bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๒๖ มิ.ย.๖๒ ทิศทางของโครงการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย – จีน ครั้งที่ ๘ (ตอนที่ ๒ ว่าด้วยหลักการและข้อเสนอจากการสัมมนาครั้งที่ ๗) โดยผู้เขียนได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว ในระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๙ มิ.ย.๖๒ ที่เ

มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. การสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย – จีน ครั้งที่ ๘ ภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีนยุคใหม่ : โอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่” (Chinese – Thai Strategic Cooperation for a New Era : New Opportunity and New Vision) ในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ ไทย - จีน ครั้งที่ ๗ เมื่อปีที่ผ่านมา ในประเด็นหัวข้อ “ความริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมยุคใหม่ : สู่การพัฒนาร่วมกัน”หรือ“The Belt and Road Initiative (BRI) and Thailand 4.0: Towards Common Development” ที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ – ๑๓ ส.ค.๖๑ ณ ห้องประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ และที่ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์กองทัพไทยเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี

๒. โดยหลักการและเหตุผลอันเป็นที่มาของความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-จีนนั้น มีพื้นฐานมาจากการที่ประเทศไทยและจีนได้พัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่ระดับของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยมีความร่วมมือกันในมิติด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง และด้านสังคมวัฒนธรรม ฯลฯ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นมิตรประเทศที่ใกล้ชิดและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และที่สำคัญกว่านั้น ความร่วมมือระหว่างไทยและจีนยังได้นำไปสู่การทำคุณประโยชน์ต่อภูมิภาคร่วมกันอีกด้วย ภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งวแถบ หนึ่งเส้นทาง”(Belt and Road Initiative : BRI) ซึ่งนำเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่เดินทางไปเยือนประเทศคาซัคสถานและประเทศอินโดนีเซียเมื่อช่วงปลายปี ๒๐๑๓ (พ.ศ.๒๕๕๖) ที่ให้ความสำคัญต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการเชื่อมโยงกัน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมทั้งกำหนดให้มีหลักการของการดำเนินงานโดยร่วมกันปรึกษาหารือ ร่วมกันสร้างสรรค์ และร่วมกันแบ่งปัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ของจีนในลักษณะดังกล่าวนั้นเป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของยุทธศาสตร์ไทยภายใต้แนวคิดการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยเฉพาะนโยบายประเทศไทย ๔.๐ และการเชื่อมโยงภูมิภาค (Connectivity)

๓. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในมุมมองของฝ่ายไทย
        ๓.๑ ควรมีการศึกษาวิจัยร่วมกับฝ่ายจีนเกี่ยวกับกลไกการตัดสินใจเชิงนโยบายในมิติทางสังคม เช่น บทบาทของสำนักงานกิจการของชาวจีนโพ้นทะเลและเครือข่ายสมาคมชาวจีนโพ้นทะเล กลไกและบทบาทของคลังสมองความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความร่วมมือทางสังคม ช่องทางเชื่อมโยงกันระหว่างประชาชนสู่ประชาชน และแนวทางการสร้างมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
        ๓.๒ ควรมีการติดต่อที่ใกล้ชิดระหว่างนักวิชาการไทยกับหน่วยงานคลังสมองของจีน ทำให้นักวิชาการไทยได้มีความร่วมมือและความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับจีนและความริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมยุคใหม่ (BRI) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกันระหว่างไทยและจีน
        ๓.๓ แผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีน กับยุทธศาสตร์ประเทศไทย ๔.๐ ของไทย ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ผ่านการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การแบ่งเทคโนโลยีด้านการศึกษาและนวัตกรรม บนพื้นฐานของประโยชน์ร่วมกันและแบ่งปันอนาคตร่วมกันอย่างยั่งยืน
        ๓.๔ ควรยกระดับการดำเนินงานให้มีการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายจีนในรูปแบบการพัฒนาคลังสมองร่วมกัน โดยกำหนดประเด็นวิจัยที่จะเป็นประโยชน์และส่งเสริมการดำเนินงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทยกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน โดยฝ่ายไทยให้ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน (วช.) และฝ่ายจีนให้ Chinese Academy of Social Science (CASS) เป็นจุดประสานงานร่วม (Focal Point)
        ๓.๕ ควรพิจารณาช่องทางความร่วมมือกับหน่วยงานคลังสมองของจีน เพื่อนำเสนอแนวความคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย นอกจากนี้ ควรมีการสนับสนุนให้หน่วยงานคลังสมองของจีนมาจัดตั้งสำนักงานในเขตพื้นที่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย โดยประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน วช.

บทสรุป

ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการสัมมนาฯ เมื่อปีที่แล้ว กรณีแผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีน ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ ๔.๐ โดยหากทั้งสองประเทศ มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดผ่านการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการศึกษา นวัตกรรม และความการสนับสนุนด้านการเงิน ภายใต้แบบจำลองด้านความร่วมมือ จีน-ไทย ในอนาคต ๑๐ ปีข้างหน้า โดย ศาสตราจารย์ ดร. Professor Cui Changcai จาก Harbin Institute of Technology ที่เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นในการสัมมนาฯ ได้นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งจะขอนำเสนอรายละเอียดต่อในวันพรุ่งนี้

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ข้อมูลจาก
เว็บไซต์ของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน วช. www.vijaichina.com 
https://1th.me/Fpkb