่งทีมปิงปองไปจีนใน พ.ศ. 2513 การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) นี้ทำให้จีนตระหนักว่าสหรัฐอเมริกาสนใจที่จะเจรจากับจีน ซึ่งนำไปสู่การเยือนจีนอย่างลับ ๆ ของ ดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ต่อมาประธานาธิบดีนิกสันเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและออกแถลงการณ์ ร่วมเซี่ยงไฮ้ กับนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลใน พ.ศ. 2515 การปรับความสัมพันธ์สู่ปรกติ (Normalization) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนซึ่งเคยเป็นศัตรูมาช้านานนี้ส่งผลสะเทือนทางการ เมืองระดับโลกและระดับภูมิภาค และส่งผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
3.การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของจีน จีน ต้องการการยอมรับจากประชาคมโลก และคิดว่าตนเองเหมาะเป็นตัวแทนของจีนในสหประชาชาติมากกว่าไต้หวัน จึงพยายามเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแทนที่ไต้หวัน แต่ก็ถูกขัดขวางโดยสหรัฐอเมริกา เมื่อจีนเจรจากับสหรัฐอเมริกา และประเทศในแอฟริกาสนับสนุนจีน ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับคะแนนเสียงข้างมากจนเข้าไปเป็นผู้แทนของจีน แทนที่ไต้หวันในสหประชาชาติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514 นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบทบาทจีนในเวทีโลก การเข้าไปเป็นสมาชิกสหประชาชาติทำให้จีนใช้เวทีสหประชาชาติทั้งสมัชชาใหญ่ และคณะมนตรีความมั่นคงเป็นเวทีสำหรับปรับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในโลก
4.การขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มประเทศที่ผลิตน้ำมัน (OPEC) สงครามระหว่างอิสราเอลกับอิยิปต์ใน พ.ศ. 2516 ทำให้ประเทศอาหรับซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) คิด ใช้น้ำมันเป็นเครื่องมือในการกดดันประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปตะวันตกที่ให้การสนับสนุน อิสราเอล โดยจำกัดปริมาณการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงมาก ประเทศไทยไม่มีแหล่งน้ำมันของตน แต่ต้องใช้น้ำมันในด้านอุตสาหกรรม จึงได้รับผลกระทบอย่างสูงทำให้ประเทศไทยพยายามหาซื้อน้ำมันจากแหล่งใหม่ ๆ รวมทั้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
5.การลดลงของอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐ อเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจที่มีแสนยานุภาพ และอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับภาระในการสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ระหว่าง พ.ศ. 2503-2513 ในการต่อต้านเวียดนามเหนือและคอมมิวนิสต์เวียดกง ได้ตระหนักถึงขีดจำกัดของแสนยานุภาพทางทหารของตน และเริ่มรู้สึกว่าตนเองคงไม่สามารถมีชัยชนะในสงครามเวียดนามได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังถูกต่อต้านและประท้วงจากประชาชนในประเทศต่าง ๆ เกือบทุกมุมโลก สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มเจรจากับเวียดนามเหนือเพื่อยุติสงคราม ภายหลังจากการเจรจาสันติภาพที่ปารีสใน พ.ศ. 2516 ระหว่างนายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ และนายเล ดึ๊กโท จากเวียดนามเหนือ สหรัฐอเมริกาก็เริ่มถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ และเมื่อเวียดนามเหนือ ยึตเวียดนามใต้ได้ใน พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามยุติลง และสหรัฐฯ ได้ลดบทบาทในภูมิภาคนี้ลงอย่างมาก ความสนใจของสหรัฐฯได้เปลี่ยนไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ตะวันออกกลางและยุโรปตะวันตก อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ลดลงอย่างมากภาย หลัง พ.ศ. 2518
6.ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน หลัง จากทำสงครามมาเป็นเวลาช้านาน ในที่สุดเวียดนามเหนือและเวียดกงก็ประสบชับชนัยึดอำนาจในเวียดนามใต้ได้ สำเร็จ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 และรวมดินแดนเวียดนามเหนือและใต้ให้เป็นประเทศเดียวกันภายใต้การปกครองของ คอมมิวนิสต์ในปีต่อมา ในขณะเดียวกัน ฝ่ายเขมรคอมมิวนิสต์ก็ยึดกัมพูชาจากรัฐบาลลอนนอล และสถาปนาประเทศโดยใช้นามว่า "กัมพูชาประชาธิปไตย" ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ต่อมาในเดือนธันวาคม ขบวนการปะเทดลาวก็สามารถกุมอำนาจโดยสมบูรณ์ เปลี่ยน "ราชอาณาจักรลาว" เป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ การเปลี่ยนแปลงในประเทศอินโดจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาวและกัมพูชา ทำให้ประเทศไทยขาดรัฐกันชน ต้องเชิญหน้าและมีพรมแดนประชิดกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอุดมการณ์และระบบการ เมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันเป็นครั้งแรก
