bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ม.ค.๖๔ แนวทางของจีนต่อกรณีการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (ตอนที่ ๕) โดยรัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของชนกลุ่มน้อย


 
๑. นโยบายทั่วไป จากการประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ชุดที่ ๙ ครั้งที่ ๑๑ เมื่อวันที่ ๑๙ ธ.ค.๖๓ เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของซินเจียงที่มีคุณภาพสูง โดยปรับใช้ "แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔" (十四五”) เพื่อพัฒนาการศึกษาในภูมิภาคและการปฏิรูปการประเมินผลการศึกษา ซึ่งที่ประชุมชี้ให้เห็นว่า ต้องยึดถือนโยบายการศึกษาของพรรคฯ และการตัดสินใจของคณะกรรมการกลางของพรรคฯ อันจะทำให้บรรลุเป้าหมายโดยรวมของเสถียรภาพทางสังคมและเสถียรภาพในระยะยาวในซินเจียง กล่าวคือ
     ๑.๑ ระบบการศึกษาของทั้งเขตปกครองตนเอง ต้องเข้าใจแนวความคิดและผู้นำหลักอย่างมั่นคงโดยใช้ “แนวคิดสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีนในยุคใหม่ของสี จิ้นผิง” (“以习近平新时代中国特色社会”) ในการหล่อหลอมจิตวิญญาณและให้ความรู้แก่ผู้คนตลอดจนให้ความรู้และชี้แนะแนวทางของนักเรียนและครู โดยนักเรียนจะต้องเสริมสร้าง "จิตสำนึก ๔ ประการ" (“四个意识”) อย่างต่อเนื่องและตั้งมั่น "ความมั่นใจ ๔ ประการ" (“四个自信”) และ "การบำรุงรักษา ๒ ประการ" (“两个维护”)  
     ๑.๒ จำเป็นต้องเข้าใจภารกิจพื้นฐานในการปลูกฝังคุณธรรมเสริมสร้างการศึกษาความรักชาติและการศึกษาค่านิยมหลักสังคมนิยมสร้างความรู้สึกของชุมชนของประเทศจีน พัฒนาหลักสูตรทางอุดมการณ์และการเมืองให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นยึดมั่นใน "ห้า การศึกษา” (“五育”) ไปพร้อม ๆ กันและปรับปรุงกลไกการศึกษาของโรงเรียนครอบครัวและสังคม  
     ๑.๓ จำเป็นต้องส่งเสริมการศึกษาภาษากลางแห่งชาติต่อไป โดยปฏิรูประบบการสอบและการลงทะเบียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างทีมครู ประสานงานส่งเสริมการศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาภาคบังคับ มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา การศึกษาและดำเนินการต่อเพื่อให้ลึกยิ่งขึ้นในการปฏิรูปของ "การมอบหมาย การควบคุมและการบริการ" (“放管服”) ในด้านการศึกษา การปฏิรูปและนวัตกรรมแก้ปัญหาที่ร้อนแรงและยากของการพัฒนาการศึกษา โดยต้องเข้าใจทิศทางของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแน่วแน่ และสร้างระบบการศึกษาที่รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
 
๒. นโยบายเฉพาะเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนและเนื้อหาวิชา
     ๒.๑ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน รัฐบาลจีนยืนยันที่จะใช้ภาษาของชนเผ่านั้น ๆ ในการดำเนินการการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้จัดสรรงบประมาณเป็นกรณีพิเศษในการแต่งตำราภาษาอุยกูร์ คาซัค มองโก คีร์กิซ เป็นต้น สามารถตอบสนองชนกลุ่มน้อยในการใช้หนังสือตำราที่เป็นภาษาของชนกลุ่มนั้น ๆ ส่วนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นปีละครั้งนั้น ข้อสอบจะใช้ภาษาอุยกูร์ ภาษาฮั่น ภาษาคาซัค ภาษามองโก หรือภาษาประจำท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อยด้วยเช่นกัน  
     ๒.๒ ตั้งแต่ปี ค.ศ.๒๐๐๔ (พ.ศ.๒๕๔๗) รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในชนกลุ่มน้อยด้วย เพื่อบรรลุเป้าหมายและทำให้นักเรียนชนกลุ่มน้อยที่จบการศึกษามัธยมตอนปลายแล้วสามารถใช้ภาษาจีนและภาษาชนกลุ่มน้อยของตนได้ และในปี ค.ศ.๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๕๑) ภายใต้ข้อเสนอของผู้นำอุยกูร์ เขตปกครองตนเองซินเจียงได้ดำเนินการอบรมครูให้สามารถใช้ได้ ๒ ภาษาและดำเนินการการเรียนการสอน ๒ ภาษา
     ๒.๓ สถาบันอิสลามศึกษาของซินเจียง (新疆伊斯兰学院 / Xinjiang Islamic Institute) ได้แบ่งเนื้อหาวิชา โดยร้อยละ ๓๐ เป็นวิชาทั่วไป เช่น เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นต้น และร้อยละ ๗๐ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ที่กำหนดซึ่งไม่ได้อ้างอิงจากประเทศใดประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ กรมศาสนาและสมาคมอิสลามได้จัดทำหลักสูตรขึ้นมาเอง โดยให้หลักสูตรสอดคล้องกับหลักการของกรมศาสนาและสมาคมอิสลาม (ในประเทศจีนมีทั้งหมด ๕ ศาสน า และมีสถาบันสอนด้านศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋า เป็นต้น รวมทั้งหมด ๑๐๐ สถาบัน ส่วนสถาบันที่เกี่ยวกับอิสลามมีอยู่ ๑๐ แห่ง)
 
๓. การให้สิทธิประโยชน์พิเศษ โดยนับตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๕๐ (พ.ศ.๒๕๙๓) รัฐบาลจีนได้ให้สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับชนกลุ่มน้อยในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มสัดส่วนอัตราการเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งนโยบายหรือโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการศึกษาของผู้คนในซินเจียง อาทิ โครงการบ่มเพาะบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ โดยการส่งนักเรียนชนกลุ่มน้อยไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เป็นต้น
 
บทสรุป

ในกรณีของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ได้พิสูจน์แล้วว่า การเรียนการสอน ๒ ภาษานั้น สามารถเพิ่มพูนความเข้าใจระหว่างชนกลุ่มน้อยและชนเผ่า ถือเป็นหนึ่งมาตรการในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ จนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน รวมทั้งยังส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชนเผ่าเพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ทุรกันดารมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตั้งแต่ปี ค.ศ.๒๐๐๐ (พ.ศ.๒๕๔๓) เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ดำเนินการโครงการจัดตั้งโรงเรียน ๑๓ แห่งในกรุงปักกิ่ง มหานครเซี่ยงไฮ้และมณฑลอื่น ๆ ที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป็นโรงเรียนสอนในระดับมัธยมปลายสำหรับชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ด้วยเช่นกัน
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://www.mfa.gov.cn/web/fyrbt_673021/t1847512.shtml 

https://weibo.com/2286908003/JE3QYBBpP?type=comment#_rnd1611195785568 

http://www.chinaembassy.se/chn/zgxw/t1831910.htm 

https://www.dw.com/zh/中国使馆推文被删-新疆政府为其人口政策辩护/a-56193407 

http://www.vijaichina.com/articles/1078 

http://www.xj.xinhuanet.com/2020-12/20/c_1126883913.htm