bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ต.ค.๖๒ การกำกับดูแลงานด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการส่งดาวเทียมของจีน

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. มีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการควบคุมการส่งดาวเทียมของจีนอย่างเป็นทางการขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค.๖๒ โดยมีนักวิชาการ ๓๓ คน จากสาขาการบินอวกาศ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยอีก ๗ คน ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติด้านการบินอวกาศ และผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลากร เพื่อรวมเป็นทีมงานให้คำปรึกษาด้านการวางยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และบุคลากร เป็นต้น โดยปกติมีวาระการปฏิบัติงาน ๓ ปี

๒. มีข้อมูลสถิติล่าสุดของสมาคมดาวเทียมนำร่องและกำหนดตำแหน่งจีน (GLAC) ได้แสดงให้เห็นว่า นับจากปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) จนถึงปัจจุบัน อัตราเติบโตของอุตสาหกรรมบริการดาวเทียมนำร่องและกำหนดตำแหน่งของจีนคงไว้ที่ปีละประมาณ ๒๐% มาโดยตลอด โดยระบบดาวเทียมนำร่องทั่วโลกที่สร้างด้วยจีนเอง ดำเนินการอย่างอิสระและเข้ากันได้กับระบบดาวเทียมนำร่องของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เช่น เป๋ยโต่วได้สร้างคุณูปการหลักให้กับอุตสาหกรรมถึง ๘๐%

บทสรุป
มีการประเมินว่าระบบดาวเทียมนำร่องเป๋ยโต่วของจีนจะสร้างเสร็จเต็มรูปแบบในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) และจะให้บริการแก่ทั่วโลก ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นคาดว่าขนาดของอุตสาหกรรมดาวเทียมนำร่องของจีนจะมีมูลค่าเกิน ๔๐๐,๐๐๐ ล้านหยวน (ประมาณ ๑.๗๒ ล้านล้านบาท) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการควบคุมการส่งดาวเทียมของจีนอย่างเป็นทางการขึ้น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://english.spacechina.com/n16421/index.html

http://thai.cri.cn/20191011/f1ea9a51-d73b-1698-1b55-fc655db75e1f.html

http://thai.cri.cn/20190914/6feb16f3-e45d-5261-b189-39968e925193.html

http://thai.cri.cn/20190912/91764a4a-3a89-6d75-843b-8b52fd00e171.html

http://english.spacechina.com/n16421/n17212/c2723310/content.html

https://insidegnss.com/international-committee-on-gnss-13-focuses-on-pnt-in-high-earth-orbit-and-beyond/