bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๔ ธ.ค.๖๒ ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านและทิศทางการดำเนินความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างไทยกับจีน (ตอนที่ ๓ จบ) อันเป็นผลมาจากการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ในระหว่างวันที่

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม และความเชื่อมโยงระดับประชาชน
        ๑.๑ ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อการดำเนินความร่วมมือทางการศึกษาภายใต้บันทึกความตกลงด้านการศึกษาและเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางการศึกษาในหลายระดับและหลายสาขาผ่านความร่วมมือผ่านสถาบันการศึกษาหุ้นส่วน การแลกเปลี่ยนพิเศษ การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และการเรียนรู้ทางไกล เพื่อที่จะส่งเสริมบุคคลที่มีทักษะและให้การสนับสนุนทางวิชาการเพื่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศ
        ๑.๒ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ เพื่อให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และเห็นพ้องที่จะพิจารณาความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกันเพื่อฉลองโอกาสการครบรอบ ๔๕ ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ๒๕๖๓
        ๑.๓ ทั้งสองฝ่ายจะเสริมสร้างความร่วมมือด้านสื่อและข้อมูลเพื่อส่งเสริมความเชื่องโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน และการพัฒนาวิชาชีพสื่อ โดยดำเนินการผ่านการอำนวยความสะดวกให้แก่สื่อมวลชน การแลกเปลี่ยนข่าวสาร/สารคดี และการแลกเปลี่ยนการเยือน รวมทั้งการเข้าร่วมการประชุมและเทศกาลต่าง ๆ

๒. ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
        ๒.๑ ทั้งสองฝ่ายยินดีกับการที่ความสัมพันธ์อาเซียน – จีนยังคงความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และก่อเกิดผลประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย และจะทำงานร่วมกันเพื่อให้ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน - จีนมีพลวัตและเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของสันติภาพ เสถียรภาพ ความรุ่งเรือง และความยั่งยืนในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายจะย้ำอย่างต่อเนื่องถึงความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมของภูมิภาคผ่านกลไกที่นำโดยอาเซียน เช่น การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three: APT) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers' Meeting Plus: ADMM Plus) ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเสริมสร้างการบูรณาการระหว่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ (Master Plan on ASEAN Connectivity 2025: MPAC 2025) กับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกรอบความเชื่อมโยงต่าง ๆ (Connecting the Connectivities) และจะส่งเสริมการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินระหว่างอาเซียนกับจีน
        ๒.๒ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้กรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค เช่น อาเซียน - จีน แม่โขง - ล้านช้าง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ประเทศไทยแสดงความยินดีที่จีนได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของ ACMECS กลุ่มแรก ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation: MLC) และ ACMECS เกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยธรรมชาติ
        ๒.๓ ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) อย่างมีประสิทธิภาพและครบถ้วนและการบรรลุการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติตามทะเลจีนใต้ (Code of Conduct : COC) ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมประเด็นสำคัญภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๑ หรือก่อนหน้า และชื่นชมต่อความสำเร็จในการเจรจารอบแรกของร่างเอกสารฉบับเดียวของการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Single Draft COC Negotiating Text: SDNT) และยินดีต่อการเริ่มต้นการเจรจารอบสองของร่าง SDNT ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือทางทะเลในเชิงปฏิบัติรวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลเพื่อปรับเปลี่ยนทะเลจีนใต้ให้กลายเป็นทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรือง”
        ๒.๔ ทั้งสองฝ่ายจะเสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือในเวทีพหุภาคี เช่น สหประชาชาติ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (APEC) การประชุมเอเชีย – ยุโรป (ASEM) และกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) เพื่อธำรงไว้ซึ่งบรรทัดฐานและหลักการตามกฎบัตรสหประชาชาติ และร่วมกันเสริมสร้างผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา
        ๒.๕ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะทำงานร่วมกันเพื่อรับมือกับความท้าทายที่น่าวิตกกังวลของโลกที่เกิดจากลัทธิปกป้องทางการค้าและการดำเนินการฝ่ายเดียว ปกป้องระบบการค้าพหุภาคีที่มีกฎระเบียบเป็นพื้นฐาน และส่งเสริมกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจให้มุ่งสู่ความเปิดกว้าง ความครอบคลุม ประโยชน์สากล มีความสมดุล และมีผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) แล้วเสร็จ และจะร่วมกันหารือประเด็นคั่งค้างเพื่อให้ลงนามความตกลงฯ ในปี ๒๕๖๓

บทสรุป
นายกรัฐมนตรีจีนได้ชื่นชมการทำงานของไทยในฐานะประธานอาเซียนในการเสริมสร้างการพัฒนาความสัมพันธ์อาเซียน - จีน และความร่วมมือเอเชียตะวันออก และแสดงความยินดีกับประเทศไทยต่อความสำเร็จในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๕ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และขอเชิญ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เยือนประเทศจีนในช่วงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสะดวก

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.mfa.go.th/main/th/news3/6887/111791

https://mgronline.com/politics/detail/9620000106135