bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๓ มิ.ย.๖๓ ความสำเร็จของจีนในรอบ ๕๐ ปีของโครงการสำรวจห้วงอวกาศและใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างสันติ โดยเฉพาะปีนี้ ได้เสร็จสิ้นภารกิจการส่งดาวเทียมระบบนำร่องเป่ยโต่ว (北斗卫星导航系统 BeiDou Navigation Satellite System)

จีนศึกษา วันพุธที่ ๓ มิ.ย.๖๓ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จของจีนในรอบ ๕๐ ปีของโครงการสำรวจห้วงอวกาศและใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างสันติ โดยเฉพาะปีนี้ ได้เสร็จสิ้นภารกิจการส่งดาวเทียมระบบนำร่องเป่ยโต่ว (北斗卫星导航系统  BeiDou Navigation Satellite System) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ความสำเร็จล่าสุด จีนได้ใช้จรวดขนส่ง “ฉางเจิง”(长征  Changzheng) หมายเลข ๒-ติง (二号丁) ยิงส่งดาวเทียม (卫星  satellite) “เกาเฟินจิ่ว” (高分九) หมายเลข ๐๒ (号02) และดาวเทียม “เหอเต๋อ” หมายเลข ๔ (和德四号) จากศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วฉวนของจีน (酒泉卫星发射中心) ขึ้นสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ ๓๑ พ.ค.๖๓ เวลา ๑๖.๕๓ น. ซึ่งดาวเทียม “เกาเฟินจิ่ว” หมายเลข ๐๒ เป็นดาวเทียมสำรวจระยะไกลด้วยแสง โดยมีความละเอียดระดับต่ำกว่าเมตร ซึ่งใช้ในด้านการทำสำมะโนประชากรในประเทศ การวางผังเมือง การยืนยันกรรมสิทธิ์ที่ดิน การออกแบบเส้นทางการจราจร ประมาณผลผลิตทางเกษตร และการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น ซึ่งเป็นการคุ้มครองด้านสารสนเทศกับการสร้างสรรค์ตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI)  

๒. ก่อนหน้านั้นเพียง ๑ วัน จีนก็ประสบความสำเร็จในการใช้จรวดขนส่ง “ฉางเจิง”หมายเลข ๑๑ ส่งดาวเทียม G星และดาวเทียม H星ซึ่งเป็นดาวเทียมทดลองเทคโนโลยีใหม่ จากศูนย์ส่งดาวเทียมซีชาง (西昌卫星发射中心) ขึ้นสู่วงโคจรที่กำหนดไว้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ ๓๐ พ.ค.๖๓ เวลา ๐๔.๑๓ น. ทั้งนี้ จรวดขนส่ง “ฉางเจิง”หมายเลข ๑๑ ที่จีนวิจัยและผลิตเองสามารถขึ้นสู่ห้วงอวกาศทั้งจากทางทะเลและภาคพื้นดิน มีความยาว ๒๑ เมตร  น้ำหนัก ๕๘ ตัน โดยพลังขับเคลื่อนในตอนที่ทะยานขึ้นมีน้ำหนัก ๑๒๐ ตัน สามารถขนส่งสิ่งของที่มีน้ำหนัก ๕๐๐ กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous orbit) ในระยะทาง ๕๐๐ กิโลเมตร ขณะที่จรวดขนส่ง “ฉางเจิง” หมายเลข ๑๑ ซึ่งเริ่มปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย. ปี ๒๐๑๕ (พ.ศ.๒๕๕๘) จนถึงปัจจุบัน ได้ขนส่งดาวเทียมจำนวน ๓๙ ดวงขึ้นสู่อวกาศด้วยความสำเร็จ และครั้งดังกล่าวถือเป็นครั้งที่ ๓๓๒ ที่จรวดขนส่ง “ฉางเจิง” หมายเลข ๑๑ ปฏิบัติหน้าที่

