bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันจันทร์ที่ ๒๙ ต.ค.๖๑ : ความเคลื่อนไหวของโครงการความริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง

ความเคลื่อนไหวของโครงการความริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" (Belt and Road Initiative : BRI) กับเวทีการประชุมโต๊ะกลมอธิการบดีสถาบันศิลปะจีน-อาเซียนประจำปี ๒๐๑๘ ในหัวข้อ "เชิดชูจิตใจเส้นทางสายไหม ร่วมกันส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะ" เมื่อวันที่ ๒๕ ต.ค.๖๑ โดยจัดขึ้นที่สถาบันศิลปะกว่างซี (กวางสี) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. การประชุมโต๊ะกลมอธิการบดีสถาบันศิลปะจีน-อาเซียน ดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ด้านวัฒนธรรมและการศึกษาจากจีนและประเทศอาเซียน เจ้าหน้าที่กรมศึกษากว่างซี (กวางสี) ผู้แทนจากสถาบันศิลปะส่วนรวมของจีน ๗ แห่งสถาบันอุดมศึกษาประเทศอาเซียน ๑๕ แห่ง ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม ศิลปะ และการศึกษาของจีนได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
        ๑.๑ นายเหอ ย่าเหวิน ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาของกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวจีนได้กล่าวว่า เมื่อได้ประสบโอกาสใหม่จากความริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" หรือ BRI และความต้องการจริงที่จะมุ่งพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งองค์การทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียนควรกระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สร้างการติดต่อประสานงานกันที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
        ๑.๒ นายไช่ ฉางจั๋ว เลขาธิการสถาบันศิลปะกว่างซี (กวางสี) ได้กล่าวคำปราศรัยว่า ได้พิจารณาจากประสบการณ์ของตนที่ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนมาร่วม ๑๘ ปี ได้บรรยายและวิเคราะห์วิจัยในด้านการศึกษาของอาเซียน เน้นคุณค่าสำคัญของการส่งเสริมการวิจัยอาเซียนเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจการค้า เป็นต้น
        ๑.๓ ตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาและกลุ่มศิลปะของจีนและอาเซียนต่างทยอยกล่าวคำปราศรัย และเห็นตรงกันว่า ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่งเสริมการติดต่อและการเชื่อมโยงกันแบบทวิภาคีและพหุภาคี ส่งเสริมความร่วมมือและการได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายในด้านวัฒนธรรม ศิลปะและการศึกษา ส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางศิลปะระหว่างประเทศรายทาง "หนึ่ง แถบ หนึ่งเส้นทาง" หรือ BRI ให้มากยิ่งขึ้น

๒. ข้อสังเกต เกี่ยวกับรูปธรรมความเชื่อมโยงระหว่างเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
        ๒.๑ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) เป็นพื้นที่ระดับมณฑลเดียวของจีนที่มีการเชื่อมต่อกับอาเซียนทั้งทางบกและทางน้ำ และมีกระแสวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับประเทศอาเซียนบางประเทศ จึงได้รับความนิยมจากนักศึกษาอาเซียนที่ไปเรียนต่อในจีน และกลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรจีน – อาเซียนที่สำคัญ และเมื่อช่วงกลางเดือน ต.ค.๖๑ มีนักศึกษาใหม่จำนวน ๒๖๑ คนจากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ทยอยกันมาลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยชนเผ่ากว่างซี จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับนักศึกษาต่างชาติรวมกว่า ๑๖,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้ มีประมาณ ๙๐% มาจากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน
        ๒.๒ เมื่อวันที่ ๑๑ ก.ย.๖๑ ที่ประชุมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมจีน-อาเซียน จัดขึ้นที่เมืองหนานหนิง ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง โดยผู้แทนทั้งจีนและต่างชาติกว่า ๔๐๐ คนเข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้ประกาศเริ่มใช้งานคลังข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมจีน-อาเซียนอย่างเป็นทางการ ต่อไปในอนาคต จีนและอาเซียนจะดำเนินความร่วมมือโดยการประยุกต์ใช้ Big Data ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างลึกซึ้งและต่อเนื่อง ผลักดันการสร้างนวัตกรรมการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
        ๒.๓ มีการแถลงข่าวเมื่อวันที่ ๑๙ ก.ค.๖๑ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ว่า กว่างซี (กวางสี) จะเพิ่มเส้นทางบินไปยังจุดหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง ๑๘ เมืองในเดือน ก.ค.๖๑ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาเส้นทางบินระหว่างประเทศที่มู่งสู่อาเซียนของกว่างซีสู่อาเซียนที่มีความคืบหน้า

บทสรุป

รูปธรรมของการประชุมส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะจีน-อาเซียน ประจำปี ๒๐๑๘ ซึ่งมีความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรม ศิลปะ การศึกษา และเศรษฐกิจการค้าของเมืองตามรายทางโครงการความริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ BRI ดังกรณีที่มีบริษัทหลายแห่งได้เข้าไปจัดตั้งโรงงานในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ซึ่งเป็นมณฑลเดียวของจีนที่ติดกับประเทศอาเซียนทั้งทางบกและทางทะเล โดยใช้จุดเด่นนี้ทำการตลาดรถยนต์พลังงานใหม่ในประเทศกลุ่มอาเซียน ตามแผนการพัฒนาถึงปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) และคาดว่ากำลังการผลิตจะอยู่ที่ปีละ ๔ แสนคัน และเป็น ๑ ใน ๕ ของยอดการผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ของจีน นอกจากนี้ จีนยังเป็นประเทศผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยครองสัดส่วน ๕๐% ของตลาดโลกอีกด้วย จึงทำให้น่าสนใจถึงการผสมผสานแนวคิด soft power กับ hard power ได้อย่างลงตัวและก่อให้เกิดรูปธรรมที่เป็นผลประโยชน์ต่อจีน

ประมวลโดย : พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://zh-cn.facebook.com/aswara.edu/posts/10161149466255694 

http://thai.cri.cn/247/2018/10/26/121s272870.htm 

http://thai.cri.cn/247/2018/10/15/232s272349.htm 

http://thai.cri.cn/247/2018/09/12/62s271086.htm 

http://thai.cri.cn/247/2018/07/20/62s269210.htm 

http://thai.cri.cn/247/2018/07/19/64s269172.htm 

http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/about-china/country/guangxi/city.php