ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ดาวเทียม “เกาเฟิน-๑๐” (Gao Fen No. 10 satellite) เป็นดาวเทียมเก็บข้อมูลระยะไกลด้วยคลื่นไมโครเวฟ สังกัดโครงการสำคัญด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติจีน โดยมีระบบสังเกตการณ์พื้นโลกที่มีความคมชัดสูง สามารถใช้ประยุกต์ในงานต่าง ๆ เช่น การสำรวจที่ดิน การวางผังเมือง การออกแบบเครือข่ายถนน การประมาณการผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ เป็นต้น นอกจากนี้ ดาวเทียมดวงนี้ยังสร้างความมั่นคงด้านข้อมูลในการปฏิบัติตามโครงการความร่วมมือข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) และการป้องกันประเทศด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
๒. ดาวเทียม “เกาเฟิน-๑๐” ได้ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศด้วยจรวดขนส่งลองมาร์ช-4C จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมไท่หยวน (Taiyuan) เมื่อวันที่ ๕ ต.ค.๖๒ เวลา ๐๒.๕๑น. ตามเวลาของประเทศจีนซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย ๑ ชั่วโมง ทั้งนี้ จรวดขนส่งลองมาร์ช-4C และ ดาวเทียม “เกาเฟิน-๑๐” ผลิตและวิจัยโดยสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการบินและอวกาศเซี่ยงไฮ้ สังกัดบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งชาติจีน (CASC)
บทสรุป
ดาวเทียม “เกาเฟิน-๑๐” เป็นอีกกรณีตัวอย่างหนึ่งในความสำเร็จของจีนในช่วง ๗๐ ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยกิจการดาวเทียมของจีนได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง ๔๙ ปีที่ผ่านมา จีนได้วิจัย ผลิตและยิงส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศเป็นผลสำเร็จกว่า ๒๐๐ ดวง นับตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๔ เม.ย. ปี ๑๙๗๐ (พ.ศ.๒๕๑๓) ที่จีนได้ส่งดาวเทียม “ตงฟังหงหลายเลข ๑” ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของจีน ขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วฉวนเป็นผลสำเร็จ ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ ๕ ที่มีความสามารถในการส่งดาวเทียมที่ผลิตเอง ด้วยจรวดที่ผลิตเอง และการส่งดาวเทียม “ตงฟังหงหมายเลข ๑” ถือเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนากิจการดาวเทียมของจีน
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://www.chinadaily.com.cn/a/201910/05/WS5d97cb02a310cf3e3556ecce.html
http://thai.cri.cn/20191005/55f3a28c-7fdf-511f-8da8-f88a3f4de7ac.html
http://thai.cri.cn/20191005/f2e42b24-7d64-6dd2-3176-c0665f5a3fd0.html
http://thai.cri.cn/20190912/91764a4a-3a89-6d75-843b-8b52fd00e171.html
https://www.nasaspaceflight.com/2019/10/gaofen-10-long-march-4c/