๓. ข้อสังเกต
     ๓.๑ ในรอบ ๕๐ ปี แห่งความสำเร็จของจีนต่อโครงการสำรวจห้วงอวกาศและใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างสันตินั้น ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ เม.ย. ปี ค.ศ.๑๙๗๐ (พ.ศ.๒๕๑๓) โดยจีนใช้จรวดขนส่ง “ฉางเจิง-๑” (Changzheng-1) นำดาวเทียม “ตงฟางหง หมายเลข ๑” (卫星“东方红一号”) ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของจีนเข้าสู่วงโคจร และถือเป็นประเทศที่ ๕ ในโลก ที่ประสบความสำเร็จในการใช้จรวดขนส่งที่ผลิตเองนำดาวเทียมที่ผลิตเองขึ้นสู่ห้วงอวกาศ รองจากสหรัฐฯ อดีตสหภาพโซเวียด ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
     ๓.๒ ตลอดช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอวกาศของจีน (中国空间技术研究院  China Academy of Space Technology) ซึ่งรับผิดชอบการวิจัยและผลิต “ดาวเทียมตงฟางหง หมายเลข ๑” อาศัยศักยภาพของตนเองส่งยานอวกาศเกือบ ๓๐๐ ลำด้วยความสำเร็จ ครอบคลุมถึงโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์, การสำรวจดวงจันทร์กับอวกาศห้วงลึก, ระบบดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่ว, การสำรวจโลก, การสื่อสารและการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ รวม ๖ ประเภท
     ๓.๓ ในรอบปีนี้ นอกจากการส่งดาวเทียม “เกาเฟินจิ่ว” “ดาวเทียม G星” และ “ดาวเทียม H星 “ แล้ว จีนยังประสบความสำร็จในการส่งดาวเทียม Xingyun-2 (星云2号) หมายเลข ๐๑ และ ๐๒ เข้าสู่วงโคจรตามที่กำหนดจากศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉวียนของจีน โดยใช้จรวดขนส่ง Kuaizhou-1A (KZ-1A) หรือ快舟一号甲运载火箭 (KZ-1A) เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค.๖๓ ซึ่งดาวเทียมรุ่น “Xingyun-2” ดังกล่าวจะปฏิบัติการทดสอบเทคโนโลยีการสื่อสารโครงการที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ IoT (Internet of Things) ที่มีฐานอยู่ในอวกาศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ในวงโคจรอย่างเป็นทางการ รวมทั้งก่อนหน้านั้น ที่ความสำเร็จในการใช้จรวจขนส่ง “ฉางเจิง บี-๓” (长征-3B   Changzheng-3B) ส่งดาวเทียมนำร่องดวงที่ ๕๔ จากศูนย์ส่งดาวเทียมซีชาง เมื่อวันที่ ๙ มี.ค.๖๓ ซึ่งเป็นดาวเทียมที่มีความสามารถมากที่สุด ขนาดใหญ่ที่สุด และอายุการใช้งานนานที่สุด ในกลุ่มดาวเทียมเป่ยโต่ว

บทสรุป

เป่ยโต่ว (北斗  BeiDou) เป็นระบบดาวเทียมนำร่องของจีน ที่จีนวิจัยและผลิตขึ้นเอง ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบ GPS ของสหรัฐ ระบบกลอนาสส์ของรัสเซีย (GLONASS) และ ระบบกาลิเลโอ (Galileo) ของยุโรป โดยระบบดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วมีจุดเด่นที่การระบุพิกัดตำแหน่งจากการใช้ดาวเทียม ๓ ดวงในวงโคจร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก และมีความแม่นยำสูง รวมทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารสองทาง กล่าวคือ ไม่เพียงแต่รับรู้ตำแหน่งของตัวเองแล้ว ยังสามารถบอกตำแหน่งผู้อื่นได้ด้วย ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษต่างจากระบบอื่น นอกจากนี้ ระบบดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่ว ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกในรูปแบบตัดการผูกขาดตลาดของประเทศพัฒนา อันเป็นทางเลือกใหม่ทำให้ประเทศต่างๆ ได้เข้าถึงระบบนี้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่ลงนามข้อตกลงการติดตั้งระบบดาวเทียมบอกพิกัดเป่ยโต่วของจีนตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค.๕๖

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://www.chinanews.com/gn/2020/05-31/9199462.shtml

http://news.kf.cn/2020/0601/468779.shtml

http://news.cctv.com/2020/05/30/ARTICCJ1Rj60FB9lhGLCYqUI200530.shtml

https://www.zaobao.com.sg/realtime/china/story20200530-1057420

https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_7118619

http://thai.cri.cn/20200424/c9457205-dd1f-431f-d4fe-b8924f79ddd2.html

http://thai.cri.cn/20200601/ccab15a9-a00b-d3da-2447-c3d9f7608b24.html

http://thai.cri.cn/20200531/e6da1b33-1171-b277-1e4b-5f9ad0ba6307.html

http://thai.cri.cn/20200512/1ae28732-7c89-3286-bc35-43035f4bcf10.html

http://thai.cri.cn/20200310/1ee22745-2936-752e-5f89-75d39cd8ab98.html

http://www.vijaichina.com/articles/1629