bg-head-3

บทความ

เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ความร่วมมือจีน– อาเซียน ในศตวรรษที่ 21

       ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมโครงการ พัฒนาข้าราชการอาเซียน รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 23 มิถุนายน 2014 ซึ่งดำเนินการโดยทุนของรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนอกจากข้าราชการไทยแล้ว ยังมีข้าราชการกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ เข้าร่วมด้วย รวมระยะเวลา 40 วัน ที่ได้ร่วมอบรมและใช้ชีวิต ในมณฑลฝูเจี้ยน ร่วมกับเพื่อนข้าราชการอาเซียน ผู้เขียนได้พบว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน ในศตวรรษที่ 21 นี้ รัฐบาลกลางและรัฐบาลมณฑลของจีนต่างปรับเข็มทิศมุ่งให้ความสำคัญกับอาเซียนอย่างแท้จริง เนื้อหาการฝึกอบรมสำคัญที่รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ต้องการนำเสนอ คือ ความพยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มอาเซียน ผ่านนิยามของคำว่า การพัฒนาความร่วมมือตามแนว“เส้นทางสายไหมทางทะเล” (Maritime Silk Road)

       ท่านผู้อ่านที่เคารพ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “เส้นทางสายไหม” (Silk Road) หลายท่านคงนึกภาพถึง ขบวนสินค้า หรือ คาราวานสินค้า ที่เดินทางไกล ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างจีน – ยุโรป ในทางภาคพื้นดิน ซึ่งเป็นภาพของการค้าในอดีตที่เต็มไปด้วยสีสัน การแลกเปลี่ยนของสินค้า การเดินทางของผู้คน และที่สำคัญ คือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เช่น การปรากฏพบเครื่องลายครามจากจีนในตะวันออกกลาง การพบลายผ้าแบบจีนในตุรกี การพบภาพจีราฟในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีน เป็นต้น จนอาจเรียกได้ว่า เป็น โลกาภิวัตน์ ในช่วงเวลานั้นได้เลยที่เดียว

       เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางสำรวจเส้นทางการค้าของจีนในอดีต โดยนับเริ่มต้น เมื่อครั้งการสำรวจทางทะเลของนายพลเจิ้ง เหอ (Zhèng Hé) ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ในยุคราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ตรงกับสมัยรัชกาล จักรพรรดิหย่งเล่อ ในกลางปี ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) ซึ่งเดินทางไปสำรวจ และทำการค้าตามหัวเมืองชายทะเล กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชียใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันตก จนถึงทวีปแอฟริกา และปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาว่า การเดินทาง ฯ ดังกล่าว มีจุดหมายปลายถึงทวีปยุโรป หรือทวีปอเมริกา เลยหรือไม่ ซึ่งหากมีหลักฐานที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับ จะนับเป็นการค้นพบดินแดนใหม่โดยชาวจีน

       ปัจจุบัน การพัฒนาความร่วมมือตาม“เส้นทางสายไหมทางทะเล” (Maritime Silk Road) ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอย่างเป็นทาง เมื่อครั้งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (Xí Jìnpíng) เยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ปลายปี ค.ศ.2013 โดยได้กล่าวว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ หนึ่งเขตเศรษฐกิจสำคัญของเส้นทางสายไหมทางทะเล จีนมีความพร้อมจะให้ความร่วมมือกับอาเซียนในทุกๆด้าน” รวมไปถึงความริเริ่มในการจัดตั้งกองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน – อาเซียน (China – ASEAN Maritime Cooperation Fund) เพื่อขยายความร่วมมือทางทะเลระหว่างกันอีกด้วย ทั้งในการเปิดการประชุมสภาผู้แทนประชาชนจีน ประจำปี ค.ศ.2014 นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง (Li Kèqiáng) ได้เน้นย่ำถึงความสำคัญของการพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเล สำหรับศตวรรษที่ 21 ประกอบกับนโยบายการให้ความสำคัญกับประเทศตอนใต้ (Look South Policy) รัฐบาลกลางของจีน วางเป้าหมายให้มณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองกวางสี เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศชายแดนทางตอนใต้ อันหมายถึง อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub regions) ในขณะเดียวกัน การพัฒนาความร่วมมือตาม“เส้นทางสายไหมทางทะเล” (Maritime Silk Road) มณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เคยทำงานอยู่ที่นี้ถึง 17 ปี ถูกจับวางให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศอาเซียน 

