bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ต.ค.๖๔ การประกาศ “ปฏิญญาปักกิ่ง” อันเป็นผลจากการประชุมการคมนาคมอย่างยั่งยืนทั่วโลกแห่งสหประชาชาติครั้งที่ ๒

จีนศึกษา (วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ต.ค.๖๔) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศ “ปฏิญญาปักกิ่ง” (“北京宣言”) อันเป็นผลจากการประชุมการคมนาคมอย่างยั่งยืนทั่วโลกแห่งสหประชาชาติครั้งที่ ๒ ที่ได้ปิดฉากลง ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๑๖ ต.ค.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. “ปฏิญญาปักกิ่ง” ดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการคมนาคมที่ยั่งยืน และกล่าวว่าการเร่งรัดการพัฒนาการคมนาคมอย่างยั่งยืน เป็นวิธีการสำคัญเพื่อผลักดันการสร้างสรรค์ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ โดยเสนอว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่นั้น เป็นจุดสำคัญของการแก้ไขการท้าทายต่างๆ ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศ การสร้างสรรค์ศักยภาพและการแลกเปลี่ยนทางความรู้ ผลักดันการพัฒนาและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ผลักดันให้เผยแพร่ระบบการคมนาคมที่ยั่งยืนและปัจจัยอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานไปยังเขตเชนบท เขตที่ห่างไกลจากพื้นที่เจริญก้าวหน้า และประเทศที่มีสภาพพิเศษ เสริมสร้างศักยภาพทางการรักษาการความปลอดภัยทางการคมนาคม ยกศักยภาพการรับมือความเสี่ยงภัยให้สูงขึ้น จัดการกรณีฉุกเฉินทางโรคติดต่อ ในขั้นตอนต่อไป ฝ่ายต่างๆอาจเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนของการแพร่ระบาดโควิด-19 จัดเป้าหมายการคมนาคมที่ยั่งยืนให้อยู่ในแผนการพัฒนาประเทศ เดินหน้าคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อกัน ปฏิบัติตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) แห่งสหประชาชาติและข้อตกลงปารีส

๒. ปฏิญญาปักกิ่ง ยังระบุด้วยว่า ผู้เข้าร่วมประชุมขอบคุณจีนที่เป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ และยินดีกับการก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและความรู้ด้านการขนส่งที่ยั่งยืนระดับนานาชาติของจีน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการแบ่งปันความรู้ด้านการขนส่งที่ยั่งยืนและโอกาสในการสร้างขีดความสามารถสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

บทสรุป

หลี่ เสี่ยวเผิง (李小鹏) รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของจีน (中国交通运输部部长) กล่าวในสุนทรพจน์ปิดว่า ปฏิญญาดังกล่าวอธิบายถึงวิสัยทัศน์ในอนาคตของการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนทั่วโลก และเสนอการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการขนส่ง ซึ่งมีไว้สำหรับการดำเนินการตามเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) ได้ให้กรอบการทำงาน โดยจีนยินดีทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตาม “ข้อริเริ่มเพื่อการพัฒนาระดับโลก” (“全球发展倡议”) โดยเร็วที่สุด รวมทั้งยังคงส่งเสริมการก่อสร้างร่วมที่มีคุณภาพสูงของ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (“一带一路”) และพยายามอย่างไม่ลดละที่จะร่วมกันเปิดกว้างโอกาสสำหรับความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

http://www.gov.cn/xinwen/2021-10/17/content_5643093.htm 

http://www.news.cn/2021-10/16/c_1127965368.htm