ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ที่ประชุมได้ตกลงที่จะจัดการประชุมเต็มคณะ ครั้งที่ ๔ ของคณะกรรมการตรวจสอบวินัยส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ ๑๙ ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ ม.ค.๖๓ เนื่องจาก ปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) เป็นปีสุดท้ายของแผนการสร้างสังคมพอกินพอใช้อย่างถ้วนทั่ว โดยต้องบรรลุเป้าหมายการพัฒนาให้ได้ ภายใต้การปฏิบัติตามแนวคิดสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์พิเศษของจีนในยุคสมัยใหม่ที่เสนอโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพื่อใช้การปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นแรงขับเคลื่อน ผลักดันการพัฒนาด้วยคุณภาพสูง เร่งสร้างระบบเศรษฐกิจทันสมัย เร่งขจัดความยากจน และแก้ไขมลพิษ รวมทั้งสร้างความมั่นคงทั้งด้านการมีงานทำ การเงิน การค้าระหว่างประเทศ การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การลงทุนในต่างประเทศ อันจะเป็นหลักประกันให้ประสบผลสำเร็จในการสร้างสังคมพอกินพอใช้อย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ ๕ ปี ฉบับที่ ๑๓
๒. การประชุมกรมการเมือง คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมเต็มคณะครั้งที่ ๔ ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ ๑๙ ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๑ ต.ค.๖๒ ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวคือ
๒.๑ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในฐานะเลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ชี้แจงถึงสภาพการร่างข้อตกลงว่าด้วยปัญหาสำคัญต่างๆ โดยเน้น “...การยืนหยัดและปรับปรุงระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์จีนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การผลักดันระบบบริหารประเทศและความสามารถทางการบริหารประเทศให้ก้าวหน้าไปอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ถือเป้าหมายทางยุทธศาสตร์และภารกิจสำคัญที่กำหนดโดยการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศจีนชุดที่ ๑๙ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นจุดเริ่มต้น การยืนหยัดและเสริมสร้างระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน การประกันการบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในระยะไกลและความมั่นคงเสถียรภาพของประเทศชาติ การปรับปรุงและพัฒนาระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน การสร้างสรรค์ประเทศทันสมัยแบบสังคมนิยมอย่างรอบด้าน การใช้ความเหนือกว่าของระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนให้เต็มที่ การผลักดันระบบบริหารประเทศและความสามารถทางการบริหารประเทศให้มีความทันสมัยคืบหน้าไป การสรุปคุณูปการ ประสบการณ์ และหลักการด้านสร้างสรรค์ระบอบการปกครองและบริหารประเทศที่ประชาชนจีนที่ได้รับภายใต้การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างรอบด้าน การยืนหยัดปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบและประกันกลไกแกนนำ กลไกพื้นฐานและกลไกสำคัญที่เป็นหลักประกันของระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนในการกำหนดการปฏิรูประบบและกลไกสำคัญ อีกทั้งภาระหน้าที่จำเป็นที่ต้องผลักดันด้วย...”
