ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๙ ก.ย.๖๒ มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีนครั้งที่ ๑๘ ที่กรุงเทพฯ โดยเน้นประเด็นการส่งเสริมความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้ากับจีน โดยชื่นชมจีนที่สนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน และสนับสนุนแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนประสานเข้ากับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมระบุว่า
๑.๑ รัฐมนตรีหรือผู้แทนเศรษฐกิจการค้า ๑๐ ประเทศอาเซียนและจีนได้ย้ำคำมั่นสัญญาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน
๑.๒ รัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าประเทศต่างๆ ยินดีต้อนรับการเติบโตทางการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๐๐๙ (พ.ศ.๒๕๕๒) จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของอาเซียนมาโดยตลอด
๑.๓ จากสถิติของฝ่ายอาเซียน ปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) ยอดการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนมี ๔๙๗,๔๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๑ ของยอดการค้าของอาเซียน
๑.๔ จากสถิติของฝ่ายจีนครึ่งปีแรกปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) อาเซียนแซงหน้าสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับสองของจีน โดยในปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) การลงทุนของจีนต่ออาเซียนมีมูลค่า ๑๐,๒๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในบรรดาประเทศคู่เจรจาของอาเซียนนั้น จีนกลายเป็นแหล่งลงทุนต่างประเทศในอันดับที่ ๓
๒. ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๒๙ ส.ค.๖๒ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ได้ประกาศรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วง ๗๐ ปี หลังสถาปนาจีนขึ้นใหม่ โดยระบุว่า
๒.๑ ตั้งแต่ปี ๒๐๐๖ (พ.ศ.๒๕๔๙) เป็นต้นมา อัตราการสร้างคุณูปการต่อเศรษฐกิจโลกของจีนจัดอยู่ในอันดับที่ ๑ มาโดยตลอด ถือเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาอันดับแรกของเศรษฐกิจโลก
๒.๒ ตั้งแต่ปี ๑๙๖๑ – ๑๙๗๘ (พ.ศ.๒๕๐๔ – ๒๕๒๑) อัตราการสร้างคุณูปการต่อเศรษฐกิจโลกของจีนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ระดับ ๑.๑% ช่วงระหว่างปี ๑๙๗๙ – ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๒๒ – ๒๕๕๕) อยู่ที่ระดับ ๑๕.๙% ถือเป็นอันดับ ๒ ของโลก ส่วนช่วงปี ๒๐๑๓ – ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๖๑) อยู่ที่ระดับ ๒๘.๑% คิดเป็นอันดับ ๑ ของโลก
บทสรุป
อาจกล่าวได้ว่า ในช่วง ๗๐ ปี เศรษฐกิจจีนได้มีกำลังเข้มแข็งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี ๑๙๕๒ (พ.ศ.๒๔๙๕) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คิดเป็น ๓๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) ตัวเลขดังกล่าวพุ่งสูงถึง ๑๓,๖๐๘,๒๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี ๑๙๕๒ ประมาณ ๔๕๒.๖ เท่า นอกจากนี้ GDP ของจีนในปี ๑๙๗๘ (พ.ศ.๒๕๒๑) อยู่ที่อันดับที่ ๑๑ ของโลก ต่อมาในปี ๒๐๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๓) GDP ของจีนแซงหน้าญี่ปุ่น กลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับที่ ๒ ของโลก และรักษาตำแหน่งอันดับ ๒ ไว้อย่างมั่นคง นอกจากนี้ จีนยังเป็นประเทศที่บรรลุเป้าหมายการลดความยากจนตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติได้เร็วที่สุดอีกด้วย จึงทำให้อาเซียนเห็นถึงความสำคัญในการนำแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนประสานเข้ากับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจาก
http://www.chinanewsportal.com/news/2019/0910/1347/5d773d0fff7f08695bb0ca84
http://thai.cri.cn/20190910/7442d205-a276-e06b-54a0-10ebc383b6ab.html
http://thai.cri.cn/20190830/d8b3d3d1-896e-4754-b6ef-1886c3f5512e.html
http://thai.cri.cn/20190827/83af4bd7-5199-7a8d-8da5-f7b4cdd176b1.html
http://chinaplus.cri.cn/news/business/12/20190910/345901.html