bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันจันทร์ที่ ๑๕ มิ.ย.๖๓ ปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน (2020年中国-东盟数字经济合作年开幕) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

จีนศึกษา วันจันทร์ที่ ๑๕ มิ.ย.๖๓ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน (2020年中国-东盟数字经济合作年开幕) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. เมื่อวันที่ ๑๒ มิ.ย.๖๓ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน (中国国务院总理李克强) ได้ส่งสารแสดงความยินดีไปยังพิธีเปิดงานปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน โดยระบุว่า
     ๑.๑ จีน-อาเซียน เป็นเพื่อนบ้านที่มีไมตรีจิต มิตรภาพอันดี และเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่สำคัญ ขณะนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว และกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจโลกและสังคมมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ซึ่งปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีจีนและบรรดาผู้นำอาเซียนได้กำหนดให้ปี ๒๐๒๐ เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน
     ๑.๒ ขณะนี้ เศรษฐกิจดิจิทัล มีความสำคัญโดดเด่นยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ ท่ามกลางการป้องกันการระบาดของไวรัส เช่น การฟื้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ การสร้างงานให้มากขึ้น และการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จีน-อาเซียนจะรักษาโอกาสปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างกัน ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ใช้ความได้เปรียบของตนเองเกื้อกูลกัน เน้นความร่วมมือเพื่อชัยชนะร่วมกัน และบ่มเพาะจุดเริ่มต้นใหม่แห่งความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น เมืองอัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ และบิ๊กดาต้า สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ที่เข้มแข็งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนเติมพลังใหม่แห่งการมีเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองถาวรในภูมิภาค

๒. ในช่วงบ่ายวันที่ ๑๒ มิ.ย.๖๓ ในพิธีเปิดงานปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน ๒๐๒๐
     ๒.๑ นายเหมียว เหว่ย (苗圩  Miao Wei) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน (中国工业和信息化部部长) กล่าวในพิธีเปิดงานว่า จีนและอาเซียนจะขยายความร่วมมือด้าน 5G  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลในการป้องกันการระบาดของไวรัส    
     ๒.๒ นายลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน (东盟秘书长林玉辉) กล่าวในพิธีเปิดงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลจะมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของอาเซียนเพิ่มขึ้นจาก ๑.๓% ในปี ๒๐๑๕ เป็น ๘.๕% ในปี ๒๐๒๕ นอกจากนี้ จีนอยู่ในแนวหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และเป็นหุ้นส่วนสำคัญของอาเซียนในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค ระหว่างเดือน ม.ค. – พ.ค.๖๓ ที่ผ่านมา อาเซียนเป็นหุ้นส่วนการค้าใหญ่ที่สุดของจีน โดยมูลค่าการค้าระหว่างสองฝ่ายสูงถึง ๒๔๑,๐๐๐  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเติบโต ๔.๒% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว และคิดเป็น ๑๔.๗% ของมูลค่าการค้ากับต่างประเทศของจีน  

๓. รูปธรรมของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน
     ๓.๑ ในด้านโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล จากการเปิดตัวดาวเทียมสื่อสาร "ลาววัน" (“老挝一号”通信卫星) ที่ประสบความสำเร็จได้ทำให้จีนและอาเซียนเข้าใกล้มากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างร่วมกันของโครงการเคเบิลใต้น้ำแห่งใหม่ระหว่างจีนและไทยได้ตระหนักถึงการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ของจีน - ไทย ขณะที่กัมพูชา อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งร่วมมือกับบริษัทของจีนเพื่อร่วมกันส่งเสริมการสร้างเครือข่าย 5G ในท้องถิ่น
     ๓.๒ ในแง่ของการวิจัยและพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และศูนย์อุตสาหกรรมซูโจวได้ร่วมกันจัดตั้ง "ศูนย์นวัตกรรมและศูนย์บ่มเพาะปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติมหาวิทยาลัยใหม่" เพื่อส่งเสริมการก่อตัวของระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ซูโจวและห่วงโซ่อุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บริษัทของมาเลเซียและบริษัทของจีน ได้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสวนอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์แห่งแรกของมาเลเซีย ในขณะที่ประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทของจีนในการพัฒนาอุตสาหกรรมบล็อกเชน
     ๓.๓ ในแง่ของรูปแบบใหม่และรูปแบบใหม่ โดยบริษัทของสิงคโปร์ได้ร่วมมือกับ Alipay, WeChat และแพลตฟอร์มการชำระเงินอื่นๆ ของจีน ในขณะที่ศูนย์โลจิสติกส์อัจฉริยะ Jingdong Intelligent Logistics Center ได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคในท้องถิ่นมีความนิยมในบริการ "สั่งซื้อในตอนเช้าและส่งในช่วงบ่าย" ได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งความนิยมที่แพร่หลายของ Tik Tok ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของเครือข่ายระหว่างจีนและอาเซียนมีความหลากหลายมากขึ้

บทสรุป

จีนและอาเซียนมีที่ตั้งอยู่ติดกันในเชิงภูมิศาสตร์และมีความเชื่อมต่อระหว่างกันทางวัฒนธรรม ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลมีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจดิจิทัล (数字经济  Digital Economy) ผ่านอีคอมเมิร์ซ (电子商务 E-Commerce) ได้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศจีนและอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยใน “รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน" (东盟数字经济发展情况报告) ชี้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน – อาเซียน จะยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ของเมืองอัจฉริยะ (智慧城市  Smart City) ข้อมูลบิ๊กดาต้า (大数据  Big Data) และปัญญาประดิษฐ์ (人工智能  Artificial Intelligence) เป็นต้น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://www.chinanews.com/gn/2020/06-12/9210839.shtml

http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/2020-06/12/content_955859.shtml

http://www.takungpao.com/news/232108/2020/0613/462203.html

https://tech.sina.cn/2020-06-12/detail-iirczymk6672181.d.html

http://ydyl.people.com.cn/n1/2020/0613/c411837-31745476.html 

http://www.cn-asean.org/xwfb/201910/t20191024_900204.html

http://thai.cri.cn/20200613/94b3afcd-875a-b4de-48e1-92b2f92af8ef.html

http://thai.cri.cn/20200613/dfbee03e-d657-7ee9-70b6-4d14228b2995.html

http://www.cnii.com.cn/sy/tt/202006/t20200614_186226.html