bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันจันทร์ที่ ๑๓ ธ.ค.๖๔ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ ๓๘ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในระหว่างวันที่ ๑ - ๑๒ ธ.ค.๖๔ นั้น รถไฟฟ้าแบรนด์จีน

จีนศึกษา (วันจันทร์ที่ ๑๓ ธ.ค.๖๔) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ ๓๘ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย (在泰国曼谷举行的第38届泰国国际车展上) ในระหว่างวันที่ ๑ - ๑๒ ธ.ค.๖๔ นั้น รถไฟฟ้าแบรนด์จีน (中国品牌电动车) ได้กลายเป็นที่สนใจของตลาดในไทยอย่างมาก ซึ่งบริษัทรถยนต์จีนกำลังช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยด้วยข้อได้เปรียบของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ในงานมหกรรมยานยนต์ดังกล่าวเป็นเวลา ๑๒ วัน มีแฟนคลับรถยนต์ชาวไทยได้ชื่นชมและถ่ายรูปกับรถซุปเปอร์สปอร์ตที่เปิดตัวโดย MG Motors ซึ่งมีรูปทรงที่ดึงดูดสายตารุ่นนี้ โดยจะออกจำหน่ายในปี ๒๐๒๓ (พ.ศ.๒๕๖๗) และแม้ว่าจะยังไม่ได้ประกาศราคา แต่ก็มีการสั่งจองล่วงหน้ากว่า ๒๐๐ คันภายในเวลา ๒ วันแรกหลังจากการเปิดตัว โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีตัวรถสีฟ้าและคันเล็กน่ารัก “โอรา กู๊ด แคท” (“欧拉好猫” / ORA GOOD CAT”) ได้ดึงดูดความสนใจของวัยรุ่นไทย และมีรายงานว่า แบรนด์ Great Wall Motor หรือ GWM ของจีน ซึ่งเพิ่งก้าวสู่ตลาดของประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคมปีนี้ (พ.ศ.๒๕๖๔) ได้รับใบสั่งจองจำนวนมากภายใน ๔๘ ชั่วโมง หลังจากการเปิดจอง

๒. จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยแสดงว่า รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนได้ครองสัดส่วนมากกว่า ๙๐% ของยอดมูลค่าการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในตลาดของประเทศไทย โดยนายจาง ไห่โป (张海波) กรรมการผู้จัดการใหญ่ SAIC MOTOR -CP Co., Ltd. และ MG SALES (THAILAND) Co., Ltd. (上汽正大有限公司和名爵销售(泰国)有限公司总经理) ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซินหวาเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ว่า ทางบริษัทได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสาไฟสำหรับชาร์จรถยนต์สาธารณะในประเทศไทย และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยออกนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าและมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรม โดยเชิญชวนเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยและบุคลากรทางเทคโนโลยีเดินทางไปเยี่ยมชมและศึกษาในศูนย์ตรวจสภาพรถของจีน เพื่อนำประสบการณ์ที่สามารถศึกษาได้จากอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของจีน

บทสรุป

มีรายงานว่า ปัจจุบันทั่วประเทศไทยมีเสาไฟชาร์จรถยนต์สาธารณะประมาณ ๗๐๐ แห่งเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อความต้องการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคไทย รถยนต์ MG และวิสาหกิจองค์กรของไทยได้ก่อสร้างเสาไฟชาร์จรถยนต์อีก ๑๑๙ แห่งทั่วประเทศ ส่วนบริษัท GWM ก็กำลังมีส่วนร่วมในการก่อสร้างเสาไฟชารจ์รถสาธารณะด้วย ทั้งนี้ เพื่อลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลไทยตั้งใจที่จะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องคิดเป็นอย่างน้อย ๓๐% ของการผลิตรถยนต์ของประเทศภายในปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓)

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

https://www.sohu.com/a/505740048_267106