งสำนักงานสารสนเทศ คณะรัฐมนตรีจีน ในการจัดงานแถลงข่าวผลการสำรวจสำมะโนประชากรแห่งชาติครั้งที่ ๗ (国新办举行第七次全国人口普查主要数据结果发布会) เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค.๖๔ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของประชากรจีนจาก ๖ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านจำนวนของประชากรทั้งหมด พบว่า จีนมีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรชะลอตัวลง แต่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) มีประชากร ๑.๔๑ พันล้านคน คิดเป็น ๑๘% ของประชากรทั้งหมดของโลก และยังคงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา โดยเป็นประชากรในวัยทำงาน (อายุ ๑๕ - ๕๙ ปี) จำนวน ๘๙๔.๓๘ ล้านคน คิดเป็น ๖๓.๓๕% ของประชากรทั้งหมด (ลดลง ๖.๗๙ % จากการสำรวจในปี ๒๐๑๐ หรือ ปี พ.ศ.๒๕๕๓)
๒. ด้านคุณภาพของประชากร พบว่า ระดับการศึกษาของประชากรจีนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและคุณภาพของประชากรก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องคือมีประชากรที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ๒๑๘.๓๖ ล้านคน โดยจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยสำหรับประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก ๙.๐๘ ปี ในปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) เป็น ๙.๙๑ ปี จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยสำหรับประชากรวัยทำงาน ๑๖ - ๕๙ ปี เพิ่มขึ้นจาก ๙.๖๗ ปี ในปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) เป็น ๑๐.๗๕ ปี และอัตราการไม่รู้หนังสือลดลงจาก ๔.๐๘% ในปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) เป็น ๒.๖๗%
๓. ด้านองค์ประกอบทางเพศ พบว่า มีประชากรชาย ๗๒๓.๓๔ ล้านคน คิดเป็น ๕๑.๒๔4% ประชากรหญิง ๖๘๘.๔๔ ล้านคนคิดเป็น ๔๘.๗๖% อัตราส่วนทางเพศของประชากรทั้งหมด (ผู้หญิง ๑๐๐ คนและอัตราส่วนของผู้ชายต่อผู้หญิง) เท่ากับ ๑๐๕.๐๗ ซึ่งโดยทั่วไปจะเหมือนกับในปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) แต่ต่ำกว่าเล็กน้อย โดยอัตราส่วนทางเพศเมื่อแรกเกิดเท่ากับ ๑๑๑.๓ ลดลง ๖.๘ จากปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) ทำให้โครงสร้างทางเพศของประชากรจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๔. ด้านองค์ประกอบของอายุ พบว่า ประชากรอายุ ๐ - ๑๔ ปี มีจำนวน ๒๕๓.๓๘ ล้านคน คิดเป็น ๑๗.๙๕% ประชากรอายุ ๑๕ – ๕๙ มี ๘๙.๔๓๘ ล้านคน คิดเป็น ๖๓.๓๕% ประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมี ๒๖๔.๐๒ ล้านคน คิดเป็น ๑๘.๗๐% (ในจำนวนนี้มีประชากร อายุ ๖๕ ปีขึ้นไปคือ ๑๙๐.๖๔ ล้านคนคิดเป็น ๑๓.๕๐%) เมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) โดยสัดส่วนของประชากรอายุ ๐ – ๑๔ ปี เพิ่มขึ้น ๑.๓๕% ประชากรอายุ ๑๕ - ๕๙ ปี ลดลง ๖.๗๙% และประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น ๕.๔๔% ซึ่งสัดส่วนของเด็กในจีนเพิ่มขึ้นจากการปรับนโยบายการเจริญพันธุ์ อาทิ การผ่อนปรนนโยบายลูกคนเดียวและให้มีลูกได้สองคน เมื่อปี ๒๐๑๖ (พ.ศ.๒๕๕๙) ได้ส่งเสริมให้ประชากรเกิดการฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น
๕. ด้านการย้ายถิ่นฐานและการไหลเวียนของประชากร ผลการสำรวจสำมะโนประชากรแสดงให้เห็นว่า ประชากรลอย (流动人口 / Floating Population) จำนวนครัวเรือนที่แยกจากกันคือ ๔๙๒.๗๖ ล้านครัวเรือน ซึ่งจำนวนครัวเรือนที่แยกจากกันในเขตเทศบาลคือ ๑๑๖.๙๔ ล้านคน และประชากรลอยตัวอยู่ที่ ๓๗๕.๘๒ ล้านคนในจำนวนนี้มีประชากรลอยระหว่างจังหวัด ๑๒๔.๘๔ ล้านคน เมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) จำนวนครัวเรือนที่แยกจากกันเพิ่มขึ้น ๘๘.๕๒% จำนวนครัวเรือนที่แยกจากกันในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้น ๑๙๒.๖๖% และจำนวนประชากรลอยตัวเพิ่มขึ้น ๖๙.๗๓% ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของจีนได้สร้างเงื่อนไขสำหรับการย้ายถิ่นฐานและการไหลเวียนของประชากร ทำให้ขนาดของประชากรที่ลอยตัว (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างถิ่น) ได้ขยายออกไปอีก
๖. ด้านโครงสร้างของเมือง - ชนบท พบว่า มีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจำนวน ๙๐๑.๙๙ ล้านคนคิดเป็น ๖๓.๘๙% ประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบท ๕๐๙.๗๙ ล้านคนคิดเป็น ๓๖.๑๑% เมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) โดยประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น ๒๓๖.๔๒ ล้านคน และในชนบทลดลง ๑๖๔.๓๖ ล้านคน ซึ่งสัดส่วนของประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น ๑๔.๒๑% ทั้งนี้ ด้วยการพัฒนาเชิงลึกของอุตสาหกรรมใหม่ของจีน รวมทั้งความสมัยทางการเกษตรและการดำเนินนโยบายทำให้เป็นเมืองของประชากรที่มีการถ่ายโอนทางการเกษตร ตลอดจนกระบวนการสร้างเมืองใหม่ของจีนก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขยายตัวของเมืองซึ่งถือเป็นความสำเร็จในประวัติศาสตร์
บทสรุป
ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ประชากรในประเทศจีนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังคงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยคุณภาพของประชากรดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและระดับการศึกษาของประชากรก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนโครงสร้างประชากรได้รับการปรับและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ดีขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการไหลเวียนของประชากรและการรวมตัวกันมีความชัดเจนมากขึ้นและระดับการขยายตัวของเมืองก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการผลักดันการพัฒนาในด้านคุณภาพจากการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับประชากรอย่างเหมาะสม
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
https://mp.weixin.qq.com/s/BAmtS5sV0pEQUFLLRNrIbw