       นโยบายของรัฐบาลกลางของจีน มีความชัดเจนในการกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียนในทุกมิติ การพัฒนาความร่วมมือตาม“เส้นทางสายไหมทางทะเล” (Maritime Silk Road) รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งได้รับมอบหมายหน้าที่สำคัญในครั้งนี้ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมืออย่างจริง ในระยะเริ่มต้นผ่าน กลไกการประชุมในระดับต่าง ๆ ล่าสุด ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม The 16th Cross-Straits Fair for Economy and Trade (CFET)  ระหว่างวันที่ 17 -20 พฤษภาคม 2014 ณ ศูนย์การประชุม นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน นับเป็นงานประชุมทางวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การถ่ายทอดนโยบายของรัฐบาลกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน ในประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าตามแนวทางเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ซึ่งรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ได้รับมอบนโยบายดังกล่าว ฯ แล้ว จะได้เร่งดำเนินนโยบายกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า (Economy and Trade Relations) ผ่านการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม (Connectivity) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) กับประเทศตามเส้นทางสายไหมทางทะเล โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Development Bank) ความร่วมมือ ฯ ดังกล่าว รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน คาดหวังว่า ประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล (Overseas Chinese) ที่อพยพมาอยู่ในอาเซียน เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งชาวจีนโพ้นทะเล   ส่วนใหญ่เหล่านี้ มีพื้นเพมาจากมณฑลฝูเจี้ยนแทบทั้งสิ้น

       ท่ามกลางความขัดแย้งทางทะเล กรณีหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ซึ่งมีจีนกับประเทศอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบูรไน ยังไม่มีท่าที่จะยุติลง การขยายความสัมพันธ์ของจีนกับอาเซียน ผ่านการพัฒนาความร่วมมือตามแนวทางเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) นับเป็นการใช้อำนาจละมุน (Soft Power) เพื่อปรับระดับ และขยายความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน โดยใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และวัฒนธรรมประเพณีที่มีความคล้ายคลึงกัน (Foreign Cultural Relations) เมื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีมากขึ้น ผลประโยชน์ระหว่างกันย่อมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก ที่จะทำให้โอกาสเกิดความขัดแย้งน้อยลง ท่าทีและปฏิกิริยาของจีนที่มีต่ออาเซียนในเวลานี้นั้น นอกจากการสงวนสิทธิ์กรณีหมู่เกาะในทะเลจีนใต้แล้ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม และวัฒนธรรมกับอาเซียน นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือตามแนวทางเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road)

       นอกจาก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลียแล้ว จีนนับเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศสำคัญ ที่กำลังมีบทบาทโดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆ ในอาเซียน ความสัมพันธ์ในรูปแบบเชิงรุก (Proactive) ของจีนต่อจากนี้ จึงจับจ้องมองลงมาที่อาเซียนชัดเจนมากขึ้นทุกขณะ ผ่านการพัฒนาความร่วมมือตามแนว“เส้นทางสายไหมทางทะเล” (Maritime Silk Road) ความร่วมมือจีน– อาเซียน ในศตวรรษที่ 21

 

 

ขอบคุณที่มา : 

ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย

 

However many individuals become disconcerted when trying to order medicaments from the Web because they don't know what is available. To order medicines online from a preferred source is safe. Let's talk about how you can make sure that medications you get through a mail-order drugstore are sure. Verapamil is a calcium channel blocker. This drug works by relaxing the muscles of your heart. Other medicaments are used to treat inflammation caused by eczema. What about cost of cialis per pill and sexual disorders? What heartiness care providers talk about cheap cialis pills? A spread form of sexual dysfunction among men is the erectile disfunction. Young men with sexual soundness problems need vocational help. Some treatments will include couples therapy. Why it happen? Can sexual dysfunctions in men be treated? One way to improve erectile dysfunction is to make certain elementary lifestyle changes, another is medication. You can prevent the incidence of sexual troubles by having a healthy lifestyle. Any drug may cause unwanted side effects. For some patients side effects can be actually serious. Get emergency help if you have any kind of an allergic reaction to this remedy. Talk to your dispenser to see if it’s sure to make the switch.