จีนศึกษา (วันพุธที่ ๒๙ ก.ค.๖๓) ขอนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวคิดของจีนในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ให้เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป และกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค.๖๓ นายซั่น จี้เสียง (单霁翔) อดีตสมาชิกกลุ่มผู้นำพรรคของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (原国家文化和旅游部党组成员) อดีตคณบดีพิพิธภัณฑ์วัง (故宫博物院院长) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันกู้กง (故宫学院院长) ได้กล่าวในที่ประชุมฟอรั่มการพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ของเขตการท่องเที่ยวแห่งชาติจีน ครั้งที่ ๕ (第五届中国景区创新发展论坛暨中国旅游景区协会) โดยเนื้อหาการยรรยายมีความยาว ๑๕,๐๐๐ คำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น สถาปัตยกรรมการวางผังเมืองการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งและเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าต่อการอ้างอิงเชิงปฏิบัติสำหรับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและการฟื้นฟูเมือง โดยสรุปได้ว่า
๑.๑ ในอดีตการอนุรักษ์มรดกด้านโบราณสถานหรือโบราณวัตถุของจีนเป็นการอนุรักษ์แค่สถานที่หรือผลงานด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ขณะนี้การอนุรักษ์ของจีนได้พัฒนาไปเป็นการอนุรักษ์พื้นที่อยู่อาศัยในชีวิตประจำวันของประชาชน ดังนั้น จากพระราชวัง วัด และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงบ้านพักและโรงงานที่ทำงานของประชาชน เขตชุมนุมทางประวัติศาสตร์ หมู่บ้านที่มีประวัติสืบทอดกันมายาวนาน ตลอดจนหมู่บ้านชนเผ่าของประชาชน ก็กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการอนุรักษ์ เช่น workspace กิจกรรมการสำรวจดาวอังคาร โรงงานการผลิตรถยนต์ฉางชุนตี้อี และฐานฝึกวอลเลย์บอลหญิงจีน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชน และเป็นความทรงจำทางวัฒนธรรมของประชาชน
๑.๒ พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่สาธารณะที่สำคัญที่สุดสำหรับแนวคิดทางวัฒนธรรม ดังนั้น นิทรรศการวัตถุทางวัฒนธรรมจะต้องทำให้มีชีวิตชีวา และวิธีการแสดงนั้นต้องสะดวกสำหรับผู้ที่จะชื่นชม โดยควรแสดงถึงความเชื่อมั่นทางวัฒนธรรม และเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของตนเอง
๒. ข้อสังเกตต่อการอนุรักษ์ จากประสบการณ์ของนายซั่น จี้เสียง ที่ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันกู้กง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีภูมิหลังทางสถาปัตยกรรมจากการวางผังเมืองระยะยาว และทำงานในสำนักมรดกวัฒนธรรมปักกิ่งและสำนักมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติมาเป็นเวลา ๑๓ ปี ซึ่งเห็นว่า ต้องมีการรวมวิชาเอกทางสถาปัตยกรรม การวางผังเมืองและมรดกทางวัฒนธรรม มาพิจารณาร่วมกับการรวมการอนุรักษ์และพิพิธภัณฑ์ในหกระดับ ได้แก่ (๑) ประเทศ 一是国土 (๒) เมือง 二是城市 (๓) ภูมิภาค 三是区域 (๔) สถาปัตยกรรม 四是建筑 (๕) การออกแบบตกแต่งภายใน 五是室内设计 และ (๖) วัฒนธรรมและศิลปะ 六是文化艺术 เป็นต้น
บทสรุป
ปัจจุบัน การสร้างพิพิธภัณฑ์ภายในประเทศของจีนหลายแห่งกำลังดำเนินการตามวัฒนธรรมภูมิภาค โดยต้องการให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากขึ้นผ่านการนำเสนอทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการแสดงเทคโนโลยีดิจิทัล และการแสดงมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ดำเนินการโดยวัตถุโบราณทางวัฒนธรรม ทำให้ผู้คนได้เห็นร่องรอยแห่งปี ด้วยการรักษาภูเขาสีเขียวและน่านน้ำสีเขียว (“通过文物承载的历史信息,让人们看得见岁月留痕、留得住青山绿水,就是我们办展览、研发文创旅游产品的最终目的。”) อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดนิทรรศการรวมถึงพิพิธภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://dhh.dahe.cn/con/210947
https://www.sohu.com/a/409690974_123753
http://news.xmnn.cn/xmnn/2020/07/26/100757703.shtml
https://k.sina.com.cn/article_2109185642_7db79e6a02000ys90.html?from=travel
http://www.sxkjzx.com/news/yc/383108.html
https://travel.ifeng.com/c/7y9IxCRGEDo