๒.๒ ที่ประชุมฯ ยังเสนอให้ยืนหยัดและปรับปรุงระบบคุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเมืองและชนบทให้มีความสมบูรณ์แบบ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในการสร้างชีวิตที่ดีงาม ยืนหยัดและปรับปรุงระบบบริหารสังคมแบบร่วมสร้าง ร่วมบริหารและร่วมใช้ให้มีความสมบูรณ์แบบ รักษาเสถียรภาพของสังคมและพิทักษ์ความมั่นคงแห่งชาติ ยืนหยัดและปรับปรุงระบบภาวะนิเวศให้มีความสมบูรณ์แบบ ส่งเสริมให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ด้วยกันอย่างสมานฉันท์ ยืนหยัดและสร้าง “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ให้มีความสมบูรณ์แบบ ผลักดันให้ประเทศรวมเป็นเอกภาพอย่างสันติ รวมทั้งการยืนหยัดและปรับปรุงระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนให้มีความสมบูรณ์แบบ ตลอดจนการผลักดันระบบบริหารประเทศและยกระดับขีดความสามารถการบริหารงานให้มีความทันสมัย ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
๓. เมื่อวันที่ ๑๑ ธ.ค.๖๒ ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ นายจ้าง อันมิน เลขาธิการกระทรวงการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้บรรยายสรุปถึงเรื่องดังกล่าวนี้ว่า ในปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) ต้องทำให้สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์จีนมีความสมบูรณ์ โดยปรับปรุงให้มีความทันสมัยในการยกระดับขีดความสามารถ ยึดระบบนิติรัฐเพื่อสร้างบ้านเมืองที่มีความรับผิดชอบและระบบการตลาดที่มีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากร ส่งเสริมความเข้มแข็งในระบบความคิดร่วมกัน ในการรักษาความมั่นคงของชาติและอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง มีการปรับปรุงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนให้มีความทันสมัยภายใต้ระบบพรรคคอมมิวนิสต์จีน ยืนหยัดหลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในการผลักดันการรวมชาติอย่างสันติ นอกจากนี้ นายจ้าง อันมิน ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่จะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยจีนได้ลดต้นทุนภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อนำเข้าสินค้า เช่น ข้าวและทุเรียนจากประเทศไทยมากขึ้น เป็นต้น โดยขอให้ไทย-จีน จับมือร่วมกันสร้างอนาคตที่ดี
บทสรุป
ในการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ ๑๙ จำนวน ๓ ครั้งที่ผ่านมา และได้บรรลุร่างข้อตกลงในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ ๔ โดยมุ่งเน้นระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน เพื่อเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานของการพัฒนาและความก้าวหน้าของจีนยุคปัจจุบัน ในการผลักดันระบบบริหารประเทศและความสามารถบริหารประเทศให้มีความทันสมัย ด้วยการพิจารณาปัจจัย ๓ ประการ อันได้แก่ (๑) ถือเป็นภารกิจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการต่อสู้ “สองความฝันแห่งรอบร้อยปี” โดยในปี ๒๐๒๐ หรือ พ.ศ.๒๕๖๓ ประชาชนในสังคมจีนมีความพออยู่พอกินอย่างถ้วนทั่ว เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเมื่อถึงกลางศตวรรษที่ ๒๑ ในปี ๒๐๕๐ หรือ พ.ศ.๒๕๙๓ จีนจะเป็นประเทศสังคมนิยมทันสมัยที่ยิ่งใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนาประเทศ (๒) ถือเป็นความต้องการพื้นฐานในการผลักดันการปฏิรูปประเทศและเปิดประเทศไปสู่อนาคตในศักราชใหม่ และ (๓) ถือเป็นหลักประกันในการรับมือกับความเสี่ยงภัยและการท้าทายได้เหนือกว่าอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยร่วมกับสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน จึงเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ และได้เรียนเชิญนายจ้าง อันมิน เลขาธิการกระทรวงการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เดินทางมาประเทศไทย เพื่อบรรยายสรุปให้กับหน่วยงานของไทยทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งประชาชนที่สนใจได้รับฟัง
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.xinhuanet.com/english/2019-10/31/c_138518832.htm
http://thai.cri.cn/20191207/2f49f2ab-d3f6-2930-3f96-79cff9afedf3.html
http://thai.cri.cn/20191031/271e1be9-63b1-ad16-261b-87dc365efe03.html
http://thai.cri.cn/20191106/3711fc96-6535-ae8d-4443-e2f5d003a307.htm
https://www.chinadaily.com.cn/a/201910/24/WS5db13ecea310cf3e355724ec.html
และเอกสารประกอบการบรรยายของนายจ้าง อันมิน เลขาธิการกระทรวงการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ ๑๑ ธ.ค.๖๒ ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