bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันจันทร์ที่ ๑ มิ.ย.๖๓ การหารือออนไลน์เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าระหว่างมณฑลเหลียวหนิง (辽宁省 Liaoning Province) ของจีน (中国 China) กับประเทศไทย (泰国 Thailand)

จีนศึกษา วันจันทร์ที่ ๑ มิ.ย.๖๓ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการหารือออนไลน์เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าระหว่างมณฑลเหลียวหนิง (辽宁省 Liaoning Province) ของจีน (中国 China) กับประเทศไทย (泰国 Thailand) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ค.๖๓ ได้มีการหารือออนไลน์เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าระหว่างมณฑลเหลียวหนิงของจีนกับไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยมณฑลเหลียวหนิง ที่มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ด้วยการมุ่งสร้างสะพานเชื่อมการค้าออนไลน์ใหม่ระหว่างมณฑลเหลียวหนิงของจีนกับไทย  อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านการผลิตอุปกรณ์การถลุงโลหะและปิโตรเคมี การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง การผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ประจำวันสำหรับอุตสาหกรรมเบา เป็นต้น

๒. ในการหารือดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายใช้เวลาเกือบหนึ่งเดือนในการเตรียมความพร้อมสำหรับการหารือออนไลน์ในครั้งนี้ โดยมีธุรกิจจากมณฑลเหลียวหนิง จำนวน ๒๖ แห่ง และธุรกิจไทยจำนวน ๒๒ แห่ง ได้จัดการหารือแบบออนไลน์กันถึง ๘๒ ครั้ง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวพันถึงการส่งออกสินค้าเกษตร อาหารการกิน เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ประจำวัน รวมไปถึง สิ่งของและอุปกรณ์ป้องกันโรค เป็นต้น

๓. ข้อสังเกต
     ๓.๑ ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (一带一路  Belt and Road Initiative : BRI) และสมาชิกอาเซียน (东盟  ASEAN) ซึ่งถือเป็นหุ้นส่วนการค้าที่สำคัญของมณฑลเหลียวหนิงมาโดยตลอด โดยเฉพาะเหล็กและเหล็กกล้า ผลิตผลการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางทะเล และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ จากมณฑลเหลียวหนิง เป็นสินค้าที่ประเทศไทยให้การชื่นชอบ ขณะที่น้ำมันสำเร็จรูป ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลไม้ รวมถึงอาหารทะเลของไทย ได้มีสัดส่วนค่อนข้างสูงในตลาดมณฑลเหลียวหนิง
     ๓.๒ จากการร่วมหารือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ในการพัฒนากลไกเพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบด้าน โดยพุ่งเป้าการค้ามูลค่า ๑๔๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (JC เศรษฐกิจไทย-จีน) ครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๔ ส.ค.๖๑ ณ กรุงเทพฯ ที่ได้มอบให้ทั้งสองฝ่ายไปดำเนินการเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของสองประเทศ ให้รองรับต่อการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของไทย กับนโยบายข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ BRI ของจีน

บทสรุป

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างมณฑลเหลียวหนิงของจีนกับประเทศไทย โดยการหารือออนไลน์เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าระหว่างกัน ภายใต้กรอบข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" หรือ BRI นั้น ถือเป็นงานที่สำคัญของรัฐบาลจีน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีที่ตั้งที่สำคัญตามรายทาง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับจีนในฐานะที่เป็นตลาดขนาดใหญ่และเป็นคู่ค้าที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศไทย (โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ ๒ ของไทย และจีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ ๑ ของไทย) ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ ๑๓ (อันดับที่ ๓ ในกลุ่มประเทศอาเซียน) โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ ๑๓ และเป็นตลาดส่งออกอันดับ ๑๗ ของจีน นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศต่างได้ตั้งความหวังว่า จะขยายความร่วมมือระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิผลภายใต้ข้อริเริ่มดังกล่าว

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://ln.cri.cn/20200529/d3d2ac65-4f4e-cafd-a633-fad0a367878e.html

https://www.sohu.com/a/398271548_123753

http://www.lncfa.org/gnxx/634.html

http://www.hhjc.net.cn/news/30.html

https://kknews.cc/finance/lvkkvm2.html

http://www.zytzb.gov.cn/qwxw/333973.jhtml

http://thai.cri.cn/20200530/ac4b9660-7d1a-62b7-bd7a-7ccf5bfacbd9.html

https://finance.sina.cn/2020-05-28/detail-iircuyvi5514860.d.html