7.การขยายความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ใกล้กันและมีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายกันได้รวมกลุ่มกันหลายครั้ง เช่น ได้จัดตั้งสมาคมอาสา (ASA - Association of Souttheast Asia) ใน พ.ศ. 2504 กลุ่มมาฟิลินโด (Maphilindo) ใน พ.ศ. 2506 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะประเทศสมาชิกยังคงมีความขัดแย้งหวาดระแวงกันอยู่ ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2510 รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของมาเลเชีย สิงคโปร์ อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ มาปรึกษาหารือ และร่วมมือกันก่อตั้ง "สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ สมาคมอาเซียน (ASEAN) โดยมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความร่วมมือทางเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมเป็นสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงร่วมกันและสันติภาพในภูมิภาค
การ จัดตั้งสมาคมอาเซียนนี้ นับเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญของการร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าในระยะเวลา 10 ปีแรก สมาคมอาเซียนจะมีบทบาทไม่มากนัก นอกเหนือไปจากการร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจและหลักการที่จะให้ภูมิภาคตะวัน ออกเฉียงใต้เป็น "ดินแดนแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง" (Zone of Peace, Freedom and Neutrality, ZOPFAN) หรือ "ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์" ใน พ.ศ. 2514 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และสังคมในกลุ่มอาเซียนได้ขยายตัวไปสู่ความร่วมมือทางการเมืองภายหลังจาก สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง เพราะประเทศทั้ง 5 ตระหนักดีว่า จะต้องร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้นเพื่อความอยู่รอด และเพื่อป้องกันการแทรกแซงที่ไม่พึงปรารถนาจากมหาอำนาจ ดังจะเห็นได้จากการประชุมสุดยอดของผู้นำรัฐบาลครั้งแรกของสมาคมอาเซียนที่ บาหลี อินโดนีเซีย ใน พ.ศ. 2520 ตลอดจนการจัดตั้งสำนักเลขาธิการขึ้นที่อินโดนีเซีย เพื่อการประสานงานระหว่างสมาชิกทั้ง 5 ของอาเซียน สมาคมอาเซียนได้กลายเป็นพลังสำคัญทางการเมืองภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และระหว่างภูมิภาคอีกด้วย
การเปลี่ยน แปลงของสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต และการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ตลอดจนบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่ลดลงในเอเชียอาคเนย์ ทำให้ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องปรับท่าทีต่อกันและกัน
However many individuals become disconcerted when trying to order medicaments from the Web because they don't know what is approachable. To order medicines online from a preferred source is safe. Let's talk about how you can make sure that medications you get through a mail-order drugstore are sure. Verapamil is a calcium channel blocker. This preparation works by relaxing the muscles of your soul. Other medicaments are used to treat inflammation caused by eczema. What about cost of cialis per pill and sexual disorders? What soundness care providers talk about cheap cialis pills? A spread form of sexual disfunction among men is the erectile disfunction. Young men with sexual health problems need professional help. Some treatments will include couples therapy. Why it happen? Can sexual dysfunctions in men be treated? One way to improve erectile disfunction is to make certain elementary lifestyle changes, another is curing. You can prevent the incidence of sexual troubles by having a wholesome lifestyle. Any remedy may cause unwanted side effects. For some patients side effects can be actually serious. Get emergency help if you have any kind of an allergic reaction to this medicine. Talk to your druggist to see if it’s sure to make the switch.