จีนศึกษา (วันพฤหัสบดีที่ ๙ ก.ค.๖๓) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือจีน-ชาติอาหรับ (China-Arab States Cooperation Forum : CASCF)
๑. ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (国家主席习近平) ได้ส่งสารแสดงความยินดีกับการประชุมทางไกลระดับรัฐมนตรีความร่วมมือระหว่างจีน-ชาติอาหรับ ครั้งที่ ๙ (中阿合作论坛第九届部长级会议通过) ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เมื่อวันที่ ๖ ก.ค.๖๓ โดยมี นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน พร้อมด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสันนิบาตอาหรับร่วมการประชุม ซึ่งในสารของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เน้นถึงสาระสำคัญ กล่าวคือ
๑.๑ เมื่อปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๐) ได้ประกาศในพิธีเปิดประชุมรัฐมนตรีความร่วมมือจีน-ชาติอาหรับครั้งที่ ๘ ว่า จะสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างจีน-ชาติอาหรับ (中阿战略伙伴关系) และริเริ่มให้พัฒนาประชาคมจีน-อาหรับที่มีอนาคตร่วมกัน อีกทั้งร่วมกันผลักดันการสร้างประชาคมร่วมชะตาเดียวกันแห่งมนุษยชาติด้วย(为推动构建人类命运共同体作出贡献) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชาติอาหรับ
๑.๒ ในช่วงสองปีมานี้ ทั้งสองฝ่ายเสริมการประสานความร่วมมือกันทางยุทธศาสตร์และภาคปฏิบัติมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่ร่วมมือกันในทุกด้านและมีการพัฒนาร่วมกันนั้น มีระดับลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้น ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จึงแสดงความคาดหวังว่า จีน–ชาติอาหรับ จะถือโอกาสในการจัดประชุมครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและการประสานงานกันทางยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมทั้งการรับมือกับโรคระบาดอย่างมั่นคง ตลอดจนผลักดันการสร้างประชาคมจีน-ชาติอาหรับที่มีอนาคตร่วมกันให้มีระดับลึกซึ้ง และมีการปฏิบัติกันมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนของทั้งสองฝ่าย
๒. ผลจากการประชุมฯ ดังกล่าว โดยจีน (中国) – ชาติอาหรับ (阿拉伯国家) ได้บรรลุข้อตกลงกันใน ๒ ประการใหญ่ๆ อันได้แก่
๒.๑ ประการแรก แถลงการณ์อัมมาน อันเป็นการแสดงออกถึงความปรารถนาของทั้งสองฝ่ายในการกระชับความสัมพันธ์จีน–อาหรับให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น (一、《安曼宣言》表达了双方进一步深化中阿关系的愿望)
๒.๒ ประการที่สอง แผนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ" ระบุความต้องการและแผนความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายตั้งแต่ปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ถึงปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) ในด้านต่างๆ (二、《行动执行计划》明确了2020年至2022年双方各领域合作需要和规划)
๓. ข้อสังเกต ในการประชุมก่อนหน้านี้ ระหว่างจีน-ชาติอาหรับ ครั้งที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑๐ ก.ค.๖๑ ณ มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง ถือเป็นการประชุมเปิดศักราชใหม่ โดยเฉพาะการที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงประกาศอย่างเป็นทางการว่า จีนกับชาติอาหรับจะสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันที่ร่วมมืออย่างรอบด้าน รวมทั้งพัฒนาร่วมกันและมุ่งหน้าสู่อนาคต ซึ่งการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายเช่นนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกระแสแห่งยุคสมัย โดยได้บรรลุข้อตกลงและลงนามในเอกสารสำคัญ ๓ ฉบับได้แก่ (๑) แถลงการณ์ปักกิ่ง (๒) แผนการดำเนินการตามผลการประชุมฟอรั่มระหว่างปี ค.ศ.๒๐๑๘ - ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๓) และ (๓) แถลงการณ์การลงมือร่วมกันสร้างสรรค์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางระหว่างจีนกับชาติอาหรับ
บทสรุป
การที่จีน-ชาติอาหรับ ได้มีความเห็นชอบต่อแนวทางการสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์จีน-ชาติอาหรับ ที่มีความร่วมมือกันทุกด้าน เพื่อการพัฒนาร่วมกันและมุ่งสู่อนาคต ซึ่งจีนได้มีข้อริเริ่มในโครงการ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" (一带一路 Belt and Road Initiative : BRI) ที่ได้รับการสนับสนุนและตอบรับจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง รวมถึงชาติอาหรับด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากชาติอาหรับตั้งอยู่บนพื้นที่รายทางของ BRI อันจะมีส่วนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ชาติอาหรับ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนและการประสานงานกันทางยุทธศาสตร์ และการขับเคลื่อนความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมทั้งการรับมือกับโรคระบาดอย่างใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.xinhuanet.com/2020-07/07/c_1126207734.htm
https://www.sanqin.com/2020-07/07/content_8602870.html
http://www.cidca.gov.cn/2020-07/07/c_1210691256.htm
http://www.zgcsb.com/yaowen/2020-07/07/content_189821.html
http://www.chinaarabcf.org/chn/zagx/yyzs/t1795651.htm
http://www.rmzxb.com.cn/c/2020-07-08/2607632.shtml
http://thai.cri.cn/20200707/
http://www.vijaichina.com/articles/1046
https://www.thepaper.cn/